ใบเสมาหินทราย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ใบเสมาหินทราย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

 

นางสาวณัฐชยา    บุญพิมพ์
ว่าที่ พ.ต.ดร.ณัฏฐพล  ตันมิ่ง

 

เสมาหินทรายบ้านบุ่งผักก้าม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยตั้งอยู่ที่วัดพัทธสีมาราม บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เสมาหินบ้านบุ่งผักก้ามถูกค้นพบที่วัดพัทธสีมาราม บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นเสมาหินที่มีการกำหนดอายุโดยวิธีทางโบราณคดี โดยใช้วิธีเปรียบเทียบทางประวัติศาสตร์ และศิลปะโดยศึกษาจากศิลปะโบราณวัตถุ สถานที่ที่มีลักษณะรูปแบบลวดลายใกล้เคียงกันและเปรียบเทียบกับศิลปะโบราณ วัตถุจากประเทศใกล้เคียงและคัมภีร์ที่ให้อิทธิพลการกำหนดรูปแบบสลักบนใบเสมา จึงกำหนดอายุได้ว่า สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๙๐๐ - ๑,๒๐๐ ปี เป็นแบบศิลปะทวาราวดี

 

ใบเสมาหินทวาราวดี ศรีวังสะพุง  แบบที่ ๑   สร้างขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕     มีอายุประมาณ  ,๕๓๕ – ,๕๔๕  ปีพบ  ณ บริเวณวัดพัทธสีมาราม(เดิมเป็นไร่พริก)    คุ้มเสมา  บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  สร้างขึ้นในความเชื่อที่ว่า “เสมาหินนี้ ใช้เป็นหลักเขตล้อมรอบพุทธสถาน ที่ใช้ทำ ศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก  และทิศตะวันตก  ของเมืองวังสะพุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชน/เมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้านการเมือง การปกครอง การค้าพาณิชย์ และมีความอุดมสมบูรณ์  ก่อนเข้าและออกจากเมืองทิศใด  ต้องแวะพักแรมทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง จึงจะทำมาค้าขึ้น  เจริญก้าวหน้า มีโชคลาภ และเดินทางโดยสวัสดิภาพ  นายสมมาตร    รักยม  กล่าวว่า  ลวดลายที่สลักไว้บนใบเสมาหิน ภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมเรียวยาว คล้ายหน่อไม้ไผ่  หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ประกอบด้วยฐานกลมรองรับ ๓ ชั้น  องค์สถูปมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน มีลายประดับก้นหม้อตรงกลางเป็นลายบัว ขนาบด้วยกนกสามตัว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี  บนปากหม้อเป็นลายคล้ายพุ่มข้าวบิณฑ์/หน้าขบ/กระจังใบเทศ เป็นลักษณะลายผักกูด ต่อกันขึ้นไปอย่างนี้ ๓ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ เป็นฐาน : ลายเส้นลวดกลม และลูกแก้ว   ช่วงที่ ๒ เป็นองค์สถูป : รูปทรงหม้อดินประดับเส้นลวด ลายบัว และกนกสามตัว คล้ายประจำยามก้ามปู ช่วงที่ ๓ เป็นปลียอด : ประดับลายพุ่มใบเทศ และรูปทรงหม้อดินสามขนาดประดับเส้นลวด ลายบัว และกนกสามตัว  นายพงษธร   มั่งมี   กล่าวว่าคล้ายประจำยามก้ามปู ปลายแหลม  ข้อสังเกต  รูปทรงภาพรวมทุกแบบ คล้ายหน่อไม้ไผ่ และบางส่วนมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน อาจหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาหินทวาราวดี ศรีวังสะพุง  แบบที่ ๒  สร้างขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕  มีอายุประมาณ  ,๕๓๕ – ,๕๔๕  ปี พบ  ณ บริเวณวัดพัทธสีมาราม(เดิมเป็นไร่พริก)   คุ้มเสมา  บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง   อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย นางกรกนก  ทิพวรรณ กล่าวว่าสร้างขึ้นในความเชื่อที่ว่า  “เสมาหินนี้ ใช้เป็นหลักเขตล้อมรอบพุทธสถาน ที่ใช้ทำ ศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก  ของเมืองวังสะพุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชน/เมืองที่เจริญรุ่งเรือง   ด้านการเมือง การปกครอง การค้าพาณิชย์ และมีความอุดมสมบูรณ์  ก่อนเข้าและออกจากเมืองทิศใด  ต้องแวะพักแรมทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง จึงจะทำมาค้าขึ้น  เจริญก้าวหน้า มีโชคลาภ และเดินทางโดยสวัสดิภาพ”ลวดลายที่สลักไว้บนใบเสมาหิน ภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมเรียวยาว คล้ายหน่อไม้ไผ่  หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ประกอบด้วยฐานกลม ๓ ชั้น ตั้งอยู่บนฐานลายประจำยามก้ามปู องค์สถูปรูปทรงหม้อดินตั้งอยู่บนฐานเส้นลวดกลม ๓ ชั้น อาจหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี บนปากหม้อดินเป็นลายใบเทศคล้ายพุ่มข้าวบิณฑ์/หน้าขบ/กระจังใบเทศเป็นลักษณะลายผักกูด ต่อกันขึ้นไปอย่างนี้ ๓ ช่วง  คือช่วงที่ ๑ เป็นฐาน : ลายเส้นลวดกลม ลูกแก้ว และประจำยามก้ามปู ช่วงที่ ๒ เป็นองค์สถูป : รูปทรงหม้อดิน ช่วงที่ ๓ เป็นปลียอด : ประดับลายพุ่มใบเทศ และรูปทรงหม้อดินสองขนาด   ประดับเส้นลวด ลายบัว และกนกสามตัว คล้ายประจำ ยามก้ามปู ปลายแหลมประดับบัวกลุ่ม ข้อสังเกต  รูปทรงภาพรวมทุกแบบ คล้ายหน่อไม้ไผ่ และบางส่วนมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน อาจหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาหินทวาราวดี ศรีวังสะพุง  แบบที่ ๓ – ๔ สร้างขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕   มีอายุประมาณ  ,๕๓๕ – ,๕๔๕  ปีพบ  ณ บริเวณวัดพัทธสีมาราม(เดิมเป็นไร่พริก)  คุ้มเสมา  บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลยสร้างขึ้นในความเชื่อที่ว่า “เสมาหินนี้ ใช้เป็นหลักเขตล้อมรอบพุทธสถาน ที่ใช้ทำศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก  และทิศตะวันตก  ของเมืองวังสะพุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชน/เมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้านการเมือง การปกครอง การค้าพาณิชย์ และมีความอุดมสมบูรณ์  ก่อนเข้าและออกจากเมืองทิศใด  ต้องแวะพักแรมทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง จึงจะทำมาค้าขึ้น  เจริญก้าวหน้า มีโชคลาภ และเดินทางโดยสวัสดิภาพ”ลวดลายที่สลักไว้บนใบเสมาหิน ภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมเรียวยาว คล้ายหน่อไม้  หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ประกอบด้วยฐานกลม ๓ ชั้น  องค์สถูปมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี  บนปากหม้อเป็นลายคล้ายพุ่มข้าวบิณฑ์/หน้าขบ/กระจังใบเทศ เป็นลักษณะลายผักกูด ต่อกันขึ้นไปอย่างนี้ ๓ ช่วง คือช่วงที่ ๑ เป็นฐาน : ลายเส้นลวด ลูกแก้ว บัวหงาย และ/หรือใบเทศ  ช่วงที่ ๒ เป็นองค์สถูป : รูปทรงหม้อดินประดับเส้นลวดและลายบัวช่วงที่ ๓ เป็นปลียอด : กลม ปลายแหลม หรือรูปทรงหม้อดิน ประดับเส้นลวดและลายบัว ปลายแหลมข้อสังเกต  รูปทรงภาพรวมทุกแบบ คล้ายหน่อไม้ไผ่ และบางส่วนมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน อาจหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาหินทวาราวดี ศรีวังสะพุง  แบบที่ ๕สร้างขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕    มีอายุประมาณ  ,๕๓๕ – ,๕๔๕  ปีพบ  ณ บริเวณวัดพัทธสีมาราม(เดิมเป็นไร่พริก)คุ้มเสมา  บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลยสร้างขึ้นในความเชื่อที่ว่า นายชาติชาย   หวังเชื้อ กล่าวว่า “เสมาหินนี้ ใช้เป็นหลักเขตล้อมรอบพุทธสถาน ที่ใช้ทำศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก  และทิศตะวันตก  ของเมืองวังสะพุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชน/เมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้านการเมือง การปกครอง การค้าพาณิชย์ และมีความอุดมสมบูรณ์  ก่อนเข้าและออกจากเมืองทิศใด  ต้องแวะพักแรมทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง จึงจะทำมาค้าขึ้น  เจริญก้าวหน้า มีโชคลาภ และเดินทางโดยสวัสดิภาพ”ลวดลายที่สลักไว้บนใบเสมาหิน ภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมเรียวยาว คล้ายหน่อไม้  หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง นางปรารถนา   คำดอย กล่าวว่า ประกอบด้วยฐานกลม ๓ ชั้น  องค์สถูปคล้ายประจำยาม/หน้าสิงห์/กระจังใบเทศ เป็นลักษณะลายผักกูด ต่อกันขึ้นไปเก้าชั้น แบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ เป็นฐาน : มีรูปครึ่งงวงกลม ประคีบเส้นลวดกลมโค้ง และลายเครือเถาผักกูด  ช่วงที่ ๒ เป็นองค์สถูป : คล้ายประจำยาม/หน้าสิงห์/กระจังใบเทศ เป็นลักษณะลายผักกูด ต่อกันขึ้นไปแปดชั้น คล้ายเครือเถาใบเทศตรง  ช่วงที่ ๓ เป็นปลียอด : ชั้นที่เก้าปลายแหลมทรงบัวตูม ข้อสังเกต  รูปทรงภาพรวมทุกแบบ คล้ายหน่อไม้ไผ่ และบางส่วนมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน อาจหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์  แต่แบบนี้ไม่มีรูปทรงหม้อดินรวมอยู่เลย ใบเสมาหินทวาราวดี ศรีวังสะพุง  แบบที่ ๖ - ๗สร้างขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ มีอายุประมาณ  ,๕๓๕ – ,๕๔๕  ปีพบ  ณ บริเวณวัดพัทธสีมาราม(เดิมเป็นไร่พริก)คุ้มเสมา  บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลยสร้างขึ้นในความเชื่อที่ว่า “เสมาหินนี้ ใช้เป็นหลักเขตล้อมรอบพุทธสถาน ที่ใช้ทำศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก  และทิศตะวันตก  ของเมืองวังสะพุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชน/เมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้านการเมือง การปกครอง การค้าพาณิชย์ และมีความอุดมสมบูรณ์  ก่อนเข้าและออกจากเมืองทิศใด  ต้องแวะพักแรมทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง จึงจะทำมาค้าขึ้น  เจริญก้าวหน้า มีโชคลาภ และเดินทางโดยสวัสดิภาพ”ลวดลายที่สลักไว้บนใบเสมาหิน คล้ายกับแบบที่ ๑ และ ๒ ภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมเรียวยาว คล้ายหน่อไม้  หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง องค์สถูปมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี  บนปากหม้อดินเป็นลายคล้ายพุ่มข้าวบิณฑ์/หน้าขบ/กระจังใบเทศ เป็นลักษณะลายผักกูด หรือกระจังตาอ้อย ต่อกันขึ้นไปอย่างนี้ ๓ ช่วง คือช่วงที่ ๑ เป็นฐาน : ลายเส้นลวด ลูกแก้ว บัวหงาย บัวคว่ำ และใบเทศ  ช่วงที่ ๒ เป็นองค์สถูป : รูปทรงหม้อดินประดับเส้นลวด ลายบัว และใบเทศช่วงที่ ๓ เป็นปลียอด : ประดับลายพุ่มใบเทศ และรูปทรงหม้อดินสองขนาดประดับเส้นลวด ลายบัว และกนกสามตัว คล้ายประจำยามก้ามปู ปลายแหลมประดับบัวกลุ่ม ข้อสังเกต  รูปทรงภาพรวมทุกแบบ คล้ายหน่อไม้ไผ่ และบางส่วนมีรูปทรงคล้ายหม้อดิน อาจหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์   
                    เสมาหินที่พบมีทั้งสภาพสมบูรณ์และชำรุดปักรวมกันอยู่ในบริเวณวัดพัทธสีมาราม ส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว บางใบเป็นหินทรายสีแดงมีขนาดใหญ่เล็กปะปนกันตรงกลางมีลวดลายรูปสถูปเจดีย์ ประดับอยู่เกือบทุกใบ บางใบเป็นหม้อ "ปูรณฆฏะ" ประกอบลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาทั้งหมดสามารถจำแนกได้เป็น ๗ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรูปทรงใกล้เคียงหินธรรมชาติ กลุ่มที่สลักเป็นแผ่นเรียบมีรูปร่างค่อนข้างแน่นอน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะมีสถูปตอนบน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะสถูปตอนบนประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะ ๒ ชั้น ๓ ชั้น ประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มใบเสมาที่เป็นเสาแปดเหลี่ยมฐานบัวปลายสอบเข้าหากัน จำนวน ๑ ใบ และใบเสมาที่มีอักษรประกอบ ๑ ใบ  พบใบเสมาปักรวมกันอยู่ที่คูน้ำคันดิน ในบริเวณวัดพัทธสีมาราม มีทั้งสภาพสมบูรณ์และชำรุดนับได้ ๔๐ ใบ และใบเสมา ๑ ใบ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลยได้ทำสำเนาจารึกไว้พบว่าเป็นอักษรอินเดียใต้ (อักษรปัลลวะ) จำนวน ๑๒ บรรทัด ตัวอักษรลบเลือนอ่านได้เป็นบางคำ ลักษณะอักษรรูปแบบนี้สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบอักษรช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖  เส้นทางเข้าสู่แหล่งเสมาหินทรายบ้านบุ่งผักก้ามจากจังหวัดเลย ไปตามถนนเลย-อุดร ผ่านที่ว่าการอำเภอวังสะพุง พอถึงวงเวียนก็เลี้ยวซ้ายไปตามถนน วังสะพุง-ภูหลวง เลี้ยวขวาไปประมาณ ๕๐๐ เมตร

 

บรรณานุกรม

 

ที่มา : //wwwbase.in.th/node/9177  //www.wimonchantilar.com/index.php?option=com_content&view=article&id=79:2011-11-11-10-00-38&catid=43:2011-11-06-06-13-18&Itemid=64

 

สัมภาษณ์

 

                         นายพงษธร      มั่งมี           สัมภาษณ์  วันที่ 15  กรกฎาคม  2555

 

                         นางปรารถนา   คำดอย       สัมภาษณ์  วันที่ 15  กรกฎาคม  2555

 

                         นายสมมาตร    รักยม          สัมภาษณ์  วันที่ 15  กรกฎาคม  2555

 

                        นางกรกนก      ทิพวรรณ      สัมภาษณ์  วันที่ 17 กรกฎาคม  2555

 

                         นายชาติชาย     หวังเชื้อ         สัมภาษณ์  วันที่ 17 กรกฎาคม  2555

 




Create Date : 29 สิงหาคม 2555
Last Update : 29 สิงหาคม 2555 8:16:08 น.
Counter : 1584 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โฟมน่ารัก
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Group Blog
สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog