(4). *บวชนอกเครื่องแบบ-ถมเหวปลูกเพิงสร้างวัด..ประวัติการสร้างองค์การด้วยตนเอง !?*
ตอนที่ 4 ..*บวชนอกเครื่องแบบ-ถมเหวปลูกเพิงสร้างวัด..ประวัติการสร้างองค์การด้วยตนเอง !?*
..
.. เรื่องนี้ เคยบันทึกไว้นานแล้วและปรับปรุงเพิ่มเติมมาตามลำดับ เผยแพร่ในหมู่ญาติมิตรที่ใกล้ชิด และ ต่อมา ได้ลงไว้ในตอนที่ 3 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 ที่ oknation.net/blog/KPCO, LIMA วันนี้จึงก็อปปี้มาให้อ่านเพื่อทำความรู้จักกันและจะง่ายในการทำความเข้าใจในตอนต่อๆ ไป
..
.. แอ่น..แอ๊นนนน..........
..
..

คำนำ



คำนำ ของหนังสือฉบับนี้ มีความแปลกไปบ้าง เพราะจะมีลักษณะเป็นเรียงความ สรุปย่อประวัติความเป็นมาโดยสังเขป อะไรทำนองนี้ เป็นเรื่องที่ว่าด้วย...ชีวประวัติของ .....(เตรียม)สมาคมมวยไทยท้องถิ่นและนานาชาติ(อนุชน) หรือ.... สมทน (อ่านว่า สม ทน ที่แปลได้ง่ายๆว่า เหมาะสมแล้วที่ทนหรืออดทนมา หรือจะอ่านให้คล้ายคำว่า สมรรถนะ คือ สะ-หมัด-ทะ- นะ ที่แปลว่า มีความสามารถก็คงจะได้เหมือนกัน)



สมทน มีชื่อเล่นว่า อ.(อนุชน) อ่านว่า ออ ขณะยังปฏิสนธิไม่สำเร็จ ต้องอาศัยพี่ๆ ที่ตัวใหญ่เหมือนยอยักษ์คอยช่วยเหลือ พี่ๆเหล่านั้นมีชื่อเล่นว่า อย.(อาสาสมัครเยาวชน) อ่านว่า อย (อ โอะ ย โอ็ย ร้องโอยด้วยเสียงห้วนๆสั้นๆ เป็นคำอุทานที่เกิดจากความรู้สึกสะดุ้ง ตกใจ หรือเจ็บปวดแปล๊บ) อ อ่าง สะกดด้วยตัวสะกดที่เรียกว่าแม่ กย ซึ่งอาจจะเป็นรากศัพท์เก่าดั้งเดิมที่สูญหายไปนานแล้วก็ได้ แต่มีในภาษาเขมร ที่แปลว่า อะไร? หรือภาษาพูดคำเมืองภาคเหนือ เช่น วยๆ คือ ไวๆ หรือ เร็วๆ เป็นต้น



ในอดีต แผ่นดินแห่งราชอาณาจักรสยามก็ประกอบด้วยชนหลายชาติ หลายเผ่าพันธุ์อยู่ร่วมกันมาก่อน และอพยพโยกย้ายมาอยู่ทีหลังก็มีมาเรื่อยๆ จนมีความเป็นชนชาวสยามหรือความเป็นชนชาวไทยที่มีความเป็นสยามหรือไทยร่วมกัน กล่าวคือมีความเป็นนานาชาติเจืออยู่กับความเป็นสยามหรือไทยดั้งเดิมมาเนิ่นนานแล้วอย่างไม่เคยรู้ตัวเอง หรือมีผู้ใดคิดจะแยกแยะหรือกล่าวถึง จวบจนกระทั่งถึงยุคเทคโนโลยีโลกไร้พรมแดน ทั้งการเดินทางไปมาหาสู่กันแบบตัวถึงตัวระหว่างชนชาติต่างๆ หรือการคมนาคมเดินทางสื่อสารทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ ทางรูป รส กลิ่น เสียง มีทั้งด้านบวกที่เป็นคุณอนันต์ หรือด้านลบที่เป็นโทษมหันต์ กล่าวคือในทางเป็นมิตร ก็คือการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทนกันในทางที่ชอบ แต่ในทางเป็นศัตรูกันก็คือการแอบแฝงซ่อนเร้น เอารัดเอาเปรียบ กลั่นแกล้ง รังแก กล่าวหา ครอบงำ ขย้ำกลืนทำลายกันโดยมิชอบ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ท้ายสุดในสันดานดิบของสัตว์โลก ก็คือฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่งด้วยพลังอานุภาพของอาวุธหรือยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า



