ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
โรคและศัตรูของกล้วยไม้

โรคและศัตรูของกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด

โรคที่เกิดกับกล้วยไม้มี 2 ลักษณะ คือ โรคที่ไม่มีเชื้อโรคเป็นสาเหตุและโรคที่มีเชื้อโรคเป็นสาเหตุ ดังนี้

1. โรคที่ไม่มีเชื้อโรคเป็นสาเหตุ เกิดจากการขาดธาตุอาหารบางอย่างหรือได้รับอันตรายจากการจัดสภาพของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่เหมาะสมแก่ความต้องการของกล้วยไม้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง น้ำที่ใช้รดเหมาะนี้มากเกินไป จะเป็นผลกระทบต่อกล้วยไม้ ซึ่งจะแสดงอาหารให้ปรากฏต่างๆ เช่น ใบเหลืองทั้งใบ รากเน่า ต้นเน่า

2. โรคที่มีเชื้อโรคเป็นสาเหตุ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกล้วยไม้นี้อาจจำแนกเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส เชื้อเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในน้ำอากาศ ดิน และในภาชนะที่ปลูก ติดอยู่กับเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนร่างกายของผู้ปลูก เชื้อโรคเหล่านี้ทำให้กล้วยไม้มีการผิดปกติ เช่น ยอดเน่า ใบเป็นจุด เป็นแผล เป็นต้น

โรคที่พบในกล้วยไม้ไทยสกุลต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่

๑) โรคเน่าในกระถางหมู่ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา และเกิดกับลูกกล้วยไม้ต้นเล็ก ๆ ที่ปลูกอยู่ในกระถางหมู่ เริ่มด้วยโคนต้นจะมีรอยช้ำ ต่อไปจะเน่าเละและลุกลามไปถึงใบ ยอด และราก สามารถติดต่อได้ง่าย ทำให้ลูกกล้วยไม้ในกระถางหมู่เน่าเป็นหย่อมๆ ถ้าแก้ไขไม่ทันก็จะลุกลามไปจนหมดกระถางและไปถึงกระถางอื่นๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สาเหตุของการระบาดคือปลูกลูกกล้วยไม้ในกระถางหมู่
หนาแน่นเกินไป อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ให้น้ำมากเกินไปจนเครื่องปลูกแฉะอยู่นาน ให้น้ำหรือปุ๋ยด้วยเครื่องพ่นหรือบัวรดน้ำซึ่งมีแรงกระแทกรุนแรง ทำให้ลูกกล้วยไม้ช้ำเครื่องปลูกไม่สะอาด หรือมีฝนตกหนักในบรรยากาศมีความชื้นสูงเป็นพิเศษเป็นต้น

วิธีป้องกันกำจัด ทำได้ดังนี้

(1) อย่างปลูกลูกกล้วยไม้ลงในกระถางหมู่ให้แน่นจนเกินไป

(2) อุปกรณ์การให้น้ำหรือปุ๋ยควรเป็นเครื่องพ่นน้ำที่พ่นเป็นละอองหรือบัวรดน้ำที่เป็นฝอยละเอียด มีแรงกระแทกต่ำ ลูกกล้วยไม้จะได้ไม่ช้ำ

(3) กระถางและเครื่องปลูก เช่น ถ่านออสมันด้า ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำไปใช้

(4) ให้น้ำลูกกล้วยไม้พอสมควร อย่างให้แฉะ ในกรณีที่เริ่มอาการเป็นโรค ต้องงดการให้น้ำและปุ๋ยสัก 2-3 วัน

(5) เมื่อพบอาการของโรค ให้ใช้ปากคีบหรือมือหยิบเอาต้นที่เป็นโรคและต้นที่อยู่ใกล้เคียงแต่ไม่เป็นโรคออกเผาหรือฝังเสีย พร้อมทั้งเครื่องปลูกบริเวณที่ลูกกล้วยไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย

(6) พ่นยาออร์โธไซด์ 50 ให้แก่ลูกกล้วยไม้ที่เหลือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย

๒) โรครากเน่า เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ทำอันตรายกล้วยไม้ได้ตั้งแต่ในระยะที่เป็นลูกกล้วยไม้จนถึงเป็นต้นใหญ่ อาการที่ปรากฏคือ รากจะอาจทำให้กล้วยไม้ตายได้ หากใช้เครื่องปลูกที่เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าว กระเช้าสีดา จะเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคและมีการระบาดได้ง่าย

