ครั้งหนึ่งแมวถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้า และบัดนี้มันก็ยังไม่ลืมเรื่องนั้น (หึหึ //เลียอุ้งเท้า)
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
15 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

แปลกไหมที่เด็กมหาวิทยาลัยไม่รู้จัก Holocaust

จขบ.มีเพื่อนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเยอะมากเลยค่ะ และแต่ละคนนั้นก็สุดแซ้น สุดแสนจะไชลด์เซ็นเตอร์

คือพวกมันชอบเอาเด็กมาไว้ตรงกลางแล้วกระหน่ำยิง

อันที่จริงคือพวกมันตั้งความหวังไว้กับเด็กมากเกินไปน่ะค่ะ ไม่ได้ดูสิ่งแวดล้อมที่สร้างเด็กไทยสมัยนี้ส่วนใหญ่ขึ้นมาเลย

วันหนึ่ง ระหว่างที่นั่งกินสุกี้กับหนึ่งในนั้น มันก็ถามขึ้นมาว่า "แปลกไหมที่เด็กมหา'ลัยจะไม่รู้จัก Holocaust"

ไม่แน่ใจนะคะว่ามันใช้คำว่า "แปลกไหม" หรือ "ผิดไหม" มาคิดๆ ดูตอนนี้คำว่า "แปลกไหม" มันมีนัยกล่าวหามากกว่าไม่น้อยเลย

แต่ก็ไล่เรียงถามสถานการณ์แวดล้อม เรื่องก็คือมันสอนการอ่านฉลากเป็นภาษาอังกฤษ เจอคำว่า cleansing มันก็โยงเข้ากับคำว่า ethnic cleansing และถามเด็กว่ารู้จักไหมว่าคืออะไร ซึ่งเด็กก็ไม่รู้จัก มันก็อธิบายว่าคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ อย่างที่โด่งดังมากๆ ก็คือ Holocaust เด็กก็ถามว่า Holocaust คืออะไร (ก็ยังดีที่ถามอ่ะ) พออธิบายว่าคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ปรากฏว่าเด็กก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่ดี คือไม่รู้เลยว่ายิวถูกฆ่า

ก็ไม่รู้ว่าเขาเปลี่ยนหลักสูตรมัธยมกันไปแล้วหรือไง เพราะถ้าจำไม่ผิด สมัยที่จขบ.เรียนม.6 นั้น ต้องเรียนเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง และไม่ว่าจะมีระบุไว้ในตำราหรือไม่ อาจารย์ที่ดีก็ควรจะขยายประเด็นนี้ไว้ด้วย

ที่ตั้งหัวข้อว่าแปลกไหมที่เด็กไม่รู้จัก Holocaust แทนที่จะเป็นคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวนั้น ก็เพราะเด็กพวกนี้เอกวรรณคดีอังกฤษค่ะ จึงรู้สึกว่านอกจากรู้เรื่องแล้วควรจะรู้ศัพท์ไว้ด้วย อาจารย์และเพื่อนอาจารย์ที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้นเห็นว่าคนที่สนใจเรื่องอะไรที่เป็นตะวันตกนั้น น่าจะมีโอกาสรู้เรื่องนี้ได้ไม่ยาก

หรือเด็กพวกนี้จะไม่ได้สนใจอะไรที่ตัวเองเลือกเรียนจริงๆ?

อีกประเด็นหนึ่ง ระหว่างที่เราปรึกษาหารือกันเป็นการเคร่งเครียดอยู่นั้น น้องพนักงานเอ็มเคก็มาเคลียร์โต๊ะ จขบ.เลยหันไปถามน้องเขาว่า "น้องรู้จัก Holocaust ไหมคะ รู้จักการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหรือเปล่า" น้องเธอก็ตอบด้วยสีหน้าเรียบเฉยมากว่า "ไม่รู้จักค่ะ"

เราเลยหันมาพูดกับเพื่อนว่านี่ไง เรานี่แหละที่ประหลาด

เราเป็นพวกซ่อกแซ่กชอบรู้เรื่องเป็นเรื่องบ้างไม่เป็นเรื่องบ้างไปทั่ว

...รึเปล่า

เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง คือ "ไม่มีประโยชน์" สำหรับน้องเอ็มเคหรือเปล่า หรือว่าน้องเรียนปวช. ไม่ได้เรียนม.6 เลยไม่ได้เรียนเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง

เอ้า ถามจริงๆ คุณคิดว่าความรู้เรื่องนี้ "มีประโยชน์" กับน้องเอ็มเคไหม กับเด็กเอกวรรณคดีอังกฤษล่ะ กับเด็กมหาวิทยาลัยทั่วไปล่ะ แล้วกับคนทั่วไปล่ะ

ที่พอจะมี "มีประโยชน์" ในแง่ความหมายที่ใช้กันทั่วไปอยู่บ้างก็คงกับเด็กเอกวรรณคดีอังกฤษล่ะมั้ง เพราะคนอื่นเอาไปทำมาหากินไม่ได้ เพิ่มเกรดก็ไม่ได้

ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รู้แล้วจะทำให้เกิดอาการ "ฉุกคิด" ระดับสากล ตรงนี้อาจมีการเหน็บแนมตามมาบ้างว่าเป็น "สากล" ในกรอบความคิดที่เอาฝรั่งเป็นศูนย์กลางน่ะสิ ก็ได้ถ้าอย่างนั้นถามใหม่ว่า "แปลกไหมที่เด็กมหาวิทยาลัยไม่รู้จักกรณีทุ่งสังหาร" หรือถ้าให้ใกล้ตัวขึ้นมาหน่อยก็ "แปลกไหมที่เด็กมหาวิทยาลัยแยกกรณี 14 ตุลาฯ กับ 6 ตุลาฯ ไม่ออก"

แปลกไหมคะ

คำตอบนั้นหรือ...ล่องลอยอยู่ในสายลม




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2549
18 comments
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2549 21:43:07 น.
Counter : 453 Pageviews.

 

อืม เคยรู้สึกไหมเวลาพูดเรื่องประวัติศาสตร์อีกฝ่ายจะมองว่า ประวัติศาสตร์มันเรื่องอดีต

คนส่วนใหญ่มักจะละเลยประวัติศาสตร์
เพราะคิดว่ามันเ็ป็้นวิชาที่น่าเบื่อ

จริงๆ มันเป็นวิชาที่จะรู้ว่าเราคือใคร
และจะได้รู้โลกที่ผ่านมาก่อนจะมาถึงจุดนี้



 

โดย: keyzer 15 กุมภาพันธ์ 2549 21:55:49 น.  

 

ความรู้บางอย่างไม่ได้มีประโยชน์กับการดำเนินชีวิตของคนบางคน

แต่คนที่รู้อะไรหลายๆ อย่าง ก็เป็น "เสน่ห์" ของตัวคนนั้นน่ะค่ะ

 

โดย: นางสาวอาร์ต 15 กุมภาพันธ์ 2549 22:16:44 น.  

 

ดูจะเอาวิธีคิดของอาจารย์มหาวิทยาลัย
และนักเรียนวรรณคดี
ไปสอบถาม "ชาวบ้าน" เกินไปหรือเปล่า

สงสารน้องเอ็มเค คนนั้นน่ะ

 

โดย: grappa 15 กุมภาพันธ์ 2549 22:24:36 น.  

 

^
^
พี่ก็อย่าปรามาสชาวบ้านไป เขาอาจจะรู้ก็ได้ และถ้าหากเขาเรียนสายสามัญมา เขาก็มีสิทธิ์เต็มที่ที่จะรู้เลยล่ะ ถ้าอาจารย์เขาดีพอ

เด็กขายกาแฟที่บิ๊กซีแถวบ้านหนูกำลังอ่านสามก๊กเป็นรอบที่สามค่ะ

 

โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) 15 กุมภาพันธ์ 2549 22:36:53 น.  

 

ผมเองเรียนโทอยู่ก็ไม่ทราบครับว่าคำว่า Holocaust คืออะไร

ถ้าบอกว่ารู้จักการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ยิวของเยอรมันนี้รู้จักไหม ถามแบบนี้ถึงจะรู้

ผมว่าไม่แปลกน่ะที่จะไม่รู้ อย่างผมไปถามชาวบ้านว่ารู้จัก 'วาทกรรม' 'ปัจเจกชน' 'มายาคติ' ไหม ผมว่าคงมีชาวบ้านน้อยคนที่จะรู้ ผมรู้สึกว่าอารมณ์มันคล้าย ๆ กันนะ

ผมว่าสนใจเรื่องอะไรใกล้ตัวดีกว่าเพราะบางสิ่งบางอย่างที่ใกล้ตัวเราก็มักจะมองข้ามมันไป รวมถึงเรื่องความรู้ในห้องเรียน ผมว่าคาบแรกที่อาจารย์ต้องพูดคือสิ่งที่คาดหวังว่าคุณจะได้ไปคืออะไร มิใช่มาเรียนขำ ๆ ไปวัน ๆ

 

โดย: I will see U in the next life. 15 กุมภาพันธ์ 2549 23:31:18 น.  

