คัมภีร์เต๋าเตอจิง 81 บท





Lao Zi ท่านเหลาจื่อ 老子


มรรควิธี ท่านเหลาจื่อ

■ คัมภีร์เต๋าเตอจิง 《 道德经 》81 บท

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ ปราชญ์เหลาจื่อ

ประวัติของท่านได้ถูกจารึกในหนังสือ "ซือกี่" ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์เล่มแรกของจีน ซึ่ง สุมาเจี้ยน ได้เป็นผู้บันทึก เรื่องราวประวัติศาสตร์
เมื่อประมาณ 604 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเหลาจื่อ ได้ถือกำเนิดขึ้นมา
หมู่บ้านจูเยน ตำบลไหล่ แขวงเมืองฮู่ แคว้นฉู ในตระกูลที่สืบแซ่หลี
มีชื่อเล่นว่า "เอ้อ" ชื่อจริงว่า "ตัน"

ดังนั้นจึงเรียกว่า "หลีเอ้อ" บ้าง "หลีตัน" บ้าง
ต่อเมื่อท่านแก่ตัวลงจนหนวดเคราขาวโพลงแล้ว จึงเรียกท่านว่า เหลาจื่อ
อันมีความหมายว่า ปราชญ์ผู้ชรา

ท่านเหลาจื่อ ได้เข้ารับราชการในวังหลวงที่ นครโลยัง รับตำแหน่งเลขานุการพระราชวัง และต่อมาได้เป็นบรรณารักษ์หอสมุดแห่งชาติของกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว

สุมาเจี้ยนผู้บันทึก ได้แสดงความเห็นว่า ขณะเมื่อ ท่านเหลาจื่ออายุได้ 160 หรือ อาจจะถึง 200 ปี ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในความเสื่อมโทรมของราชวงศ์โจว จึงได้ออกเดินทางไปทางตะวันตก เพื่อแสวงหาชีวิตอันอมตะ
เมื่อไปถึงด่านฮั่นกู่ อันเป็นทางผ่านไปสู่ดินแดนตะวันตก ที่เรียกว่า
ดินแดนชิน อันไกลโพ้นนั้น

นายด่านหยินซี หรือ กวนหยิน ได้ขอให้ท่านเขียนอะไรไว้ให้เป็นที่ระลึก
ท่านได้สนองต่อคำขอ โดยได้เขียนหนังสือ เล่มเล็กๆ บรรจุ อักษร กว่า
5,000 ตัวทิ้งไว้ให้

หนังสือเล่มนี้ ก็คือ "เต๋าเตอจิง" ซึ่งได้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ และท่านก็เดินทางผ่านด่านหายไปทางตะวันตก และไม่มีใครพบท่านอีกเลย

อย่างไรก็ตาม สุมาเจี้ยนเองก็ได้กล่าวเสริมไว้อย่างจริงใจว่า ข้อมูลที่ตนได้รวบรวมเอาไว้เกี่ยวกับตัวของ เหลาจื่อ นั้น ออกจะกว้างขวาง สับสน และขัดแย้งกัน จนไม่อาจหาข้อสรุปได้ จนแม้สุมาเจี้ยนเองก็ได้ให้ฉายา แก่
เหลาจื่อ ว่า "ปราชญ์ผู้ซ่อนตน"

เต๋าเต๋อจิงเขียนขึ้นโดยเหลาจื่อ มีทั้งสิ้น 5,000 ตัวอักษร
ด้วยเหตุนี้โบราณจึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า “วาทะเหลาจื่อ 5,000 อักขระ”
《 老子五千文 》

โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค
ภาคแรกว่าด้วยปรัชญาแห่งเต๋า (เต๋าเกง) เริ่มจากบทที่ 1 - 37
ภาคสองว่าด้วยคุณธรรม ( เต็กเกง ) เริ่มจากบทที่ 38 - 81

ด้วยเหตุนี้ภายหลังคนจึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า "เต๋าเต๋อจิง"《 道德经 》

บ้านเรามี นักแปลหลายท่าน ได้ทำการให้สำนวนการแปล อยู่หลายฉบับด้วยกัน ซึ่งการได้อ่านหลายๆ สำนวน ก็ทำให้ได้ประมวลคำและสำนวนมากขึ้น

ซึ่งก็มีฉบับที่มีการชำระใหม่ ตามการขุดค้นพบบันทึกเกี่ยวกับคัมภีร์โบราณ

คัมภีร์เต๋าของท่านเหลาจื่อ ในตอนนี้ที่เรามีหนังสือแปลอยู่ 3 สำนวน
ด้วยกัน คือ
■ ฉบับแปล ของ คุณพจนา จันทรสันติ
■ ฉบับแปล ของ คุณโชติช่วง นาดอน
■ ฉบับแปล ของ คุณ ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์


