Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
2 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

กฎหมายระหว่างประเทศ

สรุปจาก //www.stou.ac.th/Schools/Slw/projects/

ความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศ

คือ หลักกฎหมายและระเบียบข้อบังคับทั้งปวงของสังคมระหว่างประเทศที่กำกับควบคุมพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า บุคคลระหว่างประเทศอันได้แก่รัฐและองค์การระหว่างประเทศในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในประชาคมระหว่างประเทศให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

ลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศ
เป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีสภาพบังคับเช่นเดียวกับกฎหมายภายใน แต่แตกต่างจากกฎหมายภายในตรงที่สภาพบังคับอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเนื่องจากความแตกต่างของโครงสร้างของสังคมและพื้นฐานทางกฎหมายที่ต้องอาศัยความยิยยอมของรัฐผู้อยู่ใต้บังคับของกฎหมาย
กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นก่อนในรูปของจารีตประเพณีและมีพัฒนาการเสริมด้วยกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ สนธิสัญญา
ส่วนในด้านเนื้อหาก็วิวัฒนาการจากกฎเกณฑ์ที่ใช้เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น กฎหมายภาคสงคราม มาครอบคลุมด้านอื่นๆ รวมทั้งที่ให้สิทธิประโยชน์ต่อปัจเจกชนด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน

กม.รวปท ยุคใหม่เริ่มขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งรัฐชาติขึ้นในสังคมระหว่างประเทศราว คริสตศตวรรษที่ ๑๖ แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่จำกัดอยู่สำหรับวามสัมพันธ์ระหว่างรัฐเป็นส่วนใหญ่
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อมีการจัดตั้งสันนิบาตชาติ กม.รวปท ก็มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วพร้อมกับการยอมรับบุคคล รวปท ใหม่ที่มิใช่รัฐ ซึ่งได้แก่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนา กม.รวปท ในสาขาต่างๆ

บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ
1.บ่อเกิด กม.รวปท ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๓๘ ของธรรมนูญศาลยุติธรรม รวปท. คือ สนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และ หลักกฎหมายทั่วไป

2.บ่อเกิด กม.รวปท ลำดับรอง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๓๘ มี สองประการคือ แนวคำพิพากษาระหว่างประเทศ และทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญทางกม.รวปท และบ่อเกิดที่มิได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ


บ่อเกิดหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ
1.สนธิสัญญา (Treaty)
2.กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (Customary International Law)
 ลักษณะและหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นบ่อเกิดของกฎหมาย มีผลใช้ได้ทั่วไป erga omnes จารีตประเพณีมีทั้งสากล และท้องถิ่น
 การสร้างจารีตประเพณีระหว่างประเทศ: Material element, Time element, Psychological element)
3.หลักกฎหมายทั่วไป (General Principle of Law)
วิวัฒนาการของขั้นตอนการสร้างกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
 องค์การระดับสากลเป็นเวทีในการเจรจาระหว่างประเทศ เพื่อประมวลและพัฒนาการกฎหมายระหว่างประเทศ สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ เกิดแนวโน้มของกฎหมาย de lege ferenda มีการอุดช่องว่างของกฎหมาย lacunae ต่อมากฎหมายก่อตัวขึ้นเป็น lex ferenda หรือ soft law, Guideline
 มีการประมวลจารีตประเพณีเป็นกฎหมายที่แน่นอน จนเป็นที่ยอมรับในฐานะกฎหมายเป็น Lex lata

บ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศ
 แนวคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ (Jurisprudence of International Law)
 ทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ (Doctrine of Publicist)

บ่อเกิดที่มิได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
 การกระทำฝ่ายเดียว (Unilateral Acts)
 การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ
 การกระทำฝ่ายเดียวขององค์การระหว่างประเทศ
 Acts, Decision, Resolution, Declaration
 Law-Making Treaty
 เช่นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human rights
 Displaced Persons

ข้อพิสูจน์ว่ากฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมาย
 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้นำกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้
 ประเทศทั่วโลกยอมรับความมีอยู่ของกฎหมาย
 สหประชาชาติมีบทบาทในการประมวลกฎหมายระหว่างประเทศโดยสมาชิกทั่วโลกยอมรับ
 ไม่เคยมีประเทศใดปฏิเสธความเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ และเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ
 มีกฎหมายระหว่างประเทศที่ละเมิดมิได้
 แม้กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในไม่เหมือนกันก็มิอาจจะเปรียบเทียบกันได้




 

Create Date : 02 สิงหาคม 2549
0 comments
Last Update : 2 สิงหาคม 2549 11:39:20 น.
Counter : 5423 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ธรณ์ธันย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





กระซิบเบาเบา Image Hosted by ImageShack.us

Content
Friends' blogs
[Add ธรณ์ธันย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.