ตบพระธาตุทราย วัดท่าคก เชียงคาน

ตบพระธาตุทราย ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่งในช่วงเทศกาลของชาวไทย ประเพณีนี้มีที่มาจากหลักฐานใน พระไตรปิฎก[1] ที่กล่าวพรรณาถึงอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา[2]ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย[3]ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่นในวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา) [4] ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราวเพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น
17 อานิสงส์ก่อสร้างพระเจดีย์ทราย....ในเมื่อพระองค์เสด็จประทับอยู่ ณ บุพพารามมหาวิหารในนครสาวัตถีได้เทศนาถึงอานิสงส์ก่อเจดีย์ทรายแล้วตั้งความปรารถนาไว้ เป็นใจความว่าวันหนึ่งเป็นฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าวมาก พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงพักผ่อนพระอิริยาบถให้สบาย ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำไม่ห่างจากพระนครเท่าใดนักได้ทรงทอดพระเนตรเห็นทรายขาวสะอาดราบเรียบดีนัก มีพระดำริว่าควรทำเป็นรูปเจดีย์ขึ้น เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ดีกว่าที่เราจะมาเดินเล่นโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อทรงดำริเช่นนั้น แล้วก็รีบลงมือ
ก่อเป็นรูปเจดีย์ด้วยพระองค์เอง พวกบริวารทั้งหลายที่ตามเสด็จ ก็ลงมือก่อตามไปด้วย เมื่อสำเร็จแล้ว
มองก็เป็นทิวแถวสวยงามเกิดมีความปิติยินดีเป็นที่ยิ่ง เพราะนับดูแล้วมี ๘ หมื่น ๔ พันองค์พระบรม
กษัตริย์ทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก ก็เสด็จกลับมาสู่บุพพารามมหาวิหารถวายอภิวาท แล้วก็นั่งอยู่ส่วนข้าง
หนึ่งแล้วกราบทูลถึงอานิสงส์ของการก่อพระเจดีย์ทรายบูชาพระรัตนตรัย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำมา
แล้ว โดยตลอด.... พระพุทธองค์ทรงโปรดประทานพระธรรมเทศนาว่า มหาราชดูกรมหาบพิตรนรชนหญิง
ชายทั้งหลายเหล่าใด มีศรัทธาเลื่อมใสอุตสาห์พากเพียรพยายาม ทำการก่อสร้างพระเจดีย์ทรายใหญ่น้อย
ก็ดี มีจำนวนถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์นั้น หรือว่าจะมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า ก็จะไม่
ไปสู่อบายภูมิตลอดร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติบริวารเป็นอันมาก ครั้น
ตายไปจากมนุษย์โลก ก็จะไปเกิดในสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ แม้พระตถาคตก็เคยได้กระทำมาแล้ว ใน
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีอยู่แล้วพระองค์นำอดีตนิทานมาแสดงต่อไปว่า ครั้งนั้น
พระตถาคตได้เกิดในตระกูลอนาถา พอเจริญวัยขึ้นก็ต้องเข้าป่าแสวงหาฟืนมาขายเลี้ยงชีพ กระทำอย่าง
นี้เป็นอาจิณ อยู่มาวันหนึ่งได้เห็นทรายขาวสะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่องในราวป่า ก็มีจิตผ่องใสศรัทธาใคร่จะ
ก่อพระเจดีย์บูชาพระรัตนตรัย จึงสละเวลาไม่ตัดฟืนทั้งวัน ได้ก่อพระเจดีย์ทรายเสร็จแล้วได้ฉีกผ้าห่ม
ผืนหนึ่งปักเป็นธงชัย แล้วบูชาพระรัตนตรัยในพุทธบาทศาสดาของพระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วตั้ง
ความปรารถนาว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จพระโพธิญาณ ในอนาคตกาลโน้นเทอญ ครั้นทำลายขันธ์แล้ว
ไปเกิดอยู่ชั้นดาวดึงส์มีวิมานสูง ๑๒ โยชน์ เสวยทิพย์สมบัติอยู่ถึง ๒ พันปีทิพย์ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วได้
จุติมาเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ได้ท่องเที่ยวอยู่ในมนุษย์โลก บำเพ็ญบารมีญาณจน
เต็มเปี่ยมดีแล้ว จึงได้มาอุบัติเป็นพระตถาคต ดังที่มหาบพิตรปรารภอยู่ขณะนี้ เมื่อจบพระธรรมเทศนา
ลงแล้ว พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายก็มีความยินดีโสมนัส ในการที่พระองค์ทรง
ก่อ พระเจดีย์ทรายบูชาคุณพระรัตนตรัยโดยไม่เปล่าประโยชน์
ตบพระธาตุทราย เมื่อถึงเทศกาลบุญปีใหม่ลาว นอกจากการบำเพ็ญกุศลถวายทานรักษาศีลแล้ว ยังมีการทำบุญตบพระธาตุทราย ดังมีเรื่องเล่าไว้ว่า สมัยหนึ่งในเดือนสี่ แรมแปดค่ำ พระเจ้าปัทเสนทิโกศล เสด็จออกจากเมืองสาวัตถี มีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริวารตามเสด็จไป ถึงหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำใกล้เมือง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเม็ดทรายอยู่หาดนั้นมีสีขาวผุดผ่องบริสุทธิ์หาสิ่งเปรียบเทียบไม่ได้เลย พระองค์มีพระทัยเลื่อมใสอันแรงกล้า จึงทรงพระอุตสาห์กวาดเอาทรายมารวมกันให้เป็นกองแล้วทำเป็นรูปธาตุทราย เรียกตามภาษาบาลีว่า วาลุกะเจดีย์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ในกาลครั้งนั้น พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่บุปผาราม มหาวิหาร ที่นางวิสาขา สละทรัพย์สร้างถวายหมดเงิน 27โกฏ พระเจ้าปัทเสนทิโกศล เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมทูลถึงอานิสงค์ ในการก่อธาตุทราย ว่ามีอานิสงค์เท่าใด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า บุคคลผู้มีศรัทธาอันแรงกล้า ก่อพระธาตุทรายก็จะได้รับอานิสงค์ดังต่อไปนี้ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นผู้อุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง ถ้าตายจากมนุษย์แล้ว ก็จะไปเกิดในสวรรค์ เสวยทิพย์สมบัติ มีนางฟ้าเป็นบริวาร การก่อพระธาตุทรายนี้ จึงเป็นเรื่องของผู้มีศรัทธา มีความคิดอันดีและเห็นอานิสงส์ซึ่งจะมีในภายครั้งหน้า และได้พากันทำเป็นประเพณีมาแล้วในครั้งอดีตกาล