เป็นปัญหา ระหว่างผู้ที่แข็งแรงกว่ากับผู้ที่อ่อนแอกว่า อยู่คู่โลกตลอดมา ท้ายสุดก็จะแยกฝ่ายได้เป็นสองเหมือนเดิมคือ ธรรมะ กับ อธรรม ผู้ที่อ่อนแอฝ่ายธรรมะ มีผู้แข็งแรงฝ่ายธรรมะช่วยเหลือ ก็จะสามารถดำรงตนอยู่ได้ แต่ถ้าฝ่ายผู้แข็งแรงเป็นฝ่ายอธรรม ผู้อ่อนแอท้ายสุดถ้าปราศจากอาวุธ ก็เหลือวิชาการต่อสู้ด้วยกำลังและมันสมองคือปัญญา(ประดุจดังอาวุธ) ในลักษณะใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของความเป็นเก่งเล็ก(ดี)ที่หากจำเป็นต้องต่อสู้กับเก่งใหญ่(ชั่วร้าย) ซึ่งคงต้องหานิทานเรื่อง แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ อ่านดู นี่ก็เป็นนิทานดีเรื่องหนึ่งที่มาจากชนชาติอื่น


สมทน หรือ อย หรือ ออ จึงมีชื่อแบบนานาชาติ เป็นชื่อสากล กับเขาด้วยเหมือนกัน มีคำเต็ม คือ THE LOCAL & INTERNATIONAL MUAY-THAI ASSEMBLY หรือ ASSOCIATION (junior) ชื่อจริงคือ LIMA อ่านว่า ลิม่า และ มีชื่อเล่นว่า j อ่านว่า เจ เรียกชื่อให้รู้สึกร่วมสมัยว่า “lima-j” หรือ “ลิม่า-เจ”

กว่าสิบปีที่แล้ว ผู้เขียนประสบวิบากกรรม เป็นวิกฤตในชีวิตทั้งโดดเดี่ยว ป่วยกายป่วยใจ ไร้ญาติขาดมิตร ตกงานไม่มีแม้กระทั่งปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต หมดแม้กระทั่งกำลังใจ จะตายด้วยเหตุต่างๆก็หลายครั้ง แต่ส่วนลึกบอกตัวเองว่า ตายก็ไม่ได้ บวชก็ไม่ได้ จะต้องทำอะไรให้สำเร็จสักอย่างก่อน แต่ก็มืดสนิท จนต้องเตือนตัวเองว่าถ้าไม่ตาย ขอเพียงมีข้าวกินและมีอากาศหายใจก็พอแล้ว ขณะนั้น เหลือวิทยุเก่าๆ ใส่ถ่านไฟอ่อนๆ เปิดฟังเป็นเพื่อน ได้ยินแว่วๆคล้ายหลับแล้วฝันไป จับใจความได้ว่า เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี พ.ศ.2540 ที่ทรงใช้คำว่า หายนะ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้ยินว่า ให้ทำทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น



นึกถึงตัวเอง มีทรัพย์สินทางปัญญาอะไรอยู่บ้าง กำลังกายที่สมบูรณ์มีไหม.....แทบไม่มี ปัญญาที่เฉียบแหลมมีไหม.....ไม่มี แล้วมีอะไรเหลืออยู่บ้าง.....คำตอบก็คือ....อย่างนี้กระมังที่เขาเรียกว่าลึกกว่าใจ คือ จิตวิญญาณ ที่ยังคิดต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาอยู่ต่อไป สู้แรกก็คือสู้กับตัวเองก่อน ว่าจะลุกขึ้นจากอาการเจ็บป่วยที่ปราศจากความช่วยเหลือได้อย่างไร? และสู้กับอะไรบ้าง? นี่คือที่มาหรือการจะปฏิสนธิเพื่อการกำเนิดของ สมทน/LIMA สู่ความเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ต่อไป ในรูปแบบของตาบอดคลำช้าง เป็นเวลาอย่างต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.2550 รวมประมาณ 10 ปี ทีเดียว




