Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
5 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 

บทความดีๆๆ เกี่ยวกะขาของตัวเล็ก

ไขปัญหาเรื่อง"ขา"
ผศ.นพ.กมลพร แก้วพรสวรรค์


--------------------------------------------------------------------------------

เคยคิดกันบ้างมั้ยว่าใกล้ๆ ตัวเรานี้มีพาหะชนิดหนึ่งที่ขับเคลื่อนได้ดี ทนทานกับทุกสภาวะ และพร้อมจะพาเราไปที่ไหนก็ได้ทุกหนทุกแห่ง ที่สำคัญไม่ต้องกังวลเรื่องค่าน้ำมันที่แพงหูฉี่อยู่อย่างนี้ แถมมีอายุการใช้งาน ที่สุดแสนจะยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะยาวนานเท่าไร ก็อย่าใช้ให้มันคุ้มค่า จนหลงลืมไม่ดูแลเอาใจใส่ แล้วก็เดี๋ยวไม่มีใช้หรือใช้การไม่ดี จะมาร้องไห้เสียใจ บางทีขอโทษอาจสายไปเสียแล้ว

สิ่งที่เกริ่นมายืดยาวอยู่นี้ เรากำลังหมายถึง "ขา" อวัยวะบางส่วน ของร่างกายมนุษย์เราๆ นี่แหละ ฉะนั้นปัญหาที่จะหยิบยกมาคุยกันในคราวนี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเดินเหิน (เหินไม่เกี่ยว) ล้วนๆ โดยเฉพาะกรณีของเด็กๆ ซึ่งน้องๆ หลายคนอาจกำลังประสบปัญหาที่แก้ไม่ตก อย่างขาไม่เท่ากัน Knock-Knee หรือโรคกระดูกอื่น จนพลอยทำให้คุณพ่อคุณแม่ เกิดอาการวิตกกังวล ไหนจะเดินไม่สวย เสียบุคลิกภาพ และที่สำคัญ อาจกลายเป็นปมด้อยที่ติดตัวคุณหนู ๆ ไปตลอดชีวิต

เมื่อเป็นอย่างนี้ การพึ่งพาหาช่างที่จะมาทำหน้าที่ซ่อมแซม คงหนีไม่พ้นงานในส่วนของศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือหมอกระดูก เป็นแน่ ซึ่งถึงตอนนี้เราคงต้องขออนุญาตเผยโฉมถึงศัลยแพทย์ใจดีที่จะมา ไขความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาขา ๆ และเขาผู้นี้ที่เรากำลังกล่าวถึงนั้นก็คือ ผศ.นพ.กมลพร แก้วพรสวรรค์ หมอกระดูกใจดี๊ดี จากศิริราชพยาบาล

และก็เป็นธรรมเนียม หรือเป็นมารยาทกันไปที่เราจำเป็นต้อง ขออนุญาติพาคุณๆ ไปล่วงรู้ที่มาที่ไปของคุณหมอท่านนี้กันสักหน่อยว่า มีเบื้องหลังเบื้องลึกอย่างไร ไฉนจึงสนใจอยากจะมาเป็นหมอกระดูกกันนี่

"ในด้านการศึกษา ผมจบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็มาติด ที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งก็จบในปี 2524 เมื่อจบออกมาผมก็ต้องไปทำงานใช้ทุน โดยไปเป็นผู้อำนวยการ อยู่ที่โรงพยาบาลแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากนั้นก็กลับมาศึกษาต่อ ทางด้านวิชาศัลยศาสตร์โอโธปิดิกส์ ที่ศิริราช ก็จบออกมาในปี 30 แล้วก็ต้องไปใช้ทุนต่ออีกที่จังหวัดน่าน จนกระทั่งผมกลับมารับราชการ เป็นอาจารย์ที่ศิริราช หลังจากนั้นผมก็มีโอกาส ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ทางด้านศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ในเด็กที่ปารีส

"การที่ผมเลือกที่จะมาเป็นหมอศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ หรือว่า เป็นหมอกระดูกก็คงเป็นเพราะว่า ตอนนั้นคงชอบด้วย และอีกอย่างก็คิดว่า ลักษณะของงานมันดูตรงไปตรงมาดี ไม่ต้องมาติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง อย่างเช่นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ส่วนการที่ผมเป็นศัลยแพทย์ ออโธปิดิกส์ในเด็กนั้น ก็อาจเป็นเพราะว่า โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนที่ชอบเด็ก เป็นคนรักเด็กอยู่ด้วย ทำให้การทำงานของผมจะมีความรู้สึกภูมิใจ และมีความสุขทุกครั้ง ถ้าหากว่าการแก้ไขความพิการนั้นเราสามารถทำให้เขา กลับมามีอวัยวะที่ใช้งานได้ดีขึ้น

" ปัญหากระดูกที่เราพบในเด็กนั้น ผมว่า เราคงจะแบ่งออกเป็น ปัญหาทางด้านโรคภัยไข้เจ็บ กับปัญหาทางด้านอุบัติภัย ซึ่งปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่ผมได้พบบ่อยมากที่สุด และถือว่ามาแรงมากในปัจจุบัน ก็เห็นจะเป็นในส่วนของปัญหาที่เขามีความพิการแต่กำเนิด ซึ่งก็คือ โรคเท้าปุก (Clup Foot)

" โรคเท้าปุก คืออะไร คือ เมื่อเด็กคลอดออกมา เขาก็จะมีเท้าบิดเข้าไปข้างใน แต่ส่วนใหญ่จะหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด สังเกตได้โดยเท้าจะมีลักษณะเขย่ง และฝ่าเท้าจะบิดเข้าข้างใน ตรงนี้ก็จะทำให้ เด็กมีความพิการได้ ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้อง ทำการรักษากันแต่เนิ่นๆ ยิ่งแก้ช้ามันก็ยิ่งมีปัญหา ถ้าเป็นน้อยก็จะใช้วิธีการเขี่ยดัด แต่ถ้าเป็นมากก็จะทำการเข้าเฝือก หรือในบางรายก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแก้ไข

