สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

เกิร์ด-โรคน้ำย่อยไหลกลับ

คนปกติทั่วไปจะมีหูรูดตรงรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร (lower esophageal sphincter) เวลากลืนอาหาร อาหารจะผ่านหลอดอาหาร พอถึงบริเวณรอยต่อนี้ หูรูดจะหย่อน (คลาย)ให้อาหารผ่านลงสู่กระเพาะอาหาร


ในกระเพาะอาหารจะมีน้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ทำหน้าที่ย่อยอาหาร (น้ำย่อยจะไม่ย่อยหรือกัดเนื้อกระเพาะอาหาร เนื่องจากมีการสร้างเมือกเป็นฉนวนปกคลุมบนผิวภายในกระเพาะอาหาร) เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะ หูรูดตรงรอยต่อนั้นจะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหารแต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่หูรูดตรงรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารดังกล่าวทำหน้าที่ผิดปกติ ปล่อยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร น้ำย่อยจะระคายผิวภายในหลอดอาหารจนเกิดการอักเสบ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา


ภาวะดังกล่าว ทางการแพทย์เรียกว่า โรคน้ำย่อยไหลกลับ
ภาษาอังกฤษเรียกว่า Gastro-Esophageal Reflux Disease ซึ่งย่อว่า GERD (อ่านว่า เกิร์ด) ชื่อภาษาไทย เกิร์ด, โรคน้ำย่อยไหลกลับ
ชื่อภาษาอังกฤษ GERD, Gastroesophageal reflux disease


สาเหตุ

เกิดจากภาวะหย่อนคลายของหูรูดตรงรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร ทำให้หูรูดปิดไม่ได้สนิท เปิดช่องให้น้ำย่อยในกระ-เพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปก่อการระคายเคืองต่อหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่

ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไม ผู้ป่วยจึงมีภาวะหูรูดหย่อนคลายผิดไปจากคนปกติทั่วไปแต่พบว่ามีปัจจัยหลายประการที่อาจทำให้อาการกำเริบ เช่น การกินอิ่มมากไป กระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งมาก

การนอนราบ การนั่งงอตัวโค้งตัวลงต่ำ ทำให้น้ำย่อยไหลกลับง่ายขึ้น
ภาวะอ้วน ภาวะตั้งครรภ์ การรัดเข็มขัดแน่น หรือใส่กางเกงคับเอว จะเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารให้น้ำย่อยไหลกลับ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือกาเฟอีน (กาแฟ ชา ยาชูกำลัง) นอกจากกระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งมากแล้ว ยังเสริมให้หูรูดหย่อนอีกด้วย การสูบบุหรี่ การกินอาหารมัน ช็อกโกแลต น้ำส้มคั้น หรือสะระแหน่ การใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแก้หืด ยาแอนติโคลินเนอร์จิกแก้อาการปวดเกร็งท้อง ยาลดความดันกลุ่มต้านแคลเซียม เป็นต้น) จะเสริม ให้หูรูดหย่อน


อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก (ตรงกับตำแหน่งที่คลำได้กระดูกอ่อน) หลังกินอาหารใหม่ๆ หรือหลังกินอาหารแล้วล้มตัวลงนอนราบ หรือนั่งงอตัวโค้งตัวลงต่ำ หรือมีการรัดเข็มขัดแน่น หรือใส่กางเกงคับเอว มักมีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง บางคนอาจมีอาการปวดแสบร้าวจากยอดอก
ขึ้นไปถึงคอหอย บางคนอาจมีอาการเรอเปรี้ยว (ขย้อนน้ำย่อย) ขึ้นไปที่คอหอย บางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการกลืนอาหารแข็ง (เช่น ข้าวสวย) ลำบาก ทั้งนี้เนื่องจากปล่อยให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังจนตีบตัน


ในรายที่มีภาวะน้ำย่อยไหลกลับรุนแรงกล่าวคือ ไหลขึ้นไปถึงปากและคอหอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่านอน ก็อาจทำให้มีเสียงแหบตอนตื่นนอน (เนื่องจากน้ำย่อยระคายจนกล่องเสียงอักเสบ) เจ็บคอ หรือไอเรื้อรัง
(น้ำย่อยระคายคอ) โรคหอบหืดกำเริบบ่อย (น้ำย่อยระคายหลอดลม) ปอดอักเสบ (สำลักน้ำย่อยเข้าไปในปอด) ส่วนในรายที่มีภาวะน้ำย่อยไหลกลับเล็กน้อย ก็อาจไม่มีอาการผิดปกติให้สังเกตเห็นก็ได้


การแยกโรค

อาการปวดแสบลิ้นปี่หรือยอดอก อาจต้องแยก ออกจากสาเหตุอื่น เช่น

1.โรคแผลเพ็ปติก (แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ส่วนต้น) จะมีอาการปวดตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (บริเวณระหว่างกระดูกลิ้นปี่กับสะดือ) มักมีอาการก่อนหรือหลังอาหาร (เวลาหิวแสบท้อง เวลาอิ่มจุกท้อง)เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง เวลากินยาลดกรดจะรู้สึกทุเลาปวด ผู้ป่วยอาจมีประวัติกินยาแก้ปวดข้อเป็นประจำมาก่อน

2.โรคนิ่วในถุงน้ำดี จะมีอาการจุกแน่น หรือปวดเกร็งเป็นพักๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่และใต้ชายโครงข้างขวา มักเป็นหลังกินอาหารมันๆ โรคนี้พบได้บ่อยในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีอาการปวดท้อง แบบโรคกระเพาะ ซึ่งต้องแยกออกจากสาเหตุอื่นๆ บางครั้งอาจปวดรุนแรงจนแทบจะเป็นลม อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย กินยาลดกรดมักจะไม่ทุเลา

3.โรคตับ (เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง) จะมีอาการจุกแน่นตรงลิ้นปี่และใต้ชายโครงขวา และมักมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง) อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ร่วมด้วย

4.โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีอาการปวดจุกตรงลิ้นปี่ และร้าวขึ้นไปที่คอ ไหล่ ขากรรไกร มักมีอาการกำเริบเวลาออกแรงมากๆ หลังกินอาหารอิ่ม หรือเวลาสูบบุหรี่ หรือมีอารมณ์เครียด ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด หรือรูปร่างอ้วน

5.มะเร็งหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร จะมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ กลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หากสงสัยโรคดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด และให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป


การวินิจฉัย

มักจะวินิจฉัยจากอาการปวดแสบลิ้นปี่ และมีอาการเรอเปรี้ยว (ขย้อนน้ำย่อย) ขึ้นไปที่คอหอย ในรายที่มีอาการไม่มาก ก็มักจะไม่ต้องทำการ ตรวจพิเศษเพิ่มเติม ในรายที่เป็นมาก เป็นเรื้อรัง พบในคนสูงอายุ หรือมีอาการเจ็บเวลากลืนอาหารหรือกลืนลำบาก แพทย์จะทำการตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม (barium swallow study), ส่องกล้อง ตรวจหลอดอาหาร (esophagoscopy), นำชิ้นเนื้อหลอดอาหารไปพิสูจน์ (biopsy), การวัดความดันในหลอดอาหาร (esophageal manometry)
เป็นต้น


การดูแลตนเอง

เมื่อแรกเริ่มมีอาการปวดแสบลิ้นปี่หลังกินอาหาร และบางครั้งอาจมีอาการเรอเปรี้ยวร่วมด้วย สามารถให้การดูแลรักษาเบื้องต้น ดังนี้

1.กินยาต้านกรดชนิดน้ำ (ที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์กับแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์) ครั้งละ 15-30 มิลลิลิตร วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน ร่วมกับยาลดการสร้างกรดไซเมทิดีน (cimetidine) ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น


2.ปฏิบัติตัว ดังนี้

2.1 ถ้าอ้วน ให้พยายามลดน้ำหนักตัว

2.2 หลีกเลี่ยงการกินอาหารมัน ช็อกโกแลต น้ำส้มคั้น สะระแหน่ และ
ยาบางชนิด

2.3 ควรงดสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ และกาเฟอีน

2.4 หลีกเลี่ยงการกินอาหารปริมาณมาก และการดื่มน้ำมากๆ ระหว่างกินอาหาร ควรกินอาหารมื้อเย็นปริมาณน้อย และทิ้งช่วงห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง

2.5 หลีกเลี่ยงการนอนราบและนั่งงอตัวโค้งตัวลงต่ำหลังกินอาหารใหม่ๆ ควรนั่งตัวตรง ยืนหรือเดินให้รู้สึกสบายท้อง

2.6 หลังกินอาหาร ควรปลดเข็มขัด และตะขอกางเกงให้หลวม

2.7 ถ้ามีอาการกำเริบตอนเข้านอน ควรหนุนหมอนสูง 4-6 นิ้ว โดยมีที่กั้นศีรษะ 2 ข้าง ไม่ให้กลิ้งตกจากหมอน


3.ถ้าอาการดีขึ้น ควรกินยานาน 2 เดือน และ ควรปฏิบัติตัว (ดังข้อ 2) อย่างจริงจังตลอดไป ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

1.ดูแลรักษาตนเอง 1 สัปดาห์ แล้วยังไม่ทุเลา

2.มีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าน ปวดท้องรุนแรง อาเจียน น้ำหนักลด ปวดร้าวขึ้นคอ ไหล่หรือขากรรไกร เจ็บหน้าอกเวลากลืนอาหาร กลืนอาหารลำบาก หรือถ่ายอุจจาระดำ อย่างใดอย่างหนึ่ง

3.มีอาการเสียงแหบตอนตื่นนอน เจ็บคอหรือไอเรื้อรัง หรือมีอาการหอบหืดกำเริบบ่อย .มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง


การรักษา

แพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักถามอาการ และตรวจร่างกายเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่ต้องทำการตรวจพิเศษ (เช่น ส่องกล้อง เอกซเรย์) เมื่อพบว่าเป็นโรคเกิร์ด แพทย์จะแนะนำการปฏิบัติตัว (ดังหัวข้อ "การดูแลรักษาตนเอง")


ส่วนยาถ้าใช้ยาต้านกรดและไซเมทิดีนไม่ได้ผล แพทย์อาจให้ยาลดการสร้างกรดชนิดอื่น เช่น
รานิทิดีน (ranitidine) ขนาด 150 มิลลิกรัม เช้า 1 เม็ด เย็น 1 เม็ด หรือโอมีพราโซล (omeprazole) ขนาด 20 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง และอาจให้ ยาช่วยการขับเคลื่อนกระเพาะลำไส้ ได้แก่ เมโทโคลพราไมด์ (metoclopramide) ขนาด 10 มิลลิกรัม กินก่อนอาหาร 30 นาที และ
ก่อนนอน โดยทั่วไป ยาโอมีพราโซลมักจะใช้ได้ผลดี และอาจต้องใช้นาน 4-8 สัปดาห์ บางคนอาจต้องนานถึง 3-6 เดือน หรือมากกว่า เมื่อหยุดยาแล้วอาจกำเริบซ้ำได้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าละเลยการปฏิบัติตัว ก็อาจจะต้อง คอยให้ยารักษาเป็นระยะๆ


ภาวะแทรกซ้อน

หากปล่อยให้เป็นเรื้อรังนานๆ บางคนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ (มีอาการเจ็บหน้าอกเวลากลืนอาหาร) ต่อมาอาจกลาย เป็นแผลหลอดอาหาร (อาจมีอาการเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ) ในที่สุดอาจเกิดภาวะตีบตันของหลอดอาหาร (มีอาการกลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือถ่างหลอดอาหาร หรือด้วยการผ่าตัดแก้ไข)


ต่อมาอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุภายในหลอดอาหาร จนกลายเป็น"หลอดอาหารแบบบาเรต" (Barett's esophagus) แพทย์จะวินิจฉัย ภาวะนี้โดยการส่องกล้องลงไปที่หลอดอาหาร และตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารประมาณร้อยละ 2-5 (ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง กลืนลำบาก อาเจียนบ่อย น้ำหนักลด)


นอกจากนี้ ในรายที่มีการไหลกลับของน้ำย่อย รุนแรงจนขึ้นไปที่คอหอย น้ำย่อยอาจระคายบริเวณ นั้นจนกลายเป็นคออักเสบ (เจ็บคอ ไอเรื้อรัง) กล่องเสียงอักเสบ (เสียงแหบ) อาจระคายหลอดลมจนทำให้ผู้ที่เป็นโรคหืดอยู่แต่เดิมมีอาการหอบกำเริบบ่อย บางคนอาจสำลักน้ำย่อยเข้าปอด จนกลายเป็น ปอดอักเสบ (มีไข้สูง เจ็บหน้าอก ไอ หอบ)


การดำเนินโรค

ส่วนใหญ่มักมีอาการเล็กน้อย แต่สร้างความรำคาญหรือทรมาน ซึ่งมักเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง พอกิน ยารักษาก็จะทุเลาไปพักหนึ่ง เมื่อหยุดยาหรือปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องก็จะกำเริบอีก อาจมีอาการแบบ นี้ไปเรื่อยๆ ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง หรือปล่อยปละละเลย ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังกล่าว
โอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารตาม มาก็มีได้ แต่นับว่าน้อยมาก


การป้องกัน

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ จึงไม่อาจหาวิธีป้องกันส่วนผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคนี้แล้ว ควรป้องกัน ไม่ให้อาการกำเริบและการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยการปฏิบัติตัวและรักษาอย่างจริงจัง


ความชุก

โรคนี้พบได้บ่อในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยที่พบแพทย์เพื่อรักษาโรคนี้ถึง 7 ล้านคน และจากการสำรวจคนทั่วไปพบว่า ในแต่ละวันมีผู้ที่มีอาการแสบตรงลิ้นปี่ร้อยละ 10 (1 ใน 10 คน) และในช่วงเวลาแต่ละเดือนจะมีผู้ที่มีอาการแสบตรงลิ้นปี่โดยรวมๆแล้วตกถึงร้อยละ 15-40 คน




ขอบคุณข้อมูลจากเว็ปไซด์หมอชาวบ้าน
นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ





 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2552
3 comments
Last Update : 7 กรกฎาคม 2552 17:29:38 น.
Counter : 1853 Pageviews.

 

Photobucket

 

โดย: no filling 8 กรกฎาคม 2552 20:44:58 น.  

 

 

โดย: เกศสุริยง 8 กรกฎาคม 2552 23:22:42 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณกบ








 

โดย: กะว่าก๋า 9 กรกฎาคม 2552 7:48:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
7 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.