วิธีป้องกันกำจัด ทำได้ดังนี้

(1) เมื่อปลูกกล้วยไม้ทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ใหม่ๆ รากยังไม่เดินอย่างรดน้ำให้มาก

(2) ในฤดูหนาวไม่จำเป็นต้องรดน้ำมาก นอกจากอากาศแห้งมาก

(3) ถ้าพบกล้วยไม้ใดเกิดอาการ ให้รื้อเครื่องปลูกเก่าออกทำลายทิ้งใช้กรรไกรตัดรากที่เสียออกให้หมด แล้วจุ่มโคนต้นทั้งรากลงไปในน้ำยาออร์ธิไซด์ 50 ผสมน้ำในอัตราส่วนน้ำยา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผึ่งกล้วยไม้ไว้จนแห้งแล้วนำไปปลูกในภาชนะและเครื่องปลูกที่สะอาด รดน้ำแต่น้อย ๆ เช่นเดียวกับกล้วยไม้ ปลูกใหม่ จนกระทั้งรากเดิน

3) โรคแอนแทรคโนส ระบาดในช่วงฤดูฝน สปอร์ของเชื้อจะปลิวไปกับลมและฝน จะมีอาการคือมีแผลที่ปลายหรือกลางใบ มีสีน้ำตาล มีวงกลมซ้อนๆ กันหลายชั้น บางคนเรียกโรคนี้ว่า โรคใบไหม้ เพราะว่าลักษณะของแผลจะแห้งลามจากปลายใบเข้ามาหาโคนใบ

การป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ของกล้วยไม้นั้น ขึ้นกับผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตและหาสาเหตุ เช่น เมื่อเห็นกล้วยไม้ผิดปกติ จะต้องพยายามหาสาเหตุอย่างมีเหตุมีผลให้ได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด อย่าปล่อยให้ผ่านพ้นไป เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นทางนำไปสู่ความรู้ความชำนาญ ซึ่งไม่สามารถที่จะหาได้จากตำราใดๆ แม้ว่าบางสิ่งบางอย่างจะปรากฏในตำรา แต่ก็ไม่แม่นยำเท่ากับประสบการณ์ที่ได้พบมาด้วยตนเอง

หลักสำคัญในการป้องกันโรคโดยทั่วไป

1. บำรุงกล้วยไม้ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์

2. การให้น้ำคำนึงถึงเวลาและอัตราที่เหมาะสม

3. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการตัด

4. พักและแยกกล้วยไม้ที่นำเข้ามาใหม่

5. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันและหลังการใช้ทุกครั้ง

6. อย่านำกล้วยไม้ที่เป็นโรคไปแพร่เชื้อ

7. ศึกษาที่มาของโรค

8. ศึกษานิสัยกล้วยไม้ที่ปลูก

9. แยกกล้วยไม้ที่เป็นโรคออกรักษา

10. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด

ศัตรูของกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด

ศัตรูของกล้วยไม้ ได้แก่

1. แมลง แมลงมีตั้งแต่ขนาดเล็กมากจนดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนถึงขนาดใหญ่มากเห็นได้ชัดเจน แมลงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทปากกัด ซึ่งส่วนมากจะมีตัวโต เข้าทำลายกล้วยไม้ด้วยการกัดหรือเจาะใบ ดอก ช่อดอก ลำต้น และราก ให้เป็นรอยแหว่ง ฉีกขาดหรือทะลุ เช่น หนอน ตั๊กแตน แมลงปีกแข็งบางชนิด อีกประเภทหนึ่งคือประเภทปากดูด มักจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ อาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ดอก ลำต้น ราก ทำให้ดอกสีผิดเพี้ยนไปบ้าง ทำลายใบและลำต้น ทำให้เติบโตช้า เกิดอาการเหี่ยว ต้นแคระแกร็น หรือตาย ไปในที่สุด แมลงที่เป็นศัตรูพืชที่ควรรู้จักและป้องกันกำจัด ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย

1) เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากขนาดยาวของตัวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น ตัวเมียจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของกลีบดอก ระยะไข่ 2-6 วัน ไข่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อฟักเป็นตัวจะมีสีครีม หรือเหลืองอ่อนและน้ำตาลเข้ม เป็นแมลงจำพวกปากดูดเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว มีปีกบินได้ พวกนี้ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามโคนกลีบดอกหรือตามรอยซ้อนกันระหว่างกลีบและปากของ กล้วยไม้
ลักษณะการทำลายกล้วยไม้ของเพลี้ยไฟ คือการดูดน้ำเลี้ยงจากดอกทำให้เกิดเป็นรอยขาวๆคดเคี้ยวไปมา จะทำลายริมดอกไปก่อน เมื่อจากอาการที่ดอกตูมมีสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ชะงักการเจริญเติบโตถ้าเป็นดอกบาน จะปรากฏรอยสีซีดขาว ที่ปากกระเป๋าและตำแหน่งที่กลีบดอกช้อนกัน ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล เรียกกันว่าดอกไหม้ เมื่อแก่อุ้งปากของดอกกล้วยไม้ออก จะเห็นตัวอ่อนหรือตัวแก่ของเพลี้ยไฟแอบซ่อนอยู่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงของกล้วยไม้ ใช้เวลาเพียง 1-2 วัน ในการทำลายช่อดอก เพลี้ยไฟจะระบาดในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง คือ ในฤดูร้อนนั่นเอง ส่วนฤดูฝนการระบาดจะลดลง

การป้องกันกำจัด การทำได้โดยการทำความสะอาดภายในและบริเวณรอบๆ เรือนกล้วยไม้อยู่เสมด เพื่อมิให้เป็นที่หลบซ่อนของเพลี้ยไฟและพ่นยาโมโนโครโตฟอส ในอัตราตัวยา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นแม้กระทั่งตามซอกใบ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

2) เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด กล้วยไม้ที่ถูกเจ้าของทอดทิ้ง ไม่ค่อยได้รับการฉีดพ่นยา ขาดการเอาใจใส่ดูแล มักจะถูกทำลายด้วยเพลี้ยหอยเพลี้ยเกล็ดลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบ ลำต้นและราก จะสังเกตเห็นว่าบริเวณที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยง จะมีสีเหลืองเป็นจุดนูนเล็กๆ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต พอนานๆ ก็แห้งเหี่ยวตายได้

การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วยยาดูดซึม เช่น อโซดริน ไวย์ เดทแอล เป็นต้น

3) เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงพวกดูดกินน้ำเลี้ยงด้วยเช่นกัน ลักษณะเป็นปุยสีขาวๆ ลำตัวอ่อนนุ่ม ชอบถ่ายมูลออกมาเป็นลักษณะน้ำหวานซึ่งเป็นอาหารของราดำ ลักษณะการทำลาย ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นกล้วยไม้หยุดการเจริญเติบโต เพราะชอบอยู่ตามใต้ใบมากกว่าบนใบ การป้องกันกำจัดปฏิบัติเช่นเดียว กับการกำจัดเพลี้ยหอย

4) แตนดำ เป็นแมลงจำพวกปากดูด มีลักษณะคล้ายมดดำตัวเล็กๆ มีปีกบินได้ว่องไว ที่ก้นมีเหล็กในแหลมสำหรับวางไข่ ทำลายกล้วยไม้ที่ใบ โดยใช้เหล็กในเจาะผิวใบแล้ววางไข่เป็นกลุ่มๆ ต่อมาภายในเนื้อใบตรงจดที่วางไข่จะเปลี่ยนสีเป็นจุดสีเหลืองๆ ยิ่งนานวัน จุดเหลืองก็จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นหากใช้เข็มแทงลงไปตรงกลางและแคะขึ้นมาดูจะพบตัวหนอนสีขาวอยู่ภายในเมื่อโตเต็มวัย ก็จะเจาะใบออกไปเกิดเป็นรูเล็กๆ ที่ใบ ขอบรูแห้งเป็นสีน้ำตาลหากไม่ป้องกันกำจัด ใบกล้วยไม้ก็จะเกิดรูพรุนกระจายไปทั่ว
การป้องกันกำจัด ทำได้โดยทำความสะอาดภายในบริเวณเรือนกล้วยไม้และบริเวณรอบๆ พ่นยามาลาไธออนในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นประจำทุก 5-7 วัน ในระยะที่แตนดำระบาด

5) หนอนและตั๊กแตน สภาพของเรือนกล้วยไม้ที่ล้อมรอบด้วยดงหญ้ารก หรืออยู่ในแหล่งที่ปลูกพืชอื่นๆ ที่หนอนและตั๊กแตนชอบจะระบาดหรือทำลายกล้วยไม้ได้ง่าย ลักษณะการทำลาย จะกินยอดอ่อน ดอกตูม ดอกบาน ให้เว้าแหว่งเหลือแต่ก้านดอก ทำความเสียหายให้พอสมควร

การป้องกันกำจัด กระทำได้ดังนี้
(1) กำจัดวัชพืชหรือหญ้าบริเวณรอบๆ เรือนกล้วยไม้ให้โล่งเตียนเพื่อทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและตัวอ่อนของหนอนและตั๊กแตน
(2) ทำเหยื่อพิษให้ตั๊กแตนมากิน โดยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เอาไปชุบน้ำยาเซฟรินเอฟ ไปตากให้แห้ง จึงเอามาตัดเป็นริ้วๆ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาวเท่าไรก็ได้ โปรยบนราวหรือต้นกล้วยไม้ ตั๊กแตนจะมากัดกิน ส่วนจะตายเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของยาและปริมาณตั๊กแตนที่กัดกินข้อเสียของการใช้กระดาษคือ เมื่อกระดาษชื้นหรือถูกน้ำจะหมดคุณภาพทันที
(3) ฉีดพ่นด้วยยาที่มีกลิ่นเหม็นเพื่อป้องกันไม่ให้หนอนและตั๊กแตนเข้ามา หรือฉีดพ่นยาประเภทถูกตัวตาย เช่น เซฟวิน 85 หรือ แลนเนท นิวดริน

6) ด้วงเหลืองหรือเต่าแดง ตัวเต็มวัยมีลักษณะเป็นด้วงปีกแข็ง สีเหลือง ตัวอ่อนเป็นหนอน มีลักษณะใสและมักสร้างฟองสีขาวหุ้มตัว ทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อนกัดกินดอกและช่อดอกอ่อนของกล้วยไม้ การป้องกันกำจัดทำได้โดยพ่นยาเซฟวินผสมน้ำในอัตราตัวยา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นกล้วยไม้ทุกๆ 7-10 วัน


2. สัตว์อื่นๆ สัตว์อื่นๆ ที่เป็นศัตรูของกล้วยไม้ ได้แก่ หนู หอย และทาก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงซึ่งอาจเข้าไปรบกวนกล้วยไม้เป็นบางโอกาสด้วย

1) หนู วิธีการกำจัดที่ได้ผลคือการใช้ยาเบื่อ เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์คลุกกับอาหารที่หนูชอบไว้เป็นเหยื่อ โดยอาจใช้เหยื่อล่อโดยไม่ผสมยาก่อนสัก 2-3 ครั้ง จึงค่อยผสมยาเบื่อ ก็จะได้ผลมากขึ้น และควรระวัง มิให้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

2) ทาก เป็นศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ จะกินดอกและรากอ่อนโดยออกหากินเวลากลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ในภาชนะปลูกการป้องกันกำจัดทำได้โดยใช้ไฟฉายส่องจับทำลายตอนกลางคืน หรือใช้สารเมทอลดีไฮด์ผสมกับเหยื่อ เช่น รำเคล้าน้ำตาลปีบ และผสมกับยาฆ่าแมลงแล้วปั้นเป็นก้อนวางไว้ในที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง หรืออาจใช้ยาเบื่อสำเร็จรูปกำจัดก็ได้ผลดี

3) หอยทาก เป็นศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยคล้ายกับทากเวลาออกหากิน นิสัย และการป้องกันกำจัด ทำได้คล้ายกับทาก
นอกจากนี้ ยังมีสัตว์อีกชนิดหนึ่งคือ แมงมุมแดงหรือไรแดง ซึ่งมีรูปร่างคล้ายแมลงแต่ไม่ใช่แมลง มีขา 8 ขา มีปากเป็นจำพวกปากดูด ตัวอ่อนสีเหลือง เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีแดง ตัวเล็กมาก บางครั้งจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีแดงขนาดเท่าปลายเข็มหมุด อยู่เป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบไรแดงทำอันตรายกล้วยไม้แทบทุกชนิดและทุกขนาด โดยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบและดอก โดยเฉพาะใต้ใบ ทำให้ผิดใบเป็นสีขาว ซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ บางครั้งอาจระบาดไปถึงลำต้น จนทำให้ต้นกล้วยไม้ไหม้เกรียมเป็นสีน้ำตาลแก่ ใบร่วง ต้นแคระแกร็น ส่วนการทำลายที่ดอกจะปรากฏรอยด่างบนกลีบดอก ขนาดของกลีบดอกเล็กลงและบิดเบี้ยว ส่วนดอกตูมมักจะฝ่อและแห้งหลุดร่วงไปจากก้านช่อดอก
การป้องกันกำจัด ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ยาเคลเธน อัตรา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทั้งต้นกล้วยไม้


