พฤษภาคม 2561
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
15 พฤษภาคม 2561

เที่ยวบุรีรัมย์






หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าธันเดอร์ คาสเซิลสเตเดียมเป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสนามแห่งนี้มีความจุมากถึงประมาณ24,000 ที่นั่งโครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาทโดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบาย และบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบประธานสโมสรบุรีรัมย์

สนามไอโมบายสเตเดี้ยม จัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซีและมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่าและยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกเพียง 256 วัน

สนามนี้มีทั้งหมด 4 ชั้นมีทั้งห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง ห้องพักนักกีฬา ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ ที่สนามไอโมบาย สเตเดียม มีการจัดทัวร์เดินชมสนามทุกวันยกเว้นวันที่มีแข่งนัดเหย้า  ตั้งแต่ 10.00 – 16.00 น. สามารถเข้าชมได้ฟรี ทั้งยังมีไกด์คอยให้สอบถามให้ข้อมูลอีกด้วย

ที่ตั้ง : ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์


2. อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง

ปราสาทหินทรายสีชมพู สร้างขึ้นด้วยรูปแบบศิลปะเขมรโบราณอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้งไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกันในคราวเดียว แต่ได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อของชุมชนขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลังที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู

หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างสืบต่อมาโดยกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณหรือผู้นำที่ปกครองชุมชน ความงดงามยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ชัด ทั้งการจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธานหรือปราสาทหินพนมรุ้งนั่นเอง

ชื่อปราสาทพนมรุ้งเป็นชื่อดั้งเดิมของโบราณสถานแห่งนี้ คำว่าพนมรุ้งปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 หลักที่ 4 ว่าพนมรุ้งเป็นชื่อเทวสถานที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีที่ดิน หมู่บ้าน เมือง สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส เป็นการสะท้อนถึงการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายอีกด้วย

ที่ตั้ง : อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์


3.ปราสาทหินเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอประโคนชัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากปราสาทพนมรุ้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ระยะห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ 60 กิโลเมตร


ปราสาทเมืองต่ำปราสาทเมืองต่ำปราสาทเมืองต่ำ


ตัวปราสาทและหมู่บ้านตั้งอยู่บนเนินดินรูปร่างค่อนข้างกลมสูงกว่าระดับพื้นชายเนินปราสาทหินเมืองต่ำเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ตามคติศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตั้งอยู่ ณ พื้นราบเบื้องล่างของเขาพนมรุ้งและน่าจะเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับ ปราสาทพนมรุ้ง เห็นได้จากปราสาททั้งสองแห่งอยู่ใกล้กัน ลักษณะสถาปัตยกรรมด้านในของปราสาทเมืองต่ำนั้นได้รับการก่อสร้างด้วยฝีมือ ช่างในระดับช่างหลวง ไม่ด้อยกว่าปราสาทพนมรุ้งเลย ชื่อของปราสาทเมืองต่ำเป็นชื่อที่เข้าใจกันว่ามาเรียกกันในภายหลัง คือเปรียบเทียบกับเมืองสูงอย่างพนมรุ้งก็เป็นได้ เพราะคำว่า "เมืองต่ำ" หมายถึงพื้นที่ต่ำ หรือพื้นที่ราบ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกันก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบๆ ยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองนั้นมีซุ้มประตูก่อด้วยหินทรายอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน หรือมีอายุการก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ปี ศาสนสถานแห่งนี้ถูกทิ้งร้างไปในช่วงหนึ่งเป็นระยะเวลายาวนานโดยเฉพาะหลังจากที่อาณาจักรกัมพูชาเสื่อมถอยลงในปลายพุทธศตวรรษที่ 18


ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก


สถานที่ตั้ง : บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก


หมายเลขติดต่อสอบถาม : 044-666251 , 044-666252

4.เพลาเพลิน บูติค รีสอร์ทแอนด์แอดเวนเจอร์แคมป์

ดอกไม้และพันธุ์ไม้สวยใช่ว่าจะมีให้ชมอยู่แต่ในภาคเหนือ แต่ดินแดนอีสานบ้านเราก็มีให้ชมเหมือนกัน ที่ เพ ลา เพลิน จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งเปิดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ไปที่มาพร้อมกับความสนุกและบันเทิง ให้เราได้รื่นรมย์ชมดอกไม้ตามฤดูกาลหลากสีสัน รวมทั้งพันธุ์ไม้สวยงามต่างๆ ที่อุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน ซึ่งจัดแสดงในโรงเรือนทั้ง 6  หลัง อุทยานไม้ดอกแห่งนี้ ยังถือว่าเป็นอุทยานไม้ดอกแห่งแรกในเขตพื้นที่ภาคอีสานใต้อีกด้วย

เพ ลา เพลิน ตั้งอยู่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองมาประมาณ 32 กิโลเมตร พื้นที่ภายในถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ  เพ ลา เพลิน บูติครีสอร์ท  และ อุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน ด้านหน้าเป็นส่วนของโซนต้อนรับจะมีพื้นที่ขายบัตรเข้าชมอุทยานไม้ดอก สำหรับค่าเข้าตามภาพค่ะ  โดยมีรถรางนำเข้าไปในพื้นที่ในส่วนของอุทยานดอกไม้ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังจากนั้นเดินชมไปยังโรงเรือนต่างๆซึ่งเชื่อมต่อกัน

ทางเข้าด้านหน้าซึ่งเราต้องลงจากรถรางแล้วเดินเข้าไปข้างในอุทยานไม้ดอก

เนื่องจากมาตรงกับในช่วงวันที่ทางเพ ลา เพลิน มีขบวนรถคาร์นิวัลดอกไม้  Flora Carnival 2015  คือ วันที่ 26 ธ.ค. 58 ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีจัดในช่วงหน้าหนาวอากาศเริ่มเย็นลงบ้าง เดินเข้าไปด้านในก็จะพบกับการตกแต่งดอกไม้เมืองหนาวด้วยต้นคริสต์มาสสีแดงตรงกลางประดับด้วยม้ายูนิคอนสวยงามพร้อมป้าย Flora สีสันสดใส

พื้นที่ในส่วนอาคารต้อนรับ ที่ได้จัดแสดงดอกไม้พร้อมนิทรรศการ “ด้วยรักและภักดี” มีรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดับด้วยดอกไม้เมืองหนาวต่างๆ



เข้ามาถึงโรงเรือนที่ 1 ซึ่งจัดแสดงไม้ดอกตามฤดู โดยจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนดอกไม้ในช่วงฤดูนั้นมาจัดแสดงให้ชมเราเดินทางมาในช่วงฤดูหนาวจะเป็นดอกทิวลิป ลิลลี่ ไฮเครนเยีย แต่ถ้าเดินทางมาในช่วงฤดูฝนพื้นที่ในส่วนนี้จะเปลี่ยนมาเป็นดอกกระเจียว






ดอกทิวลิปมีให้ชมหลากหลายสีสัน ทั้ง ขาว เหลือง ชมพู ม่วง  ดอกลิลลี่ ก็เช่นกัน เรียกได้ว่าแค่โรงเรือนแรกก็ตื่นตาตื่นใจแล้ว ดอกไม้มาเต็มมากเหนือความคาดหมายไม่คิดว่าอีสานบ้านเรามีดอกไม้เมืองหนาวแบบนี้ให้ชมด้วย

รวมถึงการจัดสวนก็สร้างสรรค์สุดๆ โดยเอาดอกไม้มาประดับอยู่ในรถไฟบ้างนำตุ๊กตาน้อยน่ารักมาไว้ในสวนด้วย เดินชมไปก็เพลิน สมชื่อ  เดินเล่นอยู่ในโซนนี้ถ่ายดอกไม้นานเป็นพิเศษเพราะรู้สึกตื่นตาตื่นใจในสีสันที่งดงามตัดกันของดอกไม้






เดินไปชมยังโรงเรือนต่อไประหว่างทางเดินก็จะพบกับการตกแต่งสวนสไตล์อังกฤษ บรรยากาศเหมือนอยู่ต่างประเทศ



โรงเรือนที่สองจัดแสดงเฟิร์นนานาสายพันธุ์ ซึ่งมีการจำลองบรรยากาศภายในให้เป็นป่าดึกดำบรรพ์ มีการนำรูปปั้นไดโนเสาร์มาไว้ข้างในด้วย