โดยส่วนตัวก็คิดว่า การได้อ่าน หลายสำนวน ก็สามารถทำให้เข้าใจได้กว้างมากขึ้น และก็คิดว่า การอ่านหรือทำเข้าใจ ในสำนวน ก็เป็นการอธิบาย
ในความคิด จะด้วย คำพูด ผ่านตัวหนังสือ

จะถือว่า ท่านได้พูด หรือไม่ได้พูดก็เป็นไปได้ อยู่ที่ตัวเรา
เพราะไม่ได้ให้ยึดติดจนมากเกินไป หรือต้องตีความจนมากเกินขีด
ตราบเท่าที่เรายังอยู่ในสังคม ที่ต้องสังคมกันอยู่
ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ค่อยๆแนะเราได้ การซึมซาบ รับรู้ ก็แล้วบุคคล
เส้นทางชีวิตแต่ละคนก็มีหนทางและทางเลือกของแต่ละบุคคลเอง

ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ ให้ได้เห็นประโยชน์
แต่ไม่ได้ให้เพื่อหวังผลประโยชน์


ส่วนที่นำมาลงต่อไปนี้ นำมาหนังสือ
"วิถีแห่งเต๋า" (คัมภีร์เต๋าเต็กเกงของปราชญ์เหลาจื๊อ)
ซึ่งแปลและเรียบเรียง โดยคุณพจนา จันทรสันติ
พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2521

ส่วนเล่มที่ได้มานี่พิมพ์ครั้งที่ 4 ปี2524




■ ภาคที่ หนึ่ง ■

■บทที่ 1 เต๋าอันสูงสุด
■บทที่ 2 สิ่งต่างๆ อุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
■บทที่ 3 การปกครองของปราญช์
■บทที่ 4 รูปลักษณ์แห่งเต๋า
■บทที่ 5 ประโยชน์ของสูบลม
■บทที่ 6 มารดา อันมหัศจรรย์
■บทที่ 7 มิได้อยู่เพื่อตนเอง
■บทที่ 8 ความดีอันสูงสุด
■บทที่ 9 สำรวมชีวิต
■บทที่10 สู่สภาวธรรม
■บทที่11 ความว่างเปล่า
■บทที่12 เปลือกกับแก่น
■บทที่13 การยกย่องและการดูแคลน
■บทที่14 ตามรอยเต๋า
■บทที่15 ผู้ชาญฉลาดในสมัยโบราณ
■บทที่16 สรรพสิ่งล้วนกลับสู่ต้นกำเนิดเดิม
■บทที่17 ผู้ปกครองประเทศที่ดี
■บทที่18 เกิดขึ้นเพราะความเสื่อม
■บทที่19 ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์
■บทที่20 ผู้อื่นกับตัวข้าพเจ้า
■บทที่21 พลังแห่งเต๋า
■บทที่22 การไม่แก่งแย่งแข่งขัน
■บทที่23 เข้าร่วมกับเต๋า
■บทที่24 กากเดนของคุณความดี
■บทที่25 ความยิ่งใหญ่สี่ชนิดในจักรวาล
■บทที่26 ความหนักแน่นและความสงบ
■บทที่27 ช่วยสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
■บทที่28 แสดงออกด้วยความง่าย
■บทที่29 ใครจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงโลก
■บทที่30 สงคราม
■บทที่31 ชัยชนะอันน่าโศกเศร้า
■บทที่32 มหาสมุทรแห่งสรรพสิ่ง
■บทที่33 รู้จักตนเอง
■บทที่34 เต๋าอันยิ่งใหญ่
■บทที่35 ลักษณะเด่นคือความสามัญ
■บทที่36 ชนะแข็งด้วยอ่อน
■บทที่37 ปกครองด้วยความเรียบง่าย

