ยุคหนังสือพิมพ์เลือกข้างและยุคหลอมรวมสื่อ
ในช่วง พ.ศ. 2544-2549 ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ นักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร  ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน การฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อนและครอบงำสื่อ อีกทั้งยังมีข้อกล่าวหาว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้แก่นักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่ง การประท้วงขับไล่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย เกิดขึ้นใน ปีพ.ศ. 2549


       และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะทหารซึ่งภายหลังเรียกตนเองว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ขณะที่พันตำรวจโท ทักษิณอยู่ต่างประเทศ ศาลที่คณะทหารแต่งตั้งนั้น ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตัดสิทธิ์ทางการเมือง พันตำรวจโท ทักษิณ และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเป็นเวลาห้าปี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช.แต่งตั้งขึ้นนั้น อายัดทรัพย์สินของพันตำรวจโท ทักษิณ และครอบครัวในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติ  การรวมตัวกันของฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือนปช. ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 โดยรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และขับไล่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กับพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร โดยในภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ


        หลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นปช.กลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาล จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 และแกนนำ 3 คน ได้แก่ วีระ มุสิกพงศ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ ถูกควบคุมตัว และในอีกหลายวันต่อมา รัฐบาลก็ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 นปช.จัดชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม  หลังจากนั้นยังคงมีการชุมนุมอยู่เป็นระยะ ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปัจจุบัน



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2558 3:59:04 น.
Counter : 1285 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2825669
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30