 

ไม่รู้จักศัพท์คำนี้เหมือนกันค่ะ Holocaust
ไม่แน่ใจว่าตอนครูสอนเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง เค้าบอกหรือเปล่าเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว
เพราะที่มังคุดจำได้ ก็มาตอนจบมัธยมแล้วน่ะค่ะ
ไม่แน่ใจว่าจากหนังหรือจากหนังสืออ่านเล่น

ที่จำสงครามโลกครั้งที่สองได้แม่นก็คือ
โกโบริค่ะ

 

โดย: mungkood 16 กุมภาพันธ์ 2549 0:02:49 น.  

 

เป็นคนไม่ชอบคำว่า child centered ด้วยเหตุที่นอกจากจะเป็นภาษาอังกฤษที่ขาดความลึกซึ้งแล้วยังคิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ตราบใดที่ครูในประเทศไทยยังไม่ได้เปลี่ยนทัศนะคติที่แท้จริง

พวกเราคงลืมกันไปแล้วว่าผู้ใหญ่ที่โตขึ้นมาจนได้ดีทุกวันนี้นั้น หลายคนมีครูที่ eccentric และบางคนถึงขั้น egoism เพราะคุณภาพเด็กในประเทศนี้นั้นให้เรียนถึงดอกเตอร์ก็หาใช่ intellectual อย่างใดไม่ เป็นได้แค่โฆษกประจำตระกูลเท่านั้น
เพราะฉะนั้น น่าจะชึ้ทางให้เด็กของเราคิดให้เป็นปัญญาชนน่าจะสวยกว่า

แน่ละการเปิดโอกาสให้เด็ก แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน แต่ต้องสอนพวกเขาถึงวิถีทางแห่งประสบการณ์ และหลุมพรางทางความคิดเอาไว้ด้วย

เคยมีความคิดที่จะถามคนแบบน้องเอ็มเค เขาเหมือนกันว่า เออ..น้องรู้จัก Butterfly Efftect ไหม หรือ น้องว่า Maria Callas เนี่ยร้องสู้ ขวัญจิตร ศรีประจันได้ไหม หรือถามเด็กเสิร์ฟในร้าน S &P ว่า เออน้อง ชอบ Aston Martin ในเจมส์บอนด์ตอนใหม่ไหม อะไรทำนองนี้เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากระทำเป็นอย่างยิ่ง ความสนุกไม่ได้อยู่ที่คำถาม เป็นเรื่องที่เราควรสำรวจ กรอบความคิดเราเองด้วยเช่นกัน

PS.แฮปปี้วันวาเลนไทน์ ที่คงสายไปหน่อย ครับ

 

โดย: bellerophon 16 กุมภาพันธ์ 2549 0:36:18 น.  

 

แหะ แหะ ผ่านเข้ามาสวัสดีค่ะ

ดิฉันเคยเรียนด๊อกบ๊อกๆเมื่อปี 2538 ที่เมืองไทย
ตอนนั้นไม่รู้จักคำๆนี้เลยค่ะ ไม่อยู่ในสารบบ ถ้าบอกสงครามล้างเผ่าพันธุ์ยิวเนี่ยถึงจะร้องอ๋อค่ะ คงไม่โทษใคร
เพราะจำไม่ได้ว่าครูสอนอะไรมั่ง

ส่วนโกโบริ ที่คุณมังคุดว่า
ไม่เรียกว่าจำค่ะ เรียกว่า ตราตรึงซึ้งใจ
เอาไว้อ่านยามว่างจากตำรามหาโหดค่ะ
คิดแล้ว ซึ้ง ไปดีกว่า

 

โดย: เพลงเสือโคร่ง 16 กุมภาพันธ์ 2549 0:39:45 น.  

