ยุคหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจฟองสบู่และวิกฤติเศรษฐกิจ
ยุคนี้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ในช่วงนี้หนังสือพิมพ์ต้องทำงานภายใต้ระบบทางวัฒนธรรมที่สังคมไทยเปิดรับการสื่อสารข้ามชาติหรือข้างพรมแดนมากขึ้น นอกจากหนังสือพิมพ์ต้องขับเคี่ยวระหว่างหนังสือพิมพ์ด้วยกันแล้ว ยังต้องขับเคี่ยวกับอุตสาหกรรมสื่อมวลชนอื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุและอินเทอร์เน็ต ในการแก่งแย้งงบประมาณโฆษณาและผู้บริโภค หนังสือพิมพ์ที่จะได้รับความนิยมจึงต้องสะท้อนความเป็นสากล มีความรอบด้าน ลึกซึ้งเป็นกลาง และเสนอข่าวแบบเจาะลึก น้ำหนังของการเติบโตในระยะแรกของช่วงนี้ยังอยู่ที่หนังสือพิมพ์ระดับผู้นำ และหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจ
   แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปีพ.ศ. 2540 ที่ต่อเนื่องมาจากถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2545) เป็นผลให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับปิดกิจการลงไป เฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจที่อาศัยรายได้หลักจากโฆษณา แต่การที่หนังสือพิมพ์มีจำนวนลดน้อยลงทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับที่ดำเนินการอยู่มีช่องทางขยายจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ หนังสือพิมพ์ที่อยู่ได้มักเป็นหนังสือพิมพ์ที่นำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์เกิดหนังสือพิมพ์ประชานิยม หรือเชิงปริมาณแนวใหม่ขึ้น คือ คม ชัด ลึก ซึ่งเน้นเสนอเรื่องเร้าอารมณ์เช่นด้วยกับหรือสื่อพิมพ์เชิงปริมาณทั่วไป         


                เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม พ.ศ. 2535 ได้ส่งผลให้เกิดพลังของภาคประชาชน หรือประชาสังคมมากขึ้น และกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิรูปการเมือง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน รวมทั้งสิทธิในการแสวงหาสข่าวสารข้อมูล และคุ้มครองการทำงานของนักวิชาชีพสื่อมวลชน เกิดองค์กรสิสระที่ทำหน้าที่รักษาสิทธิของประชาชนและเป็นสถาบันกลางที่เชื่อโยงการทำงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน เช่น คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอบ เป็นต้น บรรยากาศทางการเมืองและสังคมในช่วงนี้ จึงเป็นการปูฐานรากของประชาธิปไตยแลบประชาขมมีส่วนร่วม เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้ของภาครัฐและภาคธุรกิจ หนังสือพิมพ์ถูกเรียกร้องให้ทำงานด้วยความรับผิดชอบและเคร่งครัดในจรรยาบรรณ ในปี พ.ศ. 2540 ธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ประกาศจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แหงชาติขึ้นเพื่อควบคุมกันเองทางวิชาชีพ

กล่าวโดยสรุป ประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ไทยได้เติบโตผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการแสวัฒนธรรมข้ามชาติ จะเห็นได้ว่า พัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยล้วนเกี่ยวโยงกับแนวคิดอุดมการณ์ที่มีส่วนกำหนดสถานภาพของหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคและหนังสือพิมพ์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาและแนวนโยบายไปตามบริบทเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จากหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในมือของเจ้านายราชสำนัก มาอยู่ในการดำเนินการปัญญาชน สามัญชน นักการเมือง นักธุรกิจหรือเจ้าของทุน และพัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่เสรี




Create Date : 25 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2558 3:57:51 น.
Counter : 188 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2825669
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30