Group Blog
 
 
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
หัวข้อสำคัญวิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ 1


หัวข้อสำคัญวิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ 1


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม


1. การทำการแทน มาตรา 8, 9 และ 13

มาตรา 8 ให้มีประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกาหนึ่งคน ประธาน ศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์หนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ประจำศาลอุทธรณ์ภาค ศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรม อื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละ หนึ่งคน กับให้มีรองประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกา รองประธาน ศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำ ศาลอุทธรณ์ภาค และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน และในกรณีที่มีความ จำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาล ยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา จะกำหนดให้มี รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมากกว่า หนึ่งคนแต่ไม่เกินสามคนก็ได้
เมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่างลง หรือเมื่อ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาล ชั้นต้นที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกา ประธานศาล อุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ตามวรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็น ผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสาม ประธานศาลฎีกา จะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทน ในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้

มาตรา 9 ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล ศาลละหนึ่งคน เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฏีกาจะ สั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทน ในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้

มาตรา 13 ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละหนึ่งคน จำนวน เก้าภาค มีสถานที่ตั้ง และเขตอำนาจตามที่คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคว่างลงหรือเมื่ออธิบดีผู้ พิพากษาภาคไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานศาลฎีกาสั่งให้ ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทน
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการ แทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้


2. อำนาจพิเศษของผู้พิพากษาหัวหน้าผู้รับผิดชอบ มาตรา 11, 14

มาตรา 11 ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และ ให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ของรัฐหรือเป็นที่สนใจของประชาชน คดีที่เป็นความผิดอาญา ร้ายแรง คดีที่มีทุนทรัพย์สูง และคดีละเมิดอำนาจศาล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาล ยุติธรรม
(2) สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
(3) ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดย กฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
(4) ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องใน การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
(5) ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการ อันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินงานส่วนธุการของศาล
(6) ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
(7) มีอำนาจหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนด
ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีอำนาจตาม (2) ด้วย และให้มีหน้าที่ช่วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่ กรณี ตามที่ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาล อุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมอบหมาย

มาตรา 14 ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคเป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่ง โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ใน มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) สั่งให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมรายงานเกี่ยวกับ คดี หรือรายงานกิจการอื่นของศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตน
(2) ในกรณีจำเป็นจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลที่อยู่ ในเขตอำนาจของตนไปช่วยทำงานชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินสามเดือน ในอีกศาลหนึ่งโดยความยินยอมของผู้พิพากษานั้นก็ได้ แล้วรายงาน ไปยังประธานศาลฎีกาทันที



3. อำนาจศาลแขวง มาตรา 17, 24 และ 25

มาตรา 17 ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจ ทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตาม ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 24 และ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง

มาตรา 24 ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่น
(2) ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท แห่งคดี

มาตรา 25 ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมี อำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลใน คดีทั้งปวง
(2) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษ อย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3) (4) หรือ (5)




4. องค์คณะผู้พิพากษา 24, 25, 26 และ 27

มาตรา 26 ภายใต้บังคับตาม มาตรา 25 ในการพิจารณา พิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้ พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาล เกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา 27 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าประชุมใหญ่ในศาลนั้นหรือในแผนกคดีของ ศาลดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสำนวนคดีที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุม แผนกคดีแล้วมีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะ ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย


5. ทางแก้กรณีผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะไม่อาจนั่งพิจารณาต่อไปได้ มาตรา 28

มาตรา 28 ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่างได้ ทำให้ผูพิพากษาซึ่งเป็น องค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้
(1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกา หรือรองประธาน ศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย
(2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้แก่ ประธาน ศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์หรือ ศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งประธานศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี มอบหมาย
(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดี ผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้ พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล แล้วแต่กรณี มอบหมาย
ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่างๆ ตาม มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย

6. ทางแก้กรณีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาไม่อาจเป็นองค์คณะทำคำพิพากษาได้ มาตรา 29 -31