" สาเหตุของเท้าปุกนั้น จริง ๆ เรายังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัด แต่เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
เท้าปุกชนิดที่เรียกว่า "Postural Foot" ซึ่งเท้าปุกชนิดนี้ จะไม่ร้ายแรง เท้าจะไม่เล็กหรือสั้นลง การรักษาเท้าปุกชนิดนี้ไม่จำเป็นต้อง เข้ารับการผ่าตัด และจะหายได้ดีโดยการแนะนำ เขี่ย ดัด ดึง หรือการเข้าเฝือก ซึ่งจากประสบการณ์แล้วหายแน่นอน 100%

"ส่วนอีกชนิดหนึ่งเราเรียกว่า "เท้าปุกจริง" หรือ True Clup Foot ซึ่งเท้าจะมีความแข็ง และตัวเท้าที่เป็นนั้นจะมีความสั้น ในส่วนของน่องก็จะเล็กลง สังเกตได้ว่าเท้าจะมีลักษณะการเขย่งของเอ็นร้อยหวาย ส่วนมากวิธีนี้จะต้องได้รับการเข้าเฝือก หรือการผ่าตัดแก้ไข จึงอยากจะเรียน ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับทราบอย่างสบายใจว่า ผลที่ทำการรักษามานั้นปรากฏว่าดีมาก ฉะนั้นโปรดอย่าปล่อยทิ้งไว้จนเด็กโต ส่วนใหญ่ถ้าจำเป็นต้องผ่าตัด ก็คงทำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 4 เดือน เด็กก็จะหายดี เดินวิ่งได้เหมือนเด็กปกติ"

นอกจากกรณีฮอตฮิตโรคเท้าปุกแล้ว โรคกระดูกที่คุกคาม หนูน้อยจอมซนทั้งหลายนั้น ก็ยังมีให้เห็นกันอีกมากนะครับ ซึ่งคราวนี้เราลองตามไปฟังคุณหมอกันต่อดีกว่า กับกรณีโรคกระดูก ในเด็กที่เรียกกันว่า น็อค-นี (Knock-Knee)

" น็อค-นี คืออะไร ปัญหานี้ถ้าเป็นชาวบ้านอาจยังไม่ทราบ แต่จริงๆ แล้วมันก็คือ อาการของขาเกนั่นเอง ซึ่งจะมีลักษณะของหัวเข่าที่ชิด เข้าข้างใน ตัวเท่านั้นห่างออกจากกันมาก ส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นกันนั้น จะเป็นแบบ physicologic คือ เป็นขาเกตามธรรมชาติ เพราะว่า ลักษณะโครงสร้างของกระดูกในเด็ก จะมีตัวเลขที่กำหนดไว้ว่า 0-2-3-7 หมายความว่า

พอเด็กแรกเกิดเราก็จะนับว่าเป็น 0 ปี ซึ่งตรงนี้เด็กทุกคนจะขาโก่ง เข่าและสะโพกจะงอเล็กน้อย เราไม่สามารถเหยียดขาเด็กแรกเกิดให้ตรงได้ เด็กจะหดงอเข่า งอสะโพกตลอด พออายุ 2 ขวบ ขาเด็กก็จะเริ่มตรง โดยให้สังเกตที่มุมที่เกิดจากกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะต้องเป็นเส้นตรง ไม่เกออก พออายุ 3 ขวบ ขาก็จะเริ่มเกออก ตรงนี้มันก็เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมุมโก่งและมุมเกนั้นไม่ควรที่จะเกิน 15 องศา ระหว่างกระดูกต้นขา กับกระดูกหน้าแข้ง และพออายุ 7 ขวบ ขาก็จะเกเล็กน้อย ดูได้จาก เมื่อเราลากเส้นจากกระดูกต้นขากับกระดูกหน้าแข้งจะมีการเกนิดๆ ตรงนี้ส่วนใหญ่พ่อแม่ก็จะเกิดความกังวลและมักจะถามหมออยู่เสมอว่า ลูกขาเกต้องทำอย่างไรบ้าง ก็อยากจะบอกไว้ตรงนี้เลยนะครับว่า มันเป็นไปตามธรรมชาติ เดี๋ยวมันก็หายไปเอง สังเกตได้ง่าย ๆ ว่า ถ้าเด็กที่เป็นแบบธรรมชาตินั้นจะอยู่ในช่วง 3-7 ขวบ แล้วก็จะหายไป ซึ่งลักษณะนี้เด็กจะต้องมีการเจริญเติบโตที่เป็นปกตินะครับ ไม่ใช่ตัวแคระ หรือมีแขนขาที่บิดเบี้ยวไปมา ขาเกของเขาถึงแม้เป็นทั้ง 2 ข้างก็จะต้องไม่เป็นมาก มุมต้นขาและหน้าแข้งจะต้องน้อยกว่า 15 องศา และเมื่อเอกซเรย์ ดูแล้วต้องไม่พบอาการผิดปกติของกระดูกอ่อน ไม่มีโรคพันธุกรรมอื่นใดให้เห็น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเมื่อเด็กเลย 7 ขวบแล้วก็ควรจะปกติเหมือนผู้ใหญ่

"ปัญหามันอยู่ที่ว่า ถ้าเด็กอายุเลย 7 ขวบ แล้วขายังเกมาก ส่วนนี้จึงเป็นเรื่องที่แพทย์จะต้องหาทางแก้ไขและติดตามอย่างใกล้ชิด บางครั้งคำถามที่พ่อแม่จะถามหมอว่า ถ้าดัดจะหายมั้ย ซึ่งผมก็อยากจะบอกว่า ทางการแพทย์นั้นเชื่อว่า ไม่หาย เพราะว่าการดัดนั้นใช้แรงไม่มาก เวลาตัดก็ไม่สามารถทำได้ตลอด แต่ที่ทางแพทย์เชื่อว่าช่วยได้ก็คือ การประคับประคองด้วย เบรซ (Brace) หรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นรองเท้า และมีโครงเหล็ก หรือโลหะสูงขึ้นไปถึงต้นขา ซึ่งเราเรียกกันว่า Long leg Brace โดยจะให้เด็กสวมไว้ เพื่อให้ขาตรงขึ้น เมื่อโตขึ้นก็จะเปลี่ยนไป ตามขนาดของขาเด็กและการใส่ เบรซ นั้นควรจะใช้เมื่อเด็กโตพอสมควร เช่นอายุมากกว่า 4 ขวบ ในส่วนของเบรซ นั้นเราจะให้คนไข้ใส่ จนเขาแน่ในว่าเขาจะไม่เกเพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้อง ใส่เป็นระยะเวลานาน บางครั้งอาจต้องใส่ไปจนกว่าเด็กหยุดการเจริญเติบโต และที่เกรงว่าการใส่ เบรซ จะทำให้เกิดกระทบกระเทือนต่อการพัฒนากระดูกนั้น ก็ขอเรียนให้ทราบเลยว่า ในส่วนการเจริญเติบโตของกระดูกนั้นจะขึ้นอยู่กับ ศูนย์การเจริญเติบโตที่จะอยู่ในส่วนบน และส่วนปลายกระดูก เวลาเราทำการผ่าตัด หรือใส่ เบรซ ก็จะไม่ได้ไปกระทบกระเทือนกับการพัฒนาของกระดูกเลย ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานของการรักษาอยู่แล้ว

"แต่จากประสบการณ์ของผมเท่าที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีเด็กคนไหน ให้ความร่วมมือที่จะใส่เลย เด็กจะปฏิเสธ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุที่ว่า

วัฒนธรรมไทยเราเป็นคนขี้อาย
เราจะไม่ชอบใส่รองเท้าเข้าไปในบ้าน
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การใส่อุปกรณ์เสริมแบบนี้มันจะทำ ให้เกิดความอับชื้น อึดอัด เพราะเราจำเป็นต้องสวมใส่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาเดิน ทำให้เด็กไทยที่ขาโก่งหรือเกนั้น จะไม่ยอมใส่ เบรซกัน
"เพราะฉะนั้นหลักการที่จะใช้กับคนไทยส่วนมาก ผมจะเน้นการ ให้ความรู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งจะมีการเฝ้าระวังอยู่เสมอ และถ้าวินิจฉัยแล้วว่า เด็กเป็นมาก ก็จะต้องทำการผ่าตัดเลย โดยหลังจากการผ่าตัดก็จะทำการเข้าเฝือก อีกประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งก็จะมีการทำกายภาพบำบัดหัดเดิน ก็สามารถหายเป็นปกติได้

ส่วนใหญ่การพัฒนาเรื่องการผ่าตัดนั้น ผมขอย้ำว่า เราจะต้อง เน้นความสัมพันธ์กันทั้ง 3 ฝ่ายคือ

แพทย์
เด็ก-ผู้ป่วย
พ่อแม่-ผู้ปกครอง
โดยจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความรู้สึกที่ไม่เคลือบแคลงสงสัย ในการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น สามารถสื่อสารอธิบายความที่ดีต่อกัน เพื่อที่จะทำให้เด็ก ได้มีความรู้สึกว่า ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กเล็กๆ อาจยังร้อง อาจยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อมาตรวจกันหลายๆ ครั้ง จากการติดตามก็จะให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับแพทย์ พ่อแม่ก็เช่นเดียวกันก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีกับแพทย์ และในส่วนของแพทย์เอง ก็เช่นเดียวกัน ในการรักษาโรคกระดูกในเด็กนั้น เราจำเป็นต้องประสานความร่วมมือ จากแพทย์หลายฝ่ายเช่นกุมารแพทย์ ซึ่งก็จะแบ่งเป็นกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเกี่ยวกับเลือด กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรมเด็ก กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาเด็ก กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านจิตเวชเด็ก กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่อมไร้ท่อในเด็ก นักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อในเด็ก จะเห็นได้ว่ามีผู้เชี่ยวชาญเยอะมากที่จะมาทำการรักษาร่วมกัน"

พูดก็พูดเถอะโลกนี้มันมีอะไรที่ไม่เท่ากันเลยนะ เพราะแม้กระทั่ง เราเองแท้ๆ ยังทรยศกับเราเลย และนี่ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่เราสามารถ เห็นกันได้บ่อยๆ ครับ เรากำลังพูดถึงในส่วนของกรณีขาไม่เท่ากัน ที่บางที่ยอมรับว่าเห็นแล้วทุกข์ใจเหมือนกันที่เด็กๆ ต้องมานั่งใส่รองเท้า กันตลอดชีวิต คิดดูเถอะครับมันสนุกเหรอ เอาเป็นว่า ไปฟังคุณหมอพูดถึงปัญหา ที่ไม่เท่ากันของขากันดีกว่า ว่ามันจะหนักหนาสาหัสกันสักแค่ไหน

ในเรื่องของขาที่ไม่เท่ากันนั้น เป็นปัญหาที่เจอกันได้เรื่อยๆ โดยจะแบ่งออกมาได้ 2 กลุ่มคือ

ขายาวไม่เท่ากันโดยที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่นต่างกัน 2 เซนติเมตรก็จะเท่ากัน 2 เซนติเมตรตลอดไปจนโต
ก็ขายาวไม่เท่ากันที่เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งมีความแตกต่างของ ขามากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างโรคกระดูกตายจากการขาดเลือด ก็อาจทำให้ ขามีความสั้นนิดหน่อย แต่ถ้าเป็นโรคจากความพิการแต่กำเนิด ตัวเท้าที่สั้นอาจอยู่ในระดับเข่า อันนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก เราจึงต้องพิสูจน์ให้แน่ชัดว่า เป็นมาจากกระดูก หรือเป็นมาจากโรคอื่น เช่น ข้อสะโพกหลุดที่ดูเหมือนขาสั้น แต่พอจริง ๆ เขาไม่ได้ขาสั้น แต่สะโพกมันหลุด เข้าไปข้างหลัง ทำให้เวลางอเข่าไม่เท่ากัน
นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่นอย่างหลังคดแล้วเชิงกรายบิดเบี้ยว หรือกล้ามเนื้อหดรั้งตึงตัวไม่เท่ากันทำให้ดูเบี้ยวไป

