มารู้จักขนมไทยและความเป็นมากัน
คำว่า "ขนม "เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่ผสมกัน คือ "ข้าวหนม" กับ "ข้าวนม" ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย น้ำตาล โดย คำว่า หนม แปลว่า หวาน เรียกสั้นๆเร็วๆจึงเพี้ยนเป็นขนมไป ส่วนที่มาจากข้าวนม(ข้าวเคล้านม) ออกจะดูเป็นแขก เพราะว่าอาหารของแขกบางชนิดใช้ข้าวผสมกับนม อย่างกับ ข้าวมธุปายาสของแขกโบราณ(ดังที่นางสุชาดา ทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม) เมื่อพูดเร็วๆจึงเพี้ยนกลายเป็นขนมแทน
คำว่าขนมมีใช้มานานหลายร้อยปีแล้ว จึงเป็นการยากที่จะสันนิษฐานให้แน่นอนได้ ของที่เรียกว่าขนมในสมัยโบราณ หรือในสมัยที่จะมีคำว่าขนมนั้นจะเป็นของที่เกิดจากข้าวตำป่น (แป้ง)แล้วผสมกับน้ำตาลเท่านั้น รุ่นแรก ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงขนมต้มไว้เหมือนกัน ต่อมามีคนดัดแปลงสอดใส้เข้าไปอีก ถึงตอนนี้ยังมี มะพร้าวปนอยู่ด้วย ขนมไทยจึงหนี มะพร้าว แป้ง และ น้ำตาลไม่พ้น ของทั้ง ๓ อย่างก็เป็นของพื้นเมืองที่หาได้โดยทั่วไป
มีหลักฐานซึ่งปรากฎอยู่บนศิลาจารึกได้กล่าวถึงชื่อขนมไทยไว้ ๔ ชนิด แต่ไม่ได้ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าอยู่ในสมัยใด ขนมดั้งเดิมของคนไทยในสมัยนั้นคือ เม็ดแมงลัก ลอดช่อง ข้าวตอกและข้าวเหนียว ซึ่งจะตักใส่มาในถ้วยโดยมีน้ำกะทิแยกมาไว้เติมต่างหาก ใครชอบอะไรก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ จากหลักฐานดังกล่าวเชื่อว่า อาจเกิดในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขณะนั้นบ้านเรือนอยู่ในความสงบสุข แผ่นดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีบริโภคกันอย่างเหลือเฟือ จนมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกับต่างประเทศ ทั้งประเทศแถบตะวันตก และประเทศในเอเชียด้วยกัน
เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนวดข้าวหรือช่วยกันทำงานต่างๆเสร็จแล้ว พวกผู้หญิงจะเตรียมขนมทั้งสี่ชนิดนี้ไว้เลี้ยงหลังเลิกงานอยู่เสมอ จนเรียกการเลี้ยงขนมแบบนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย" ขนมไทยทั้ง สี่ชนิดนี้จะมีส่วนผสมหลักอยู่เพียง ๓ อย่าง คือ แป้ง (ที่มาจากข้าวเจ้า) กะทิและน้ำตาลเท่านั้น ซึ่งขนมของคนไทยในยุคต่อๆมาก็ยังคงมีส่วนผสมทั้งสามส่วนนี้ประกอบอยู่ด้วยเสมอ
เสน่ห์จันทร์
ขนมหม้อตาล
กระเช้าสีดา
จ่ามงกุฏ
ขอบคุณ //www.geocities.com
Create Date : 26 มิถุนายน 2550 |
|
14 comments |
Last Update : 26 มิถุนายน 2550 14:40:13 น. |
Counter : 792 Pageviews. |
|
|
|
วันนี้ง่วงนอนแล้วมาอัพช้าไปหน่อย
ยังมีขนมไทยอีกหลายอย่างที่หาดูและหาชิมได้ยากแล้วในปัจจุบัน