3. วัชพืช หมายถึง พืชชนิดใดก็ตามที่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้ปลูกสำหรับกล้วยไม้ วัชพืชจะขึ้นอยู่ในภาชนะปลูกและเครื่องปลูก หรือบนดินในบริเวณเรือนกล้วยไม้ วัชพืชเหล่านี้ เช่น ตะไคร่น้ำ หญ้ามอส การที่ถือว่าวัชพืชเป็นศัตรูชนิดหนึ่งเนื่องจากคอยแย่งน้ำและอาหารจากกล้วยไม้ และทำให้เครื่องปลูกผุเปื่อยเร็วขึ้นกว่ากำหนด แย่งแสงสว่าง และยังเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของเชื้อโรค แมลงและศัตรูพืชบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อกล้วยไม้อีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้มีวัชพืชจับบนเครื่องปลูกหรือกระเช้ากล้วยไม้ คือ

1) ปลูกไม้แน่นทึบแสงแดดส่องไม่ค่อยถึง เครื่องปลูกไม่แห้ง ทำให้อมความชื้นตลอดเวลา

2) สภาพแวดล้อมบริเวณสวนกล้วยไม้อับทึบ การถ่ายเทอากาศไม่ดี

3) น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้เป็นน้ำไม่สะอาด ซึ่งอาจมาจากแหล่งน้ำเน่าเสีย

การป้องกันกำจัดวัชพืช
1) พยายามปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปรับปรุงการปลูกมิให้แน่นทึบ
2) ฉีดพ่นด้วยยาไฟซาน 20 ในอัตรา 3 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปีบ หรือไดยูรอนในอัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 1 ปีบ แต่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรพ่น เพราะอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้
3) ถอนวัชพืชออกจากภาชนะที่ปลูกและออกจากเครื่องปลูกกล้วยไม้โดยกระทำในขณะวัชพืชยังอ่อน รากยังไม่หยั่งลึกลงไปในเครื่องปลูก ถ้าปล่อยไว้จนวัชพืชโตแล้วจะถอนได้ยากหรือไม่ก็ขาดเพียงต้นแต่รากยังอยู่ และสามารถแตกหน่อขึ้นมาใหม่ได้อีก
4) ไม่ควรใช้เครื่องปลูกที่เอื้ออำนวยต่อการสะสมเมล็ดวัชพืช เช่น กาบมะพร้าว

หลักในการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูของกล้วยไม้

1. การป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูจากที่อื่น
การป้องกันไม่ให้โรคและศัตรูจากที่อื่นระบาดเข้ามาในที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ของเรา มีดังต่อไปนี้

1) เลือกสถานที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ คือให้อยู่ห่างจากสถานที่เลี้ยงกล้วยไม้ของเพื่อนบ้านใกล้เคียง ไม่ควรเป็นที่อับลม อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น สร้างอยู่ในระหว่างอาคารหลังใหญ่ๆ หรือสร้างในที่ลมพัดจัดเกินไปจนเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ เช่น ใบหรือดอกฉีกขาด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ต้นกล้วยไม้ได้ ไม่ควรให้อยู่ใต้ร่มไม้ เนื่องจากจะบังแสงแดด และต้นไม้นั้นยังอาจเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูกล้วยไม้ด้วย

2) รักษาความสะอาด ทั้งที่เรือนกล้วยไม้ โต๊ะปฏิบัติงานเกี่ยวกับกล้วยไม้ โต๊ะตั้งกระถาง แปลงปลูกกล้วยไม้ ภาชนะปลูก และเครื่องมือ เครื่องใช้ในการเลี้ยงกล้วยไม้อยู่เสมอ เมื่อใช้เครื่องมือทุกครั้งควรใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาคลอร๊อกซ์ อัตราน้ำยาเข้มข้น 1 ส่วนผสมน้ำสะอาด 10 ส่วน เช็ดถูให้ทั่ว หรือจะนำลงแช่น้ำยานี้เลยก็ได้ ส่วนภาชนะหรือเครื่องปลูกเก่าเมื่อจะนำมาใช้ใหม่จะต้องทำความสะอาดอย่างดี นอกจากนี้ก่อนจับต้องต้นกล้วยไม้ทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด และถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะให้บุคคลภายนอกเข้าไปในบริเวณที่เลี้ยงกล้วยไม้ เนื่องจากอาจเป็นพาหนะนำเชื้อโรคโดยไม่ได้ตั้งใจทางที่ดีก่อนที่จะให้บุคคลภายนอกเข้าไปในสถานที่เลี้ยงกล้วยไม้ของเราควรของร้องให้เขาล้างมือให้สะอาดเสียก่อน
3) อย่ารดน้ำให้มากเกินไป จะทำให้กล้วยไม้เน่า หรือแคระแกร็นโดยเฉพาะลูกกล้วยไม้เล็กๆ ที่ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางนิ้วมักจะเน่าได้ง่ายถ้าชื้นจัด และควรใช้น้ำสะอาดรดกล้วยไม้

