My World
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 ธันวาคม 2552
 
 
[2009-12-15]ประวัติศาสตร์การกล่าวหาเรื่อง “ทรยศต่อชาติ” ในการเมืองระบอบอำมาตยาธิปไตย

ประวัติศาสตร์การกล่าวหาเรื่อง “ทรยศต่อชาติ” ในการเมืองระบอบอำมาตยาธิปไตย
รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปลายปีพุทธศักราช 2552

พล เอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง (พรรคความหวังใหม่ พ.ศ. 2540) แถลงต่อสาธารณชนว่าตนเองได้ตัดสินใจเข้าร่วมดำเนินงานทางการเมืองกับพรรค เพื่อไทย

หลังจากนั้นไม่นานนัก สื่อมวลชนไทยอย่างน้อยรายหนึ่งรายงานว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตนายกรัฐมนตรีที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง แถลงต่อสื่อมวลชนโดยมีนายทหารระดับสูงและอดีตนายทหารระดับสูงของกองทัพ ร่วมแสดงตนในที่ประชุมแถลงข่าว มีใจความว่า ;
“วันนั้นก่อนที่จิ๋วจะไปสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย ผมให้คนไปบอกเขาว่าจะทำอะไรขอให้คิดให้รอบคอบ ผมใช้คำว่าไตร่ตรองให้รอบคอบ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการกระทำที่เป็นการทรยศต่อชาติ นี่เป็นข้อความที่ผมขอให้เขาสื่อไปถึงจิ๋วในตอนเช้าวันนั้น” (อ้างถึงในบทความเรื่อง “ป๋าเปรม ผู้ค้ำบัลลังก์ไม่ให้ผู้ใดล่วงละเมิดทรยศต่อชาติ”, ใน วารสารหมอความยุติธรรม, ปีที่ 24 ฉบับที่ 226 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2552, หน้า 5)

เมื่อพิจารณาข้อความที่สื่อไปถึงพลเอกชวลิตตามที่สื่อ มวลชนนำไปเผยแพร่และอ้างอิงดังกล่าวข้างต้นโดยละเอียดจะได้ความหมาย (ด้วยความระมัดระวัง) ว่า พลเอกชวลิตจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ถ้าหากพลเอกชวลิตไม่ทำตามที่ได้รับคำแนะนำจากผู้ที่ต้องการสื่อความหมายไป ถึงพลเอกชวลิต กล่าวคือ พลเอกชวลิตจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ถ้าหากพลเอกชวลิตไม่ “ไตร่ตรองให้รอบคอบ” ก่อนที่จะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ในช่วงเวลาใกล้เคียง กันนั้น หลังจากสื่อมวลชนต่างประเทศรายงานข่าวว่าพ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งของไทย (พรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2544 และ 2548) ได้ตอบรับเป็นที่ปรึกษาพิเศษทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาลกัมพูชา พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ถูกพิจารณาและกล่าวหาจากปฏิปักษ์ทางการเมืองจำนวนหนึ่งว่าเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” รวมทั้งการตั้งข้อกล่าวหาล่วงหน้าว่าพ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็น “ผู้ขายชาติ” โดยจะนำเอา “ความลับของชาติ” ไปเปิดเผยให้รัฐบาลกัมพูชาล่วงรู้

ข้อกล่าวหาเรื่องการเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการกล่าวหาดังกล่าวมีเงื่อนไขสำคัญว่า อดีตนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ท่านจะเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” หากไม่ปฏิบัติตนตามแนวทางความต้องการของกลุ่มอำนาจการเมืองอื่น ซึ่งได้แก่ คำแนะนำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ในกรณีการกล่าวหาพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) และความต้องการของพรรคประชาธิปัตย์ (ในกรณีการกล่าวหาพ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร) หรือเราอาจกล่าวอีกแบบหนึ่งได้ความหมายคล้ายกันว่า หากอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสองท่านยินยอมกระทำตามแนวทางปฏิบัติที่ผู้อื่น กำหนดให้ก็จะพ้นจากความเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ได้เช่นกัน

อย่าง ไรก็ตาม ทั้งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพรรคประชาธิปัตย์โดยองค์รวมต่างก็มีร่องรอยของ “ความไม่ชอบมาพากลในระบอบประชาธิปไตย” กล่าวคือ พลเอกเปรมเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยฐานอำนาจจาก “การรัฐประหารนองเลือด” วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (ภายหลังการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยศาสตราจารย์ ดร. ธานินทร์ กรัยวิเชียร และ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์) ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันขึ้นดำรงตำแหน่งแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ทั้ง ๆ ที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงอันดับที่สอง แต่ได้รับการหนุนเสริมให้ขึ้นสู่อำนาจบริหารประเทศได้โดยอาศัยประโยชน์ต่อ เนื่องจากคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน (อย่างมีข้อครหาโต้เถียงกันทางนิติศาสตร์) และการหนุนเสริมต่อเนื่อง (อย่างมีเงื่อนงำ)โดยกลุ่มอำนาจนอกรัฐธรรมนูญในกองทัพตามที่ปรากฏเป็นรายงาน เหตุการณ์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551