มาตรา 29 ในระหว่างการทำคำพิพากษาคดีใด หากมีเหตุ สุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ผู้พิพากษาซึ่ง เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทำคำพิพากษาในคดี นั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำ พิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสำนวน คดีนั้นแล้ว
(1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกาหรือรองประธาน ศาลฎีกา
(2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรนณ์ภาค ได้แก่ ประธาน ศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี
(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดี ผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่างๆ ตาม มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย

มาตรา 30 เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 28 และ มาตรา 29 หมายถึงกรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่ง พิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่หรือถูกคัดค้านและถอนตัว ไปหรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาหรือทำคำ พิพากษาในคดีนั้นได้

มาตรา 31 เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 28 และ มาตรา 29 นอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 แล้ว ให้หมาย ความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้ว เห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมาย กำหนดเกินกว่าอัตราโทษตาม มาตรา 25 (5)
(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตาม มาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน หรือ ปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว
(3) กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งคดีแพ่งเรื่องใดของศาลนั้น จะต้องกระทำโดยองค์คณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมาก มิได้
(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตาม มาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงิน ที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

1. เขตอำนาจศาล มาตรา 3 – 7

มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
(1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
(2) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(ก) ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ในราชอาณาจักรภาย ในกำหนดสองปีก่อนวันที่มีการเสนอคำฟ้องให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนา ของจำเลย
(ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนในราชอาณาจักรไม่ว่าโดยตนเองหรือตัวแทน หรือโดย มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้นใน ราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือ ติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของ ผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลย
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 4 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
(1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรหรือไม่
(2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือ ต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล"
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 4ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาล
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 4ตรี คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาล
คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์ที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอ คำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 4จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 4เบญจ คำร้องขอเบิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุม ใหญ่ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระ บัญชีของนิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอ ต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 4ฉ คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการ หรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้น ในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในเขตศาล"
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 5 คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาล หรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของ ทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลาย ข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้อง หรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 6 ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่ โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ คำร้อง นั้นจำเลยต้องแสดงเหตุที่ยกขึ้นอ้างอิงว่าการพิจารณาคดีต่อไปในศาล นั้นจะไม่สะดวก หรือจำเลยอาจไม่ได้รับความยุติธรรม เมื่อศาลเห็น สมควร ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้
ห้ามมิให้ศาลออกคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ศาลที่จะรับ โอนคดีไปนั้นได้ยินยอมเสียก่อนถ้าศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดคำสั่ง ของอธิบดดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

มาตรา 7 บทบัญญัติใน มาตรา 4 มาตรา 4ทวิ มาตรา 4ตรี มาตรา 4จัตวา มาตรา 4เบญจ มาตรา 4ฉ มาตรา 5 และ มาตรา 6 ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังต่อไปนี้
(1) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้าง พิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(2) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมี คำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วน และถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี ตาม มาตรา 302
(3) คำร้องตาม มาตรา 101 ถ้าได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอ ต่อศาลใดแล้วให้เสนอต่อศาลนั้น ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคำฟ้องหรือ คำร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคล หรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาล นั้น
(4) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอน บุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดีคำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่ เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดี คำร้องขอหรือคำร้องอื่นใดที่เสนอเกี่ยวเนื่อง กับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดี ที่ได้มีคำสั่งการอนุญาตการแต่งตั้ง หรือคำพิพากษานั้น
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534



2. ตรวจคำคู่ความ มาตรา 18 และ 21

มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออก หรืออ่านไม่เข้าใจหรือการเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน ระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดั่งกล่าวข้างต้นมิได้เป็นไป ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคล ซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความ นั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 , 228 และ 247
*หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2527

มาตรา 21 เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล
(1) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติว่า คำขอหรือคำแถลง จะต้องทำเป็นคำร้องหรือเป็นหนังสือ ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะยอมรับ คำขอหรือคำแถลงที่คู่ความได้ทำในศาลด้วยวาจาได้ แต่ศาลต้อง จดข้อความนั้นลงไว้ในรายงานหรือจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่น คำขอโดยทำเป็นคำร้อง หรือยื่นคำแถลงเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ ศาลจะเห็นสมควร
(2) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดจะทำ ได้แต่ฝ่ายเดียว ห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ มีโอกาสคัดค้านก่อน แต่ทั้งนี้ต้อง อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัด
(3) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คำของอันใดอาจทำ ได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้เว้นแต่ในกรณี ที่คำขอนั้นเป็นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึดหรือ อายัดทรัพย์สินก่อนคำพิพากษา หรือเพื่อให้ออกหมายบังคับ หรือเพื่อจับหรือกักขังจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(4) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลต้องออกคำสั่ง อนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตาม คำขอนั้น
ในกรณีเรื่องใดที่ศาลอาจออกคำสั่งได้เองหรือต่อเมื่อคู่ความมี คำขอให้ใช้บทบัญญัติอนุ มาตรา (2),(3) และ (4) แห่ง มาตรานี้ บังคับ
ในกรณีเรื่องใดที่คู่ความไม่มีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่ง แต่หาก ศาลอาจมีคำสั่งในกรณีเรื่องนั้นได้เอง ให้ศาลมีอำนาจภายในบังคับ บทบัญญัติแห่ง มาตรา 103 และ 181 (2) ที่จะงดฟังคู่ความหรือ งดทำการไต่สวนก่อนออกคำสั่งได้


3. ย่น/ขยายระยะเวลา มาตรา 22 – 23

มาตรา 22 กำหนดระยะเวลาทั้งปวงไม่ว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือที่ศาลเป็นผู้กำหนดก็ดี เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวน พิจารณาใดๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ให้ศาลคำนวณตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยระยะเวลา

มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยาย หรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือตามที่ ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความ มีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย


4. การวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้น มาตรา 24

มาตรา 24 เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่ง ถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดี ต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือ ถึงแม้จะดำเนินการพิจารณาประเด็นข้อสำคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทำให้ ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการ พิจารณาต่อไป ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ว วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดเช่นว่านี้ จะทำให้คดีเสร็จไปได้ ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาที่กล่าวแล้วและพิพากษาคดีเรื่องนั้น หรือเฉพาะแต่ประเด็น ที่เกี่ยวข้องไปโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
คำสั่งใด ๆ ของศาลที่ได้ออกตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกา ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 , 228 และ 247

5. การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ มาตรา 27

มาตรา 27 ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณา คดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอน การพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าว ได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็น มูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใด ขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้ สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ
ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใดๆ อันมิใช่ เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลา ซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความ ฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายบังคับ


6. กรณีคู่ความมรณะ มาตรา 42 – 44

มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ใน ศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทน ที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเองหรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้ จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดั่งกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เรื่องนั้นเสียจากสารบบความ

มาตรา 43 ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดก ประสงค์จะขอเข้ามา เป็นคู่ความแทน ก็ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น
ในกรณีเช่นนี้เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคำขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนนั้น แสดงพยาน หลักฐานสนับสนุนคำขอเช่นว่านั้นได้ เมื่อได้แสดงพยานหลักฐาน ดั่งกล่าวนั้นแล้วให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการที่จะเข้า มาเป็นคู่ความแทน

มาตรา 44 คำสั่งให้หมายเรียกบุคคลใดเข้ามาแทนผู้มรณะนั้นจะ ต้องกำหนด ระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้บุคคลนั้นมีโอกาสคัดค้านใน ศาลว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะ หรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์ มรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น
ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลผู้ถูกเรียกไม่จำต้อง ปฏิบัติตามหมายเช่นว่านั้นก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อ การยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว
ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้นยินยอมรับเข้ามาเป็นคู่ความแทน ผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้และดำเนินคดีต่อไป
ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล ให้ศาลทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควร ถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ ออกคำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้มรณะแล้วดำเนินคดี ต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าข้อคัดค้านของบุคคลผู้ถูกเรียกมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถเรียกทายาทอันแท้จริง หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลที่ปกครองทรัพย์มรดกของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทน ผู้มรณะได้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี ก็ให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็น สมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
7. หลักการเสนอคำฟ้องต่อศาล มาตรา 55

มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

8. การร้องสอด มาตรา 57 – 58

มาตรา 57 บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความ ได้ด้วยการร้องสอด
(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็น เพื่อยัง ให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตน มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น
(2) ด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนมี คำพิพากษาขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้า แทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของ คู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย
(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคำขอของคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความ เช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคำสั่ง ของศาล เมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคำขอในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีศาล เห็นจำเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี เพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกบุคคลภาย นอกเข้ามาในคดีดั่งกล่าวแล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคำร้อง เพื่อให้หมาย เรียกพร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ หรือในเวลาใด ๆ ต่อมาก่อน มีคำพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคำร้อง นั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้
การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุ มาตรานี้ ต้องมีสำเนา คำขอ หรือคำสั่งของศาลแล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบ ไปด้วย
บทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้ในอัน ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดี ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 58 ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามอนุ มาตรา (1) และ(3) แห่ง มาตรา ก่อนนี้ มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้อง เป็นคดีเรื่องใหม่ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนำพยานหลักฐานใหม่มา แสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้วและ คัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุ มาตรา (2) แห่ง มาตรา ก่อนใช้สิทธิอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตน เข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือ จำเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่การที่ ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจำเลยเดิม ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน
เมื่อได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ถ้ามีข้อเกี่ยวข้องกับคดีเป็น ปัญหาจะต้องวินิจฉัยในระหว่างผู้ร้องสอดกับคู่ความฝ่ายที่ตนเข้า มาร่วมหรือที่ตนถูกหมายเรียกเข้ามาร่วม ผู้ร้องสอดย่อมต้องผูกพัน ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของคู่ความนั้นทำให้ผู้ ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีช้าเกินสมควรที่จะแสดงข้อเถียง อันเป็นสารสำคัญได้ หรือ
(2) เมื่อคู่ความนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มิได้ ยกขึ้นใช้ซึ่งข้อเถียงในปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงอันเป็น สารสำคัญซึ่งผู้ร้องสอดมิได้รู้ว่ามีอยู่เช่นนั้น

9. คู่ความร่วม มาตรา 59

มาตรา 59 บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดี เดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่า บุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้าม มิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่ง คดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดั่งนั้น โดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้น แทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้
(1) บรรดากระบวนพิจารณา ซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความ ร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็น ที่เสื่อมเสีย แก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ
(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดี ซึ่งเกี่ยวกับคู่ความ ร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย

10. การส่งหมาย มาตรา 74 – 79

มาตรา 74 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาล นั้นให้ปฏิบัติดั่งนี้
(1) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ ตกและ
(2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น แต่ให้อยู่ ในบังคับแห่งบทบัญญัติหก มาตรา ต่อไปนี้

มาตรา 75 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่ทนายความ ที่คู่ความตั้งแต่งให้ว่าคดี หรือให้แก่บุคคลที่ทนายความเช่นว่านั้น ได้ตั้งแต่งเพื่อกระทำกิจการอย่างใด ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 64 นั้น ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 76 เมื่อเจ้าพนักงานศาลไม่พบคู่ความหรือบุคคลที่จะส่ง คำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคล นั้น ๆ ถ้าได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคลใด ๆ ที่มีอายุเกิน ยี่สิบปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานที่ ปรากฏว่าเป็นของคู่ความ หรือบุคคลนั้น หรือได้ส่งคำคู่ความหรือ เอกสารนั้นตามข้อความในคำสั่งของศาล ให้ถือว่า เป็นการเพียงพอ ที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ในกรณีเช่นว่ามานี้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่คู่ความฝ่ายใด ห้ามมิให้ส่งแก่คู่ความฝ่ายปรปักษ์เป็นผู้รับไว้แทน

มาตรา 77 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาล ไปยังที่อื่นนอกจากภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือ ของบุคคล ซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น ให้ถือว่าเป็นการ ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ
(1) คู่ความหรือบุคคลนั้นยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไว้ หรือ
(2) การส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นได้กระทำในศาล

มาตรา 78 ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ปฏิเสธไม่ยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจากเจ้าพนักงานศาลโดย ปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานนั้นชอบที่จะขอให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจหรือเจ้าพนักงานตำรวจ ไปด้วยเพื่อเป็นพยานและถ้าคู่ความหรือบุคคลนั้นยังคงปฏิเสธไม่ ยอมรับอยู่อีก ก็ให้วางคำคู่ความหรือเอกสารไว้ณ ที่นั้น เมื่อได้ ทำดังนี้แล้วให้ถือว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นเป็นการถูกต้อง ตามกฎหมาย

มาตรา 79 ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะทำได้ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อน ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ควา หรือเอกสารหรือมอบหมายคำคู่ความหรือเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองในท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศ แสดงการที่ได้มอบหมายดั่งกล่าวแล้วนั้นไว้ดั่งกล่าวมาข้างต้น หรือลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวัน หรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือ ประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธี อื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว
*หมายเหตุ มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ในพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2522 โดย มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 64 หน้า 6 (ฉบับพิเศษ) วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2522

11. การตั้งทนายความ มาตรา 60 - 62

มาตรา 60 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใน กรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็น นิติบุคคลจะว่าด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตาม ที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความ คนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณา แทนตนก็ได้
ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดั่งที่ ได้กล่าวมาแล้วทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อม ตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้
มาตรา 61 การตั้งทนายความนั้นต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน ใบแต่ง ทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อ ทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าใน คดีใด ๆ ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไปแล้วคัดสำเนา ยื่นต่อศาลแทนใบแต่งทนาย เพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไปตาม ความใน มาตรานี้
มาตรา 62 ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใด เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการ สละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้ พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดี เรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียว หรือหลายใบก็ได้และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 61 บังคับ
กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิบัติหรือ แก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตน ในศาลในขณะนั้นก็ได้แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวน สิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี

12. การจำหน่ายคดี มาตรา 132


13. การวางเงิน มาตรา 135 - 136


14. การพิพากษาตามยอม มาตรา 138


15. การห้ามพิพากษาเกินคำขอ มาตรา 142


16. คำพิพากษาผูกพันคู่ความ มาตรา 145

17. การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการฟ้องซ้ำ มาตรา 144, 147 และ 148


18. การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา มาตรา 155 และ 156


19. ภาระการพิสูจน์ มาตรา 84


20. อำนาจในการตัดพยานหลักฐานของศาล มาตรา 86, 110 และ 111


21. การรับฟังพยานหลักฐาน มาตรา 86 – 88, 90 และ 104


22. การอ้างพยานเอกสาร มาตรา 90, 93 และ 94


23. การอ้างพยานบุคคล มาตรา 95, 96


24. การนำพยานเข้าสืบ มาตรา 108, 112, 115, 116 และ 117



Create Date : 24 มีนาคม 2549
Last Update : 3 เมษายน 2550 15:10:29 น. 1 comments
Counter : 2159 Pageviews.

 
สวัสดีน๊าาา ทักทายจ้า สปาชา sparsha A Moment of Bride เจ้าสาว เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก สลายไขมันด้วยความเย็น ลดเซลลูไลท์ Leg Squeezing ผิวเปลือกส้ม FIS หน้าท้องใหญ่ ตัวเล็กแต่มีพุง Body Contouring ลดสัดส่วนทั้งตัว ลดปีกด้านหลัง เนื้อปลิ้นรักแร้ เนื้อปลิ้น Build Muscle สร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหน้าท้อง สลายไขมันหนา สลายไขมัน ลดไขมัน Lock Shape รักษารูปร่าง สลายไขมัน ลดสัดส่วน Oxy Peel ทำความสะอาดหน้า ทำความสะอาดหน้าแบบล้ำลึก ยกกระชับ Ulthera ปรับรูปหน้า ปัญหาผิวหย่อนคล้อย Beauty Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ลดไขมัน ลดเซลลูไลท์ ผิวเปลือกส้ม สลายไขมันสะโพก กระชับผิว Sexy Mama แม่หลังคลอด รอยแตกลาย ปรับรูปร่าง กำจัดขน Hair Removal กำจัดขนถาวร สลายไขมันเหนียงด้วยความเย็น สลายไขมัน สลายไขมันเหนียง IV Drip ฟื้นฟูร่างกาย เสริมภูมิต้านทาน Bye Bye Panda Eye ลดรอยหมองคล้ำใต้ดวงตา ลดริ้วรอยใต้ตา นวดกระชับหน้าอก หน้าอกกระชับ อกหย่อนคล้อย Beauty Breast Lifting Enlarge Beauty Breast นวดอกเล็กให้ใหญ่ หน้าอกเล็ก ยกกระชับหน้า รักแร้ขาว รักแร้ดำ เลเซอร์รักแร้ขาว ผิวใต้วงแขน Love Fit กระชับช่องคลอด เลเซอร์กระชับช่องคลอด แก้ไขปัสสาวะเล็ด Meso Shine ผลักวิตามิน บำรุงผิว สวยด้วยเลือด รักษาผิว หนวดเครา กำจัดขนหนวด กำจัดขน กำจัดขนเครา เลเซอร์ขน เลเซอร์ขนถาวร กำจัดขนถาวร เลเซอร์เครา เลเซอร์หนวด กำจัดขน ยกกระชับ ร้อยไหม Thread Lift การดูดไขมัน ดูดไขมัน ศัลยกรรมตา 2 ชั้น ตา 2 ชั้น ศัลยกรรมตา สปาน้ำนม เพิ่มความชุ่มชื่น แก้ผิวแห้ง นวดผ่อนคลาย การนวดผ่อนคลาย Rest Time Aroma Massage Aroma Massage Acne Body Mist ลดรอยสิว ลดจุดด่างดำ ลดรอยดำ ด็อกเตอร์ไลฟ์ doctorlife ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก เสริมจมูก Cellulysis สลายไขมัน ulthera ยกกระชับ Acne Clear รักแร้ขาวเนียน เลเซอร์กำจัดขนถาวร กำจัดขน ร้อยไหม Freeze V Lift กำจัดไขมันด้วยความเย็น PRP ผิวหน้า PRP ผมบาง ผมร่วง เลเซอร์กระชับช่องคลอด กระชับช่องคลอด Love Fit สลายไขมันด้วยความเย็น Cell Repair ผิวขาวใส ลดสัดส่วน ปรับรูปร่าง Perfect Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ฟิลเลอร์ Filler รักษาหลุมสิว Dual Yellow เลเซอร์หน้าใส Love Fit ปัญหาปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะเล็ด Oxy Bright ทำความสะอาดรูขุมขน Bye Bye Fat ลดไขมัน Luminous แสงสีฟ้า รักษาสิว ฆ่าเชื้อสิว ABO Active 3D Toxin IV Drip เพื่อสุขภาพและความงาม ยกกระชับผิว hifu ให้ใจ สุขภาพ


โดย: สมาชิกหมายเลข 6161573 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา:15:38:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ธรณ์ธันย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





กระซิบเบาเบา Image Hosted by ImageShack.us

Content
Friends' blogs
[Add ธรณ์ธันย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.