มีการนำพันธุ์ไม้มาเลื้อยและตกแต่งให้เป็นรูปช้างแมมมอธ ซึ่งเป็นช้างดึกดำบรรพ์ด้วย เก๋ดีจัง


ระหว่างทางเชื่อมของแต่ละอาคารนั้น ก็ยังมีการจัดแต่งสวนเเละมุมถ่ายรูปไว้อย่างสวยงามให้ได้ชมเเละได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก


โรงเรือนที่สาม เป็นการจัดแสดงพืชในตระกูลสับปะรดสี โดยมีการนำมาตกแต่งภายใต้แนวคิดสีสันธรรมชาติ


ฝั่งขวาเป็นตุ๊กตารูปปั้น  concept ของสีสันแห่งทะเลมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ทั้งรูปปั้นนางเงือกน้อย และปลาการ์ตูน


ส่วนอีกฝั่งหนึ่งก็จะเน้นเป็นสัตว์และแมลงน้อยที่เป็นสัญลักษณ์ของสีสันและความสวยงาม เช่น ผีเสื้อ เต่าทอง และนกยูง


โรงเรือนที่สี่ จัดแสดงกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ กินรี กล้วยไม้บางพันธุ์มีลวดลายแปลกตาไม่เคยเห็นมาก่อน


มีต้นรองเท้านารี ที่คนนำชมบอกว่า ที่นี่คือ ที่เดียวแห่งอีสานที่มีต้นไม้ชนิดนี้  เพราะปกติพันธุ์ไม้ชนิดนี้จะขึ้นเฉพาะบนดอยที่มีอากาศหนาวเย็นเท่านั้นถ้าไปปลูกที่อื่นจะค่อนข้างขึ้นยาก เพราะฉะนั้นไม่แปลกถ้าเราจะเห็นตามสวนดอกไม้บนดอยทางภาคเหนือบ่อยๆ แต่แปลกที่เรามาเจอที่นี่


โรงเรือนที่ห้า จัดแสดงพืชเขตร้อน เช่น ตะบองเพชรชนิดต่างๆ ภายใต้คอนเซ็ปต์ มหาพีระมิด  จำลองบรรยากาศเหมือนเรากำลังเดินอยู่ในประเทศอียิปต์มีรูปปั้น พีระมิด ฟาร์โรห์  สฟิงซ์  รายล้อมไปด้วยกระบองเพชรพันธุ์แปลกตา นานา ชนิด สวยงามมาก เพลิดเพลินอีกแล้ว


มาสะดุดตากับ เจ้ากระบองเพชรต้นนี้ เหนือคำบรรยายจริง ๆ


มาถึงโรงเรือนสุดท้ายที่จัดแสดงดอกหน้าวัวพันธุ์ต่างๆ พร้อมบรรยากาศวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบอีสานอีกทั้ง ภายใต้คอนเซ็ปต์ ศิลปะอีสานใต้


ซึ่งเราจะได้พบกับดอกหน้าวัวใบและหน้าวัวดอกหลากสี


จากโรงเรือนที่ 6 เราก็เดินออกมาเรื่อยๆ เพื่อชมทุ่งดอกคอสมอสสีชมพูม่วงอันกว้างใหญ่ ต้องบอกว่ากว้างจริงๆ ค่ะ เป็นสีสันที่สวยงามอีกอย่างหนึ่งของอุทยานไม้ดอกเลยทีเดียว ดอกคอสมอสจะมีให้ชมในช่วงฤดูหนาวเดือนธ.ค.-ม.ค. ถ้ามาเที่ยวในช่วงฤดูฝนหรือร้อนอาจจะปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกพันธุ์ไม้ชนิดอื่นแทน


ถึงแม้แดดจะร้อนมากแต่เราก็ไม่หวั่น เพราะความสวยงามของดอกไม้ช่างดึงดูดใจเราเหลือเกิน สนุกสนานกับการถ่ายภาพลืมความร้อนไปหมดสิ้น


เรามาที่ทุ่งดอกคอสมอสอีกครั้งในช่วงบ่ายแก่ๆ ซึ่งแดดก็จะเริ่มร่มลง แต่ในความรู้สึกคือ ตอนกลางวันที่ฟ้าใสๆ บรรยากาศจะสดใสกว่าเพราะดอกไม้จะตัดกับท้องฟ้าสีฟ้าเข้ากันดี


รายละเอียดเพิ่มเติม

เพ ลา เพลิน 252 อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

เปิดให้บริการทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00 – 20.00 น.

