สมุนไพรใช้เป็นยา ตอนขมิ้นชัน
ชื่อสามัญ ขมิ้นชัน(Turmeric)
ชื่อวิทยาศาสตร Curcuma longa L.
องค์ประกอบ เหง้าขมิ้นชัน ควรมีสารสําคัญ Curcuminoidsไม่น้อยกว่า 5% และน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 6 %
ข้อบงใช้(Indication) บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด
เภสัชวิทยา (pharmacology)
ฤทธิ์ขับลม
ฤทธิ์ขับลมของขมิ้นชันเป็นผลของน้ำมันหอมระเหย
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ขมิ้นชันสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะโดยกระตุ้นการหลั่ง mucin มาเคลือบและยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่างๆ สารสําคัญในการออกฤทธิ์ คือ curcumin การศึกษาพบว่า curcumin ในขนาด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถกระตุ้นการหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ แต่ถ้าใช้ในขนาดสูงอาจทําให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นที่ทราบกันแน่ชัดแล้วว่า เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter เป็นต้นเหตุสําคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจาก Helicobacter ทําให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกย่อยทําลายโดยกรดและน้ำย่อยไดง่ายขึ้น สารสกัดจากเหง้าขมิ้นชันร่วมกับเหง้าขิง (1:1) ด้วยเมทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pyroli ความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งได้ 50% (MIC50) เท่ากับ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ขมิ้นชันมีฤทธิ์ขับน้ำดี สารสําคัญในการออกฤทธิ์นี้ คือ curcumin และ p-tolyl-methylcarbinol ซึ่งสามารถขับน้ำดีและกระตุ้นการสร้างน้ำดี เมื่อฉีด sodium curcuminate เข้าหลอดเลือดในขนาด 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มน้ำดีเกือบ 100% โดยไม่มีผลต่อความดันโลหิตและการหายใจ
ในบางรายโดยเฉพาะผู้เปนโรคแผลในกระเพาะอาหารมักจะมีอาการปวดเกร็งร่วมด้วย ขมิ้นชันมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ โดยออกฤทธิ์ต้าน acetylcholine, barium chloride และ serotonin5
ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาอาการแน่นจุกเสียด
ได้มีการทดลองในผู้ป้วยโรคท้องอืด ท้องเฟ้อในโรงพยาบาล 6 แห่ง จํานวน 116 ราย แบ่งกลุ่มผู้ป่วยโดยวิธีสุ่มเป็น 3 กลุ่ม ได้แก กลุ่มที่ไดรับแคปซูลยาหลอกหรือยา Flatulence หรือขมิ้นชัน ทุกกลุ่มรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน นาน 7 วัน พบว่ากลุ่มที่ไดรับยาหลอกอาการดีขึ้นหรือหายไป 53% ขณะที่กลุ่มที่ได้รับยา Flatulence หรือขมิ้นชันอาการดีขึ้นหรือหายไป 83% หรือ 87% ตามลําดับ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่ไดรับยาหลอกอย่างมีนัยสําคัญ อัตราการเกิดผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและหายเองได
การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาโรคแผลในทางเดินอาหาร
การทดลองในผู้ป้วยที่ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (รวม 4 กรัม) พบว่าได้ผลดีเช่นกัน ได้มีการทดลองผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารในคน พบว่าใหผู้ป่วยรับประทานแคปซูลผงขมิ้นชัน 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง พบว่า 5 คน หายใน 4 อาทิตย์และ 7 คน หายใน 4-12 อาทิตยจากการศึกษาประสิทธิผลในการรักษาโรคแผลในทางเดินอาหารในผู้ป่วย 25 ราย ที่ไดรับการส่องกล้องเพื่อดูตําแหน่งและขนาดของแผล (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 - 1.5 เซนติเมตร) โดยให้ผู้ป่วยรับประทานขมิ้นชัน (300 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง ½ -1 ชั่วโมง ก่อนรับประทานอาหารเมื่อเวลา 16.00 น. และก่อนนอน พบว่า 4 สัปดาหหลังการรักษาแผลหายในผู้ป่วย 12 ราย (48%) 8 สัปดาห์หลังการรักษา แผลหายในผู้ป่วย 18 ราย (72%) 12 สัปดาห์หลังการรักษา แผลหายในผู้ป่วย 19 ราย (76%)
