Group Blog
 
<<
เมษายน 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 เมษายน 2549
 
All Blogs
 
กฎหมายทรัพย์สิน(ต่อ)

ลักษณะ3 ครอบครอง

มาตรา 1367 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
มาตรา 1368 บุคคลอาจได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้
มาตรา 1369 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน
มาตรา 1370 ผู้ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าครอบครอง โดยสุจริต โดยความสงบและโดยเปิดเผย
มาตรา 1371 ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดครอบครองทรัพย์สินเดียวกันสอง คราว ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นได้ครอบครองติดต่อกันตลอดเวลา
มาตรา 1372 สิทธิซึ่งผู้ครอบครองใช้ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสิทธิซึ่งผู้ครอบครองมีตามกฎหมาย
มาตรา 1373 ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
มาตรา 1374 ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สิน เพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมี สิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้ ถ้าเป็นที่น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวน อีก ผู้ครอบครองจะขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่ง นับแต่เวลาถูกรบกวน

มาตรา 1375 ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วย กฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครองเว้นแต่อีก ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครอง ได้
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปี หนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง

มาตรา 1376 ถ้าจะต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่บุคคลผู้มีสิทธิเอาคืนไซร้ ท่าน ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภ มิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1377 ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือ ทรัพย์สินต่อไปไซร้ การครอบครองย่อมสุดสิ้นลง
ถ้าเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมีมาขัดขวางมิให้ผู้ครอบครองยึดถือ ทรัพย์สินไซร้ ท่านว่าการครอบครองไม่สุดสิ้นลง
มาตรา 1378 การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้นย่อมทำได้โดยส่งมอบ ทรัพย์สินที่ครอบครอง
มาตรา 1379 ถ้าผู้รับโอนหรือผู้แทนยึดถือทรัพย์สินอยู่แล้วท่านว่าการ โอนไปซึ่งการครอบครองจะทำเพียงแสดงเจตนาก็ได้
มาตรา 1380 การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล แม้ผู้โอนยังยึด ถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินนั้นแทนผู้รับ โอน
ถ้าทรัพย์สินนั้นผู้แทนของผู้โอนยึดถืออยู่ การโอนไปซึ่งการครอบครอง จะทำโดยผู้โอนสั่งผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอนก็ได้

มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบ ครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก

มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบ ครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1383 ทรัพย์สินอันได้มาโดยการกระทำผิดนั้น ท่านว่าผู้กระทำ ผิดหรือผู้รับโอนไม่สุจริตจะได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความก็แต่เมื่อพ้นกำหนดอายุ ความอาญา หรือพ้นเวลาที่กำหนดไว้ใน มาตรา ก่อน ถ้ากำหนดไหนยาวกว่า ท่านให้ใช้กำหนดนั้น
มาตรา 1384 ถ้าผู้ครอบครองขาดยึดถือทรัพย์สินโดยไม่สมัครและได้คืน ภายในเวลาปีหนึ่งนับตั้งแต่วันขาดยึดถือ หรือได้คืนโดยฟ้องคดีภายในกำหนด นั้นไซร้ ท่านมิให้ถือว่าการครอบครองสะดุดหยุดลง
มาตรา 1385 ถ้าโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้ โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ ถ้าผู้รับ โอนนับรวมเช่นนั้น และถ้ามีข้อบกพร่องในระหว่างครอบครองของผู้โอน ไซร้ ท่านว่าข้อบกพร่องนั้นอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนได้
มาตรา 1386 บทบัญญัติว่าด้วยอายุความในประมวลกฎหมายนี้ ท่านให้ใช้บังคับในเรื่องอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะนี้โดย อนุโลม

ลักษณะ4 ภารจำยอม

มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเห็นเหตุ ให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงด เว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น
มาตรา 1388 เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
มาตรา 1389 ถ้าความต้องการแห่งเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป ท่านว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ให้สิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ที่จะทำให้เกิด ภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้

มาตรา 1390 ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก

มาตรา 1391 เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อ รักษาและใช้ภารจำยอม แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองในการนี้เจ้าของ สามยทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภารยทรัพย์ได้ก็แต่น้อยที่สุดตาม พฤติการณ์
เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองรักษาซ่อมแซมการที่ได้ ทำไปแล้วให้เป็นไปด้วยดี แต่ถ้าเจ้าของภารยทรัพย์ได้รับประโยชน์ด้วยไซร้ ท่านว่าต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่ได้รับ
มาตรา 1392 ถ้าภารจำยอมแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์ เจ้า ของทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้ายไปยังส่วนอื่นก็ได้ แต่ต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้น เป็นประโยชน์แก่ตนและรับเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ความสะดวกของ เจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง
มาตรา 1393 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้ เกิดภารจำยอมไซร้ ท่านว่าภารจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่ง ได้จำหน่ายหรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น
ท่านว่าจะจำหน่าย หรือทำให้ภารจำยอมตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น ต่างหากจากสามยทรัพย์ไม่ได้
มาตรา 1394 ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมี อยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตาม รูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมก็ได้
มาตรา 1395 ถ้ามีการแบ่งแยกสามยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมี อยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนที่แยกออกนั้น แต่ถ้าภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนใดไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์ จะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนนั้นก็ได้
มาตรา 1396 ภารจำยอมซึ่งเจ้าของรวมแห่งสามยทรัพย์คนหนึ่งได้ มาหรือใช้อยู่นั้น ท่านให้ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน
มาตรา 1397 ถ้าภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดท่านว่า ภารจำยอมสิ้นไป
มาตรา 1398 ถ้าภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็นของเจ้าของคน เดียวกัน ท่านว่าเจ้าของจะให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมก็ได้ แต่ถ้า ยังมิได้เพิกถอนทะเบียนไซร้ ภารจำยอมยังคงมีอยู่ในส่วนบุคคลภายนอก
มาตรา 1399 ภารจำยอมนั้น ถ้ามิได้ใช้สิบปี ท่านว่าย่อมสิ้นไป
มาตรา 1400 ถ้าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ไซร้ ท่านว่า ภารจำยอมนั้นสิ้นไป แต่ถ้าความเป็นไปมีทางให้กลับใช้ภารจำยอมได้ไซร้ ท่านว่าภารจำยอมนั้นกลับมีขึ้นอีก แต่ต้องยังไม่พ้นอายุความที่ระบุไว้ใน มาตรา ก่อน
ถ้าภารจำยอมยังเป็นประโยชน์แก่สามยทรัพย์อยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับ ภาระอันตกอยู่แก่ภารยทรัพย์แล้ว ประโยชน์นั้นน้อยนักไซร้ ท่านว่าเจ้าของ ภารยทรัพย์จะขอให้พ้นจากภารจำยอมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ ค่าทดแทน
มาตรา 1401 ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดย อนุโลม

ลักษณะ 5 อาศัย
มาตรา 1402 บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมี สิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
มาตรา 1403 สิทธิอาศัยนั้น ท่านว่าจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลาหรือ ตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้
ถ้าไม่มีกำหนดเวลา ท่านว่าสิทธินั้นจะเลิกเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ แต่ ต้องบอกล่วงหน้าแก่ผู้อาศัยตามสมควร
ถ้าให้สิทธิอาศัยโดยมีกำหนดเวลา กำหนดนั้นท่านมิให้เกินสามสิบปีถ้า กำหนดไว้นานกว่านั้น ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี การให้สิทธิอาศัยจะต่ออายุ ก็ได้ แต่ต้องกำหนดเวลาไม่เกินสามสิบปีนับแต่วันทำต่อ
มาตรา 1404 สิทธิอาศัยนั้นจะโอนกันไม่ได้แม้โดยทางมรดก
มาตรา 1405 สิทธิอาศัยนั้นถ้ามิได้จำกัดไว้ชัดแจ้งว่าให้เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อาศัยเฉพาะตัวไซร้ บุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของผู้อาศัยจะอยู่ ด้วยก็ได้
มาตรา 1406 ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้ชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บเอาดอก ผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดิน มาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัว เรือนก็ได้
มาตรา 1407 ผู้ให้อาศัยไม่จำต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในความ ซ่อมแซมอันดี
ผู้อาศัยจะเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่าย ซึ่งได้ออกไปในการทำให้ทรัพย์สินดีขึ้น หาได้ไม่
มาตรา 1408 เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลง ผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย
มาตรา 1409 ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยหน้าที่ และความรับผิดของผู้เช่าอันกล่าวไว้ใน มาตรา 552 ถึง 555 มาตรา 558 562 และ 563 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ลักษณะ 6 สิทธิเหนือพื้นดิน

มาตรา 1410 เจ้าของที่ดินอาจก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่ บุคคลอื่น โดยให้บุคคลนั้นมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่ง เพาะปลูก บนดินหรือใต้ดินนั้น
มาตรา 1411 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิด สิทธิเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าสิทธินั้นอาจโอนได้และรับมรดกกันได้
มาตรา 1412 สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือ ตลอดชีวิตเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้
ถ้าก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินโดยมีกำหนดเวลาไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1403 วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1413 ถ้าสิทธิเหนือพื้นดินนั้นไม่มีกำหนดเวลาไซร้ ท่านว่าคู่กรณี ฝ่ายใดจะบอกเลิกเสียในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องบอกล่วงหน้าแก่อีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร ถ้ามีค่าเช่าซึ่งจำต้องให้แก่กันไซร้ ท่านว่าต้องบอกล่วงหน้าปีหนึ่ง หรือให้ค่าเช่าปีหนึ่ง
มาตรา 1414 ถ้าผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินละเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอั เป็นสารสำคัญซึ่งระบุไว้ในนิติกรรมก่อตั้งสิทธินั้นก็ดี หรือถ้ามีค่าเช่าซึ่งจะ ต้องให้แก่กัน แต่ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินละเลยไม่ชำระถึงสองปีติด ๆ กันก็ดี ท่านว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสิทธิเหนือพื้นดินก็ได้
มาตรา 1415 สิทธิเหนือพื้นดินไม่สิ้นไปโดยเหตุที่โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกสลายไป แม้การสลายนั้นจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย
มาตรา 1416 เมื่อสิทธิเหนือพื้นดินสิ้นไป ผู้ทรงสิทธิจะรื้อถอนโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง สิ่งเพาะปลูกของตนไปก็ได้ แต่ต้องทำให้ที่ดินเป็นตามเดิม
แต่ถ้าเจ้าของที่ดินจะไม่ยอมให้รื้อถอนไป และบอกเจตนาจะซื้อตาม ราคาท้องตลาดไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินจะไม่ยอมขายไม่ได้ เว้นแต่ จะมีเหตุอันสมควร

ลักษณะ 7 สิทธิเก็บกิน

มาตรา 1417 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในบังคับสิทธิเก็บกิน อัน เป็นเหตุให้ผู้ทรงสิทธินั้นมีสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชนแห่ง ทรัพย์สินนั้น
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินในป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดหิน มีสิทธิทำการแสวง ประโยชน์จากป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดหินนั้น
มาตรา 1418 สิทธิเก็บกินนั้น จะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลาหรือตลอด ชีวิตแห่งผู้ทรงสิทธิก็ได้
ถ้าไม่มีกำหนดเวลา ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิทธิเก็บกินมีอยู่ตลอด ชีวิตผู้ทรงสิทธิ
ถ้ามีกำหนดเวลา ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1403 วรรค 3 มาใช้บัง คับโดยอนุโลม
ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย ท่านว่าสิทธินั้นย่อมสิ้นไปเสมอ
มาตรา 1419 ถ้าทรัพย์สินสลายไปโดยไม่ได้ค่าทดแทนไซร้ ท่านว่าเจ้า ของไม่จำต้องทำให้คืนดี แต่ถ้าเจ้าของทำให้ทรัพย์สินคืนดีขึ้นเพียงใด ท่านว่า สิทธิเก็บกินก็กลับมีขึ้นเพียงนั้น
ถ้าได้ค่าทดแทนไซร้ ท่านว่าเจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ต้องทำให้ ทรัพย์สินคืนดีเพียงที่สามารถทำได้ตามจำนวนเงินค่าทดแทนที่ได้รับ และสิทธิ เก็บกินกลับมีขึ้นเพียงที่ทรัพย์สินกลับคืนดี แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะทำให้กลับคืน ดีได้ สิทธิเก็บกินก็เป็นอันสิ้นไป และค่าทดแทนนั้นต้องแบ่งกันระหว่างเจ้า ของทรัพย์สิน และผู้ทรงสิทธิเก็บกินตามส่วนแห่งความเสียหายของตน
วิธีนี้ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมถึงกรณีซึ่งทรัพย์สินถูกบังคับซื้อและกรณีซึ่ง ทรัพย์สินสลายไปแต่บางส่วน หรือการทำให้คืนดีนั้นพ้นวิสัยในบางส่วน
มาตรา 1420 เมื่อสิทธิเก็บกินสิ้นลง ผู้ทรงสิทธิต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ เจ้าของ
ถ้าทรัพย์สินสลายไป หรือเสื่อมราคาลง ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องรับผิดเว้น แต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินใช้ทรัพย์สินสิ้นเปลืองไปโดยมิชอบ ท่านว่าต้องทำให้ มีมาแทน
ถ้าทรัพย์สินเสื่อมราคาเพราะการใช้ตามควรไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บ กินไม่จำต้องใช้ค่าทดแทน
มาตรา 1421 ในการใช้สิทธิเก็บกินนั้น ผู้ทรงสิทธิต้องรักษาทรัพย์สิน เสมอกับที่วิญญูชนพึงรักษาทรัพย์สินของตนเอง
มาตรา 1422 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิด สิทธิเก็บกินไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิจะโอนการใช้สิทธิของตนให้บุคคลภายนอก ก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นเจ้าของทรัพย์สินอาจฟ้องร้องผู้รับโอนโดยตรง
มาตรา 1423 เจ้าของทรัพย์สินจะคัดค้านมิให้ใช้ทรัพย์สินในทางอัน มิชอบด้วยกฎหมาย หรือมิสมควรก็ได้
ถ้าเจ้าของพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของตนตกอยู่ในภยันตราย ท่านว่าจะเรียกให้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินหาประกันให้ก็ได้ เว้นแต่ในกรณีซึ่งผู้ให้ทรัพย์สินสงวนสิทธิ เก็บกินในทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อตนเอง
ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินละเลยไม่หาประกันมาให้ภายในเวลาอันควร ซึ่ง กำหนดให้เพื่อการนั้น หรือถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินมินำพาต่อคำคัดค้านแห่งเจ้า ของยังคงใช้ทรัพย์สินนั้นในทางอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือมิสมควรไซร้ ท่าน ว่าศาลจะตั้งผู้รักษาทรัพย์เพื่อจัดการทรัพย์สินแทนผู้ทรงสิทธิเก็บกินก็ได้ แต่ เมื่อหาประกันมาให้แล้ว ศาลจะถอนผู้รักษาทรัพย์ที่ตั้งขึ้นไว้นั้นก็ได้
มาตรา 1424 ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจำต้องสงวนภาวะแห่งทรัพย์สินมิให้ เปลี่ยนไปในสารสำคัญ กับต้องบำรุงรักษาปกติและซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย
ถ้าจำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ หรือมีการสำคัญอันต้องทำเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องแจ้งแก่เจ้าของทรัพย์สินโดยพลัน และต้อง ยอมให้จัดทำการนั้น ๆ ไป ถ้าเจ้าของทรัพย์สินละเลยเสียท่านว่าผู้ทรงสิทธิ เก็บกินจะจัดทำการนั้นไปโดยให้เจ้าของทรัพย์สินออกค่าใช้จ่ายก็ได้
มาตรา 1425 ค่าใช้จ่ายอันเป็นการจรนั้น ท่านว่าเจ้าของต้องเป็นผู้ ออก แต่เพื่อจะออกค่าใช้จ่ายเช่นว่านี้ หรือค่าใช้จ่ายตามความใน มาตรา ก่อน เจ้าของจะจำหน่ายทรัพย์สินบางส่วนก็ได้ เว้นแต่ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะเต็มใจ ทดรองเงินตามที่จำเป็นโดยไม่คิดดอกเบี้ย
มาตรา 1426 ในระหว่างที่สิทธิเก็บกินยังมีอยู่ ผู้ทรงสิทธิต้องออกค่าใช้ จ่ายในการจัดการทรัพย์สินตลอดจนเสียภาษีอากร กับทั้งต้องใช้ดอกเบี้ยหนี้สิน ซึ่งติดพันทรัพย์สินนั้น
มาตรา 1427 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินต้องการ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจำต้อง เอาทรัพย์สินประกันวินาศภัยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์สิน และถ้าทรัพย์ สินนั้นได้เอาประกันภัยไว้แล้ว ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องต่อสัญญาประกันนั้นเมื่อ ถึงคราวต่อ
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องเสียเบี้ยประกันภัยระหว่างที่สิทธิของตนยังมีอยู่
มาตรา 1428 คดีอันเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินในระหว่างเจ้าของทรัพย์สิน กับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน หรือผู้รับโอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อเกินปีหนึ่ง นับแต่วันสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง แต่ในคดีที่เจ้าของทรัพย์สินเป็นโจทก์นั้น ถ้าเจ้าของไม่อาจรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลงเมื่อใด ท่านให้นับอายุความปีหนึ่ง นับตั้งแต่เวลาที่เจ้าของทรัพย์สินได้รู้ หรือควรรู้ว่าสิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง

ลักษณะ 8 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

มาตรา 1429 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารติดพันอันเป็นเหตุให้ ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากทรัพย์สินนั้น หรือได้ ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้
มาตรา 1430 ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์นั้น จะก่อให้เกิดโดยมี กำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตแห่งผู้รับประโยชน์ก็ได้
ถ้าไม่มีกำหนดเวลา ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าภารติดพันใน อสังหาริมทรัพย์มีอยู่ตลอดชีวิตผู้รับประโยชน์
ถ้ามีกำหนดเวลา ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1403 วรรค 3 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1431 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิด ภารติดพันไซร้ ท่านว่าภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์นั้นจะโอนกันไม่ได้แม้ โดยทางมรดก
มาตรา 1432 ถ้าผู้รับประโยชน์ละเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเป็นสาร สำคัญซึ่งระบุไว้ในนิติกรรมก่อตั้งภารติดพันนั้นไซร้ ท่านว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง จะบอกเลิกสิทธิของผู้รับประโยชน์เสียก็ได้
มาตรา 1433 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินมิได้ชำระหนี้ตามภารติดพันไซร้ ท่านว่านอกจากทางแก้สำหรับการไม่ชำระหนี้ ผู้รับประโยชน์อาจขอ ให้ศาลตั้งผู้รักษาทรัพย์เพื่อจัดการทรัพย์สินและชำระหนี้แทนเจ้าของ หรือสั่งให้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด และเอาเงินที่ขายได้จ่าย ให้ผู้รับประโยชน์ตามจำนวนที่ควรได้ เพราะเจ้าของทรัพย์สินไม่ชำระ หนี้ กับทั้งค่าแห่งภารติดพันด้วย
ถ้าเจ้าของทรัพย์สินหาประกันมาให้แล้ว ศาลจะไม่ออกคำสั่งตั้ง ผู้รักษาทรัพย์ หรือคำสั่งขายทอดตลาด หรือจะถอนผู้รักษาทรัพย์ที่ ตั้งขึ้นไว้นั้นก็ได้
มาตรา 1434 ท่านให้นำ มาตรา 1388 ถึง 1395 และ มาตรา 1397 ถึง 1400 มาใช้บังคับถึงภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลม


Create Date : 11 เมษายน 2549
Last Update : 3 เมษายน 2550 15:06:05 น. 5 comments
Counter : 839 Pageviews.

 
ขอทราบว่าหากเข้าอยู่ในที่ดินของพ่อแม่และได้ทำประโยชน์โดยการปลูกผลไม้จนออำดอกออกผล(รวมเวลาที่เข้าอยู่ยี่สิบกว่าปี)แต่พี่น้องต่างๆไม่ยอมให้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ทราบว่าจะทำอย่างที่จะได้เป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธ์โดยชอบธรรม


โดย: สามจังหวัดไต้ IP: 203.113.77.41 วันที่: 12 ธันวาคม 2549 เวลา:11:56:49 น.  

 
หาข้อมูลมาเป็นสองชั่วโมงแล้วค่ะ ไม่มีหวังเลย อยากรบกวนถามว่า คนไทยที่แต่งงานกับชาวต่างประเทศ ทั้งจดทะเบียนในไทยและในต่างประเทศ จะมีผลอย่างไรต่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย ในกรณีที่ต้องการกับไปอยู่เมืองไทย

รบกวนหน่อยนะคะ/ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
nionsunny@hotmail.com


โดย: LLMartina IP: 124.178.77.106 วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:6:32:46 น.  

 
ทำไมข้อมูลอ่านยากจังค่ะ น่าจะทำให้กระทัดรัดกว่านี้สักหน่อยนะค่ะ


โดย: ส้ม IP: 203.172.175.120 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:10:16:51 น.  

 
แหะๆ อันนี้เอาไว้มีเวลาก็อ่านๆท่องๆอ่ะค่ะ

ขออภัยที่ไม่ได้จัดหน้าให้สวยๆนะคะ

ลองตอบคุณสามจังหวัดฯ

ตามกรณีต้องดูว่าเป็นการเข้าอยู่ในที่ดินของพ่อแม่เป็นในลักษณะใด ถ้าเป็นการเข้าไปทำกิน (สิทธิเก็บกินก็ยังไม่ได้สิทธิครอบครองค่ะ)แม้จะทำกินในอสังหาฯนั้นเกินกว่าสิบปีก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิโดยครองครองปรปักษ์แต่อย่างใด

หรือเป็นการที่เข้าไปครอบครองแทนพ่อแม่ อันนี้ต้องบอกกล่าวไปยังเจ้าของกรรมสิทธิ์คือพ่อแม่ก่อนว่าตนจะไม่ยึดถือแบบครอบครองแทนแล้วแต่จะครอบครองเพื่อประโยชน์ตน เจตนาเป็นเจ้าของโดยสงบเปิดเผย...(ตามมาตรา ๑๘๓๒ ค่ะ) เกินกว่าสิบปีก็ได้กรรมสิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์

แค่ลองตอบนะคะ จะสอบสิ้นเดือนนี้ล่ะคะ


โดย: ธรณ์ธันย์ วันที่: 3 เมษายน 2550 เวลา:15:30:11 น.  

 
แต่จากกรณีคำถามนี้ ได้ความว่าเป็นการเข้าไปทำกินในที่ดินของพ่อแม่ แม้จะอยู่เป็นเวลายี่สิบปี ก็ถือว่ายังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นนะคะ

คำถามคือจะทำอย่างไรที่จะได้เป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรม

ยังตอบไม่ได้ค่ะ เพราะตามข้อเท็จจริงยังไม่ได้ค่ะ

ผิดพลาดประการใดข้ออภัยด้วยนะคะ


โดย: ธรณ์ธันย์ วันที่: 3 เมษายน 2550 เวลา:15:36:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ธรณ์ธันย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





กระซิบเบาเบา Image Hosted by ImageShack.us

Content
Friends' blogs
[Add ธรณ์ธันย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.