ภาพศาลเจ้าพ่อปากเหือง บ้านท่าดีหมี อ.เชียงคาน จ.เลย สมรภูมิศึกฮ่อ

เมื่อเจ้าองค์หลวง ถึงแก่กรรมดวงวิญญาณของท่านเหล่านี้อยู่ ณ บริเวณปากเหือง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ จึงได้สร้างศาลขึ้นเพื่อให้ดวงวิญญาณของท่านเหล่านี้สิงสถิต ในเดือนเจ็ดจะมีพิธีบวงสรวงและเข้าทรง โดยการเซ่นไหว้ ด้วย ไก่ หมู และควาย หมุนเวียนกันไปในแต่ละปี และมีการแก้บนด้วย ขณะเข้าทรงผู้เข้าทรงจะพูดเป็นภาษาฮ่อและมีผู้ซึ่งมีหน้าที่ปรนนิบัติคอยแปลเป็นภาษาไทย ให้ผู้ร่วมพิธีนั้นฟังอีกต่อหนึ่ง และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือวันออกพรรษา ชาวบ้านจะมีการแข่งเรือกัน เพื่อถวายดวงวิญญาณของเจ้าพ่อปากเหืองด้วย บางทีจะประทับเข้าทรงอยู่ ศาลาริมท่าน้ำ ในขณะมีการแข่งเรือด้วย นอกจากมีการบวงสรวงประจำปีแล้ว ผู้ใดมีเรื่องทุกข์ร้อนหรือมีกิจธุระใดๆ จะมีการบนบานให้เจ้าพ่อปากเหืองให้ความช่วยเหลือหรือคุ้มครองให้ปลอดภัยและอาจไปแก้บนเมื่อเรื่องที่บนบานไว้สำเร็จแล้ว หรืออาจไปแก้บนในวันทำพิธีบวงสรวงประจำปีก็ได้ เกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ของเจ้าพ่อปากเหืองปากเหืองนี้มีปรากฏให้เห็นและเล่าสืบต่อกันมาหลายเรื่อง จึงทำให้ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เชื่อถือและเคารพนับถืออยู่มาก พิธีทุกวันนี้มีการกระทำอยู่เป็นประจำทุกปี ชาวบ้านพากันเอาทองคำแท่งมารวมกันสร้างรูปม้าทองคำไว้บูชา บนยอดเขาภูนาจาน ซึ่งมีรายแทงอยู่ ต่อมามีศึกฮ่อมาตีเมืองปากเหือง แล้วพากันหักเอาขาม้าทองคำได้ขาหนึ่ง ชาวบ้านขอร้องไม่ให้เอาไปก็ไม่ไม่ฟังเสียง เอาล่องมาตามลำน้ำเหืองถึงท่าน้ำ ด้วยศรัทธาที่ชาวบ้านได้สร้างไว้ ได้สาปแช่งให้พวกฮ่อมีอันเป็นไป ทำให้พวกโจรจีนฮ่อท้องร่วงตาย วิญญาณของพวกฮ่อเหล่านั้นไปรวมกันอยู่ที่ปากน้ำเหือง และรักษาคุ้มครองชาวบ้านนาจาน บ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใครจะมารบกวนชาวบ้านเหล่านี้ ชาวบ้านจะบนบานบอกกล่าว เพื่อให้เจ้าพ่อปากเหืองคุ้มครอง นอกจากนี้เจ้าพ่อปากเหืองยังเข้าสิง (เข้าทรง) กับเจ้ากวน เพื่อทำพิธีไล่ผีปอบที่เข้ามาทำร้ายผู้คนในหมู่บ้าน ผีปอบยอมแพ้ ขอเป็นลูกน้องอาศัยอยู่ด้วย ต่อมาชาวบ้านเหล่านี้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่หมู่บ้านอื่น เจ้าพ่อปากเหืองไม่ยอมให้ไปก็ใช้ผีปอบไปตาม ผีปอบก็จะไปเข้าสิงคนที่ย้ายไปนั้น จนต้องหาหมอมาไล่อีก เมื่อหมอถามว่ามาจากไหน ผีปอบจะตอบว่า เจ้าพ่อปากเหืองให้มาตามกลับไปหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบริเวณหมู่บ้านนาจาน บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อคนที่ถูกผีปอบสิงกลับเข้าหมู่บ้านก็หายเป็นปกติ ชาวบ้านจึงกระจายออกไปตามริมฝั่งโขง โดยบอกเคล็ดกับเจ้าพ่อปากเหืองว่า ที่นั้นดินแดนคับแคบ จึงขอขยับขยายออกไปอยู่ไกลออกไปอีก เพื่อทำมาหากิน พอสิ้นปีหนึ่งๆ จะนำอาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน ไปเซ่นไหว้ตามประเพณี ซึ่งประเพณีนี้มีที่บ้านคกงิ้ว บ้านคกมาด และบ้านคกหมาแฮมหรือคกคำ (คก คือ บริเวณพื้นน้ำที่เว้าเข้ามาในพื้นดิน เป็น วังน้ำวน ลึกมาก) ประวัติความเป็นมาของบ้านท่าดีหมี ต.ปากตม อ.เชียงคาน ดินแดนแห่งนี้เคยรุ่งเรืองมาสมัยทวารวดีและสุโขทัย ภายหลังได้เลือนหายไปจากการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย มีชุมชนสืบทอดมา หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันคือ บ้านนาวัด บ้านห้วยตม และบ้านหาดบ่าง ต่อมาได้มีการตั้งหมู่บ้านใหม่บริเวณท่าน้ำซึ่งพบต้นไม้โบราณอยู่ คือต้นดีหมี จึงตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า บ้านท่าดีหมี นอกจากนั้นบ้านท่าดีหมียังเป็นแม่น้ำสองสี เป็นจุดพบกันของสองแม่น้ำคือ แม่น้ำเหืองซึ่งเป็นเส้นกั้นชายแดนไทย ลาว เป็นปากน้ำของแม่น้ำเหืองที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ผ่านประเทศลาวโดยแม่น้ำเหืองนั้นน้ำจะขุ่นแม่น้ำโขงจะใส เมื่อมาบรรจบกันก็จะเป็นสองสีตัดกัน ก็จะสวยงามตามธรรมชาติ ที่บ้านท่าดีหมีนั้นยังมีศาลเจ้าพ่อปากเหืองอายุกว่า 300 ปี ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่วัดปากเหืองห่างจากหมู่บ้านประมาณ 200 เมตร แม้ปัจจุบันจะทรุดโทรมเหลือเป็นเพียงกองดิน แต่ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านใน ต.ปากตมให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย



Create Date : 04 พฤษภาคม 2554
Last Update : 4 พฤษภาคม 2554 9:38:50 น.
Counter : 1384 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

โฟมน่ารัก
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Group Blog
พฤษภาคม 2554

1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
22
23
24
25
27
28
29
31
 
 
All Blog