เริ่มตั้งแต่ ประมาณปี 2540-2541 ผู้เขียนสำรวจทบทวนทรัพยากรความรู้ประสบการณ์ของตัวเองว่ามีอะไร และสามารถจะทำอะไร เพื่ออะไร ได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นมีเพียงใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพอยู่ แต่ความรู้และประสบการณ์ด้านทนายความ ก็มีเพียงแค่หางอึ่งเท่านั้น และมีหน้าที่ภาคบังคับให้ต้องรวบรวมพยานหลักฐานความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เป็นภาพเขียนและลายเส้น อันเป็นงานด้านศิลปกรรม วรรณกรรม ในเรื่องของศิลปะมวยไทย ต้องเข้าแสดงตนปกป้อง คุ้มครอง เรียกร้องสิทธิในสภาพที่ไม่มีกำลังกายใจ กำลังทุนทรัพย์ใดๆ เพื่อทวงลิขสิทธิ์คืนจากผู้ละเมิดเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ของตนและพรรคพวก ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่แข็งแรงกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ อาทิ เอกชนต่างๆในรูปกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลระดับใหญ่โต มีชื่อเสียงระดับประเทศ ภาครัฐระดับกระทรวง ทบวง กรม ที่มีศักยภาพทั้งคนและทรัพย์จนกระทั่งประเทศต่างๆ แม้อภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนได้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีผู้ใดสนใจให้ความช่วยเหลือ หรือปฏิบัติหน้าที่ให้สมศักดิ์ศรีของประเทศไทยเท่าที่ควร จนหมดที่พึ่งแล้วจึงได้ตัดสินใจรวบรวมพยานหลักฐานสรุปเป็นรายงาน กราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0009/12269 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2544 จึงเกิดแรงบันดาลใจบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นโคลงบท “ด้วยพระบารมีฯ” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2544 และตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่าจะอุทิศตนถวายเป็นพระราชกุศล ด้วยภารกิจการที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ เพื่อดำรงคงความเป็นศิลปะมวยไทยไว้ให้เป็นสมบัติของลูกหลานไทยสืบไป



การปฏิบัติงาน เพื่ออุทิศตนถวายเป็นพระราชกุศล ขณะนั้น อัตคัด ไม่มีแม้กระทั่งสถานที่ อุปกรณ์ เด็กหรือเยาวชน จึงเกิดการศึกษาเรียนรู้ข้อควรต้องปฏิบัติว่าจะต้องมีความเป็นองค์กร มีโครงการและแผนการปฏิบัติ มีทรัพยากรสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เด็กและเยาวชน ที่มีความเหมาะสมเป็นไปได้ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมกลุ่มคนตามกลไกธรรมชาติในขณะนั้น เรียกตนเองว่า ชมรมมวยไทยท้องถิ่นและนานาชาติ(ชมทน.)THE LOCEL & INTERNATIONAL MUAY-THAI ASSEMBLY(LIMA.) ยื่นเรื่องขอจัดตั้งองค์กรนิติบุคคลเป็นสมาคม ต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2545.......คิดว่าจะง่ายหรือ? ผู้เขียนได้รับเรื่องคืนอย่างไม่มีเยื่อใยด้วยเหตุผลจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการว่า ไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งสมาคมที่ใช้คำว่า “มวยไทย” เพราะสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาสังกัด กระทรวงวัฒนธรรม ได้สอบถาม และมีความเห็นด้วยกับ.... ความเห็นไม่อนุญาตของ..การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาเปลี่ยนสังกัดเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา




ผู้เขียน ทำโครงการเป็นภาพรวมไว้ ชื่อ..โครงการ..ภูมิปัญญาไทย ช่วยชาติ...ด้านอนุรักษ์ สืบสาน เอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรมไทย.. นำโดย..“ศิลปะมวยไทย ต้านภัยยาเสพติด” เพื่ออนุชนรุ่นหลัง ชาวเคหะชุมชนคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร นำเสนอองค์กรเอกชน หน่วยงานราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆมากมาย แต่ไม่ได้รับคำตอบหรือการสนับสนุนส่งเสริมใดๆ ผู้เขียนมีความรู้สึกแบบสามัญสำนึกของคนไทยธรรมดาๆ ว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และมีความผิดปกติในการบริหารงานราชการโดยรัฐบาลขณะนั้นอย่างแน่นอน จึงตัดสินใจต่อสู้เรียกร้องหาความถูกต้องเป็นธรรมทุกวิถีทาง จนกระทั่งศาลปกครองกลางรับไว้พิจารณาความเป็นคดีหมายเลขดำที่ 616/2545 แล้วรายงานเหตุการณ์ได้รับอนุมัติโครงการฯเป็นอาสาสมัครใน ฯพณฯ องคมนตรี พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2545 ต่อมาได้รับอนุมัติโครงการฯ ด้วยเงินจำนวน 100,000.-บาทจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงเข้าดำเนินงานในพื้นที่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2546 ..ลำบากอีกแล้ว พื้นที่นี้เรียกกันว่าอะไรกันแน่จึงจะถูกต้องที่สุด เช่น แฟลตคลองจั่นหรือ แฟลตการเคหะคลองจั่น หรือ ชุมชนคลองจั่น หรือ ชุมชนเคหะคลองจั่น หรือ เคหะชุมชนคลองจั่น และจะต้องขออนุญาตจากใคร พื้นที่ส่วนไหนใครเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมาย เด็กเยาวชนสมัครเป็นสมาชิกจำนวนมาก แต่ความเป็นเพียงชมรมฯ ติดต่อสอบถามขอข้อมูล ขอรับการสนับสนุนใดๆจากใครไม่ได้เลย ชักชวนเด็กๆหาสถานที่รกร้าง หักร้างถางพงวางวัสดุอุปกรณ์แขวนกระสอบกับกิ่งไม้ ฝึกสอนเสร็จไม่มีที่เก็บรักษาอุปกรณ์ วันใหม่พบกระสอบถูกของมีคมทิ่มแทงฟันทะลุหลุดขาดใช้การไม่ได้ ผู้เขียนต้องเดินศึกษาหาข้อมูล ทั้งกลางวัน กลางคืน ดึกดื่นยามวิกาล พบเห็นปัญหาสังคมในพื้นที่อย่างมากมาย เรียกชื่อชุมชนด้วยภาษาตัวเองว่าเป็น พื้นที่เปิด พื้นที่เสี่ยง พื้นที่หลากหลาย ประกอบกับได้ฟังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงห่วงใย เด็กเคราะห์ร้าย กล่าวคือ เป็นเด็กดีแต่บังเอิญได้รับภยันตรายจากสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการกระทำของผู้อื่นโดยไม่ได้มีส่วนร่วมกระทำผิดหรือเกี่ยวข้อง ทำให้ผู้เขียนตั้งจิตวิญญาณ

