กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
5 กรกฏาคม 2553

รู้ให้ทันพฤติกรรมเด็ก

เวลารายงานพฤติกรรมเด็กจะต้องใช้คำที่เฉพาะเจาะจงไปเลย .. พฤติกรรมต้องเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ วัดได้ .. คำที่มีความหมายกว้างจะไม่ใช้ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว .. นิยามของคำๆ นี้ คืออะไร? ก้าวร้าวของปุ้ม กับ ก้าวร้าวของพ่อแม่ อาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจะพูดถึงลักษณะของพฤติกรรมแทน เช่น กัด, กรีดร้อง, ถ่มน้ำลาย, ตี, ทำร้ายตัวเอง เป็นต้น

ดังนั้น เวลาไปปรึกษาคุณหมอ / ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพฤติกรรมก็ต้องระบุให้ชัดเจนไปเลยว่า พฤติกรรมที่ว่าคืออะไร .. ถ้าสามารถระบุได้ว่า พฤติกรรมดังกล่าวมักเกิดหลังเหตุการณ์อะไร มีความถี่มากแค่ไหนก็จะดีมากๆๆ


เช่น M มักจะกรีดร้อง หลังอาหารเช้า นานประมาณ 5 นาที เป็นต้น


ถ้าหาสาเหตุไม่ได้ ก็ต้องคอยสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวเด็ก และคอยบันทึกทำสถิติเอาไว้ นอกจากนี้ ต้องคอยสังเกตด้วยว่า สิ่งที่เกิดขึ้น / สิ่งที่เด็กได้รับหลังแสดงพฤติกรรมนั้นๆ คืออะไร


เช่น M กรีดร้องหลังอาหารเช้า ขณะที่แม่กำลังจะออกไปทำงาน - ส่งผลให้ -> แม่กลับเข้ามากอด + ปลอบ .. ถ้าความถี่ของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นซ้ำๆ มากพอ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า อาการกรีดร้องหลังอาหารเช้า อาจเกิดจาก M ต้องการเรียกร้องความสนใจจากแม่ เพราะแม่กำลังจะออกไปทำงาน และ M ก็ทำสำเร็จเสียด้วย เพราะแม่ตอบสนองอาการกรีดร้องด้วยการกลับมาให้ความสนใจ



ทีนี้ มันก็จะมีปัญหาที่ตามมา คือ M อาจจะขยายวงพฤติกรรมการกรีดร้องไปในสถานการณ์อื่นๆ ด้วย .. พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อ M ต้องการความสนใจจากแม่เมื่อไหร่ ก็จะกรีดร้องทันที




วิธีที่พวกปุ้มมักแนะนำ .. อาจจะดูโหดร้าย ทรมานใจ หักดิบพ่อแม่

ขั้นแรก ต้องเตรียมเด็กให้พร้อมกับการจากลา เช่น เล่าเรื่องผ่านนิทาน และโยงเข้าสู่ชีวิตจริง ประมาณว่า นี่ไง แม่ไก่ออกไปหาอาหารให้ลูกเจี๊ยบ เหมือนคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงาน หาขนมมาให้น้อง M ไง

ขั้นที่สอง ให้โอกาสเด็ก เตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อมว่า แม่จะไปแล้วนะ เช่น ก่อนไปสัก 5 นาที อาจจะบอกลูกว่า อีก 5 นาที แม่จะไปแล้วนะ .. บางทีอาจจะใช้ timer ตั้งเวลาถอยหลังให้เด็กเห็นกันจะจะไปเลย .. ไม่ควรจะหุนหันบอกลูก แล้วก็ชิ่งออกไปเลย เพราะเด็กเล็กมักเตรียมใจรับไม่ทัน .. ซึ่งวิธีค่อยๆ เตือนนี้ สามารถใช้ได้กับเหตุการณ์อื่นๆ ด้วยค่ะ อย่างที่โรงเรียน มักจะใช้เวลาเปลี่ยนจากกิจกรรมสนุกๆ ไร้แบบแผน (Unstructured activity) เช่น เล่นตามอัธยาศัย ไปสู่กิจกรรมที่มีกฎเกณฑ์ (Structured activity) เช่น Circle Time เป็นต้น

ทีนี้ พอถึงเวลาต้องลากันจริงๆ ก็ต้องบอกลูกว่า แม่จะไปแล้ว แต่เดี๋ยวแม่ก็กลับมา .. บางทีอาจจะให้ลูกออกไปส่งเราขึ้นรถ โบกมือบ๊ายบาย หอม หรือกอดก็แล้วแต่ เพื่อให้เด็กรู้ว่า เออ แม่จะไปจริงๆ แล้วนะ


ท้ายสุด ถึงเวลาไปแล้ว ก็ต้องไปเลยนะคะ อย่าลังเล และไม่ควรหันกลับมามอง .. แน่นอนว่า แรกๆ อาจได้ยินเสียงกรีดร้องโหยหวนปานจะขาดใจของลูกตามมา แต่ก็ต้องปล่อให้เป็นหน้าที่ของคนเลี้ยงหลอกล่อต่อไปค่ะ หากิจกรรมอื่นๆ ให้ทำ หาของเล่นที่เค้าชอบเล่น หนังสือที่ชอบอ่าน การ์ตูนที่ชอบดู .. เด็กกำลังเรียนรู้ว่า การกรีดร้องไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน เด็กก็กำลังเรียนรู้ความรู้สึกของการจากลาและการรอคอยค่ะ




เข้าใจว่า พ่อแม่อาจจะแทบขาดใจ ที่ต้องหันหลังให้ลูกในขณะที่ลูกร้องเรียกหา .. อดทนกันสักนิด เพื่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่ดีขึ้นค่ะ


ข้อควรระวัง
เนื่องจากเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถึงแม้จะแสดงพฤติกรรมที่เหมือนกัน แต่ก็อาจจะมาสาเหตุที่ต่างกัน และแม้อาจจะมาจากสาเหตุที่คล้ายคลึงกัน วิธีการแก้ไขก็อาจจะแตกต่างกันไปได้นะคะ

ทางที่ดีที่สุด .. พ่อแม่ต้องเป็นนักสังเกตที่ดี และถ่ายทอดสิ่งที่สังเกตได้ถูกต้องชัดเจน เพื่อร่วมมือกันหาทางแก้ไขต่อไปค่ะ


Create Date : 05 กรกฎาคม 2553
Last Update : 5 กรกฎาคม 2553 21:56:52 น. 0 comments
Counter : 308 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่ครู
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ^^ เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการค่ะ สอนกระตุ้นพัฒนาการในเด็กพิเศษก่อนวัยเรียนในกรุงเทพ .. เป็นที่ปรึกษาให้ร้านขายของเล่น "แม่ครู" ด้วยค่ะ .. ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ
[Add แม่ครู's blog to your web]