ถ้าใครไปทำบุญตักบาตรตามวัดทางเหนือช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในวันที่ 14 เมษายน จะเห็นภาพของแม่อุ๊ยกำลังประดับตุงไว้บนพระเจดีย์ทรายที่ชาวบ้านก่อขึ้นร่วมกันให้สวยงาม แต่นั่นก็มีความหมายมากกว่าการประดับประดาอย่างที่ตาเห็น
การก่อพระเจดีย์ทรายนี้คนเหนือจะทำกันในตอนบ่ายของวันเนาหรือวันเน่า คือวันที่ 14 เมษายน เพราะความเชื่อตามตำนานเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อพระเจดีย์ทราย 84,000 องค์ ถวายเป็นพุทธะ ธัมมะ สังฆะบูชา กับเรื่องพระโพธิสัตว์ครั้งเสวยชาติเป็นทุกขตะเข็ญใจ ได้ก่อพระเจดีย์ทรายและฉีกสบงแขวนเป็นตุง พร้อมกับขอให้เสวยชาติใหม่เป็นองค์สัพพัญญู
ผู้ใดตาน (ภาษาเหนือตรงกับคำว่า "ทาน" ในภาษากลาง) พระเจดีย์ทรายจึงได้บุญมหาศาลเท่าจำนวนเม็ดหินเม็ดทราย อีกทั้งยังจะเป็นคนมีปัญญากล้าแข็ง ละเอียดเหมือนเม็ดทราย จะเกิดร่วมกับพระศรีอาริย์ มีญาติพี่น้องบริวารมาก ไปไหนไม่อดอยาก ถ้าเป็นคนแก่ก็จะมีอายุยืนยาว ส่วนหนุ่มสาวที่ก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน ก็จะเป็นคู่สร้างคู่สมตลอดไป
คนโบราณเชื่อว่า ทุกครั้งที่เดินเข้าวัดก็จะนำเม็ดทรายในวัดติดเท้าออกมาด้วย และหากไม่ขนทรายไปใช้แทน เมื่อตายไปจะเกิดเป็นเปรต เพราะคนล้านนาถือเรื่องสมบัติของสงฆ์ว่าเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ ใครจะลักหรือทำลายไม่ได้ เป็นบาปมหันต์
การก่อพระเจดีย์ทรายตามวัดต่างๆ เราจึงมักเห็นก่ออยู่รอบวิหารภายในวัด และตามเจดีย์ทรายเหล่านี้ยังประดับประดาด้วยธงหรือที่คนเหนือเรียกว่า "ตุง" หลากสีสันหลายรูปแบบอีกด้วย




Create Date : 15 เมษายน 2554
Last Update : 17 เมษายน 2554 8:40:01 น.
Counter : 1107 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โฟมน่ารัก
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Group Blog
เมษายน 2554

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
18
19
20
21
24
25
26
28
29
 
All Blog