 

ขอบคุณนะค่ะที่แวะไปเยี่ยมเยียนกันที่บล็อก เลยแอบมาส่งรอยยิ้มก่อน

ที่ส่งรอยยิ้มก่อนเพราะว่าตอนนี้กำลังเริ่มงุงงงกับศัพท์ที่ยกมานี้เหมือนกันค่ะ ถ้าพูดคำนี้ออกมาก็ไม่รุ้จักเหมือนกัน แต่ถ้าแปลออกมาเป็นคำง่ายๆ และได้ยินกันบ่อยหน่อยว่าสงครามล้างเผ่าพันธุ์ยิวก็พอนึกออกค่ะ ( นึกออกแบบหางอึ่งเลยค่ะเพราะว่าไม่ได้เรียนมา ) ที่พอรุ้บ้างก็เพราะอ่านเอาทางหนังสือนี่ล่ะคะ แต่ว่าหางอึ่งจริงๆ

 

โดย: JewNid 16 กุมภาพันธ์ 2549 3:13:42 น.  

 

ไม่แปลกนะ เพราะมันเป็นเรื่องของความสนใจ
ไม่ใช่เรื่องเก่งไม่เก่ง เรียน ม.6 หรือ ปวช. แต่น่าจะ
เกี่ยวกับความสนใจของแต่ละคนที่ต่างกันไป อย่างเราๆที่ต้อง
อ่านต้องเรียนเกี่ยวกับตะวันตก ต้องอ่านสือหนังภาษาอังกฤษ
ยังไงก้ต้องรู้เพราะมันเป็นเหตุหนึ่งในความเป็นไปในปัจจุบัน

ถ้าเด็กที่เรียนสนใจค้นไปถึงสมัยก่อนก็คงรู้ แต่ตอนนี้ก็มี
เรื่องยุ่งๆเยอะแยะไปหมด มาให้เรียน มาวิเคราะห์กันให้มึน
สมัยเราแค่ ethnic cleansing ในบอสเนีย กับการแยกรัฐ
ของโซเวียตก็ทำเอาเมื่อย เด็กที่มาทีหลังก็ต้องรับเอาประวัติศาสตร์ที่
มากขึ้น โหดขึ้น ก็น่าเห็นใจนะ

จะว่าไปเรารู้จักคำว่า holocaust หรือ ethnic cleansing สมัยเรียน
มหา'ลัยนะ ไม่ได้รู้จากห้องเรียน แต่จากอ่านนิยายที่มีตัวเอกเป็้นยิว
เลยสนใจ ส่วนตอนเรียนม.ปลายนี่ จำไม่ได้แฮะ

ถ้าเด็กเอ็มเคสนใจเรื่องนี้ก็คงรู้ เด็กวรรณคดีอังกฤษถึงเรียน
แต่ไม่สนใจ ยังไงก็ไม่รู้อยู่ดีแหละ


 

โดย: แมวปิลาร์ 16 กุมภาพันธ์ 2549 9:26:22 น.  

 

แก้คำผิด สือหนัง>>>หนังสือ จ้ะ
ขออภัย

 

โดย: แมวปิลาร์ 16 กุมภาพันธ์ 2549 9:27:48 น.  

 

แวะมาเยี่ยมบล็อกค่ะ

เราว่ามันก็ขึ้นอยู่กับว่า นิสิตนักศึกษาเหล่านั้น เขาเรียนในสาขาอะไรด้วยค่ะ

ถ้าเรียนประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ ก็ควรจะรู้ค่ะ

แต่ถ้าเรียนสายอื่น เช่น แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บัญชี ไม่รู้ก็ไม่แปลก เพราะมันไม่ใช่จุดสนใจของเขา


ปล. เราก็ไม่รู้เหมือนกัน ไม่ได้เรียน ม.6 ค่ะ สอบเทียบ ^^

 

โดย: ลูกหมูยอ 16 กุมภาพันธ์ 2549 12:19:58 น.  

 

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเผื่อแผ่ความเห็นค่ะ ได้อะไรเยอะดีทีเดียว

ฟังๆ บางความเห็นดูก็รู้สึกว่าเราต้องมาสำรวจวาทกรรม "ชาวบ้าน" ดูเหมือนกันนะ วาทกรรมนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เราแยกแยะชาวบ้านออกจากน็อนชาวบ้านที่ตรงไหน ฯลฯ ซึ่ง LMJ ไม่มีความรู้มากพอจะทำได้ ขอยกให้เป็นหน้าที่ผู้รู้แล้วกันค่ะ

 

โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ IP: 58.11.1.116 16 กุมภาพันธ์ 2549 13:50:44 น.  

 

แล้วแต่ความสนใจค่า

 

โดย: thaibanana 16 กุมภาพันธ์ 2549 18:38:17 น.  