"กับคำถามที่ว่าขายาวไม่เท่ากันนั้น มีโอกาสที่มาเท่ากันในระยะหลังมั้ย ก็มีความเป็นไปได้นะครับ ที่จะกลับมาเท่ากัน สมมติว่า ต้นขาหักอาจทำให้ กระดูกเกยกัน ซึ่งเป็นหลักในการรักษาของเรา โดยพอมันติดมันจะมีเส้นเลือด มาเลี้ยงเยอะ ขาก็สามารถยาวขึ้นมาจนเท่ากันได้ ซึ่งกรณีดังกล่าว จะต้องมาจากสาเหตุของกระดูกหักเท่านั้น ถ้าเป็นความพิการแต่กำเนิด ยิ่งโตก็จะยิ่งห่าง

"ขายาวไม่เท่ากันนั้น ก่อนการรักษาเราต้องทราบถึงสาเหตุให้ได้ก่อนว่า มาจากมาติดเชื้อในศูนย์การเจริญเติบโตผิดไปหรือเปล่า มีเนื้องอกที่ทำให้ศูนย์การเจริญเติบโตเปลี่ยนไปมั้ย หรือจากความพิการแต่กำเนิด เช่น กระดูกต้นขาสั้นแต่กำเนิด หัวกระดูกตายจากการขาดเลือด ซึ่งเมื่อหาสาเหตุได้แล้ว เราก็จะมาแบ่งกลุ่มว่า เป็นกลุ่มที่รุนแรง หรือไม่รุนแรง ซึ่งสภาพการรุนแรงของกระดูกเท่าที่ผมได้พบมานั้นก็คือ กระดูกต้นขาไม่มี มีแต่กระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นโรคที่พิการมาแต่กำเนิด มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่ผมไปตรวจที่ตึกผู้ป่วยนอก มีผู้ป่วยเดินมา ที่กระดูกต้นขาไม่มีทั้ง 2 ข้าง ฉะนั้นตัวเขาก็จะเตี้ยมาก เท้าเขาอยู่ในระดับเข่า และเข่าก็อยู่ในระดับสะโพก โดยลำตัวศีรษะจะเป็นเหมือนผู้ใหญ่ ขาก็เหมือนผู้ใหญ่นะแต่ไม่มีต้นขา และในส่วนของแพทย์ก็ไม่ต้องทำการรักษาด้วย เพราะว่ามันเท่ากันดีอยู่แล้ว ซึ่งเขาก็จะเดินแบบคนเตี้ยๆ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือว่า ถ้าเป็นที่ขาเพียงข้างเดียว อีกข้างปกติที่ยาวกว่ามาก บางทีอาจยาวกว่าถึง 30 เซนติเมตร ซึ่งในด้านการรักษาถือว่ายากมาก

เมื่อเราแบ่งในเรื่องความรุนแรงจากความสั้นแล้ว เราก็ควรจะทราบด้วยว่า ขาข้างที่ยาวกับสั้นนั้นมีความต่างกันเท่าไหร่ เมื่อโตเต็มที่ โดยในผู้หญิงส่วนมากก็จะอายุประมาณ 14 ปี หรืออย่างผู้ชาย ก็ประมาณ 16 ปี ซึ่งการรักษานั้นผมอยากจะบอกว่า อย่างน้อย 6 เดือน ควรจะมาหาเราสักครั้ง เพื่อทำการ เอกซเรย์ขาตั้งแต่สะโพกจนถึงข้อเท้า ในท่าเข่าเหยียด แล้ววัดดูว่าแตกตางกันเท่าไหร่ ซึ่งเราจำเป็น ต้องตรวจติดตามกันไปเรื่อยๆ แต่ถ้าความยาวของขาไม่เท่ากันนั้นน้อยกว่า 3 เซนติเมตร ก็อาจไม่ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งเราจะใช้วิธีการเสริมรองเท้าเข้าไปแทน โดยการเสริมนั้นเรามักจะทำก็ต่อเมื่อ ขามีความแตกต่างไม่เกิน 5 เซนติเมตร แต่ถ้าสั้นยาวต่างกันเพียง 1 เซนติเมตร บางทีดูไม่ออก เราจึงต้องตรวจดู โดยให้ผู้ป่วยยืนหันหลังให้เรา แล้วมองดูระดับเชิงกราน จากนั้น ก็ให้ลองเสริมไม้โดยรองบริเวณใต้เท้า แล้วให้เด็กยืนตรง ลองให้เด็กเดิน สมมติว่าขาขวาสั้นก็ลองให้เด็กเดิน โดยใส่รองเท้าเฉพาะขาขวา ดูว่าระยะเดินที่สวยที่สุดก็จะเสริมเท่ากัน ซึ่งต้องสั้นประมาณ 2 เซนติเมตร ถึงจะเห็นได้ชัด เราอาจเสริมเซนต์นึงเซนต์ครึ่งก็ได้เพื่อให้เด็กเดินสวยที่สุด ไม่จำเป็นต้องเสริมให้เท่ากันเป๊ะ
"อย่าลืมว่า การสวมรองเท้านั้นไม่ใช่วัฒนธรรมของคนไทย เวลาเราอยู่กับบ้านเราไม่ใส่รองเท้าแน่นอน เพราะมันร้อนและอับ และยังทำให้พื้นสกปรกอีก ไม่เหมือนฝรั่งซึ่งมันเป็นเมืองหนาวฉะนั้น มันจึงไม่จำเป็น เพราะแค่เซนต์นึงมันรำคาญนะ ที่จะต้องมาใส่ตลอดเวลา"

