...ไม่มีไฟใดเสมอด้วย..ราคะ ...>> ไม่มีโทษใดเสมอด้วย..โทสะ ...>> ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วย..เบญจขันธ์ ...>> ไม่มีสุขใดเสมอด้วย..ความสงบ ...>> พุทธวจนะในธรรมบท <<...

.. ภาษาเยอรมันแบบไทยๆ...เป็นแบบไหนน๊าาาาาาา

อันว่าภาษาเยอรมันนั้นมีหลากหลายสำเนียงด้วยกัน
ทุกท้องถิ่นก็จะมีภาษาประจำถิ่นซึ่งมีสำเนียงแตกต่างกันออกไป
(เหมือนเมืองไทยเรานั่นแหละ)


สำเนียงที่ใช้เป็นภาษากลางเรียกว่า.. Hochdeutsch (โฮก-ด๊อยช์)
ผู้ที่เข้าเรียนภาษาเยอรมันในโรงเรียนสอนภาษา (Sprachkurs / ช-ปราก-ควร์ส)
ในโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ (Volkshochschule / โฟล์คส์-โฮก-ชู-เล่ะ)
หรือในมหาวิทยาลัย (Universität / อู-นิ-แวร์-สิ-เทท)
ก็จะได้เรียนภาษาเยอรมันที่ใช้เป็นภาษากลางอยู่แล้ว


ภาษาประจำถิ่นหรือที่เรียกกันว่าภาษาแสลง.. (Mundart / มุนด์-อาร์ท)
จะมีมากมายหลายสำเนียงมาก ยกตัวอย่างในภาคใหญ่ๆก็จะมีดังนี้


ภาคเหนือจะมีสำเนียงที่เรียกว่า.. Plattdeutsch (พลัท-ด๊อยช์)
ภาคใต้จะมีสำเนียงที่เรียกว่า.. Schwäbisch (ช-เว-บิช) / Bayerisch (ไบ-แย่ะ-หริช)
ภาคตะวันออกจะมีสำเนียงที่เรียกว่า.. Sächsisch (แซ็ค-สิช)
ภาคตะวันตกก็จะมีสำเนียงที่เรียกว่า.. Hessisch (เฮส-สิช)
เป็นต้น


นอกจากนั้นก็ยังมีภาษาเยอรมันสำเนียงสวิสและสำเนียงออสเตรียอีกด้วย


ส่วนสำเนียงสุดท้ายเป็นสำเนียงที่เราตั้งชื่อขึ้นมาเอง
นั่นก็คือ..สำเนียงแบบไทยๆ .. อิ อิ อิ



ภาษาเยอรมันสำเนียงแบบไทยๆเป็นอย่างไร
มาเริ่มต้นกันแบบอนุบาลเลยก็แล้วกัน.. เริ่มตั้งแต่หัดอ่าน A B C กันเลย


จากประสบการณ์ในการเรียนภาษาเยอรมันของเราเองนั้น
ครูผู้สอนจะไม่เริ่มต้นสอนด้วยการให้เรียนรู้ตัวอักษร A B C ก่อนแต่อย่างใด
(ทีแรกนึกว่าจะสอนแบบที่เราเคยเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนซะอีก.. อิ อิ)


แต่จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่าน/เขียนและทำแบบฝึกหัดจากในหนังสือเรียนเลย
พูดง่ายๆก็คือ..เข้าห้องเรียนปุ๊บคุณก็จะต้องเปิดหนังสือเรียนอ่านได้ปั๊บ
ใครจะรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่อง เข้าใจหรือไม่เข้าใจไม่รู้ละ

ครูมีหน้าที่สอน ก็จะอธิบายไปเรื่อยๆ
ไม่มีการมานั่งจ้ำจี้จ้ำไชหรืออธิบายให้เข้าใจเป็นรายบุคคล
สอนจบในแต่ละบทก็จะให้แบบฝึกหัดมาทำเป็นการบ้านทุกวันอีกด้วย


คนต่างชาติที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาก่อนแล้วก็จะค่อยยังชั่วหน่อย
เพราะถึงแม้ว่าตอนที่ไปเริ่มเรียนแรกๆนั้นจะฟังไม่รู้เรื่อง
แต่ก็ยังอ่านออกเขียนได้..(ถึงจะแปลไม่ออกก็เถอะ.. ฮิๆ)


แต่คนที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาก่อนเลยนั้นจะเรียนได้ค่อนข้างช้า
เพราะทั้งพูด อ่าน ฟัง และเขียนไม่ได้
ตอนเริ่มเรียนใหม่ๆจึงพากันถอดใจไปซะก่อนเป็นส่วนใหญ่
(สมัยนี้รัฐบาลมีการบังคับให้เรียน คงจะถอดใจไม่เรียนกันไม่ได้แล้ว)


