Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2560
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
โรคบกพร่องทางการเรียนรู้



ณเคยพบเด็กที่มีลักษณะอย่างนี้หรือไม่…

พูดคุยกับเขา เขารู้เรื่องทุกอย่าง เข้าใจทุกอย่าง โต้ตอบได้เป้นอย่างดี แก้ปัญหาด้วยการลงมือทำได้ แต่พอให้เขียนหรืออ่านหนังสือ เขาทำไม่ได้เลย เขียนผิดๆถูกๆ อ่านตะกุกตะกักหรือไม่ก็อ่านข้ามไปเลยเวลาเจอคำที่ยากๆ เด็กเหล่านี้เองที่กำลังป่วยเป็นโรค LD

LD คือ อะไร ?

LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี

LD มีกี่ชนิด ?

LD แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1.ความบกพร่องด้านการอ่าน

ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ

ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์

เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

แพทย์สามารถวินิจฉัยเด็ก LD ได้อย่างไร?

การรวบรวมประวัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กแต่ละด้านเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย รวมทั้งรายงานจากครูประจำชั้น การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียน เปรียบเทียบกับระดับสติปัญญา (IQ)
เด็ก LD จะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำกว่าเพื่อนนักเรียนในชั้นอย่างชัดเจนและเป็นปัญหาที่กระทบต่อการเรียนอย่างต่อเนื่อง

อะไรคือสาเหตุของโรค LD ?

  • การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการใช้ภาษา
  • กรรมพันธุ์ มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องมีปัญหาเดียวกัน
  • ความผิดปกติของโครโมโซม

ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วย

เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ และอาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า
  • ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง
  • รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
  • ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้”
  • อารมณ์ ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
  • ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
  • ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง

เด็ก LD มีปัญหาอะไรอย่างอื่นอีกบ้าง ?

เด็ก LD มีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ที่พบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา

เราจะช่วยเด็ก LD ได้อย่างไรบ้าง?

การช่วยเหลือทางการแพทย์

เนื่องจากโรค LD สามารถเกิดรวมกับโรคอื่นๆได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก

การช่วยเหลือทางการศึกษา

โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็กแต่ละด้าน โดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น และควรส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

การช่วยเหลือจากครอบครัว

  • อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
  • เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
  • ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

บทความโดย:

  1. ผศ. นายแพทย์ มนัท สูงประสิทธิ์
  2. พญ. จุฑามาศ อัตชู
  3. พญ. นิดา ลิ้มสุวรรณ
  4. นพ. ภาสกร ลีนิวา
  5. พญ. ศันสนีย์ นิซู

เครดิตรูปภาพ: //floridafamilyliving.com/wp-content/uploads/2012/01/education-boy-...




Create Date : 30 พฤษภาคม 2560
Last Update : 30 พฤษภาคม 2560 23:30:21 น. 0 comments
Counter : 347 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

meku
Location :
ประจวบคีรีขันธ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add meku's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.