สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
แบตเตอรี่จิ๋วพลังน้ำ

“คุณเคยเห็นแบตเตอรี่จมน้ำแล้วใช้งานได้ไหมครับ” คุณนที ศรีทอง นักประดิษฐ์ที่มีหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อมเอ่ย คำถามสั้นๆ ชวนสงสัยขึ้น นอกจากบทบาทผู้บริหารของ บริษัท Wireless Information Technology จำกัด ผู้ผลิตคอนเทนต์บนมือถือแล้ว คุณนที ยังเป็นครูสอนสร้างกังหันลมขนาดเล็กผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง ที่บ้าน และล่าสุด เขาได้ใช้วิชาเคมีที่เคยร่ำเรียนในวัยเยาว์ เปลี่ยนเศษขยะไร้ค่าให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กที่ เรียกว่า “แบตเตอรี่น้ำ”





เขาเล่าถึงที่มาของสิ่งประดิษฐ์จิ๋วแต่พลังแจ๋วให้ฟังว่า “เมื่อ หลายปีก่อนผมได้ไปสอนและติดตั้งกังหันลมให้ชาวบ้าน เกาะปอ จังหวัดกระบี่ วันหนึ่งมีเด็กหนุ่มเข้ามาขอให้ผมช่วย ประดิษฐ์แบตเตอรี่ต่อวิทยุให้เพราะบ้านเขาไม่มีไฟฟ้า และ เวลาออกไปหาปลา เขาก็ใช้เรือใบลำเล็กๆ ซึ่งไม่มีไฟฟ้าเช่นกัน แต่เขาอยากฟังเพลงไปด้วยจับปลาไปด้วย”

คุณนทีจึงดัดแปลงเศษวัสดุเหลือใช้รอบๆ ตัวที่หาง่าย ได้แก่ นอต หรือ ตะปูชุบสังกะสี 1 ตัวขนาดใหญ่ สายไฟเก่า โดยปลอกพลาสติกหุ้มออกและเลาะเอาเฉพาะลวดทองแดง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นำลวดทองแดงที่ได้มาคลี่ออก เพื่อให้เกิดพื้นที่หน้าตัดกว้างๆ และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือ เศษไม้ หรือ เศษพลาสติก ขนาด 5 × 5 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น เพื่อทำหน้าที่ยึดอุปกรณ์ทั้งสอง ข้างต้น

นำวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกัน จากนั้น ใช้สายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น หลอดไฟหรือ วิทยุ พันบริเวณปลายของตะปูชุบสังกะสีและลวดทองแดง ที่ยึดติดอยู่บนแผ่นไม้ ก่อนหย่อนแบตเตอรี่น้ำลงในถังน้ำหรือ บ่อน้ำขนาดกลาง เพื่อเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าเข้ากับอุปกรณ์ ดังกล่าว โดยใช้หลักการจากตำราวิชาเคมีสมัยมัธยมที่ว่า

“หลักการของเซลล์เคมีไฟฟ้าคือการเปลี่ยนจากพลังงาน เคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยนำขั้วไฟฟ้าคือทองแดงและแผ่น สังกะสีจุ่มในสารละลายตัวกลาง เมื่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองทำปฏิกิริยากับสารละลายจะเกิดการ แตกตัว โดยขั้วสังกะสีจะเป็นขั้วไฟฟ้าลบและมีศักย์ไฟต่ำ ส่วนขั้วทองแดงจะเป็นขั้วไฟฟ้าบวกและมีศักย์ไฟฟ้าสูง ดังนั้น จะทำให้มีกระแสอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากขั้วสังกะสีไปสู่ขั้ว ทองแดง จึงเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น”

คุณนทีเล่าถึงคุณสมบัติและข้อดีของสิ่งประดิษฐ์จิ๋วต่อว่า “แบตเตอรี่น้ำ 1 ตัวจะให้กระแสไฟฟ้าประมาณ 0.7 - 1 โวลต์ หรือเทียบเท่ากับถ่านหนึ่งก้อนนั่นเอง แล้วถ้าเรานำหลายๆ ตัว มาเรียงต่อกันเป็นซีรี่ส์ เช่น ใช้ 15 ตัว เราก็ชาร์จไฟใส่แบต- เตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ง่ายๆ เพื่อเก็บเป็นพลังงานไฟฟ้าสำรอง ไว้ใช้งานต่อไป ในต่างประเทศมีใช้กันมานานแล้ว เช่น ไฟ กะพริบตามประภาคารกลางทะเลซึ่งใช้ไฟน้อย”

นอกจากจะมีไฟฟ้าไว้ใช้ฟรีๆ แบบสบายกระเป๋าแล้ว พลังงานที่ได้ยังเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แถมช่วยลดปริมาณเศษขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่เราไม่ต้องการ ได้อีก นี่แหละพลังสร้างสรรค์ของแบตเตอรี่จมน้ำที่ไม่ธรรมดาค่ะ




ขอบคุณข้อมูลดีดีจากwww.cheewajit.com



Create Date : 26 กันยายน 2552
Last Update : 26 กันยายน 2552 8:34:42 น. 0 comments
Counter : 2319 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
26 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.