สมุนไพรใช้เป็นยา ตอนขิง
ขิง
ชื่อยา ขิง (Zingiber officinale Roscoe)
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ
ในเหง้าขิงมี น้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ำมันประกอบด้วยสารเคมี ที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) , ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) , ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) มีน้ำมัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญ ในน้ำมันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) , โวกาออล (shogaol) , ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ำมันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทำให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจำพวกฟีนนอลิค
รูปแบบและความแรง ยาแคปซูล ที่มีผงเหง้าขิง(แห้ง) 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม ยาผงที่มีเหง้าขิง (แห้ง) ซองละ 1 กรัม
ข้อบ่งใช
1. บรรเทาอาการทhองอืด จุกเสียด แน่นท้อง
2. ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ
3. ป้องกันอาการคลื่นไส อาเจียน หลังการผ่าตัด
ขนาดและวิธีใช
- ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นทอง รับประทาน 2-4 กรัมต่อวัน
- ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ รับประทานวันละ 1-2 กรัม
- ฤทธิ์ป้องกันอาการคลื่นไส อาเจียน หลังการผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม ก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง
ข้อห้ามใช ยังไม่มีข้อมูล
ข้อควรระวัง
- ควรระวังในการรับประทานขิงรวมกับยาในกลุ่ม anticoagulant
- ผู้ป่วยโรคนิ่วควรปรึกษาแพทยก่อนรับประทานขิง
- ไม่แนะนําให้รับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
อาการไม่พึงประสงค อาการแสบร้อนบริเวณทางเดินอาหาร อาการระคายเคืองบริเวณปากและคอ
ตำรับไทย
ไอระคายคอจากเสมหะ
วิธีที่ 1 เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
วิธีที่ 2 เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ตำเติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
• แก้ปากเหม็น คั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย อมบ้วนปาก ฆ่าเชื้อโรคในปาก
• แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ท้องผูก ขับลม คลื่นไส้อาเจียน และอาการเมารถเมาเรือ นำเหง้าขิงแก่สด 50 กรัม ทุบให้แตก นำไปต้มกับน้ำ 2 แก้ว รินดื่มแต่น้ำ วันละ 3 ครั้ง
• ปวดกระเพาะอาหาร ใช้เหง้าขิง น้ำตาลทรายแดง และพุทราแห้ง ต้มดื่มวันละครั้ง
• ผมร่วง หัวเริ่มล้าน ใช้เหง้าสดนำมาผิงไฟให้อุ่น ตำพอกบริเวณที่ผมร่วง วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้พอกต่อไปสักระยะ
• แก้สะอึก ใช้ขิงสดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้ง คนให้เข้ากัน ทำเป็นน้ำขิงสดรับประทาน
• ขับเหงื่อ นำขิงแก่มาปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากในที่ร่มจนแห้ง (2 วัน) เอาขิงแห้ง 3 กรัม ไปต้มกับน้ำ 1 แก้วจนเดือด เป็นเวลา 3 นาที เอาเฉพาะส่วนน้ำมาเติมน้ำตาลทรายขาว
คราวหน้าจะหาข้อมูลสมุนไพรตัวอื่นให้อ่านใหม่



Create Date : 18 มิถุนายน 2554
Last Update : 18 มิถุนายน 2554 14:30:49 น.
Counter : 800 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ มีประโยชน์ค่ะ
โดย: กิ่งไม้ไทย วันที่: 18 มิถุนายน 2554 เวลา:22:14:20 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

luktuk
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



“If you want to know your future, look at what you are doing in this moment”
New Comments
มิถุนายน 2554

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30