คนต่างชาติที่ไปเริ่มเรียนภาษาเยอรมันใหม่ๆถึงได้พากันบ่นนักบ่นหนาว่า..
ภาษาเยอรมัน..ยากมากกกกก



ที่ว่ายากก็เพราะ..คำต่างๆในภาษาเยอรมันมีการเปลี่ยนรูปเมื่อนำมาใช้

มีการผันคำกิริยา
มีการผันคำนำหน้านาม
มีการเปลี่ยนรูปของประโยคเมื่อมีคำเชื่อมประโยค
มีการเปลี่ยนรูปคำนามเมื่ออยู่ในรูปของพหูพจน์
คำสรรพนามที่ใช้เรียกสัตว์/สิ่งของ ก็มีเพศเหมือนกับคำสรรพนามที่ใช้เรียกคน
ฯลฯ


การใช้คำต่างๆ..ส่วนใหญ่ก็จะมีหลักการให้จำง่ายๆ
แต่มันจะยากก็ตรงที่ทุกหลักการนั้นมักจะมีข้อยกเว้นเสมอ..


วิธีเดียวที่จะช่วยให้เรียนภาษาเยอรมันได้ง่ายขึ้นก็คือ..
เวลาท่องจำคำศัพท์จะต้องท่องควบคู่กับคำนำหน้านามด้วยเสมอ


ยกตัวอย่างเช่น คำว่า.. Die Katze (ดี คัท-เซ่ะ) แปลว่า แมว
เวลาท่องคำศัพท์ก็อย่าท่องเฉพาะแค่คำว่า Katze เพียงอย่างเดียว
แต่ให้ท่องคำนำหน้านามไปพร้อมเลยว่า.. Die Katze


คำนำหน้านามมีความสำคัญที่สุดในการผันคำ
เพราะฉนั้นจำไว้ให้ขึ้นใจเลยว่า..
ถ้าเพียงแค่คุณจำคำนำหน้านามไม่ได้ .. คุณก็จะผันอะไรต่อไปอีกไม่ได้เลย



มาเข้าเรื่องการเรียนรู้ตัวอักษรในภาษาเยอรมันกัน ..
ว่าตัวไหนอ่านออกเสียงว่ายังไงและตรงกับตัวอักษรไทยตัวไหน


เราจะพยายามเทียบเสียงในภาษาไทยให้ได้ใกล้เคียงกับเสียงในภาษาเยอรมันที่สุด
เพราะเท่าที่เห็นผ่านๆตาในอินเตอร์เน็ตนั้น
เวลามีการเทียบเสียงคำอ่านจากภาษาเยอรมันเป็นไทย

ส่วนใหญ่มักจะเขียนเทียบเสียงตามตัวอักษรเยอรมันไปเลย
ซึ่งถ้าคนที่ยังไม่มีความรู้ภาษาเยอรมันไปอ่าน
ก็อาจจะออกเสียงผิดได้

ยกตัวอย่าง เช่นคำว่า.. habe (ฮา-เบ่ะ) เป็นคำกริยา แปลว่า มี
ที่เห็นเทียบเสียงกันก็จะเทียบคำอ่านว่า.. ฮา-เบ หรือไม่ก็.. ฮา-เบ่อะ
คนที่ยังไม่มีความรู้ภาษาเยอรมันก็จะออกเสียงเป็น ฮา-เบ หรือ ฮา-เบ่อะ ไปด้วย


ตัว E ในภาษาเยอรมันอ่านออกเสียงว่า.. เอ ก็จริง
แต่เมื่อมันถูกเขียนให้เป็นตัวที่อยู่ท้ายสุดของคำ มันจะต้องออกเสียงสั้นเท่านั้น

และถึงแม้ว่าเสียง..เบ่อะ จะคล้ายกับเสียง..เบ่ะ มากก็ตาม
แต่ในเมื่อตัว E ไม่ได้ออกเสียงเป็น..เออ การอ่านว่า..เบ่อะ จึงถือว่าไม่ถูกต้อง
การออกเสียงว่า..เบ่ะ จึงน่าจะถูกต้องและใกล้เคียงกับสำเนียงของคนเยอรมันที่สุด..


ยังมีคำบางคำที่ออกเสียงแบบก้ำกึ่ง
ซึ่งไม่สามารถเขียนเป็นภาษาไทยออกมาตรงๆได้ก็มี
เช่นคำว่า Tor(ทอร์) จะออกเสียงก้ำกึ่งกันระหว่าง โอ กับ อัว
ก็เลยต้องเขียนคำอ่านเป็นภาษาไทยว่า..ทอร์
เวลาอ่านก็ทำปากห่อๆเพื่อให้เกิดเสียง อัว ตวัดตามท้ายด้วยก็แล้วกัน

มาดูการเทียบเสียงตัวอักษรเยอรมัน/ไทยกันเลย..