4) ใส่ปุ๋ยให้กล้วยไม้ตามสมควร เพื่อให้เจริญเติบโตแข็งแรง มีความต้านทางต่อโรค

5) แยกเลี้ยงกล้วยไม้ใหม่ไว้ต่างหาก กล้วยไม้ที่ได้มาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้ป่าหรือกล้วยไม้เลี้ยงจากที่ใดก็ตาม ก่อนจะนำมาปลูกรวมกับที่มีอยู่ก่อนแล้ว ควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหากเพื่อศึกษาอาการระยะหนึ่งก่อน และควรพ่นยาป้องกันโรคและยากำจัดแมลงเป็นประจำ เมื่อแนะใจว่าปลอดโรคและศัตรูอื่นๆ แล้วจึงค่อยนำไปเลี้ยงรวมกัน

6) การดูแลแผล ทุกครั้งที่มีการตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ให้เกิดเป็นแผล ให้ใช้ปูนแดงหรือยาออร์ไธไซด์ 50 ผสมน้ำเละๆ ทาตรงรอยแผลที่ตัด

7) พ่นยาป้องกันโรคและกำจัดแมลงเป็นประจำ ไม่ต้องรอให้เกิดโรคหรือแมลงขึ้นก่อน จะแก้ไขไม่ทัน ตามปกติถ้าไม่พบว่ากล้วยไม้เป็นโรคหรือมีแมลงรบกวน ควรพ่นยาป้องกันโรคประมาณ 15 วัน ต่อครั้ง และพ่นยาฆ่าแมลงทั้งจำพวกปากกัดและจำพวกปากดูดประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง ยาป้องกันโรคที่ใช้สำหรับการป้องกันทั่วไป ได้แก่ ยาออร์โธไซด์ 50 ยาดิโฟลาทาน ดับเบิลยู. พี. (Difolatan W. P.) สำหรับยาฆ่าแมลงจำพวกปากดูด ได้แก่ ยาอโซดริน (Azodrin) มาลาธิออน (Malathion) เป็นต้น ต่อเมื่อปรากฏว่ามีโรคหรือแมลงเกิดขึ้นแล้วจึงค่อยพิจารณาเลือกใช้ยาป้องกันกำจัดเฉพาะโรคหรือแมลงนั้นๆ ต่อไป

8) แสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคและศัตรูของกล้วยไม้ จากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์อยู่เสมอ เมื่ออาการต่างๆ เกิดขึ้นกับกล้วยไม้ของตนเองจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที


2. การกำจัดโรคและศัตรูที่เกิดขึ้นในสถานที่เลี้ยงกล้วยไม้

1) แยกเลี้ยง ถ้าพบว่ากล้วยไม้ต้นใดมีอาการผิดปกติ ควรรีบแยกออกไปเลี้ยงไว้ที่อื่น ให้ห่างจากกล้วยไม้ที่ยังเป็นปกติดีเสียก่อน

2) ศึกษาโรค สอบถามผู้รู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากโรคแมลง หรือศัตรูชนิดใด จะมีวิธีป้องกันกำจัดไม่ให้ระบาดต่อไปได้อย่างไร แล้วรีบปฏิบัติทันที

3) ทำลาย ถ้าอาการที่เกิดขึ้นมีลักษณะรุนแรง เช่น เน่าไปครึ่งต้นและคิดว่าแก้ไขไม่ได้แล้ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรทำลายด้วยการเผาหรือฝังให้ลึกๆ อย่าเสียดาย แต่ถ้าอาการยังไม่ร้ายแรงนัก เพียงปรากฏอาการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ให้ใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดส่วนที่เสียออก โดยตัดให้ล้ำเข้าไปในส่วนที่ดีเล็กน้อย แล้วใช้ปูนแดงหรือยาออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำเละๆ ทาตรงแผลที่ตัด

4) แก้ที่สาเหตุ ศึกษาสาเหตุของการเกิดโรคและการทำลายของแมลงในบริเวณที่เลี้ยงกล้วยไม้และพยายามแก้ไข เช่น ถ้าพบว่าน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ไม่สะอาดพอ ทำให้เกิดอาการเน่า ก็พยายามหาน้ำสะอาดมาใช้แทนหรือพบว่าเกิดมีเพลี้ยหอยชุกชุมเนื่องจากนำกล้วยไม้ป่เข้ามาเลี้ยงรวมกับกล้วยไม้ที่มีอยู่แล้ว คราวต่อไปก็ควรแยกกล้วยไม้ป่านี้ไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนและพ่นยาป้องกันโรคและฆ่าแมลงเสีย

หมายเหตุ
คัดมาจากที่อื่นเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน

อ้อ ศัตรูกล้วยไม้อีก 2 ชนิดที่ยังไม่กล่าวถึง ทีผมเห้นมาครับ คือ

1 สัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข และ
2 คู่สมรส(ของท่าน) ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่อง ผมเห็นมาหลายสวนครับ ระเนนระนาดหมดเลย 555b3


Create Date : 23 ตุลาคม 2548
Last Update : 24 ตุลาคม 2548 14:31:51 น. 30 comments
Counter : 3427 Pageviews.

 
มาเยี่ยมชมบ้านคุณลุดวิก ความรู้เยอะดีครับ


โดย: สิงโตอ้วน IP: 203.156.138.2 วันที่: 23 ตุลาคม 2548 เวลา:11:19:52 น.  

 
แวะมาเยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับ พอดีย่าชอบมาก


โดย: ฉี่เฉี่ยวถัง วันที่: 23 ตุลาคม 2548 เวลา:11:35:30 น.  

 
ไม่เห็นลงภาพกล้วยไม้เลยค่ะ


โดย: ประพิมพ์ประพาย วันที่: 23 ตุลาคม 2548 เวลา:12:02:35 น.  

 
แปะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

มาตบมือให้ครับ เนื้อหาดี


โดย: น้าโหด IP: 203.172.115.68 วันที่: 24 ตุลาคม 2548 เวลา:16:53:54 น.  

 
เนื้อหาดีจริงๆ ครับ

แต่อย่าง สิงโต ที่เอามาลงเนี่ย ถ้ามีที่มาหน่อยก็ดีนะครับ บอกวันเวลา แล้วก็ปีด้วย

เพราะว่า จะทำให้รู้ว่า อ้อ ช่วงนั้น ชนิดนี้ยังไม่ได้จับแยก หรือชนิดนี้ ยังเข้าใจกันว่าเป็นพวกนี้

แต่สนุกดีครับ ผมชอบอ่านเรื่องเก่าๆ
(ยังอ่านตำราเล่นกล้วยไม้ไม่จบเลยครับ)

เพลงคลาสสิกก็เยี่ยม

เนี่ยเคยมีพี่คนหนึ่งเขียนเรื่อง ดนตรีประกอบภาพยนตร์ไว้หลายปีมาแล้วไม่รู้เอาไฟล์ไว้ไหน เสียดายจริงๆ


โดย: เสือจุ่น (เสือจุ่น ) วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:11:31:01 น.  

 
ตามมาเก็บความรู้ครับ


โดย: ต๊อก (นายต๊อก ) วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:19:36:46 น.  

 
มาเยี่ยมชมครับ ความรู้เพียบเลยนะบล็อกนี้....


โดย: บ้านค่าย IP: 203.148.194.18 วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:16:49:06 น.  

 
แวะมาทักทายครับ
ความรู้เพียบเลย ขอบคุณครับ


โดย: ปุ้ม ครับ วันที่: 28 ตุลาคม 2548 เวลา:12:43:22 น.  

 
โอ้ว มาเยี่ยมครับ คอ LED อิอิ
กล้วยไม้ นี่เป็นไม้ที่ผมยอมรับเหมือนกันครับ
ต้องเอาใจใส่เเละพิถีพิถันในการดูเเลอย่างมาก
คิดว่าคงจะดูเเลได้ไม่ดีเเน่ๆ เลยถอยดีกว่า
เเต่ข้อมูลเเละสาระวันนี้เยี่ยมครับ นับถือ


โดย: Dark Secret วันที่: 29 ตุลาคม 2548 เวลา:10:23:50 น.  

 
ดีครับ ได้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับกล้วยไม้ดี คราวหน้าช่วยลงรูปดอกกล้วยไม้ให้ด้วยนะครับจะตามมาอ่าน


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 30 ตุลาคม 2548 เวลา:15:27:57 น.  

 


โดย: โสมรัศมี วันที่: 30 ตุลาคม 2548 เวลา:18:20:51 น.  

 
ครับ รับทราบ จะหามาให้นะครับ แต่รอหน่อยนะ เพราะงานอื่นรัดตัวอยู่ครับ มาเยี่ยมบ่อยๆนะครับ


โดย: จขบ (ลุดวิก ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา:21:28:14 น.  