กว่าจะทำให้ขาได้เท่ากันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะศัลยแพทย์ จะต้องเข้มงวดดูความรุนแรงของอาการก่อนที่จะพิจารณาหาทางช่วยเหลือ ว่าควรจะใช้วิธีไหน และส่วนหนึ่งของการรักษากระดูกที่ไม่เท่ากันนั้น วิธีการยืดกระดูกก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นิยมทำกัน เพราะได้ผลแน่นอน และตัดความรำคาญในเรื่อง ที่จะต้องใส่รองเท้าไปไหนมาไหน
" การทำให้ขายาวขึ้นนั้น ส่วนมากเราจะใช้วิธีการยืดกระดูกโดยการผ่าตัด แล้วจึงยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ ซึ่งมีหลายชนิดแล้วจะตัดกระดูกให้ขาดจากกัน จากนั้นก็จะทำการยืดวันละมิล กระดูกก็จะงอกเรื่อยๆ ทำให้เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อนั้นยืดตามจนได้ในระดับที่เราต้องการ
" กระดูกของคนเราถ้าจะให้ปลอดภัยควรจะยืดไม่เกิน 5 เซนติเมตร ในท่อนนั้น ๆ หรือน้อยกว่า 10% ของความยาวกระดูกท่อนนั้น บางคนยืดมากถึง 100% ก็จะมีผลแทรกซ้อนมากอาจมีผลสูงถึง 30% ที่เจอบ่อยก็คือ เส้นประสาทตึง ชา มีการหลุดของข้อในระดับใกล้เคียง มีการติดเชื้อของรูโลหะที่โผล่ออกมาภายนอก มีการพิการจากเส้นประสาทเสีย มีการโก่งของแขนขาจากการที่ยืด และก็อยากจะบอกว่าวิธีการนี้ กรุณาอย่ารอให้เป็นมากแล้วค่อยมายืดนะครับ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในการยืดกระดูกนั้นก็ไม่ค่อยเกิดปัญหาอะไรมาก เพราะเราจะพยายามยืด ไม่ให้มาก ประมาณ 3-5 เซนติเมตร อย่างที่บอกก็ปลอดภัย และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องผลแทรกซ้อนที่น่ากลัว อาจมีการติดเชื้อนิดหน่อย แต่ก็เล็กน้อยไม่ถึงกระดูก

"วิธีการยืดเราจะทำการตัดกระดูกให้ขาดจากกัน ซึ่งเป็นวิธีการ ในการผ่าตัด โดยเราจะเสียบโลหะในการตึงกระดูกภายนอกไว้ ซึ่งการผ่านั้นเรามักจะผ่าตัดกันครั้งเดียว ส่วนการหมุนโลหะ ให้กระดูกห่างจากกัน เราสามารถทำได้จากภายนอก
"การยืดกระดูกเราแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เมื่อเราตัดแล้ว ต้องรอประมาณ 1-2 สัปดาห์ กระดูกมันก็จะเริ่มเกิดขึ้น
ระยะที่ 2 เราจะยืดกระดูกออกหน่อยวันละ 1 มิลลิเมตร จนถึงระยะที่เราต้องการแล้วเราจะหยุด
ระยะที่ 3 เราจะรอให้กระดูกติดดี ถ้าเราจะยืดซัก 3 เซนติเมตร ก็จะผ่าตัดเอาโลหะที่ยืดกระดูกออกก็ประมาณ 1 เซนติเมตรต่อเดือน โดยจะไม่ให้มีผลแทรกซ้อน

"สำหรับพวกที่เป็นมาก มีความรุนแรงของขาสั้นมากเกินกว่า จะยืดกระดูกได้ อย่างพวกกระดูกต้นขาไม่มี เราก็จะใช้วิธีการแก้ไขโดย ให้คนไข้ใส่ขาเทียมเสริมเข้าไป และอาจมีการผ่าตัดเพื่อให้ใส่ขาเทียมได้ง่ายขึ้น บางคนอาจมีการผ่าตัดเสริม เพื่อช่วยเหลือเช่นหมุนเท้าเข้าไปข้างหลัง และทำข้อเท้าให้เป็นข้อเข่า เพื่อทำหน้าที่กระดกขึ้นลงได้ แต่มันจะดูน่าเกลียด เวลาถอดขาเทียมออก ซึ่งเวลาถอดออก เท้าจะชี้ไปข้างหลัง ซึ่งเราจะปรับแต่งโดย ไม่ตัดเท้าออก และพยายามตกแต่งจนเขาสามารถใส่ขาเทียมได้

" และการรักษาอีกวิธีหนึ่งก็คือ การตัดกระดูกให้สั้นเท่ากัน ซึ่งก็เป็นที่นิยมอยู่ แต่เราจะไม่ทำให้สั้นลงมาก ถ้าเป็นผู้ใหญ่ เราอาจตัดสั้นลงประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อให้ดูสวยงาม แต่ไม่ควรเกิน 5 เซนต์ เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อหลวมมาก เวลาเราทำให้กระดูกมันหายไป 3 เซนต์ 5 เซนต์นี่ บางครั้งถ้าเป็นเด็กเราอาจคำนวณเวลาให้เหมาะสม และเชื่อมไม่ให้กระดูกมันโต เพราะว่าเด็กยังมีศูนย์การเจริญเติบโต ทำให้ขาโตได้ เราก็จะเข้าไปทำลายเสียในขาข้างที่ยาวออกไป ส่วนข้างขวาที่สั้นมันก็จะโตขึ้นไปเรื่อยๆ ในที่สุดขาก็จะมีความเท่ากัน แต่ทั้งนี้เราจะต้องมีการคำนวณที่ดี ซึ่งเด็กที่มาทำการผ่าตัดเพิ่มเติมในส่วนนี้ ส่วนใหญ่พวกนี้แผลจะสวย เพราะว่าเราไม่ได้เปิดกว้าง เราไม่ต้องเอาอะไร ไปเสียบภายนอก ไม่ต้องไปยืดกระดูกให้เสียเวลา แต่วิธีการนี้ทำในเด็กตัวสูง พอสมควร เพราะถ้าเป็นเด็กตัวเตี้ย พอเราเชื่อมเสร็จแล้วเขาก็จะกลายเป็นคนเตี้ย คนแคระกันไปเลย"

ถ้ามีวิธีการยืดกระดูกอย่างนี้ แล้วต่อไปก็สบายเลยซินะถ้าหากว่า ใครอยากจะมีหุ่นเป็นนางแบบตัวสูง ๆ ไม่รู้ว่าวิธีการนี้สงวนลิขสิทธิ์กับคนปกติมั้ย

"วิธีการยืดกระดูกนี้ ใช่ครับตามทฤษฎีสามารถทำให้คนตัวสูงด้วย การผ่าตัดยืดกระดูกพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง แต่โดยส่วนตัวของผมแล้ว ผมไม่อยากจะแนะนำให้ทำ เพราะถ้าหากว่าเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นมา เช่น มีการติดเชื้อในกระดูก ก็จะถือว่าคน ๆ นั้น กลายเป็นคนโชคร้าย กันไปเลย เพราะทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็อยู่ดีๆ กลับต้องมีการติดเชื้อที่กระดูก การโก่งของขา ข้อหลุด เส้นประสาทเสียไป เป็นต้น

