สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ตอนที่ 1







นนทรีต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชื่อสามัญ
Yellow Flamboyant, Copper Pod

ชื่อวิทยาศาสตร์
Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne

วงศ์
LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น
กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน

ถิ่นกำเนิด
เอเชียเขตร้อน

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วงเดือน มีนาคม-มิถุนายน

สภาพที่เหมาะสม
ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบแสงแดดจัด

การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด

ต้นนนทรีเป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืน มีใบสีเขียวแก่ อันหมายถึง สีเขียวขจีของเกษตร และมีใบสีเหลืองทอง และดอกสีเหลือง อันหมายถึงสีเหลืองของคณะเกษตร







กัลปพฤกษ์ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชื่อสามัญ
Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์
Cassia bakeriana Craib

วงศ์
LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแดงแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน รูปหอกแกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ใบประดับรูปหอก ดอกเริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่นเป็นสีขาวตามลำดับ ผลเป็นฝักทรงกระบอก

การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แสงแดดจัด เป็นไม้กลางแจ้ง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้ และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป







ทองกวาวต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree,
Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma Kuntze.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทอง
ธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

ถิ่นกำเนิด ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด







ทองหลางลายต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยพายัพ

ชื่อสามัญ
Indian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw

ชื่อวิทยาศาสตร์
Erythrina variegata Linn.

วงศ์
LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น
ทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ), ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย, ปาริชาต (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 ซ.ม.

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด และปักชำ

สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อนและอบอุ่น







หางนกยูงต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชื่อสามัญ Flamboyant, Peacock Flower, Royal Poinciana

ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Bojer) Raf.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น นกยูงฝรั่ง, ส้มพอหลวง, ชมพอหลวง, หงอนยูง, อินทรี

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 50 ฟุต ผลัดใบ เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกต้นเรียบเมื่อยังเล็กมีสีเหลืองอ่อนๆ พอแก่กลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีใบย่อย 10-20 คู่ ใบขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ออกดอกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่งหรือกิ่งข้างตามส่วนยอด มี 5 กลีบ มีหลากสีเช่น เหลือง แดง ส้ม กลีบล่างจะมีจุดสีขาวประอยู่บนกลีบ ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ผลเป็นฝักแบนยาว โค้งงอคล้ายกับรูปดาบสีน้ำตาลอมดำ

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทราย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด เกาะมาดากัสการ์ในแอฟริกา







จามจุรีต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ชื่อสามัญ
Rain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod

ชื่อวิทยาศาสตร์
Samanea saman (Jacq.) Merr.

วงศ์
LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น
ก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู จามจุรี (ภาคกลาง), ลัง สารสา สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก), เส่คุ่ เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10–20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่ม เป็นแบบขนนกสองชั้นออกสลับ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบแค ปลายใบมนแกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน บนแขนงมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี หรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ออกดอกเป็นรวมเป็นกระจุก สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงนอกช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกวงใน ดอกวงนอกมีก้านสั้น ดอกวงใยไม่มีก้าน ส่วนบนมีขนหนาแน่น ปลายหลอดกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบนยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำ รสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม

ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้เขตร้อน

"จามจุรี" เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ด้วยวัฏจักรของจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ มีสีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในช่วงเวลาภาคต้นของการศึกษาเสมือนนิสิตปีที่1ที่ยังคงเริงร่าสนุกสนานกับการเป็นน้องใหม่ และเมื่อเวลาผ่านไปในภาคปลายของการศึกษาทั้งใบและฝักย้ำเตือนให้นิสิตเตรียมตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นอาจจะต้องเรียนซ้ำชั้นหรือถูกไล่ออก




ยังมีต่อโปรดติดตามในตอนต่อไปค่ะ





 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2552
1 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2552 14:33:41 น.
Counter : 2602 Pageviews.

 

 

โดย: izephyr888 9 กุมภาพันธ์ 2555 17:28:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
10 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.