ที่ต้องต่อสู้ต่อไปตามบันทึกเป็นบท “แรงอธิษฐาน” ไว้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 รวมทั้งกระตุ้นเตือนตนเองที่เป็นเพียงอาสาสมัครโดยไม่มีรายได้ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ ให้เป็นผู้มุ่งมั่นกระทำความดีถวายพระราชินีผู้ทรงพระคุณ เป็นสัจจะอธิษฐาน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 ตลอดมา จนกระทั่งบุตรธิดาของผู้เขียนเอง ซึ่งพักอาศัยอยู่กับแม่และยาย ที่แฟลตหลังหนึ่งในเคหะชุมชนคลองจั่นแห่งนี้ หลังจากแยกทางหย่าร้างกับผู้เขียน ต้องออกไปดิ้นรนต่อสู้ชีวิตอย่างทุกข์ยากลำบาก และไม่เคยปริปากบ่นแม้จะมีวัยเพียงชั้นประถม หรือ มัธยมต้นเท่านั้น ยังยอมออกปากตอบคำถามผู้เขียนว่า ลูกไม่มีเงินที่จะเรียนหนังสือ เหตุการณ์ทำให้ผู้เขียนในขณะนั้นมีเงินติดตัวประมาณ 100 บาท เช่าแฟลตอยู่ 1 ห้อง มีค่าเช่ารวมสาธารณูปโภคประมาณเดือนละ 3,000-4,000.-บาท ตัดสินใจเดินซมออกไปหาซื้อหนังสือพิมพ์ประกาศรับสมัครคนทำงานราคาฉบับละ 15 บาท มาอ่าน พบงานที่สถาบันแห่งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง เอส เอ็ม อี (ไม่รู้แปลว่าอะไร) จึงติดต่อโทรศัพท์หาเพื่อนที่ทำงานอยู่ที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME BANK ได้รับความช่วยเหลือจนได้เป็นพนักงานตามบันทึกเป็นบทกลอน “แด่กรรมการผู้จัดการ SME BANK” ไว้ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 จากนั้นก็แบ่งเวลาการทำงานในหน้าที่พนักงานของธนาคารกับอาสาสมัครโครงการฯ “ศิลปะมวยไทย ต้านภัยยาเสพติด” เพื่ออนุชนรุ่นหลัง ตามพระราชดำริฯ พร้อมให้ความช่วยเหลือร่วมมือร่วมใจกับกลุ่มบุคคลในพื้นที่ดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์รูปแบบต่างๆ ควบคู่กันไป ต่อมามีเหตุการณ์ถูกทดสอบจิตใจครั้งสำคัญยิ่งของชีวิตให้ต้องเลือกว่า จะไปใช้ชีวิตส่วนตัวด้วยความสุขสบายตลอดชาติ(จริงหรือเปล่าก็ยังไม่รู้!) โดยต้องยอมทิ้งบุตรธิดาและโครงการฯ เอาไหม? ซึ่งในที่สุดผู้เขียนได้ตัดสินใจเลือกบุตรธิดา กับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯต่อไป ตามบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นบทกลอน “ฟ้าเพียงดิน” เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 ถึงประมาณปลายปี 2548 ได้รับหมายนัด ฟังคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในวันที่ 27 มกราคม 2549 ก่อนถึงวันนัด เป็นวันเด็กแห่งชาติ วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2549 ผู้เขียนตั้งใจไปหาบุตรธิดา แต่ไม่พบใครสักคน คิดว่าหากไม่สามารถจัดตั้งองค์กรเป็นสมาคมได้ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ย่อมไม่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน จึงเตรียมใจพร้อมรับสภาพที่จะทำงานเพื่อประกอบอาชีพแต่เพียงด้านเดียว โดยจำต้องย้ายที่พักอาศัย เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และประหยัดค่าใช้จ่าย ตามบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นบทกลอน “ฝากฟ้า สั่งดิน” เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549