การกล่าวหาผู้อื่นว่า เป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ไม่ใช่เรื่องใหม่ในการเมืองไทย พ.ศ. 2552 แต่เป็นเรื่องเก่าที่มีประวัติศาสตร์บันทึกปรากฏให้สืบสาวย้อนกลับไปได้ถึง วันแรกแห่งการสถาปนาการเมือง “ระบอบอำมาตยาคณาธิปไตย” ในประเทศสยาม คือ นับตั้งแต่วันแรกของการเมืองสยามหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ก็มีการตั้งเงื่อนไขเป็นข้อกล่าวหาเรื่อง “ทรยศต่อชาติ” ปรากฏอยู่ในเอกสาร “ประกาศคณะราษฎร” ฉบับที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย “คณะราษฎร” ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นผู้ตั้งเงื่อนไขข้อกล่าวหาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ดังนี้ ;
“เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือนที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดัง กล่าวแล้วจึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้นและได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของ กษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมี สภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้นคณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้นจึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไปแต่จะต้องอยู่ ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจ ลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ”
“คณะราษฎร” ในฐานะที่เป็นกลุ่มการเมืองที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่รวมทั้งมีแกนนำเป็น “อำมาตย์” ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนได้ตั้งเงื่อนไขข้อกล่าวหารัชกาลที่ 7 ว่าจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” หากไม่ทรงยินยอมทำตามความต้องการของ “คณะราษฎร”

เท่าที่มีหลักฐานเอกสารให้สืบค้นย้อนหลังได้ ผู้เขียนยังไม่พบว่าเคยมีการตั้งข้อกล่าวหาเรื่องการเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศสยามขณะที่ยังเป็นการเมืองตาม ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (การเมืองสยามก่อนวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) ดังนั้น เราอาจอนุมานว่าข้อกล่าวหาเรื่องการเป็นผู้ทรยศต่อชาตินั้นเป็น “นวตกรรมการเมือง” ที่ริเริ่มคิดประดิษฐ์ขึ้นโดย “คณะราษฎร” และคณะราษฎรนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการเมืองสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยผู้ถูก “คณะราษฎร” ตั้งเงื่อนไขเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ครั้งแรกสุด คือ พระมหากษัตริย์ของประเทศสยามในขณะนั้น ส่วนผู้ตั้งเงื่อนไขกล่าวหาผู้อื่นในครั้งแรกสุดนั้น ได้แก่ คณะขุนนางอำมาตย์ที่จะผันแปรสถานะของตนไปเป็น “ผู้มีอำนาจสูงสุด” ทางการเมืองตามระบอบการเมืองใหม่ ที่เริ่มต้นจากการประกาศและบังคับใช้ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่ง “คณะราษฎร” บัญญัติขึ้นบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อ 77 ปีก่อน (วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) คณะอำมาตย์คณะหนึ่ง (ที่ตั้งชื่อเรียกตนเองว่า “คณะราษฎร”) ได้ตั้งเงื่อนไขประกาศข้อกล่าวหาพระมหากษัตริย์ว่าจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” หากไม่ทรงยินยอมทำตามความต้องการของคณะตน

วันนี้ อดีตผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพไทยซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่มีสถานะอำนาจ เทียบเคียงคล้ายคลึงกับพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (หัวหน้าคณะราษฎร) เมื่อ 77 ปีก่อนก็ตั้งเงื่อนไขข้อกล่าวหาผู้อื่นว่า “ทรยศต่อชาติ” หากไม่ทำตามคำแนะนำของตน

ข้อกล่าวหาเรื่อง “ทรยศต่อชาติ” คล้ายคลึงกันในปี พ.ศ. 2475 และ 2552 ยิ่งตอกย้ำความต่อเนื่องของอุดมการณ์ “อำมาตยาธิปไตย” รวมทั้งเปิดเผยร่องรอยความคิดและตัวตนของ “ผู้กล่าวหา” มากขึ้นว่าเป็นผู้ถือสิทธิเป็นเจ้าของ “ชาติ” และต้องการผูกขาดผลประโยชน์ของ “ชาติ” ไว้เป็นสมบัติของคณะตนแต่เพียงกลุ่มเดียว ขณะที่ต้องการให้ผู้อื่นรวมทั้งประชาชนทั้งประเทศมีสถานะเบี้ยล่างเป็น เพียง “ผู้รับใช้” ที่ควรปฏิบัติตนตามความความต้องการของ “ผู้กล่าวหา” เท่านั้นจึงจะรอดพ้นจากความเป็นผู้ “ทรยศต่อชาติ” ไปได้

แต่ ปัญหาของอุดมการณ์ “อำมาตยาธิปไตย” ในปี พ.ศ. 2552 คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะยินยอมเป็นเพียงเบี้ยล่างในสถานะ “ผู้อาศัย” ที่ต้องทำงานรับใช้ตามความต้องการของกลุ่มเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย หรือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะมีสำนึกว่าตนเองต่างหากที่เป็น “เจ้าของชาติ” แล้วรวมตัวกันขับไล่ระบอบอำมาตยาธิปไตยออกไปจากการเมืองไทยหลังจากที่ได้ ปล่อยปละละเลยให้ระบอบการเมืองดังกล่าวก่อตั้งและสืบทอดอำนาจข้ามกาลเวลามา แล้วถึง 77 ปี


ที่มา tnx@pantip.com
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P8659012/P8659012.html


Create Date : 15 ธันวาคม 2552
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 23:41:49 น. 0 comments
Counter : 511 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

องุ่นทอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
[Add องุ่นทอง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com