 

พูดถึง Holocaust แล้วอยากไป Holocaust Museum ที่ DC แบบว่าคิวรอเข้าพิพิธภัณฑ์ยาวมากๆ ไปทีไรไม่เคยอดทนรอคิวได้สักที...ว่าแล้วก็เลยยังไม่เคยดูจนกลับมาแล้วนี่แหละ -___-"

 

โดย: nurin (Nontagorn ) 16 กุมภาพันธ์ 2549 21:26:37 น.  

 

มันก็ต้องมีความคาดหวังว่า เด็กที่เรียนสาขานั้นๆ ควรจะรู้สิ่งที่ต้องรู้อ่ะนะ อืมมม แต่ความรู้ไม่ได้อยู่แต่ในห้องจริงๆ ด้วย สิ่งที่น่าทำก็คือ ทำยังไงให้เขากระตือรือร้น อยากรู้ อยากค้นคว้า ให้มากกว่านี้ด้วย ... เห็นด้วยกะคุณนางสาวอาร์ตน้าว่าคนที่รู้อะไรหลายอย่างก็เป็นเสน่ห์

 

โดย: bookmark 16 กุมภาพันธ์ 2549 22:19:32 น.  

 

เราคิดว่า การที่เรารู้อะไรมากน้อยแค่ไหนก็สำคัญ แต่สิ่งที่น่าจะสำคัญกว่า คือเราได้คิดอะไรบ้างจากสิ่งที่เรารู้ และได้นำเอาสิ่งที่เรารู้ไปทำให้เกิดประโยชน์อะไรบ้างมากกว่านะคะ ดังนั้นน้องที่ MK คนนั้น ถึงเค้าจะไม่รู้จัก Holocaust แต่ถ้าเค้ารู้จักวิธีการบริการลูกค้าให้ประทับใจได้ ก็อาจจะดีกว่าก็ได้นะคะ

ปล. สารภาพว่าตัวเองก็ไม่เคยรู้จักคำนี้เหมือนกันค่ะ และออกจะมั่นใจว่าตอนเรียน ม.6 อาจารย์ไม่เคยพูดถึงเลยนะ

 

โดย: azzurrini 17 กุมภาพันธ์ 2549 13:27:56 น.  

 

ไปดัดผมมาสมใจแล้ว เพื่อนบอกว่า "มึงดูไม่แมนอย่างที่กลัวหรอก มึงดูบ้าต่างหาก" แม่ก็ด่าเช็ดเลย แปลกดี ทั้งแม่ทั้งเพื่อนใช้คุณศัพท์ว่า "บ้า" เหมือนกัน บ้ายังไงวะ ก็หน้าเหมือนแม่นั่นแหล่ะ

อ่า กลับมาที่เรื่องโฮโลคอสต์หรือ Sho-ah ในภาษาฮีบรู ดูจากปากคำพยานส่วนใหญ่แล้วรู้สึกว่าทุกคนรู้ว่ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงแต่รู้จักไปด้วยชื่อที่ต่างกันไป แต่ประเด็นที่อ๋อยติดใจไม่ได้อยู่ตรงนั้น อ๋อยติดใจเรื่องวาทกรรม "ชาวบ้าน"ต่างหาก--อะไรคือชาวบ้าน? อะไรคือไม่ชาวบ้าน? แล้วเราเรียกน็อน-ชาวบ้านว่าอะไร? อะไรคือความรู้สำหรับชาวบ้าน?

กำลังสงสัยว่าการที่น้องเอ็มเคไม่รู้จักโฮโลคอสต์กับการที่เราไม่รู้จักอุปกรณ์การจับปลาพื้นบ้านมันมีมัยต่างกันไหม? เราจะแอบรู้สึกหรือเปล่าว่าก็น้องเขาเป็นชาวบ้าน น้องเขาจะไปรู้ประวัติศาสตร์ยุโรปได้ไง? เราไม่ได้เป็นลูกชาวนานี่ จะไปรู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านได้ไง? ดีกรีความหน้าแหกอันไหนสูงกว่า? เรา"เอ็นดู" ชาวบ้านกันเป็นปกติวิสัย เรามองว่าชาวบ้านเป็นเหยื่อตลอดเวลากันเกินไปหรือเปล่า? ทำไมการที่จขบ.ถามน้องเอ็มเคอย่างนั้นมันถึง"ดูเหมือน"การรังแกชาวบ้าน ในขณะที่การที่อาจารย์ถามเด็กในห้อง(ซึ่งไม่รู้เรื่องโฮโลคอสต์เหมือนกัน)ถึงดูถูกทำนองคลองธรรมดี?