วันที่ 27 มกราคม 2549 ผู้เขียนไปฟังคำพิพากษาศาลปกครองกลางโดดเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว แต่ได้พบกับบุตรชายคนโตกับเพื่อนรุ่นพี่อีกคน รออยู่ที่บริเวณหน้าตึกอาคารของศาล เข้าห้องฟังศาลอ่านข้อต่อสู้และคำพิพากษาคดี ผู้เขียนฟังแล้วเหมือนตัวเองเป็นนักมวยแพ้ทุกยกจนถึงยกสุดท้าย มีคำพิพากษาว่า “.....ด้วยเหตุนี้ การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คือการกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาสังกัดการท่องเที่ยวและกีฬา) มีความเห็นว่าคำขอจัดตั้งสมาคมของผู้ฟ้องคดีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาต โดยกล่าวอ้างเหตุผลดังกล่าวข้างต้น และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (คือ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการต่อมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีจัดตั้งสมาคมมวยไทยท้องถิ่นและนานาชาติ โดยอ้างเหตุผลเดียวกัน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่มิชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ...” ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกว่ามีเพื่อนร่วมชาติที่คิดเหมือนกันแล้วแต่อยู่ในสถาบันฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลในขณะนั้น จากที่ได้ฟังข้อต่อสู้ของฝ่ายบริหารผู้ถูกฟ้องคดีมีตอนหนึ่งยกพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับปีพุทธศักราช 2542 (.......ทราบภายหลังว่าประสบอุปสรรคปัญหาจนผู้มีอำนาจสามารถลงนามประกาศใช้ได้....เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2545...) ระบุว่า..... “มวยไทย น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกายอมให้คู่ชกใช้เท้า ศอก และเข่าได้” ซึ่งแสดงว่ามวยไทยเป็นเพียงกีฬา มิใช่ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติแต่อย่างใดอีกต่อไป ทั้งที่ คำว่า มวย หรือ ไทย อย่างเดียว ก็มีความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวเองอยู่แล้ว ทำนองนี้ เป็นต้น ทำให้ได้รับทราบถึงนโยบายวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่แสดงออกโดยนัยจากทัศนคติทางความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ของกลุ่มคนฝ่ายบริหารในขณะนั้นและยังมีอยู่มากในขณะนี้ ทั้งที่มาที่ไป ทางกว้างทางลึกอีกมากและท้ายสุดหน่วยงานที่ถูกฟ้องคดีทั้งสองรวมทั้งพนักงานอัยการไม่มีประเด็นที่จะอุทธรณ์คำพิพากษา คดีจึงถึงที่สุด ต่อมาปรากฏข่าวในวันที่ 8 เมษายน 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงเป็นองค์ประธานโครงการมวยไทยต้านภัยยาเสพติด ทรงมีกระแสพระราชดำรัสในพระราชวโรกาสให้ประธานสมัชชาสหพันธ์กีฬานานาชาติ(ไกสฟ์/GAISF) กับคณะเข้าเฝ้า ว่า “....มวยไทยไม่ใช่เกมกีฬาอย่างเดียว แต่ยังเป็นศิลปวัฒนธรรม และเป็นวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนาน....อีกด้วย...” จากนั้นผู้เขียนได้รับการติดต่อจากนายทหารราชองครักษ์ประจำเขตพระราชฐาน 193 สอบถามเรื่องราวพร้อมให้ความร่วมมือร่วมใจจัดตั้งสมาคม และให้รายงานถึงผู้สำเร็จราชการเขตพระราชฐาน 193 ดังเหตุการณ์ตามบันทึกเป็นกลอน “ฟ้ากำหนด” ไว้เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2549 ซึ่งผู้เขียนได้ห่วงใยโครงการฯ ที่จะต้องนำร่องเป็นแบบอย่างไว้ที่เคหะชุมชนคลองจั่นให้จงได้ตามสัจจะอธิษฐาน โดยต้องช่วยกันกับคณะ จัดตั้งองค์กรนิติบุคคลตัวแทนเป็น สมาคมเคหะชุมชนคลองจั่น เพื่อเป็นฐานรากที่ดีไว้สำหรับเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งสืบไปให้สำเร็จก่อน โดยยึดถือคุณธรรม ความดีเป็นหลักดังที่ได้บันทึกเหตุการณ์เป็นโคลงบท “รากหญ้าไทย...ไม่เน่า เหง้าบัวไทย...ไม่ตาย” ไว้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ทั้งนี้เป็นการร่วมกันทำความดีเพื่อในหลวงตามโครงการ 60 ล้านความดีด้วยพระบารมีครบ 60 ปีแห่ง การครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พุทธศักราช 2549 จากนั้นปี 2550 เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัฐบาลกำหนดเรื่องการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม การป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นวาระแห่งชาติอีกสองประการที่สำคัญ มีโครงการทำดีเพื่อพ่อ เสริมสร้างสนับสนุนเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต จริยธรรม คุณธรรม ความเสียสละ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนได้บันทึกเหตุการณ์หลังสุด ก่อนยื่นจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมมวยไทยท้องถิ่นและนานาชาติ (อนุชน) เป็นบทกลอนชื่อ “ชุดเล็ก” ไว้เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 แล้วจึงได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งสมาคมฯ ต่อสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 และสรุปเรื่องราวตั้งแต่ปี 2541-2550

ดังกล่าวข้างต้น บันทึกโครงการพร้อมเอกสารหลักฐานแนบประกอบรวม 10 ปี เป็นสารบัญ 50 บท นำเสนอรัฐบาลซึ่งจะรวบรวมทูลเกล้าถวายฯ ต่อไปด้วยแล้ว



อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแม้จะประสบอุปสรรคปัญหา ในสภาพเหมือนคนบาดเจ็บ พิกลพิการ กระดูกแขนขาหัก เลือดไหลออกหมดตัว เหลือเพียงร่างและจิตวิญญาณ ลอยคอกระดืบๆ อยู่ท่ามกลางมหันตภัยรอบทิศ กลางมหาสมุทรทะเลคลั่ง แม้จะไม่ได้มีกำลังกายที่สมบูรณ์ ไม่ได้มีปัญญาที่เฉียบแหลม แต่คงจะวิสาสะได้ว่า.......พอมีความเพียรที่บริสุทธิ์อยู่บ้างกระมัง?..กับมีกุศลจิตกุศลกรรมประกอบเสริมค้ำจุนด้วย จึงทำให้มีกัลยาณมิตรคอยประคับประคองช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ตลอดมา จากน้อยนิดและมากขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึง ณ เวลานี้ สมทน หรือ LIMA หรือ อย หรือ ออ หรือ j ไม่ว่าจะคลอดออกมาหรือไม่ เมื่อไหร่ อย่างไร ก็คงจะต้องต่อสู้ เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ดำเนินกิจกรรมในโครงการฯ ตามพระราชดำริฯ นี้ เพื่อดำรงคงทรัพย์สินทางปัญญาหรือภูมิปัญญาไทย ด้านเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรมไทย นำโดย ศิลปะมวยไทย ต้านภัยยาเสพติด ไว้ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของลูกหลานไทยที่มีความเป็นไทยสืบไป ไม่ว่าจะพำนักอาศัยอยู่ท้องถิ่นไหนในผืนแผ่นดินไทยหรือนานาชาติใดทุกซอกมุมทั่วโลกและแม้แต่ชนต่างชาติต่างภาษา ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างลัทธิ ต่างศาสนา หรือแตกต่างกันด้วยประการอื่นใดที่รักความเป็นไทย ผู้เขียนและคณะมีความยินดีต้อนรับด้วยความเต็มใจยิ่งกว่าคนไทยแท้ๆ แต่ไม่มีความรักหวงแหนในความเป็นไทยอย่างแท้จริง เสียอีก



ขออาราธนา คุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก พระสยามเทวาธิราช พระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ พลังบริสุทธิ์ของลูกหลาน เด็กๆอนุชนรุ่นหลัง กุศลจิตกุศลกรรมของผู้เขียนและคณะ ตลอดจนบรรดากุศลจิตกุศลกรรมทั้งหลายที่ท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรได้สร้างสมมา โปรดดลบันดาล ให้ท่านและครอบครัวบริวาร ตลอดจนสังคมประเทศชาติไทย ประสบแต่ความสุข สงบร่มเย็น เจริญด้วยความสมดุลทั้งด้านจิตใจ และวัตถุยิ่งๆ ขึ้นไป.... ตลอดกาลนาน...เทอญ



ด้วยความเคารพรักและระลึกถึงเสมอ



พันตำรวจโทธรรมนิศร โภคทรัพย์ กับคณะ

5 ธันวาคม 2550

หมายเหตุ.......เป็นความบังเอิญที่แปลกมหัศจรรย์ ในเรื่องชื่อ ของชมรมหรือสมาคม เมื่อมีการรวบรวมคณะบุคคลผู้ก่อตั้งครั้งแรก ชาวคณะ ได้ร่วมกันทำพิธี ตั้งจิตถวายสัจจะอธิษฐานกับชื่อชมรม ต่อองค์เทวรูปนารายณ์แผลงศร โดยมีลูกโลกจำลองประกอบในพิธีด้วย เสร็จพิธีมีชาวคณะตั้งคำถามกันเล่นๆ ว่า โลกของเราใบนี้ ถ้าใช้ไม้เสียบแบบลูกชิ้นปิ้ง ตรงจากประเทศไทยเข้าไปให้ทะลุอีกซีกโลกหนึ่งจะไปตรงกับประเทศอะไร? ผู้เขียนตอบได้กว้างๆไม่แน่ใจ ทำให้เกิดความอยากรู้กันจริงๆขึ้นมา จึงได้ลองวัดคำนวณดู ผลปรากฏว่าถ้าเสียบจากอีสานใต้แนวชายแดนติดประเทศกัมพูชาแถวๆจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ถ้าไม้เสียบมีขนาดใหญ่พอควร ก็จะทะลุที่ประเทศเปรู ถูกบริเวณเมืองหลวงชื่อ กรุง LIMA พอดี
..
..
..
..
..
..



Create Date : 17 มีนาคม 2555
Last Update : 19 มีนาคม 2555 16:38:25 น.
Counter : 973 Pageviews.

1 comments
  
เขียนยาวมาก ไม่มีเวลาอ่าน
แต่แวะมาหาด้วยความเคารพ

ขอบคุณยิ่งที่แวะไปเยี่ยม
โดย: เสี่ยวเฟย วันที่: 17 มีนาคม 2555 เวลา:17:45:49 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

lima_j
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



โครงการตามพระราชดำริฯ
กิจกรรมสาธารณประโยชน์-สาธารณกุศล
ภูมิปัญญาไทยช่วยชาติฯ
นำโดย.."ศิลปะมวยไทย ต้านภัยยาเสพติด"
เพื่ออนุชนรุ่นหลัง
มีนาคม 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
23
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog