กุมภาพันธ์ 2549

 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog
ดูพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพ
ประภาคาร

ประภาคาร คือ หอคอย หรือสิ่งก่อสร้างที่สูงเด่น มองเห็นได้ไกล มีไฟสัญญาณที่มีความสว่างมาก ติดตั้งอยู่บนยอด เพื่อเป็นที่หมายนำทางให้กับชาวเรือไปสู่จุดหมายที่ถูกต้อง ตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า Lighthouse โดยทั่วไปจะก่อสร้างขึ้นที่ปากทางเข้าท่าเรือ อ่าว หรือ เเม่น้ำ ที่มีความสำคัญ เเละจำเป็นต่อการเดินเรือ หรือก่อสร้างตามตำบลที่ที่จะเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ เช่นที่ตื้น หินใต้น้ำ ร่องน้ำ ปกติจะมีคนเฝ้า เพื่อเเก้ไขข้อขัดข้อง เช่นไฟดับ หากไม่เเก้ไขในทันทีอาจเกิดอันตราย เช่น เรือชนกัน หรือ ติดตื้น ส่วนตำบลที่มีความสำคัญไม่มากนัก แต่ก็มีความจำเป็นก็สร้าง “กระโจมไฟ” (Light Beacon) ซึ่งไม่ต้องมีคนคอยเฝ้า เเต่ใช้เครื่องอัตโนมัติควบคุมการส่งสัญญาณให้เห็นในเวลากลางคืน เเละดับในเวลากลางวัน หากไฟสัญญาณขัดข้องก็ส่งคนไปเเก้ไขภายหลัง นอกจากนี้หากมีตำบลที่มีความสำคัญในทะเล เเต่ไม่สะดวกในการก่อสร้างประภาคารหรือถ้าสร้างเเล้วจะสิ้นเปลืองมาก ก็ใช้ทุ่นไฟ (Light Bouy) ไปวางไว้ ณ จุดนั้นเเทน เเต่ทุ่นไฟก็มีข้อเสีย คือ เคลื่อนที่ได้เมื่อคลื่นลมจัด เพราะสมอที่ยึดอยู่ทานกำลังคลื่นลมไม่ไหว จึงจำเป็นต้องมีคนตรวจสอบตำบลให้ถูกต้องอยู่เสมอ เเต่ถ้าตำบลที่มีความสำคัญมากจำเป็นต้องมีคนเฝ้า ก็ต้องสร้างเป็น “เรือทุ่นไฟ” (Lightship) เพื่อให้คนพักอาศัยคอยเเก้ไขข้อขัดข้อง

ประภาคาร หรือกระโจมไฟ ได้เกิดมีขึ้นครั้งเเรกในโลกห้วงประมาณ 50 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 50 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาติที่มีการเดินเรือค้าขายติดต่อกัน ในสมัยนั้นก็มี กรีก ฟินีเซีย อียิปต์ และเปอร์เซีย เป็นต้น เรือในสมัยนั้นขับเคลื่อนด้วยแรงคนตีกรรเชียง เรือเหล่านี้ ได้อาศัยภูเขาไฟซึ่งมีอยู่มากมายในบริเวณนั้น เป็นที่หมายในการนำเรือ ครั้นภูเขาไฟดับ ก็ได้จุดไฟขึ้นแทน ซึ่งวิธีการนี้เป็นต้นกำเนิดความคิดในการสร้างกระโจมไฟขึ้นในเวลาต่อมา ตามประวัติประภาคารแห่งแรกในโลก คือประภาคารที่ตั้งอยู่บนเกาะฟาราส (Pharos) หน้าเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandria) ในอียิปต์ มีชื่อว่าฟารอสแห่งอะเล็กซานเดรีย (Pharos of Alexandria) ประภาคารนี้ สร้างโดยชาวกรีก ชื่อ ซอสตราตุส (Sostratus) ชาวเมืองไนดัส (Cnidus) ในสมัยกษัตริย์ปโตเลมี (Ptolemy) ประมาณ พ.ศ. 260 มีการสร้างตัวประภาคารสูง 85 เมตร (280 ฟุต) ใช้แสงสว่างจากไฟเผาไม้ มีแผ่นโลหะช่วยสะท้อนแสงทำให้เห็นได้ไกล 56 กม. (35 ไมล์)

ประภาคารได้วิวัฒนาการเรื่อยมา ๆ ตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น แสงสว่างที่ใช้ครั้งแรกๆ ก็ใช้ไม้จุดไฟ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นแสงสว่างจากไขปลาวาฬ เป็นน้ำมันก๊าซ เป็นแก๊สอะเซติลีน (Acetylene) และมาเป็นไฟฟ้าในที่สุด ในเรื่องความสว่างของแสงก็ได้มีการคิดประดิษฐ์แผ่นโลหะสะท้อนแสง กระจกสะท้อนแสงปริซึม (Prism) และ เลนซ์ (Lenz) ขยาย เพื่อเพิ่มความสว่างให้เห็นได้ไกลขึ้น นอกจากนั้น เพื่อที่จะแยกไฟสัญญาณที่ส่งออกจากประภาคาร แต่ละแห่งให้แตกต่าง ก็ได้กำหนดให้สัญญาณไฟเป็นวับ - วาบ (Flashing-Occulting) สลับกันตามความประสงค์ และมีระยะเวลาระหว่างไฟวับ - วาบ ต่างกันโดยใช้เครื่องอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังได้ใช้สีของไฟสัญญาณ เพื่อกำหนดความแตกต่างของประภาคารแต่ละแห่งอีกด้วย
ในสมัยปัจจุบัน ประภาคารนอกจากจะเป็นที่ส่งสัญญาณไฟ เพื่อเป็นที่หมายให้ชาวเรือแล้ว ยังมีสัญญาณอย่างอื่นอีก เช่น “สัญญาณหมอก” ซึ่งจะส่งเป็นเสียงหวูด ไซเรน หรือ ระฆัง ในเวลาที่มีหมอกโดยอัตโนมัติ และมี “สัญญาณวิทยุ” เพื่อให้ชาวเรือหาทิศทางที่ตั้งของประภาคารจากสัญญาณที่ส่งออกไปนั้น เพื่อนำไปกำหนดตำบลที่ของเรือในทะเลได้ ประภาคารบางแห่งยังมีสัญญาณแสดงให้ทราบความลึกของน้ำในเวลาที่เรือผ่านบริเวณนั้นด้วย

ประภาคาร” ได้มีการก่อสร้างขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 สมัยนั้น ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน มีเรือที่จะเข้าออกปากน้ำเจ้าพระยามากมาย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการในขณะนั้นได้สร้างประภาคารขึ้นที่ปากน้ำเจ้าพระยา โดยทุนทรัพย์ส่วนตัว ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 พ.ศ. 2417 กล่าวว่าค่าก่อสร้างเป็นเงิน 225 ชั่ง 5 ตำลึง 5 สลึง หรือเท่ากับ 18,021.25 บาท ที่ตำบลที่ ละติจูด 13 0 29 / 26 // เหนือ ลองติจูด 100 0 35 / 20 // ตะวันออก โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ส่งให้พระสยามธุรพาห์กงสุลไทยที่กรุงลอนดอน เป็นผู้ซื้อตัวเรือนตะเกียงส่งมาให้ และท่านได้ควบคุมการก่อสร้างตัวประภาคารเอง ได้เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2413 สร้างเสร็จเปิดใช้ได้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2417 เหตุที่ล่าช้า เพราะขณะทำการก่อสร้างนั้นตัวประภาคารได้ทรุดลง เนื่องจากลงฐานครั้งแรกไม่ดี จึงแก้ไขใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ยกให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน จึงเรียกชื่อประภาคารแห่งนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Regent Lighthouse เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น ในหลักฐานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือเรียกว่า “ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา” แต่คนทั่วไปเรียกว่า “กระโจมไฟสันดอน” กระโจมไฟแห่งนี้ได้ใช้มาจนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2472 จึงได้เลิกใช้ เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก รวมเวลาที่ใช้อยู่ 55 ปี 22 วัน

ต่อมาได้มีการสร้างประภาคารและกระโจมไฟขึ้นอีก ทั้งในอ่าวไทยและทางฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย ได้มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้านายชั้นสูงที่เกี่ยวข้าองกับกิจการทหารเรือ เช่น “ประภาคารอัษฎางค์” “ประภาคารอาภากร” “ประภาคารพาหุรัด” “กระโจมไฟโสมรังสี” “กระโจมไฟสยามเทวี” ส่วนทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ก็มีกระโจมไฟที่มีชื่อคล้องจองกัน เช่น “ปัชโชติวชิราภา” (จ.กระบี่) “นิสาวชิรกาส” (จ.สตูล) “ประภาสวชิรกานต์” (จ.พังงา) “อาโลกวชิรยุตต์” (จ.ตรัง) “สมุทรวชิรนัย” (จ.กระบี่) เป็นต้น



ประภาคารกาญจนาภิเษกแหลมพรหมเทพ

สำหรับ ประภาคารกาญจนาภิเษก จะเป็นประภาคารขนาดใหญ่ มีความสูง 50 ฟุต ฐานประภาคาร กว้าง 9 เมตร และแสงไฟ จากโคมไฟ จะมองเห็นไกล 39 กิโลเมตร ที่ตั้งบริเวณลานชมวิว แหลมพรหมเทพ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ด้านฝั่งทะเลอันดามัน และเป็นทางเข้า - ออก สู่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ พื้นที่ดังกล่าว อยู่บนแผ่นดิน ที่ประชาชนสามารถสัมผัสได้เป็นแห่งแรก ทางฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบกับสถานที่ก่อสร้าง บริเวณลานชมวิว แหลมพรหมเทพ เป็นสถานที่ ที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ การสร้างประภาคาร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ปีกาญจนาภิเษกในบริเวณนี้ จะช่วยให้นักท่องเที่ยว ที่ได้มาเยี่ยมชม ทราบถึง พระบุญญาบารมี ของพระองค์ อันจะทำให้พระบรมเดชานุภาพ แผ่ไพศาลออกไป มากยิ่งขึ้น โดยกองทัพเรือ จะขอพระราชทานชื่อว่า "ประภาคารกาญจนาภิเษก" เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง มหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสด็จเถลิงถวัยลราชสมบัติปีที่ 50 โครงการนี้ กองทัพเรือ จะร่วมมือกับข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ในจังหวัดภูเก็ต เพื่อแสดงออก ถึงความสามัคคี และร่วมกัน แสดงออก ซึ่งความจงรักภักดี แด่พระองค์ท่าน



ภาพประภาคารซึ่งมองจากภายนอก



พระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านขวาของประภาคาร



ตัวอย่างประภาคารที่จำลองไว้ภายในประภาคารกาญจนาภิเษกฯ



วิวรอบนอกบริเวณจุดชมพระอาทิตย์ตกของแหลมพรหมเทพ



น้ำทะเลใสๆ สามลมเอื่อยๆ แดดอ่อนๆยามเย็น เหมาะแก่การนั่งเล่น และพักผ่อน ปล่อยวางภาระกิจอันเหนื่อยล้าในแต่ละวัน



สถานีทดแทนพลังงานฯ บริเวณควนพรหมเทพ มีกังหันลมรับลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) เป็นสถานีวิจัยพลังงานทดแทนที่สามารถสำรองไฟฟ้าส่งจ่ายไปยังบริเวณใกล้เคียงได้



พระอาทิตย์ยามเย็นยามตกจากฟากฟ้า ตัดกับแผ่นน้ำทะเล





Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2549 16:37:11 น.
Counter : 3717 Pageviews.

6 comments
  
แวะมาเที่ยวชมพระอาทิตย์ตกทะเลที่แหลม
บ้านเกิดตี๋น้อยสวยเสมอ ฮิๆๆๆๆ
โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:07:45 น.
  
เฮ่.... ในที่สุดก็ได้เห็นพระอาทิตย์ตกแล้ว....

nut305.bloggang.com
waitin' for sunset...
โดย: นัท305 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:12:19 น.
  
เคยไปดูพระอาทิตย์ตกอยู่หลายครั้ง เคยเดินลงไปตรงปลายแหลมด้านล่างด้วย

เดี๋ยวนี้ไม่รู้ยังมี คนที่ยืนตัวแข็งทำเป็นรูปปั้น ตรงบริเวณจุดชมวิวอีกหรือเปล่านะ ...

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล ประภาคาร
โดย: merf1970 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:19:29:45 น.
  
ก้อยังมีคนยืนตัวแข็งอยู่นะคะวันที่ไปดูน่ะ

มีคนเล่นดนตรีด้วย

เดี๋ยวนี้มีไรแปลกๆหลายอย่างค่ะ

โดย: lonely sea IP: 210.86.145.3 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:12:09:00 น.
  
ดูพระอาทิตย์แล้วรู่สึกดีมากเลยอะชอบที่สุด
โดย: ดอกหญ้า IP: 58.8.204.134 วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:15:11:11 น.
  
ไปมาแล้วแต่ยังเที่ยวไม่ทั่วเลย...มีเวลาจำกัดต้องรีบกลับต่างจังหวัดถ้ามีโอกาสจะไปเที่ยวอีกครับนั่งรถทัวร์ของโชครุ่งทวีทัวร์จากภูเก็ตมาลงที่พิษณุโลกบอกตรงๆประทับใจมากกับการบริการของพนักงานบนรถทัวร์ดีมากๆมีอาหารบริการตลอดเบาะนวดไฟฟ้านะครับและโชเฟอร์ก็ขับรถได้ดีมากๆขับรถไม่มีกระตุกหรือกระชากเลย.ราคาเกินคุ้มครับ...!!!ถ้าท่านยังไม่เคยใช้บริการลองได้เลยครับ...โอกาสหน้าผมจะไปใช้บริการของโชครุ่งทวีทัวร์อีกครับ..ไม่นานเกินรอครับ....!!!!!
โดย: จิรายุส ยอดบุษดี IP: 49.48.185.6 วันที่: 19 มีนาคม 2554 เวลา:13:26:45 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

seenil
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ก็แค่คนที่อยากเขียน...
ก็แค่คนที่อยากเล่า...
ก็แค่คนที่เหงาๆ...
ก็แค่คนที่รอคอยเงา...ใครบางคน!