 
หวัดดีค่ะ
แวะมาเยี่ยมพี่ลุดวิกค่ะ
ตอนนี้มาเอาดีด้านกล้วยไม้แล้วเหรอคะ (เอ หรือว่าชอบมานานแล้วเอ่ย)
ไม่เจอกันนานเลยนะคะ
ไปเยี่ยมบ้านยุ้ยบ้างนะคะ


โดย: Goddess วันที่: 7 พฤศจิกายน 2548 เวลา:14:13:53 น.  

 
มีเรื่องหลากหลายให้อ่านดีจัง


โดย: เตย (terrynop ) วันที่: 7 พฤศจิกายน 2548 เวลา:22:14:12 น.  

 
มีพันธุ์อะไรแจกบ้างอะเพ่


โดย: Goddess วันที่: 8 พฤศจิกายน 2548 เวลา:10:07:16 น.  

 
แวะมาเยื่อมครับ


โดย: ลิงเล IP: 203.114.121.89 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2548 เวลา:17:47:36 น.  

 

หวาย





โดย: เทพินทร์ วันที่: 12 พฤศจิกายน 2548 เวลา:19:00:09 น.  

 


รองเท้านารี




โดย: เทพินทร์ วันที่: 12 พฤศจิกายน 2548 เวลา:19:04:37 น.  

 
เกิบแม่ญิง งามแต้ ขอบคุณหลายก๋า


โดย: จขบ IP: 61.91.247.222 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2548 เวลา:20:20:31 น.  

 
src=https://www.bloggang.com/emo/emo16.gif>


โดย: test IP: 58.10.138.11 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2548 เวลา:2:18:19 น.  

 
เเวะมาทักทายครับผม


โดย: Dark Secret วันที่: 23 พฤศจิกายน 2548 เวลา:6:16:14 น.  

 
มาตอบเรื่อง Hard Rock ครับ
จริง ๆ แล้วที่ผมบอกว่า Led เป็น Hard Rock นั้น
ผมใช้ความรู้สึกในแบบของนักฟังที่ไม่ใช่นักเล่นสัมผัสเอาครับ

แต่ถ้าเป็นข้อมูลจริงล่ะก็ ได้ยินมาว่า Hard Rock จะใช้คีย์เมเจอร์เป้นหลัก ส่วน Heavy Metal นั้นจะเน้นไมเนอร์
นอกนั้นก็เป็นความต่างของโครงสร้าง คอร์ด
ที่ผมยังไม่รู้ลึกขนาดนั้น



โดย: ShadowServant IP: 203.188.32.88 วันที่: 6 ธันวาคม 2548 เวลา:0:52:29 น.  

 
แวะมาเยี่ยมครับ ... ความรู้ท่วมเลยครับ กระทู้นี้


โดย: แมงเม่า IP: 202.142.195.71 วันที่: 22 ธันวาคม 2548 เวลา:11:12:29 น.  

 


สวัสดีปีใหม่ครับ ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ


โดย: ไผ่เล่นลม วันที่: 1 มกราคม 2549 เวลา:13:26:31 น.  

 


โดย: เพทาย IP: 124.121.80.222 วันที่: 11 ธันวาคม 2549 เวลา:10:13:41 น.  

 
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pairandloum


โดย: ดิวhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pairandloum IP: 124.121.80.222 วันที่: 11 ธันวาคม 2549 เวลา:10:15:04 น.  

 
ผมได้เห็นคุณลุดวิก โพสใน pantip ว่ามีสามปอยแท้ ขาย
ไม่ทราบว่าราคาเท่าไรครับ เบอร์โทรผม 086-9872674


โดย: รักเสมอ IP: 58.10.12.216 วันที่: 28 ธันวาคม 2549 เวลา:10:19:05 น.  

 
อยู่ใกล้ๆ แต่ม่ายยักกะรู้ว่าชอบกล้วยไม้ รู้งี้ปรึกษานานแย้ว


โดย: เพิ่งเจอของจิง (แม่น้องเบนซ์ ) วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:19:51:49 น.  

 
ปีใหม่ปายหนายยังไม่ตอบกลับเลย หวัดดีปีใหม่ไทยค่ะ


โดย: หวัดดีปีใหม่ค่ะ (แม่น้องเบนซ์ ) วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:20:50:05 น.  

 
ว่าไงครับ the mother of Nong Benz (แมร์เซเดส ป่ะเนี่ย)


โดย: จขบ IP: 124.121.116.54 วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:2:57:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.