โทรศัพท์  044-699 435, 087-797 6425  https://www.playlaploen.com


5.พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (วงเวียนช้าง)

สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก

จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 ระบุว่าเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2319 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาจักรีได้ยกกองทัพไป ปราบกบฏพระยานางรองเมื่อเสด็จฯ กลับได้พบเมืองร้างชัยภูมิดี จึงให้รวบรวมผู้คนแล้วก่อตั้งเมืองชื่อว่า “เมืองแปะ”

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองบุรีรัมย์” ด้วยจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่มีต่อชาวบุรีรัมย์ ประชาชนชาวบุรีรัมย์จึงพร้อมใจกัน จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้น

ที่ตั้ง : วงเวียนอนุสาวรีย์สี่แยกถนนสายบุรีรัมย์ – สตึก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

6. เขื่อนลำนางรอง

เขื่อนลำนางรองเป็นเขื่อนดิน อยู่ภายใต้โครงการเขื่อนลำนางรอง นอกจากเขื่อนลำนางรองจะเป็นสถานที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรแล้ว ยังได้รับการปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรมอีกด้วย บนสันเขื่อนมีที่สำหรับชมทัศนียภาพ และมีร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ

ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋อง เช่น ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น

ที่ตั้ง : ตำบลโนนดินแดง  อำเภอโนนดินแดง  จังหวัดบุรีรัมย์

7.ศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ

ชุมชนบ้านเจริญสุขแห่งนี้แต่เดิมนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากดินมีแร่ธาตุดีจากภูเขาไฟเก่ามีประโยชน์ในการเพาะปลูก ต่อมาชาวบ้านเจริญสุขยังคิดค้นวิธีการนำดินเหล่านี้มาใช้ย้อมผ้า จึงได้พัฒนาเป็นอาชีพหัตถกรรมย้อมผ้าศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุขจึงเป็นศูนย์สาธิตที่จัดทำผ้าย้อมดินภูเขาไฟอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้นำวัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ทำให้ผ้าที่ย้อมได้ออกมามีสีสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์

โดยมีกรรมวิธีการทำคือ นำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมไปย้อมกับดินภูเขาไฟที่มอดแล้วดินภูเขาไฟเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่หาได้ไม่ยาก เพราะหมู่บ้านเจริญสุขนั้นตั้งอยู่ใกล้กับเขาพระอังคาร ซึ่งเป็นภูเขาไฟเก่าแก่ที่ดับแล้ว 1 ใน 6 ลูกของจังหวัดบุรีรัมย์ ดินบริเวณนี้จึงอุดมด้วยแร่ธาตุจากลาวาภูเขาไฟที่ปะทุออกมาในอดีตอีกทั้งบ้านเจริญสุขยังได้รับการสนับสนุนจาก กศน. ตำบลเจริญสุข  กรมการพัฒนาชุมชน และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงยังได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion)อีกด้วย

ที่ตั้ง : บ้านเจริญสุข หมู่ที่ 12 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์

8.ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ 

แหล่งรวบรวมและแสดงตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในแถบอีสานใต้

ประกอบด้วยอาคารหลังแรก เป็นอาคารหอวัฒนธรรมสองชั้นที่มีสถาปัตยกรรมแบบปราสาทหินเขาพนมรุ้งผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่หลังที่สองเป็นหอประชุมพื้นที่อีสานใต้ ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลหรือแอ่งโคราชหรือแถบทุ่งกุลาร้องไห้ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดต่างๆการจัดแสดงชั้นล่างประกอบด้วยนิทรรศการภูมิศาสตร์แสดงสภาพภูมิศาสตร์บริเวณอีสานใต้และจังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งเคยมีภูเขาไฟมาก่อน

นิทรรศการแหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์ นิทรรศการโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ชั้นบนประกอบด้วยนิทรรศการช้างกับส่วย จัดแสดงอุปกรณ์และเครื่องมือจับช้างป่าและเครื่องประกอบพิธีกรรมของหมอช้าง นิทรรศการศาสนาและความเชื่อ จัดแสดงพระพุทธรูปและเทวรูปสำริด

นิทรรศการผ้าและวิถีชีวิตจัดแสดงผ้าทอฝีมือของชาวอีสานใต้  เป็นพวกผ้าลายมัดหมี่ชนิดต่างๆ  ห้องเตาเผาและเครื่องเคลือบดินเผา  ทั้งยังมีนิทรรศการวิถีชีวิตในอดีตของชาวบุรีรัมย์โดยใช้หุ่น  ได้แก่  ไทยลาว  ไทยเขมร  ไทยส่วย  และไทยโคราช

ที่ตั้ง : ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ถ.จิระ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์


9. ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบุรีรัมย์นับถือศรัทธามาช้านาน และมีประชาชนมากราบไหว้ในโอกาสต่างๆ ตลอดปี

เดิมเป็นศาลขนาดเล็ก ได้รื้อและก่อสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2548 -2550 ให้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้งบริเวณศาลหลักเมืองแห่งนี้เคยเป็นจุดที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ใช้เป็นจุดพักรบและทรงเห็นว่าบริเวณนี้มีสระน้ำ และต้นแปะขนาดใหญ่จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่าเมืองแปะก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นบุรีรัมย์

ศาลหลักเมืองเป็นองค์ปรางค์มียอดทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นประดับกลีบขนุน และเทพประจำทิศเพื่อปกป้องรักษาทิศต่างๆองค์เรืองธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระหลักเมืองชักมุมออกทั้ง 4 ด้านอันหมายถึงการกระจายความเป็นหลักฐานความมั่นคงออกไปทั้ง 4 ทิศ ส่วนยอดศาลพระหลักเมืองติดตั้งรูปดอกบัวเป็นสเตนกลาสประดับทองเพื่อนำแสงเข้าสู่หลักเมือง

ภายในตัวศาลได้ตั้งเสาหลักเมืองตรงกลางองค์ปรางค์พร้อมกับอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อมาปกปักษ์รักษาบ้านเมืองด้านข้างศาลหลักเมืองยังมีศาลเจ้าจีน เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้มากราบไหว้ด้วย

ที่ตั้ง : ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

10. วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง

วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง คือภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว แต่ก็ยังคงมีร่องรอยปากปล่องชัดเจนรอบบริเวณเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กบนเขากระโดงยังมีโบราณสถานอันเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนเดิมทีชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า “พนมกระดอง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขากระดอง”  เพราะมีลักษณะคล้ายกระดองเต่า ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นกระโดงวนอุทยาน

ภูเขาไฟกระโดงมีบันไดให้เดินขึ้นไป 297 ขั้นหรือจะขับรถขึ้นไปจอดบนเขาก็ได้ นอกจากนี้ยังมีปราสาทเขากระโดงซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เดิมเป็นปรางค์หินทราย ก่อบนฐานศิลาแลงองค์เดียว ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4×4 เมตร มีช่องทางเข้า 4 ด้าน ต่อมาหินพังหรือถูกรื้อลงมามีผู้นำหินมาเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ตรงตามรูปแบบเดิม

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตระกูลสิงหเสนีย์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองไว้ในองค์ปรางค์แล้วสร้างมณฑปครอบทับพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปพระสุภัทรบพิตรที่ชาวบุรีรัมย์และพุทธศาสนิกชนเคารพนับถือ ที่นี่ยังสามารถชมวิวเมืองบุรีรัมย์ได้ และด้านหลังองค์พระนั้นมีทางไปดูปล่องภูเขาไฟเก่าที่มอดไปแล้วด้วย

ที่ตั้ง :  บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2561
0 comments
Last Update : 16 พฤษภาคม 2561 15:26:29 น.
Counter : 850 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


dekdee goodlife
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
[Add dekdee goodlife's blog to your web]