โดยส่วนตัวแล้วถ้าคนไข้อยากจะมาทำ ก็จะแนะนำว่า ควรเป็นคนที่ตัวเล็กตัวเตี้ย ซึ่งเตี้ยในที่นี้จะต้องเตี้ยกันมากๆ ด้วย ถึงควรที่จะมารับการผ่าตัด เพราะจะได้คุ้มค่า คือยอมเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ แทรกซ้อนซึ่งอาจมีค่อนข้างสูง บางทีผู้ป่วยอาจถึง 1 ใน 3 ที่จะมีอัตรา เสี่ยงเกิดผลแทรกซ้อน แต่ถ้าสูงปกติอยู่แล้วมันไม่อยากแนะนำ"

ถึงตอนนี้มาดูเบสิกพื้นฐานของหนู ๆ จอมซนกันบ้างดีกว่า ที่บางทีเล่นกันไปเล่นกันมาพลาดท่าหกล้ม อาจทำให้กระดูกกระเดี้ยว แตกหักขึ้นมา จะร้อนถึงใครล่ะถ้าไม่ใช่คุณผู้ปกครอง แถมตัวน้องๆ เองก็อาจต้องเสียน้ำตาเนื่องจากความซุกซนก็เป็นได้นะ

" การรักษาโรคกระดูกในเด็กนั้น ข้อดีก็คือ กระดูกจะติดได้เร็ว ถึงแม้ติดในท่าโก่งก็ปรับแต่งได้ เพราะฉะนั้นการรักษา กระดูกหักในเด็กนั้นจะทำได้ง่าย ซึ่งนั่นก็อาจเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้หมอน้ำมนต์มีชื่อเสียง แค่กระดูกหักที่แขนส่วนปลาย ดามด้วยไม้ไผ่ก็อาจติดได้ดี แต่ในการรักษากับหมอน้ำมนต์นั้น ถึงแม้ว่าจะติดง่ายแต่บางครั้งก็จะมีโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง สมมติว่า ข้อศอกหัก อาจมีอาการบวม ทำให้ระบบเส้นเลือด เส้นประสาทถูกกดทับเสีย แขนขาพิการไปก็มี ซึ่งปัจจุบันเรามีความรู้ที่ดีขึ้น รักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน ทำให้สามารถป้องกันความพิการในเด็กนั้นได้ ผมจึงอยากแนะนำว่า ถ้าเด็กเป็นหรือรู้สึกไม่สบายใจก็ควรรีบมาตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ

ผมเคยเจอคนไข้ซึ่งมักจะอยู่ตามจังหวัด แล้วเด็กกระดูกหักแล้ว ไม่ยอมไปโรงพยาบาล ไปรักษากับหมอน้ำมนต์ ทำให้กระดูกติดผิดรูป ทำการแก้ไขไม่ได้แล้ว เรียกง่าย ๆ ว่ามาช้าไป บางครั้งข้อศอกหลุด กว่าจะมาหาหมอก็ทำให้ศอกพิการไปตลอดชีวิต ก็เป็นที่น่าเสียดายมาก ซึ่งเมื่อข้อศอกหลุด เมื่อเราดึงให้เข้าที่ก็จะใช้ได้ดีเป็นปกติ แต่ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้เกิน 3 อาทิตย์ ถึงแม้ผ่าตัดไปก็คงจะได้ผลไม่ค่อยดี ข้อศอกจะแข็ง จึงอยากฝากไว้ว่า เป็นอะไรก็ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่นๆ

ถึงตอนนี้ก็คงต้องเก็บฉากปิดม่านกันไปก่อนแล้วค่ะ ซึ่งก่อนจะลาจาก คุณหมอก็ได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่สบายใจว่า ลูกกำลังมีปัญหาเรื่องของโรค ที่เกี่ยวกับกระดูกแล้วละก็ ขอให้รีบมาหาหมอกันได้เลย อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เสียเวลา เปล่าเดี๋ยวจะไม่ทันการ เพราะสิ่งที่ว่านี้มันเป็นสิทธิผู้ป่วยที่คุณ ๆ มีกันทั้งนั้น

" การรักษาโรคกระดูกในข้อนั้น เป็นการรักษาที่ต้องใช้ระยะเวลา ต้องติดตามไปจนเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ จึงอยากเรียนฝาก อย่างน้อยก็ยอมเสียสละเวลามาพบแพทย์สักครั้ง ดีกว่าที่จะปล่อยไว้ รอจนเด็กโต ผมเคยเจอเด็กที่ข้อสะโพกหลุด มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่อ้างกับหมอได้บ่อยครั้งก็คือ หนึ่งไม่มีเงิน ซึ่งขอเรียนให้ทราบเลยว่า ศิริราชเองก็ทำการรักษา ให้กับคนจนมาเป็นร้อยปีแล้ว ผมปฏิบัติงานมานี่ก็ทำการรักษา แต่คนไม่มีเงิน และรักษากันเป็นอย่างดีด้วยเหมือนคนรวย ประเด็นที่สอง ไม่มีเวลา อันนี้ก็กรุณาอย่ามาอ้าง เพราะว่า เรามีคลินิกนอกเวลา และประเด็นที่สาม หมอหรือบุคคลบางท่าน แนะนำให้รอจนโตแล้วค่อยมารักษา จึงทำให้ไม่ยอมมาตรวจ ก็ขอเรียนให้ทราบว่า ถ้าเด็กยังมีความพิการอยู่ ถึงแม้คุณหมอ จะแนะนำว่าควรทำตอนโต เราอาจจำเป็นที่จะต้อง ถามความเห็นเพิ่มเติม (Second Opinion) หรือความเห็นที่ 2 ได้

ผมไม่ได้หมายความว่า หมอที่พูดอย่างนี้ผิด แต่ถ้าเด็ก ยังมีความพิการอยู่ อาจต้องจำเป็นในการถามเพิ่มเติม ในความเห็นของแพทย์ท่านอื่น ซึ่งเขาอาจป้องกันไม่ให้สายเกินไป ถ้าหากว่าความเห็นแรกไม่ถูกต้อง แต่ถ้าถูกต้องเขาจะยืนยัน ในความเห็นแรกว่าถูกต้อง ทั้ง 3 ประเด็นนี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่ พาเด็กมาหาช้า ส่วนจะทำการรักษาเมื่อไหร่ นั้นคุณหมอจะวินิจฉัยก่อนว่า ขายาวไม่เท่ากันเกิดจากอะไร ขาเกขาโก่งเกิดจากอะไร ปัญหาของโรค รุนแรงแค่ไหน ก็ขอให้รีบมาทำการรักษา อย่าลืมนะครับว่า ไม้อ่อนดัดง่ายไม่แก่ดัดยาก ฉะนั้นจึงไม่ควรรอปัญหาให้เกิดมากขึ้น ถึงค่อยคิดถึงหมอ

"วิธีการรักษานั้น เราจะเอาปัญหาของผ้ป่วยทั้งหมด มารวมกันแล้วแก้กันทุกจุดพร้อมๆ กัน โดยเราจะยึดหลัก ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้ มีชีวิตอยู่ในสังคมได้ เราจะไม่รักษา โรคทางกายเพียงอย่างเดียว โดยส่วนตัวผมแล้ว จะย้ำอยู่เสมอ ในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก เราจะต้องทำการรักษาทางด้านจิตใจด้วย โดยเราจะให้การสนับสนุนให้เขามีความสบายใจ คำพูดที่ผมนิยมพูด อยู่บ่อยๆ ก็คือ ทุกโรคที่เกิดขึ้นกับเด็ก ถ้าเด็กมีสติปัญญาดี เขาก็สามารถเรียนได้จนเป็นดอกเตอร์ สมมติว่าเขาเดินไม่ได้ แต่เขาก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ เขาสามารถมีความสุขได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ถ้าหากว่าครอบครัวมีความรักเกิดขึ้น ผมจึงอยากจะบอกว่า เรานั้นต้องการที่จะทำให้เด็กและพ่อแม่นั้น มีกำลังใจ โดยสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ พ่อแม่นั้นจะต้องเป็นตัวสนับสนุนที่ดี อย่าทอดทิ้งเด็ก ซึ่งเราก็จะพยายามแก้ไขไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หมดหวัง

สรุปสาเหตุของการเกิดขาเก ขาโก่ง โดย ผศ.นพ.กมลพร แก้วพรวสรรค์
สาเหตุของขาเก แบ่งออกเป็น


ธรรมชาติของเด็กอายุ 3-7 ปี (ซึ่งพบกันเยอะมาก)
โรคกระดูกอ่อน
Skelital Dysplasia หรือ โรคกระดูกทางพันธุกรรม
ภยันตรายที่มีต่อศูนย์การเจริญเติบโตของกระดูกด้านนอก
กระดูกหักที่หน้าแข้งส่วนบน
การติดเชื้อ
เนื้องอก
สาเหตุของขาโก่ง แบ่งออกเป็น


ธรรมชาติของเด็กอายุ 0-2 ปี (พบน้อยมากเช่นกัน)
โรคกระดูกอ่อน
Tibia Vara กระดูกหน้าแข้งด้านในไม่เจริญเติบโต
ภยันตรายที่มีต่อศูนย์การเจริญเติบโตของกระดูกด้านใน
กระดูกหักและโก่ง
การติดเชื้อ
เนื้องอกที่กระดูก

และนี่ก็เป็นมุมมองของศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์คนหนึ่ง ที่ชีวิตทั้งชีวิตของเขา ยอมสละเวลามาเป็นช่างซ่อมกระดูกให้กับเด็กไทย ตัวเล็กๆ เพียงเพื่อหวังว่า พวกเขาจะได้มีโอกาสออกไปกระโดดโลดเต้น สร้างสีสันที่ดีของชีวิตต่อไป จำชื่อเขาไว้นะครับ


ผศ.นพ.กมลพร แก้วพรสวรรค์


--------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณนิตยสารแม่และเด็ก ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2553
11 comments
Last Update : 5 กรกฎาคม 2553 14:55:32 น.
Counter : 4899 Pageviews.

 

ขอภาพสอนวิธีการดัดเท้าปุก แบบ Postural Foot ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
E-mail:kung@wizard-one.com

 

โดย: kung IP: 58.8.18.113 24 กุมภาพันธ์ 2554 23:20:36 น.  

 

- เออ..คือ ตอนนี้หนูอายุ 15 ปีแล้ว ขาหนูไม่เท่ากันเนี่ย จะสามารถยืดกระดูกได้ไหมค่ะ
ขาซ้ายของหนูสั้นกว่าขาขวา เวลาหนูเดินหนูก็อายที่เขาดูหนูเดิน ขอคำปรึกษาหน่อยนะค่ะคุณหมอ

 

โดย: Marisa IP: 182.52.134.5 2 พฤศจิกายน 2556 14:21:09 น.  

 

มีลูกสาววัย9เดือนคะและขาข้างซ้ายสั้นกว่าขาข้างขวา
โดยสังเกตุดูจะเริ่มจากหัวเข่าเลยคะ ถ้าเป็นแบบนี้ควร
ใช้วิธีการรักษาแบบไหนดีค่ะ และยังเด็กเกินไปในการ
โรคกระดูกนี้หรือป่าว
ช่วยตอบด้วยนะค่ะดิฉันกลุ้มใจมาหลายเดือนแล้วคะ
ขอบคุณมากนะค่ะ

 

โดย: คุณแม่นานา IP: 49.230.171.18 23 มีนาคม 2557 1:32:47 น.  

 

ผมรู้จักหมอพลังจิตอยู่ท่านหนึ่ง รับรักษา ไหล่เอียง ไหล่ไม่เท่ากัน กระดูกสันหลังคด ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน และตะโพกไม่เท่ากัน
ไม่ต้องกลัวโดนหลอก สามารถมาตรวจเช็ดอาการดูก่อนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ อ.คิมห์ 0870773899 ท่านอาจาร์ยอยู่แถวสาทร ครับ

 

โดย: พรวิชัย IP: 101.108.65.24 5 พฤษภาคม 2557 23:09:26 น.  

