สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เชิญร่วมงานรำลึก100ปีพระบรมรูปทรงม้า





วันนี้นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนไทยทั้งแผ่นดินที่ได้มีโอกาสร่วมถวายสักการะพระบรมรูปทรงม้าและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ได้พระ ราชทานต่อปวงชนชาวไทยในหลากหลายด้านอย่างอเนกอนันต์ และเนื่องด้วยพระปรีชาสามารถที่ทรงปกครองราษฎให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข พระองค์ จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานาม ว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งถือเป็นวันครบรอบ 100 ปี ของรูปหล่อพระบรมรูปทรงม้าในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทางมูลนิธิโทรทัศน์เฉลิม พระเกียรติผ่านดาวเทียมและสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ ร่วมจัด “งานรำลึกครบ 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า” ขึ้นระหว่าง วันที่ 12-16 พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. โอกาสนี้ประชาชนชาวไทยจะได้เข้าร่วมชมงานซึ่งจัดขึ้นอย่าง ยิ่งใหญ่และเนรมิตสวนอัมพร กลับสู่บรรยากาศเมื่อ 100 ปี ในแบบพระนครย้อนยุค และพบกิจกรรมมากมายตลอด 5 วัน

พระบรมรูปทรงม้าถือเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์เอง ถือเป็นพระบรมรูปกษัตริย์ไทยองค์แรกและองค์เดียวในลักษณะประทับบนหลังม้า โดยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง โดยใช้โรงหล่อของพี่น้องตระกูลซุส แฟร์ (SUSSE Fre`res Fondeurs, Paris) เป็นสถานที่ทำการหล่อในประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งยัง เสด็จฯไปประทับเป็นแบบ ให้นายช่างปั้นหุ่นพระองค์ โดยให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล (G.Saulo) ปั้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 ขณะประทับ อยู่ที่กรุงปารีส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริงประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่งโดยม้าพระที่นั่งนั้นเป็นม้าที่อาศัยต้นแบบจากพระบรมรูปทรงม้าของกษัตริย์สเปนที่มีพระนาม ว่า พระเจ้าอัลฟองโซที่ 13

เมื่อพระบรมรูปสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้ส่งเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็นเวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลยราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรม รูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบน แท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าหล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ (Bronze) หรือโลหะเนื้อสัมฤทธิ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ เป็นที่ม้ายืน หนาประมาณ 25 เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรอง ทำด้วยหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ห่างจาก ฐานของแท่นออกมา มีโซ่ขึงล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ตรงฐานด้านขวามีอักษรฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อไว้ว่า C.Masson ๑๙๐๘ และ G.Paupg Statuare และด้านซ้ายเป็นชื่อบริษัทที่ทำการหล่อพระบรมรูปทรงม้าว่า SUSSE Fre`res Fondeurs, Paris

สำหรับแท่นศิลาอ่อนด้านหน้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแผ่นโลหะทองสัมฤทธิ์ ขนาด กว้าง 144 เซนติเมตร สูง 246 เซนติเมตร หนา 3.5 เซนติเมตร จารึกอักษรไทย ติดประดับแสดงพระบรมราชประวัติ พระเกียรติคุณ และกล่าวถึงประวัติการสร้างพระบรมรูปทรงม้าเพื่อประกาศพระเกียรติยศ ในโอกาสที่ทรงครองราชสมบัติครบ 40 ปี ในพ.ศ. 2451 ลงท้ายด้วยคำถวายพระพรให้ทรงดำรงราชสมบัติอยู่ยืนนาน

และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้วพสกนิกรได้กราบทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้มีวันนักขัตฤกษ์สำหรับประชาชนถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ต่อ มาจึงเปลี่ยนวันถวายบังคมเป็นวันที่ 23 ตุลาคม อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปัจจุบันมีประชาชนจำนวนมากเดินทางไปสักการบูชาที่ลานพระบรมรูปทรงม้าอยู่เสมอ ถึงแม้จะไม่ใช่วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในคืนวันอังคารตรงกับวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ โดยมีความเชื่อว่าจะเสมือนไปรอเฝ้าฯรับเสด็จ ซึ่งในเวลา 4 ทุ่มพระองค์ท่านจะเสด็จฯมาประทับ ณ พระบรมรูปทรงม้า สำหรับสิ่งที่นิยมนำมาสักการบูชาคือ ดอกกุหลาบสีชมพู ด้วยความเชื่อที่ว่า ดอกกุหลาบมีความงดงามและมีหนามแหลมคม คืออำนาจ หากนำมาบูชาจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจ และสีชมพูยังเป็นสีของวันอังคารที่ตรงกับวันพระบรม ราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้ประชาชนยังนิยมจัดเป็นโต๊ะบูชา ประกอบด้วยบายศรีหมากพลู บุหรี่ เหล้า ไวน์ สตางค์ น้ำมนต์ เชิงเทียน กระถางธูป ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการจัดอย่างบูชา “เทพ”.

กิจกรรมในงานที่น่าสนใจ

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบ ด้วยสื่อผสมที่เพลิดเพลินและสามารถร่วมสนุกไปกับเทคนิคที่ทันสมัย การบรรยายภาพผ่านม่านน้ำ (Hydro screen) และภาพถ่ายการสร้างพระบรมรูปทรงม้า ในอดีตที่หาชมได้ยาก ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ กิจกรรมถ่ายภาพย้อนยุคซึ่ง เมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วสามารถนำไปเป็นโปสการ์ดหรือแสตมป์จัดส่งไปรษณีย์ ณ บริเวณงาน นอกจากนี้ภายในงานยังจำลองตลาดขายของวิถีไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องในงานนิวัติพระนครด้วยการเนรมิตตลาดย้อนยุคกว่า 100 ปี มาอยู่รอบสวนอัมพร โดยสร้างสีสันด้วยการแต่งชุดไทยของแม่ค้าร้านตลาดในสมัย รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยบริการรถลากชมตลาด ชิม เลือกซื้ออาหารไทยกว่า 100 ชนิด

อีกทั้งยังมีกิจกรรมการแข่งขันประกวดภาพถ่ายพระบรมราชานุสรณ์พระบรมรูปทรงม้า และจัดฉายสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หาชมได้ยากยิ่งในรูปแบบพาโนรามา มีการจัดแสดงบูธนิทรรศการและกิจกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำตราไปรษณียากรที่ระลึก 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า สำหรับกิจกรรมถวายความจงรักภักดี “หทัยกานต์ องค์ราชัน” ประชาชนจะร่วมกันแสดงความจงรักภักดีโดยการวางดอกกุหลาบสีชมพู ซึ่งเกิดจากความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวสยามนำมาถวายแด่สมเด็จพระปิยมหาราช โดยจะจัดวางเป็นอักษรดอกไม้เป็นเลข 100 ขนาดใหญ่ แทนใจชาวไทย 63 ล้านดวง ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า

ประชาชนที่เข้าชมงานจะได้รับโปส การ์ดที่ระลึกครบ 100 ปี พระบรมรูปทรงม้าวันละ 1 แบบ 5 วัน 5 แบบ สำหรับเก็บไว้เพื่อเป็นสิริมงคล และที่ระลึกเนื่องในโอกาสอันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย ฟรี!!! จำนวนจำกัด.



ขอขอบคุณข้อมูลจากเดลินิวส์












Create Date : 11 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2551 9:18:09 น. 0 comments
Counter : 1313 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.