ปวดหัวหยิกๆหยอยๆของอ๋อยจัง ไปกินไส้อั่วต่อดีก่า ก่อนไปขอเล่าทิ้งท้าย ตอนอยู่ในร้านทำผม ได้ยินช่างสองคนคุยกัน
ช่าง ก: ไปทำไรมา ดำเชียว
ช่าง ข: ไหน ดำตรงไหน นี่เขาเรียกว่าสีแทน
ช่าง ก: แทนที่จะขาวน่ะสิ

 

โดย: อ๋อย ศพน้อยๆในสถานที่เกิดเหตุ IP: 58.9.40.220 17 กุมภาพันธ์ 2549 13:44:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


the grinning cheshire cat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ปีศาจแมวอายุ 1,700 ปี บำเพ็ญตบะจนแปลงร่างเป็นคนได้ กำลังศึกษาวิถีชีวิตแบบมนุษย์ แต่รู้สึกว่ายากจัง เพราะยังคิดอะไรแบบแมวๆ อยู่เลย
Photobucket LMJ recommends


Photobucket
เต๋าแบบหมีพูห์ (The Tao of Pooh)
Benjamin Hoff เขียน
มนต์สวรรค์ จินดาแสง แปล
มติชน พิมพ์

หนังสือ Tao (หรือ Dao) spin-off ที่ไม่งี่เง่า และคนเขียนรู้จริงจริงๆ ทั้งเรื่องเต๋าและเรื่องหมี

Photobucket
ฅ.คน ฉบับ 41 มี.ค. 52

เจ้าหญิงพอลล่า:
หัวใจเธอมันน่ากราบ
กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง:
ยังไงปลาทูก็เจ๋งกว่าโรงถลุงเหล็ก
สัมภาษณ์อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์:
ฉบับลำแต้ๆ

เมฆาสัญจร
เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)
เดวิด มิทเชลล์ เขียน
จุฑามาศ แอนเนียน แปล
มติชน พิมพ์

เหนือคำบรรยาย (เพราะตัดสินใจเลือกคำบรรยายไม่ถูก ฮา)

ยูโทเปีย และ 1984
ยูทเปีย
เซอร์โธมัส มอร์ เขียน
สมบัติ จันทรวงศ์ แปล
1984
จอร์จ ออร์เวลล์ เขียน
รัศมี เผ่าเหลืองทอง
และ
อำนวยชัย ปฏิพัทธเผ่าพงษ์ แปล
สมมติ พิมพ์

หนังสือเปิดหูเปิดตาระดับตัวพ่อ แถมปกสวยระดับตัวแม่อีกต่างหาก โอ๊ว

เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
(The God of Small Things)
อรุณธตี รอย เขียน
สดใส แปล
โครงการสรรพสาส์น
ของสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก พิมพ์

เรื่องเล่าโค-ตะ-ระอัศจรรย์จากอินเดีย

นายธนาคารเพื่อคนจน
นายธนาคารเพื่อคนจน
โมฮัมหมัด ยูนุส เขียน
สฤณี อาชวานันทกุล แปล
มติชน พิมพ์

อัตชีวประวัติฉบับกึ่งสุขกึ่งเศร้า บางครั้งก็เกือบเคล้าน้ำตา ของหนุ่มนักเรียนนอก กับธนาคารหลังคามุงหญ้า (บานประตูก็ไม่มี) ของเขาและลูกศิษย์ ที่หาญกล้าพุ่งชนทุกอย่างเพื่อให้ผู้หญิงจนๆ จำนวนมากในบังคลาเทศยืนหยัดด้วยขาของตัวเองได้

(อันที่จริงเราควรจะแนะนำว่า นี่เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของนักเศรษฐศาสตร์ที่แก้ปัญหาความยากจนในบังคลาเทศจนได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 แต่ม่ายอ่ะ ทำงั้นแล้วจะได้อะไร คุณจะรู้เหรอว่าหนังสือเล่มนี้ทั้งสนุกเป็นบ้าและ insightful ขนาดไหน กริๆ)



I'm reading




Potjy's currently-reading book recommendations, reviews, favorite quotes, book clubs, book trivia, book lists


100+ TBR 2010



2010 reading goal

Friends' blogs
[Add the grinning cheshire cat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.