 

นั่นสิ หมออะไรน่ารักสุดที่เคยเจอ ใจดี๊ดี ถ้าหมอเป้นแบบนี้ทุกโรคทุก รพ.คนไข้นี่คงไม่หน่ายที่จะไปโรงบาลเป็นแน่

 

โดย: อดีตคนไข้ IP: 49.230.137.164 22 สิงหาคม 2557 13:19:50 น.  

 

เดินขาไม่เท่ากัน ตอนนี้อายุ22แล้ว ไม่มั่นใจในเวลาเดินเลยค่ะ. ค่ารักษาจะแพงไหม ฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี. Cin-km@hotmail.com

 

โดย: เนตรกัญญ์ธกานต์ IP: 180.180.76.173 4 ตุลาคม 2557 8:29:26 น.  

 

น่องขาไม่เท่ากันค่ะ รักษาได้ไหมค่ะ แต่เป็นคนขาเล็กด้วยค่ะ ไม่อยากลดข้างที่ใหญ่กว่า แต่อยากเพิ่มข้างที่เล็กให้เท่ากันค่ะ สามารถทำได้ไหม

 

โดย: นิตยา IP: 180.180.223.222 24 มีนาคม 2558 20:13:54 น.  

 

ตอนนี้อายุ29แล้วค่ะ ตอนรู้ตัวว่าขาและนิ้วเท้าไม่เท่ากันก็ตอนอยู่อนุบาลค่ะ พอช่วง ม. ปลายก็เริ่มสังเกตตัวเองอีกครั้งแล้วพบว่า เราเป็นตั้งแต่สะโพกยันนิ้วเท้าเลยค่ะคือ ข้างขวาจะใหญ่กว่าข้างซ้ายอย่างเห็นใด้ชัดมากทั้งนิ้วเท้ายันหัวเข่าคือเหมือนคนละคนกันเลย เศร้ามาก ไม่เคยใด้ใส่กางเกงขาสั้นอย่างคนอื่นเขาเลย กลัวเพื่อนเห็นคะ อายเพื่อน เคยบอกแม่ค่ะตั้งแต่รู้ครั้งแรกแม่ก็แปลกใจมากแกบอกว่าตอนเด็กขาเราก็เป็นปกตินะ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นค่ะ สามารถรักษาใด้หรือเปล่า คือมันต่างกันยันกระดูกเลยค่ะกระดูกข้างขวาใหญ่กว่าข้างซ้าย ซ้ายเหมือนขาลีบเลยค่ะ

 

โดย: เหมียว IP: 49.229.58.1 22 กุมภาพันธ์ 2559 16:26:57 น.  

 

ตอนนี้อายุ29แล้วค่ะ ตอนรู้ตัวว่าขาและนิ้วเท้าไม่เท่ากันก็ตอนอยู่อนุบาลค่ะ พอช่วง ม. ปลายก็เริ่มสังเกตตัวเองอีกครั้งแล้วพบว่า เราเป็นตั้งแต่สะโพกยันนิ้วเท้าเลยค่ะคือ ข้างขวาจะใหญ่กว่าข้างซ้ายอย่างเห็นใด้ชัดมากทั้งนิ้วเท้ายันหัวเข่าคือเหมือนคนละคนกันเลย เศร้ามาก ไม่เคยใด้ใส่กางเกงขาสั้นอย่างคนอื่นเขาเลย กลัวเพื่อนเห็นคะ อายเพื่อน เคยบอกแม่ค่ะตั้งแต่รู้ครั้งแรกแม่ก็แปลกใจมากแกบอกว่าตอนเด็กขาเราก็เป็นปกตินะ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นค่ะ สามารถรักษาใด้หรือเปล่า คือมันต่างกันยันกระดูกเลยค่ะกระดูกข้างขวาใหญ่กว่าข้างซ้าย ซ้ายเหมือนขาลีบเลยค่ะ

 

โดย: เหมียว IP: 49.229.58.1 22 กุมภาพันธ์ 2559 16:26:58 น.  

 

ตอนนี้อายุ29แล้วค่ะ ตอนรู้ตัวว่าขาและนิ้วเท้าไม่เท่ากันก็ตอนอยู่อนุบาลค่ะ พอช่วง ม. ปลายก็เริ่มสังเกตตัวเองอีกครั้งแล้วพบว่า เราเป็นตั้งแต่สะโพกยันนิ้วเท้าเลยค่ะคือ ข้างขวาจะใหญ่กว่าข้างซ้ายอย่างเห็นใด้ชัดมากทั้งนิ้วเท้ายันหัวเข่าคือเหมือนคนละคนกันเลย เศร้ามาก ไม่เคยใด้ใส่กางเกงขาสั้นอย่างคนอื่นเขาเลย กลัวเพื่อนเห็นคะ อายเพื่อน เคยบอกแม่ค่ะตั้งแต่รู้ครั้งแรกแม่ก็แปลกใจมากแกบอกว่าตอนเด็กขาเราก็เป็นปกตินะ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นค่ะ สามารถรักษาใด้หรือเปล่า คือมันต่างกันยันกระดูกเลยค่ะกระดูกข้างขวาใหญ่กว่าข้างซ้าย ซ้ายเหมือนขาลีบเลยค่ะ

 

โดย: เหมียว IP: 49.229.58.1 22 กุมภาพันธ์ 2559 16:28:59 น.  

 

สวัสดีค่ะตอนนี้ลูกชายอายุ3ขวบ6เดือนค่ะมีอาการเดินไม่ลงส้นเท้าทั้ง2ข้างเลยหมอทีโรงบาลบอกว่าเอ็นร้อยหวายที่ส้นเท้าตึงค่ะ หมอบอกว่ต้องผ่าตัดต่เอ็นค่ะเวลาลูกเดินน่าสงสารมากค่ะโยกไปทั้งตัวแถมยังล้มบ่อยมากเดินเหมือนขาไม่ค่อมีแรงค่ะ อยากขอคำปรึกษาจากคุณหมอหน่อยค่ะ

 

โดย: ลักขณา IP: 182.232.35.198 15 กรกฎาคม 2559 14:51:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ลูกปัดคับ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ลูกปัดคับ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.