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกที่โรงพยาบาลพระยุพราชธาตุพนมถึงประสิทธิผลในการรักษาสิวของขมิ้นชัน พบว่า ผงขมิ้นชันทาหัวสิวจะช่วยทําให้สิวยุบเร็วกว่าและหายเร็วกว่า
การศึกษาเภสัชจลนศาสตร
จากการศึกษา metabolism ของ curcumin ขนาด 450 - 360 มิลลิกรัมต้อวัน นาน 1 สัปดาห ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งลําไส้ใหญที่แพร่ไปยังตับ 12 ราย พบว่าระดับของ curcumin และ curcumin glucuronide หรือ sulfate conjugates ในกระแสเลือดและใน portal blood อยู่ในระดับต่ำๆ ของ nanomolar เท่านั้น และไม่พบ curcumin ในเนื้อเยื่อตับ นอกจากนี้ ระดับของ malondialdehyde-DNA (M(1)G) adduct หลังได้รับ curcumin ก็ไม่ลดลง เมื่อเทียบกับระดับก่อนได้รับยา เนื่องจากเมื่อให้ curcumin ทางปากจะให้ระดับยาในเลือดที่ต่ำมาก จึงมีการศึกษา metabolism ของ curcumin โดยใชmicrosome จากลําไส้และจากตับของคนและของหนูขาว พบว่า curcumin ถูก metabolized อย่างมาก โดยเกิด conjugation (glucuronide & sulfate) และ reduction (เป็น tetrahydrocurcumin & hexahydrocurcumin) ในทางเดินอาหาร(ลําไสและตับ) และ metabolism ในลําไส้ของคนจะเกิดมากกว่าในลําไสหนูขาว
พิษวิทยา (toxicology)
การศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง
- การทดสอบความเป็นพิษในหนูขาว พบว่าทั้งขมิ้นชันและ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าที่ใช้ในคน 1.25–125 เท่าไมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านการเจริญเติบโตและระดับสารเคมีในเลือด
- การทดสอบพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อให้ขนาดต่าง ๆ ไม่พบความผิดปกติต่อหนู
- เมื่อติดตามคนไข้ที่ทดลองทางคลินิก 30 ราย เพื่อประเมินประสิทธิผลของขมิ้นชันในการรักษาแผลในทางเดินอาหารไม่พบอาการผิดปกติ
- เมื่อใหsodium curcuminate ในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทางปาก ใตผิวหนัง หรือช่องท้อง ไม่พบอันตราย แต่ถ้าฉีดเข้าหลอดเลือดจะเป็นพิษทําให้สัตว์ทดลองตายได ส่วนการทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลันไม่พบพิษ
ข้อห้ามใช้ (contraindication)
ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน ผู้ที่ไวต่อยานี้ ผู้ป่วยโรคนิ่วควรปรึกษาแพทยก่อนใช้ยา
ข้อควรระวัง (precaution)
ควรระมัดระวังการใช้ในหญิงมีครรภยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
ควรระวังการใช้ในเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
อาการไม่พึงประสงค์ (adverse effect)
ผิวหนังอักเสบจากการแพ
รูปแบบและความแรง (dosage form and strength) ยาแคปซูล ที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม
ขนาดและวิธีใช้ (dose and mode of administration)
รับประทานครั้งละ 2 - 4 แคปซูล (500 มิลลิกรัม – 1 กรัม) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ประโยชน์ของขมิ้นชันก็มีด้วยประการฉะนี้



Create Date : 15 กรกฎาคม 2554
Last Update : 15 กรกฎาคม 2554 18:27:56 น.
Counter : 1744 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

luktuk
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



“If you want to know your future, look at what you are doing in this moment”
New Comments
กรกฏาคม 2554

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31