Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

“มาร์ค” ชำแหละการเมืองไทย ลั่นยึด “นิติธรรม-นิติรัฐ” กู้วิกฤติชาติ

“อภิสิทธิ์” ชำแหละการเมืองไทย ลั่นยึดหลัก “นิติธรรม-นิติรัฐ” กู้วิกฤตความขัดแย้ง ย้ำชัดทุกฝ่ายต้องเชื่อมั่นในความเสมอภาค-เคารพสิทธิเสรีภาพ ก่อนแจงที่มา-ความสำคัญของ “องค์กรอิสระ” ยก “นิกสัน” แม้ได้คะแนนเสียงท่วมท้น แต่กลับถูกตรวจสอบจนต้องพ้นจากตำแหน่ง

วันนี้ (26 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิการบรรยายพิเศษ เรื่อง “รัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรมและการบริหารประเทศในภาวะวิกฤติ” ของสถาบันพระปกเกล้า ณ ห้องสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จังหวัดนนทบุรี

รายงานข่าวแจ้งว่า เดิมที นายอภิสิทธิ์ มีกำหนดในการบรรยายในเวลา 14.00 น.แต่ปรากฏว่านายอภิสิทธิ์ ถูก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ตัวแทนจากฝ่ายค้าน กล่าวพาดพิงในการประชุมสภา จึงต้องอยู่ชี้แจงข้อพาดพิง ทำให้ นายอภิสิทธิ์ เดินทางถึงสถาบันพระปกเกล้าฯ ช้ากว่ากำหนด 20 นาที ประกอบกับการเดินทางของนายกฯ ครั้งนี้ ไม่ได้เดินทางออกจากรัฐสภาทางประตูด้านหน้า เนื่องจากมีกลุ่มคนเสื้อแดงมาชุมนุมอยู่ นายอภิสิทธิ์ จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยการให้รถนำขบวนไปออกทางด้านปราสาทเทวฤทธิ์ ฝั่งถนนราชวิถีแทน จึงไม่มีการเผชิญหน้ากับคนเสื้อแดงแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ ได้เริ่มกล่าวบรรยาย ว่า แรกเริ่มคิดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะคิดว่าทางสภาจะนัดประชุมเรื่องหนังสือสัญญาที่จะใช้การประชุมอาเซียนในวันนี้ แต่ปรากฏว่านายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ได้นัดประชุมในวันนี้ และวันที่ 27 ม.ค.ตนจึงหารือกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าฯ ว่า จะเปลี่ยนกำหนดการบรรยายได้หรือไม่ แต่สุดท้ายจึงขอต่อรองให้บรรยายเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทว่าเมื่อจะเดินทางออกจากสภา ก็ถูกพาดพิง จึงต้องชี้แจง ทำให้เดินทางล่าช้า อย่างไรก็ตาม ถ้ามี ส.ส.และ ส.ว.อยู่ในที่นี้ ก็ขอให้กลับไปสภาด้วย เพื่อให้สภาทำงานได้ราบรื่น

ชี้ทางแก้ต้องเชื่อในความเสมอภาค-เคารพสิทธิ์

จากนั้น นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวบรรยายว่า หัวข้อเรื่องรัฐธรรมนูญ นิติธรรม และนิติรัฐนั้น กว้างมาก ในหนึ่งชั่วโมงคงพูดไม่หมด คงต้องใช้เวลาเป็นวันในการถกเถียงกัน อย่างไรก็ตาม ตนจะเน้นในสิ่งที่เห็นว่าอยู่ในใจของทุกคน โดยอาศัยประสบการณ์ 17 ปี ในฐานะคนที่สนใจศึกษาการเมือง ซึ่งไม่แน่ใจว่า สิ่งที่พูดจะตรงกับตำราในหลักสูตรหรือไม่ แต่ถือเป็นมุมมองที่จะเสนอด้วยความสุจริตใจว่า ตนมองปัญหาของประเทศอย่างไร

“คำหนึ่งที่อยู่ในใจ คือ เรื่องของระบอบประชาธิปไตย ที่เข้าใจกันในเรื่องของรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง คือ ตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย จนมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น และหากพูดถึงเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ สิ่งแรกในทัศนะ คือ การเลือกตั้ง คือ หนึ่งเสียงของประชาธิปไตย เริ่มต้นจากหลักการที่สำคัญ คือ เชื่อในเรื่องของความเสมอภาคที่ทุกคนต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ และมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของประเทศชาติ นี่คือ หลักการที่สำคัญที่สุด และเมื่อถึงการเลือกตั้ง และมีสภา นั่นเป็นความพยายามที่จะออกแบบระบอบหลักการ ซึ่งในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ฉะนั้น คงไม่มีรูปแบบใดที่จะผูกขาดความเป็นประชาธิปไตยได้” นายกฯ กล่าว

ย้ำ รบ.จะไม่ใช้ความรู้สึกปกครองประเทศ

นายอภิสิทธ์ กล่าวอีกว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ตนคิดว่า หลายครั้งเราลืมไปในสังคมนี้ ตลอดระยะเวลายาวนานยังมีความบกพร่องหย่อนยานในเรื่องนี้ วิกฤตบ้านเมืองในหลายปีที่ผ่านมา เกิดจากความสับสนเรื่องขอบเขตของเสียงข้างมาก กับการคุ้มครองเสียงข้างน้อยว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งตนย้ำตั้งแต่เป็นฝ่ายค้าน ว่า ทุกคนต้องเสมอภาคกัน เราไม่อนุญาตให้คนใดคนหนึ่งมีอำนาจ หรือยกเว้นข้อกฎหมายได้ เพราะไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่าเราจะปกครองด้วยความรู้สึก และปกครองด้วยกระแส ทำให้สังคมไม่กฎมีเกณฑ์

“ถ้าผู้มีอำนาจฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ได้ ก็เท่ากับจะเป็นการส่งเสริมให้คนมีอำนาจ เพราะถ้ามีอำนาจแล้วทำอะไรก็ได้ ตรวจสอบไม่ได้ หรือถูกลงโทษตามกฎหมายไม่ได้ ซึ่งในประเทศที่เจริญที่เป็นแม่แบบเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ เขายึดเป็นพื้นฐานก่อนที่จะพูดถึงหลักการประชาธิปไตยด้วยซ้ำ” นายอภิสิทธิ์ ระบุ

ยก “นิกสัน” ถูกตรวจสอบจนพ้นจากตำแหน่ง

นายกฯ กล่าวต่อว่า อย่างในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเลือกตั้งโดยตรง คนชนะจะเป็นประธานาธิบดี 4 ปี แต่มีบางท่านไม่ครบ 4 ปี และส่วนหนึ่งก็ถูกลอบสังหาร แต่ในระยะที่ผ่านมา คือ อดีตประธานาธิบดี นิกสัน ต้องออกไปก่อนครบวาระ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปดูสถิติที่ชนะการเลือกตั้งเด็ดขาดเหมือนนายนิกสัน นั้น หาได้ยากมาก เพราะได้คะแนนเสียงท่วมท้น แต่ในที่สุดก็ถูกตรวจสอบ จนทำให้พ้นจากตำแหน่ง จึงเป็นตัวอย่างที่อยากจะชี้ให้เห็นว่า การเมืองของเขา หรือในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ เอเชีย ที่บางครั้งก็มีความรับผิดชอบทางการเมือง

“บ้านเมืองเราที่ผ่านมาค่อนข้างยึดรูปแบบรัฐสภา แต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติอย่างชัดเจน ในที่สุดจะเห็นว่า ประชาชนมักบ่นว่าเสียงข้างมากลากไป แต่หลายครั้งเมื่อมีการตรวจสอบ ก็มีข้อสงสัยว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกหรือไม่ ทำให้กระแสสังคมมองว่า มีความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้น และสุดท้ายก็ไปชี้ขาดที่เสียงข้างมาก แต่ก็ไม่มีการตอบสนอง จึงทำให้พบความจริง ว่า มีการทุจริตคอร์รัปชัน หรือใช้อำนาจในทางไม่ชอบ ทำให้คนส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่สามารถแก้ในระบบได้ จึงปฏิวัติรัฐประหาร และยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยพละการ ทำให้เราติดอยู่ในวังวนของปัญหานี้มาโดยตลอด ทั้งนี้ ตนเข้ามาเมื่อปี 2535 จำได้ว่า ตั้งใจว่า น่าจะอยู่ในการเมืองที่มีการพัฒนาต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยคิด และหวังในใจ ว่า การรัฐประหารปี 2534 จะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต” นายกฯ ระบุ

ย้ำความสำคัญของ “องค์กรอิสระ”

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของพรรคการเมือง เมื่อสมัครรับเลือกตั้ง ใครอยากจะทำอะไรให้บ้านเมืองก็ขอฉันทานุมัติให้ทำ แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำในหลายสิ่ง เช่น ไม่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ถ้าฝืนก็มีศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการ ไม่ให้ทำอะไรผิดกฎหมาย ก็มีระบบศาลปกครองที่เป็นองค์กรอิสระคอยตรวจสอบ และวินิจฉัยว่าเรื่องใดรัฐบาลทำเกินอำนาจ ทำแล้วเสียหาย ก็จะให้เพิกถอนคำสั่ง และอำนาจนั้น นอกจากนี้ การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน ก็มีการตั้ง ป.ป.ช.แทนที่จะเป็น ป.ป.ป.เพราะหลายครั้ง ป.ป.ป.ทำงานแล้ว เมื่อวินิจฉัยคำวินิจฉัยก็ถูกลบล้างโดยฝ่ายบริหาร จึงเป็นที่มาของ ป.ป.ช.และยังมีอีกหลายองค์กร อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้ง กกต.ที่ดูแลเรื่องของการเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า จากปี 2540 เรามีความหวังว่า เราจะสามารถทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี ได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เน้นนโยบาย และตอนนั้นคำวินิจฉันของ กกต.และ ป.ป.ช.มีการตรวจสอบ การคานอำนาจอย่างเหมาะสม แต่จากนั้นก็สูญเสียไป เป็นที่รับทราบว่า กลไกเหล่านั้นทำงานแทบไม่ได้ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ และทำให้มีเหตุการณ์การเผชิญหน้าว่าใครผิด ใครถูก สุดท้ายก็จบลงที่การรัฐประหาร 2549 และนำไปสู่ความขัดแย้งเรื่อยมา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งทวีสู่ท้องถนนมากขึ้น จนมีการเสียเสียเลือดเนื้อเกิดขึ้น

นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงหลักนิติธรรม ว่า 1.หลักนิติธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเปลี่ยนระบบการเมือง หรือปฏิรูป ซึ่งหลักการนี้เราทิ้งไม่ได้ 2.แม้ว่าเป็นหลักการที่สำคัญ แต่เกือบจะล้มเหลวในการรักษาหลักนี้ ดูจากเรื่องเล็กจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่กฎจราจร กฎหมายระดับท้องถิ่น ปัญหาธุรกิจที่ผิดกฎหมายเรื่อยมา จนถึงการทำผิดกฎหมายในข้าราชการ และฝ่ายการเมือง ดังนั้น ถ้าสังคมเรายังไม่จริงจังกับเรื่องเหล่านี้ ความคาดหวังว่า จะเห็นการทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายทำตามกฎเกณฑ์ก็เป็นเรื่องยาก เพราะมันเริ่มจากเรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่สุด ซึ่งประเทศไทยต้องแก้ไข และข้ามพ้นไปให้ได้ เพราะอนาคตเศรษฐกิจของเราจะอิงกับตลาดโลก ซึ่งจะชี้ขาดว่าบ้านเมืองไหนสามารถแข่งขัน หรือเรียกความมั่นใจในการเข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้น จึงยังคงเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข



manager.co.th




 

Create Date : 27 มกราคม 2552
1 comments
Last Update : 27 มกราคม 2552 0:32:20 น.
Counter : 535 Pageviews.

 

 

โดย: **หิมะใต้พระจันทร์** 27 มกราคม 2552 10:37:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


I love Thailand
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add I love Thailand's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.