กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
6 กรกฏาคม 2553

ความสำคัญของครอบครัว

เมื่อวันสุดท้ายของการฝึกงานเทอมนี้ .. Teaching team ก็เชิญครอบครัวเด็กๆ เข้ามาร่วมจอยชั่วโมงสุดท้ายในห้องเรียนด้วยกัน .. เมื่อพ่อแม่ ญาติพี่น้อง มาอยู่ร่วมด้วย พวกปุ้มสังเกตเห็นอะไรหลายอย่างเลยแหล่ะ

อย่างแรก .. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้ พวกปุ้มพูดได้เต็มปากเลยว่า เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เมื่อมาร่วมโปรแกรมนี้ แต่พอพ่อแม่มาอยู่ด้วย .. ปัญหาที่พ่อแม่เคยพูดถึง และไม่เคย หรือ แทบ จะไม่ปรากฏในห้องเรียนเลย กลับโผล่มาซะงั้น .. นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ จะทำอะไร ก็ควรจะนึกถึงครอบครัวด้วย .. แผนที่เวิคในห้องเรียน อาจจะไม่เวิคเมื่ออยู่ที่บ้าน ที่สำคัญ เด็กวัยนี้ ใช้เวลากับครอบครัว ที่บ้าน มากกว่า ใช้เวลาในโลกภายนอก



ดังนั้น จะเวิคมากๆ เลยค่ะ ถ้าตอนวางแผนกระตุ้น หรือ ส่งเสริมพัฒนาการ คุณพ่อคุณแม่ของเด็กๆ แชร์ปัญหา หรือ สิ่งที่ตัวเองกังวล กับจุดมุ่งหมายของพัฒนาการลูกให้พวกเรารู้ด้วย




อย่างที่สอง .. ครอบครัวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเด็ก อันที่จริง ปุ้มไม่อยากสรุปเอาแบบจริงจังหรอกนะ เพียงแค่ มันน่าสังเกต เพราะ เด็กที่พวกปุ้มเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรมมากที่สุดสองคนนั้น ไม่มีคนในครอบครัวมาร่วมด้วยเลย อืมมม มันน่าคิด



สิ่งสะท้อนใจพวกปุ้ม คือ ตอนเดินไปส่ง Az ขึ้นรถโรงเรียน .. เค้าพูดขึ้นมาว่า "I want my family to be here too."





พอมองกลับมาที่บ้านเรา .. มันก็มีประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ด้วยความที่วัฒนธรรมต่างกันด้วยแหล่ะ คือ คนที่นี่ เค้าจะร่วมมือกัน ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ กับ ครอบครัว แบบแชร์ไอเดียกันอ่ะนะ .. ในขณะที่บ้านเรา ถ้าผู้เชี่ยวชาญไม่ทำตัวแบบเหนือกว่า ครอบครัวก็จะแบบว่า ขอยกให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญละกัน







ก็คงแล้วแต่คนมองล่ะมั้ง .. สำหรับปุ้มเอง มองว่า มันดี ที่ครอบครัวของเด็ก ให้เกียรติเรา เคารพการตัดสินใจของเรา ซึ่งปุ้มเอง ก็เคารพการตัดสินใจของครอบครัวเหมือนกัน สิ่งที่เราเห็นว่าสำคัญสำหรับเด็ก .. ในมุมมองของครอบครัว อาจจะไม่ใช่ทักษะแรกๆ ที่เค้าต้องการ





จะว่าไป ครอบครัวของเด็กๆ เหล่านี้ ก็เป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำปุ้มประทับใจ จนคิดว่า จะยึดเดินสายงานนี้นะ .. ยังจำได้ว่า ตอนที่ได้ไปดูงานที่หน่วยพัฒนาการของพี่ต่าย ที่ รพ แห่งหนึ่ง ในตอนนั้น เราเป็นแค่นิสิตปอโท แต่ครอบครัวเค้าก็ยังให้เกียรติเรา ยิ้มแย้ม ทักทาย เรียกเราว่า “คุณครู” .. ครอบครัวของเด็กเหล่านี้ ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ชั้นรวย หรือ เธอจน .. แต่เค้าจะสมัครสมานกันมากๆๆ เหมือนเป็นสังคมเล็กๆ สังคมหนึ่ง ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีข้อมูลอะไรดีๆ ที่มีประโยชน์ก็เอามาแชร์กัน .. กิจกรรมแบบนี้ สามารถแบ่งเบาความตึงเครียดของผู้ปกครองได้ดีเลยแหล่ะ







สิ่งที่ปุ้มอยากจะช่วยครอบครัวของเด็กๆ เหล่านี้ .. อยากจะสอนให้พวกเค้า “ฉวยโอกาส” เพราะโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้ ไม่ได้มีแค่ในห้องเรียน แต่โอกาส มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกกิจกรรมที่เด็กทำ สามารถให้เด็กเรียนรู้ได้ทั้งนั้น .. อยู่ที่ว่า เราจะใช้โอกาสนั้นยังไงมากกว่า .. อ่อ ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเด็กพิเศษเท่านั้นนะคะ วิธีนี้ ใช้ได้ทุกครอบครัวค่ะ





การสอนผ่านการเล่น ผ่านกิจกรรมที่เด็กชอบ ^^



เช่น มีอยู่วันนึง ที่โรงเรียนจัดงาน ปุ้มมีแทตทูสติ๊กเกอร์ที่รอติดให้เด็กๆ อยู่ .. เวลาเด็กๆ มาให้ติดแทตทูให้ ปุ้มก็จะชวนคุย ถามว่า นี่รูปอะไร แล้วจะเอารูปอะไร แล้วรูปนี้สีอะไร แล้วอันนั้นล่ะ อันไหนใหญ่กว่า อันไหนเล็กกว่า.. พอถึงเวลาชุบน้ำแปะๆ สติ๊กเกอร์ ก็จะบอกให้เด็กช่วยนับค่ะ







ซึ่งกิจกรรมนึงเนี่ย สามารถแทรกการสอนเข้าไปได้หลายแบบมากๆๆ ขึ้นอยู่กับว่า เด็กคนนั้น มีเป้าหมายพัฒนาการ หรือ ทักษะอะไรค่ะ .. กิจกรรมกลุ่มบางอย่าง ถ้าวางแผนดีๆ ก็สามารถสอนเด็กที่อาจจะมีเป้าหมายเหมือนกัน หรือ ต่างกัน ได้ไปพร้อมๆ กันค่ะ



วิธีแบบนี้ ทำให้เพลินทั้งเด็กและคนสอน .. ไม่ต้องตึงเครียด ถูกจำกัดขอบอยู่แค่ในห้องเรียน หรือบนโต๊ะหนังสือ เราก็เรียนรู้ได้ค่ะ



กระบวนการเหล่านี้ เรียกว่า Activity-Based Intervention .. เป็นเสมือนหัวใจหลักของงานปุ้มเลยล่ะ อิอิ


Create Date : 06 กรกฎาคม 2553
Last Update : 6 กรกฎาคม 2553 21:23:43 น. 0 comments
Counter : 316 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่ครู
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ^^ เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการค่ะ สอนกระตุ้นพัฒนาการในเด็กพิเศษก่อนวัยเรียนในกรุงเทพ .. เป็นที่ปรึกษาให้ร้านขายของเล่น "แม่ครู" ด้วยค่ะ .. ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ
[Add แม่ครู's blog to your web]