There is nothing either good or bad but thinking makes it so."- - W.Shakespeare - -
ปัญหาการว่างงาน


“เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จะถูกแย่งงานจริงหรือ”

ชั่วโมงนี้ไม่ว่าใครก็พูดถึง “อาเซียน” เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 เป็นต้นไป สมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะก้าวเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน” ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อสร้างเสถียรภาพในภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่เป็นความร่วมมือหาศักยภาพของตนเองภายใต้ภาวะที่ตลาดโลกมีการแข่งขันสูง จึงไม่แปลกที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน จะออกมาแสดงความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่ตลาดภายในของแต่ละประเทศจะหลอมรวมกับประเทศเพื่อนบ้าน ในลักษณะตลาดเดียว ฐานการผลิตเดียว ซึ่งจะเป็นการเปิดเสรีทางการค้า, การบริการ, การลงทุน, การเงิน และการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ และความเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตเราๆ ท่านๆ อย่างแน่นอน จะมากหรือน้อย จะดีหรือร้าย ก็คงไม่อาจเลี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา “บัณฑิตจบใหม่” ซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นที่ต้องเร่งปรับตัวให้ทันอนาคต ทั้งอนาคตของตนเอง และอนาคตของประเทศชาติ

การเปิดเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่จะได้รับผลกระทบ ทุกประเทศจะได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะสามารถปรับเปลี่ยนได้เป็น “โอกาส” ได้หรือไม่ หากเปลี่ยนไม่ได้ ก็จะกลายเป็น “วิกฤติ” แทน หลายคนที่กำลังจะจบการศึกษาในช่วงปี 2015 เป็นต้นไป ตอนนี้เริ่มมีความกังวลแล้วว่า จะถูกเพื่อนร่วมอาเซียน อื่นๆเข้ามาแย่งงานหรือไม่ หลายคนกลัวว่าจะตกงานกันไปเลยก็มี นั่นคือ การมองโอกาสของอาเซียนให้เป็น “วิกฤติ”  แต่ไม่ค่อยมีใครมอง “โอกาส” ว่าการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้เราไปหางานในต่างประเทศได้อย่างเสรีและง่ายขึ้น

ปัจจุบันนักเรียน นักศึกษา ซึ่งจะเป็นแรงงานในอนาคต ยังขาดความรู้ความเข้าใจทั้งต่อประชาคมอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

จากการสำรวจทัศนคติและการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 2,170 คน จาก มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ชี้ว่า นักศึกษาไทยมีความรู้และมีทัศนคติต่อความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในชาติอาเซียนอื่นๆ และเมื่อถามว่าคุ้นเคยกับอาเซียนแค่ไหน มีเพียง 68% ที่คุ้นเคย แต่เมื่อถามว่ามีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนหรือไม่ นักศึกษาไทยกลับตกลงมาเป็นอันดับสุดท้าย มี 27.5% เท่านั้นที่มีความรู้

หลายคนอาจจะไม่ให้ความสำคัญกับการเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพราะคิดว่าเดิมการไหลเวียนเหล่านี้ก็มีอยู่แล้ว แต่จริงๆ การเปิดเสรีอย่างเป็นทางการนั้นจะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น อีกทั้งปกติทุนไทยลงทุนในภูมิภาคอาเซียนกว่า 75% เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าอัตราการส่งออกและนำเข้าในอาเซียนขยายตัวโดยตลอด และที่สำคัญยังมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีก นี่เป็นโอกาสจากการเปิดเสรีทางการค้าสินค้า การบริการ และการลงทุน เนื่องจากภูมิภาคอาเซียนมีตลาดขนาดใหญ่ ประชากรกว่า 580 ล้านคน ดึงดูดการค้าการลงทุนจากประเทศทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ อาเซียนยังมีแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลาย และอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ราคาวัตถุดิบถูกลง ต้นทุนผลิตสินค้าต่ำลง และขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เป็นการเพิ่มกำลังการต่อรองในเวทีการค้าโลก

อย่างไรก็ดี โอกาสใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ก็เป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายต่อบัณฑิต หรือแรงงานมีฝีมือที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต ข่าวดีของแรงงาน คือ มีโอกาสในการขยายประสบการณ์การทำงาน มีโอกาสในการมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และที่สำคัญ ทักษะฝีมือจะเป็นตัวกำหนดระดับรายได้ ขณะเดียวกัน ข่าวร้าย คือ ความสามารถด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศอื่นในอาเซียน ในระดับที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างชำนาญ ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องภาษานั้นเป็นปัญหาเก่าๆ ที่ถูกพูดถึงเป็นประจำอยู่แล้ว

แต่ข้อจำกัดอื่นที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และยังไม่ถูกพูดถึงมากนัก คือ พฤตินิสัยของคนไทยที่มักจะขาดความกระตือรือร้น ไม่กล้าตัดสินใจ และไม่สามารถการดูแลตัวเอง หรือเรียกรวมๆ ว่าขาดทักษะผจญภัย (adventurous skill) ที่จะไปประกอบอาชีพในต่างแดน ซึ่งต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ทำงานเป็นทีม ตรงต่อเวลา และมีระเบียบวินัย

เด็กสมัยนี้ไม่มีปัญหาเรื่องการใช้เทคโนโลยี พวกเขาเติบโตมากับการสื่อสารสมัยใหม่ที่เข้าถึงได้ง่ายและมีความรวดเร็ว ทำให้พวกเขาเป็นคนที่กล้าแสดงออก คิดเร็ว ทำเร็ว แต่มีข้อเสียคือ พูดไม่รู้เรื่อง ไม่มีความอดทน รอไม่เป็น ขาดการจัดระบบความคิด และระเบียบในการใช้ชีวิต นี่คือข้อด้อยของแรงงานไทยในอนาคต

และเมื่อภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็น “ภาษากลาง” ในการสื่อสารระหว่าง 10 ชาติอาเซียน ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความเป็นห่วงกับปัญหาการใช้ “ภาษาอังกฤษ” ของคนไทย เพราะเมื่อดูจากผลสำรวจของสำนักต่าง ๆ ล้วนแต่ชี้ชัดตรงกันว่า “ภาษาอังกฤษ” ของเราสู้เพื่อนบ้านในอาเซียนไม่ได้ และอยู่ใน “ระดับต่ำมาก” บ้างก็ว่าต่ำกว่าอินโดนีเซีย เวียดนาม หรือแม้แต่ “แพ้” ลาว ก็มี

เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร? หรือ เพราะเราไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาทักษะภาษา ไม่เคยสนใจว่าเพื่อนบ้านเราเขาไปถึงไหนแล้วกันแน่?

เหลือเวลาอีกไม่มากนักสำหรับการเตรียมตัวรับมือก่อนการเปิดเสรีอาเซียน เราต้องเริ่มเปิดหูเปิดตาเรียนรู้เพื่อนบ้านให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเราให้ทัดเทียม และสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง หรืออย่างน้อยก็เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เราเสียโอกาสที่ควรจะเป็นของเรา เช่น งานที่ควรจะเป็นของเรา แต่เรากลับถูก “กำจัดจุดอ่อน” รับต่างชาติเข้ามาทำแทน เพราะต่างชาติมีศักยภาพมากกว่าในอัตราค่าจ้างที่เท่ากัน และคนไทยอาจหางานยากขึ้น หรืออาจตกงานเอาได้ง่าย ๆ นั่นแสดงว่าทันทีที่เปิดเสรีอาเซียนแล้ว ใครที่ทักษะน้อย ความสามารถน้อย อาจจะเสียเปรียบอย่างรุนแรง

ถึงแม้ปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพแล้ว 7 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ ส่วนสาขาวิชาชีพอื่นๆ จะทยอยทำข้อตกลงร่วมกันในอนาคต อาทิ สาขาวิชาชีพท่องเที่ยว ที่ทั้ง 9 ประเทศได้ลงนามข้อตกลงร่วมกันแล้ว แต่ไทยยังอยู่ในกระบวนการเตรียมความพร้อมแล้วก็ตาม

แต่จากการศึกษาของนายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผลการวิเคราะห์เรื่องศักยภาพการแข่งขันของการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพไทยภายใต้ AEC ว่า ประเทศไทยยังไม่มีการเตรียมการเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึงภาคแรงงานยังไม่ทราบถึงผลกระทบและการเตรียมตัวในการเปิดเสรี อีกทั้งการเปิดเสรีแรงงานจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและบริการของไทยเพราะ ปัจจุบันยังขาดแรงงานที่มีฝีมือและยังมีความเสียเปรียบด้านภาษา และจากการทำการศึกษาในกลุ่มบริการวิชาชีพใน 6 สาขา ได้แก่ งานทันตแพทย์ งานแพทย์ งานพยาบาล งานบัญชี งานวิศวกรรม และงานสถาปัตยกรรม พบว่า กลุ่มวิชาชีพทันตแพทย์ พยาบาลและวิศวกร ส่วนใหญ่ไม่เห็นประโยชน์ของการเปิดเสรีอาเซียน เนื่องจากจะมีแรงงานวิชาชีพต่างชาติเข้ามาหางาน ในไทยมากขึ้น ทั้งนี้กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ทันตแพทย์และพยาบาล เนื่องจากจะมีทันตแพทย์โอนสัญชาติจากยุโรปเป็นสิงคโปร์ และจะมีพยาบาลจากฟิลิปปินส์เข้ามาใช้สิทธิ์เข้ามาประกอบวิชาชีพจำนวนมาก ซึ่งไทยยังเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ถึงแม้แต่ละวิชาชีพของไทยอยู่ในระดับกลุ่มที่มีศักยภาพในอาเซียน

ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์และผลกระทบของแต่ละวิชาชีพ ก่อนที่จะมีการตกลงเปิดเสรีแรงงานอาเซียน รวมถึงเพิ่มเรื่องทักษะภาษาต่างประเทศ พัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับภาคการผลิต อย่างไรก็ดี บรรดาบัณฑิตจะนิ่งนอนใจ รอคอยการช่วยเหลือจากภาครัฐแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจจุดแข็งจุดอ่อนแรงงานไทยในทรรศนะนายจ้าง พบว่า จุดแข็งของแรงานไทยอยู่ที่ฝึกฝนได้ เรียนรู้ง่าย มีความสุภาพอ่อนน้อม และไม่ก้าวร้าว ส่วนจุดอ่อนคือ ขาดการฝึกอบรมอย่างเพียงพอ ขาดทักษะที่เป็นมาตรฐาน และระเบียบในการทำงานต่ำ

ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า หากเรายังเฉยอยู่ ไม่พัฒนาตัวเอง อนาคตอาจรั้งท้ายทุกประเทศในอาเซียนเลยก็ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องฝึกภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เริ่มที่ตัวเราเอง ใครไม่ตื่นตัวเราไม่ต้องรอ เพราะผลที่จะได้ก็เกิดแก่ตัวของเราเองทั้งสิ้น โดยเริ่มฝึกจากภาษาอังกฤษที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ฝึกคำศัพท์ ฝึกฟัง ฝึกออกเสียง อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านนิทาน อ่านบทความภาษาอังกฤษ ดูหนัง ดูสารคดีแบบไม่ต้องพึ่งซับไตเติ้ล ฟังเพลงภาษาอังกฤษแบบไม่ต้องดูเนื้อร้อง หรือฝึกจากบทเรียนออนไลน์ เป็นต้น เมื่ออ่านบ่อย ๆ ก็จะเขียนเก่ง เมื่อฟังบ่อย ๆ ก็จะจดจำสำเนียง และออกเสียงได้ดีขึ้น ที่สำคัญต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง และเมื่อถึงเวลาเปิดอาเซียน เราก็จะสามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ เพราะภาษาอังกฤษจะไม่ใช่จุดอ่อนของเราอีกต่อไป

และเยาวชนทุกคนจะต้องพัฒนาตนเองให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งในเรื่องของภาษา ทักษะความรู้ ทักษะการทำงาน และความรู้อื่นๆที่สร้างประโยชน์ให้กับตนเอง เราจะไม่ได้แข่งกันภายในประเทศอีกต่อไป แต่จะต้องแข่งขันกับชาติพี่น้องอาเซียนอื่นๆอีกมาย หากไม่อยากตกขบวนอาเซียน เราก็ต้องมีคุณลักษณะบัณฑิตไทยที่พึงประสงค์ในประชาคมอาเซียน ดังนี้

  1. มีทักษะและความสามารถใช้ภาษาอังกฤษ-ภาษาประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
  2. มีความรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้าน ทั้งในด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
  3. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนและเรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ของอาเซียน
  4. พัฒนาทักษะฝีมือให้สามารถปรับตัวเข้ากับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล
  5. พัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพรอบด้าน
  7. สร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะการทำงานกับผู้คนต่างวัฒนธรรม

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และข้อเสนอทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่บัณฑิตและแรงงานทั้งหลายต้องรับฟังหากต้องการปรับตัวให้เท่าทันกระแสการค้าเสรีเพื่อความอยู่รอด

อย่าตระหนก แต่ต้องตระหนัก!

ที่มา        ชัชชล อัจนากิตติ. จะเอาตัวรอดในอาเซียนอย่างไร. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก : //www.matichon.co.th/. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 ธันวาคม 2555).

ผู้จัดทำ  นายยศกร              ชนะคช    เลขที่  6     ม.5/6

นางสาวชนัฐฐา   อรชร         เลขที่  11   ม.5/6

นางสาวปริศา       ยิ้มใย         เลขที่  15   ม.5/6

นางสาววนิชญา   นิลพัฒน์   เลขที่  21   ม.5/6

นางสาววิรัลรัตน์ แสงอำไพ เลขที่ 24   ม.5/6




Create Date : 22 มกราคม 2556
Last Update : 22 มกราคม 2556 17:01:41 น. 5 comments
Counter : 2733 Pageviews.

 
เนื้อหาดีมากเลยค่ะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยค่ะ


โดย: wirunrat IP: 1.0.140.107 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:20:30:49 น.  

 
สามารถติชมได้น่ะค่ะ :)


โดย: wirunrat IP: 1.0.140.107 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:20:31:43 น.  

 
เนื้อหาดีมาก , มีประโยชน์มากมากด้วยค่ะ .


โดย: CN Mocca'Latte IP: 183.89.32.89 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:20:33:40 น.  

 


สวัสดีค่ะ..พี่เพ็ญ..

อากาศร้อนแบบนี้..

หาไอติมมาเสิร์พให้พี่เพ็ญค่ะ..

มีความสุขมากๆนะค่ะ




โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 19 เมษายน 2556 เวลา:13:37:37 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ ร้อน ก็พอทานไหวค่ะ
แต่มากไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพ อิอิ จะอ้วนขึ้นได้ค่ะ


โดย: PenKa วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:12:58:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PenKa
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
 
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PenKa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.