■ ภาคที่ สอง ■

■บทที่38 เมื่อเต๋าสูญหายไป
■บทที่39 ขอเป็นระฆังหิน
■บทที่40 วัฎฎะ
■บทที่41 ระดับสูง
■บทที่42 คำสอนประทับใจ
■บทที่43 การไม่กระทำ
■บทที่44 รู้จักพอ
■บทที่45 คล้าย
■บทที่46 ม้าลากเกวียน
■บทที่47 หยั่งรู้
■บทที่48 ความรู้ฝ่ายเต๋า
■บทที่49 ปราญช์
■บทที่50 อาณาจักรแห่งความตาย
■บทที่51 คุณความดีอันล้ำลึก
■บทที่52 ปิดประตูแห่งตน
■บทที่53 ทางใหญ่
■บทที่54 นำเอาไปใช้
■บทที่55 กลับเป็นเด็กทารก
■บทที่56 เหนือโลก
■บทที่57 การปกครอง
■บทที่58 รัฐบาลที่เกียจคร้าน
■บทที่59 หลักการสงวนกำลัง
■บทที่60 ปกครองประเทศ
■บทที่61 ประเทศใหญ่
■บทที่62 สมบัติของโลก
■บทที่63 ยากกับง่าย
■บทที่64 เริ่มทำเมื่อยังง่าย
■บทที่65 รู้ให้น้อย
■บทที่66 ที่ต่ำ
■บทที่67 แก้วสามประการ
■บทที่68 การไม่แข่งขัน
■บทที่69 ยุทธธรรม
■บทที่70 ใครอาจเข้าใจ
■บทที่71 ผู้รู้
■บทที่72 ใช้ความนุ่มนวล
■บทที่73 ร่างแหแห่งฟากฟ้า
■บทที่74 การลงโทษ
■บทที่75 ไม่เข้ายุ่งเกี่ยว
■บทที่76 ของสูง
■บทที่77 วิถีแห่งเต๋า
■บทที่78 ความอ่อนโยนมีชัยต่อทุกสิ่ง
■บทที่79 หนทางอันยุติธรรม
■บทที่80 ประเทศในฝัน
■บทที่81 ถ้อยคำที่แท้

Photobucket


[บทที่ 1]
เต๋าอันสูงสุด



เต๋าที่อธิบายได้มิใช่เต๋าอันอมตะ
ชื่อที่ตั้งให้กันได้ก็มิใช่ชื่ออันสูงส่ง
เต๋านั้นมิอาจอธิบายและมิอาจตั้งชื่อ
เมื่อไร้ชื่อทำฉันใดจักให้ผู้อื่นรู้
ข้าพเจ้าขอเรียกสิ่งนั้นว่า " เต๋า" ไปพลางๆ

เมื่อไร้นาม ไร้สภาวะ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งฟ้าและดิน
เมื่อมีนามมีสภาวะจึงเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง

ดำรงตนอยู่ในความไร้สภาวะ
จึงทราบบ่อเกิดแห่งจักรวาล
ดำรงตนอยู่ในสภาวะ
ย่อมแลเห็นปรากฎการณ์ที่ถูกสร้างสรรค์

ทั้งความมีและความไร้มีบ่อเกิดแห่งเดียวกัน
แต่แตกต่างกันเมื่อปรากฎออก

บ่อเกิดนั้นสุดแสนลึกล้ำ
ความลึกล้ำสุดแสนนั้น
คือประตูที่เปิดไปสู่ความรู้แจ้งแห่งสรรพชีวิต


Photobucket


[บทที่ 2]
สิ่งต่างๆ อุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ



เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย
ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น
เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี
ความชั่วก็อุบัติขึ้น

มีกับไม่มีเกิดขึ้นด้วยการรับรู้
ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก
ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
สูงกับต่ำเกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง
เสียงดนตรีกับเสียงสามัญเกิดขึ้นด้วยการรับฟัง
หน้ากับหลังาเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด

ดังนั้นปราชญ์ย่อม
กระทำด้วยการไม่กระทำ
เทศนาด้วยการไม่เอ่ยวาจา
การงานทั้งหลายาก็สำเร็จลุล่วงลง

ท่านให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง
แต่มิได้ถือตัวเป็นเจ้าของ
ประกอบกิจยิ่งใหญ่
แต่มิได้ประกาศให้โลกรู้
เหตุที่ท่านไม่ปรารถนาในเกียรติคุณ
เกียรติคุณของท่านจึงดำรงอยู่ไม่สูญสลาย




Photobucket


Photobucket


youtube credit : icomewithsong1 thanks










Create Date : 10 เมษายน 2552
Last Update : 25 ธันวาคม 2553 20:46:26 น. 0 comments
Counter : 9954 Pageviews.

เก้าเกสร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




เวลาว่างๆ เราก็มักจะ ทำอะไรเรื่อยเปื่อย ที่ชอบก็คือฟังเพลง ดูหนัง ส่วนหนังสือนานๆ จะจับสักครั้ง ต้องอ่านเป็นเรื่องสั้น หรือ บทความ ตอนๆ
ถ้าอ่านยาวๆ เลย ไม่ค่อยมีสมาธิเท่าไหร่คะ
นิสัยก็ติงต๋อง บ้าๆ บอๆ ^^


Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
10 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เก้าเกสร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.