ตัวอักษรในภาษาเยอรมันมี 26 ตัว
มีสระ 5 ตัว + สระที่เรียกว่า Umlaut (อุม-เลาท์) อีก 3 ตัว

*** ในวงเล็บคือคำที่ใช้ท่องจำเพื่อย้ำให้ผู้ฟังได้ยินให้ชัดๆ
ว่าตัวอักษรที่ผู้พูดๆไปนั้นหมายถึงตัวอักษรตัวใด ***

A อ่านว่า อา
เทียบกับตัวอักษรไทย - สระ อา
[A wie Anton - อา วี อันโทน]

B อ่านว่า เบ
เทียบกับตัวอักษรไทย - บ.ใบไม้
[B wie Berta - เบ วี แบร์ท่า]

C อ่านว่า เซ
เทียบกับตัวอักษรไทย - ค. ควาย, ซ. โซ่
[C wie Cesar - เซ วี เซซ่าร์ ]

D อ่านว่า เด
เทียบกับตัวอักษรไทย - ด. เด็ก
[D wie Dora - เด วี โดร่า]

E อ่านว่า เอ
เทียบกับตัวอักษรไทย - สระ เอ
[E wie Emil - เอ วี เอมิล]

F อ่านว่า เอฟ
เทียบกับตัวอักษรไทย - ฟ. ฟัน
[F wie Friedrich - เอฟ วี ฟรีดหริค]

G อ่านว่า เก
เทียบกับตัวอักษรไทย - ก. ไก่
[G wie Gustaf - เก วี กุสทัฟ]

H อ่านว่า ฮา
เทียบกับตัวอักษรไทย - ฮ. นกฮูก
[H wie Heinrich - ฮา วี ไฮน์หริค]

I อ่านว่า อี
เทียบกับตัวอักษรไทย - สระ อิ
[I wie Ida - อี วี อีด้า]

J อ่านว่า ยด
เทียบกับตัวอักษรไทย - ย. ยักษ์
[J wie Jerusalem - ยด วี เยรูซาเล็ม]

K อ่านว่า คา
เทียบกับตัวอักษรไทย - ค. ควาย
[K wie Konrad - คา วี คอนหราด]

L อ่านว่า แอล
เทียบกับตัวอักษรไทย - ล. ลิง
[L wie Ludwig - แอล วี ลู้ดหวิก]

M อ่านว่า เอ็ม
เทียบกับตัวอักษรไทย - ม. ม้า
[M wie Marta - เอ็ม วี มาร์ทา]

N อ่านว่า เอ็น
เทียบกับตัวอักษรไทย - น. หนู
[N wie Nordpol - เอ็น วี นอร์ดโพล]

O อ่านว่า โอ
เทียบกับตัวอักษรไทย - สระ โอ
[O wie Otto - โอ วี โอ๊ทโท่ ]

P อ่านว่า เพ
เทียบกับตัวอักษรไทย - พ. พาน
[P wie Paula - เพ วี เพาล่า]

Q อ่านว่า คู
เทียบกับตัวอักษรไทย - ค. ควาย
[Q wie Quelle - คู วี เควลเล่ะ]

R อ่านว่า แอร
เทียบกับตัวอักษรไทย - ร. เรือ
[R wie Richard - แอร วี ริชั่ด]

S อ่านว่า เอส
เทียบกับตัวอักษรไทย - ส. เสือ
[S wie Siegfried - เอส วี สิ๊กฟรีด]

T อ่านว่า เท
เทียบกับตัวอักษรไทย - ท. ทหาร
[T wie Teodor - เท วี เทโอดอร์ ]

U อ่านว่า อู
เทียบกับตัวอักษรไทย - สระ อุ, สระ อู
[U wie Ulrich - อู วี อุลหริค]

V อ่านว่า เฟา
เทียบกับตัวอักษรไทย - ฟ ฟัน
[V wie Victor - เฟา วี วิคท่อร์ ]

W อ่านว่า เว
เทียบกับตัวอักษรไทย - ว แหวน
[W wie Wilhelm - เว วี วิลเฮล์ม]

X อ่านว่า อิ๊กซ์
เทียบกับตัวอักษรไทย - ซ โซ่
[ X wie Xanthippe - อิ๊กซ์ วี ซันทิพเพ่ะ]

Y อ่านว่า อิ๊พซีลอน
เทียบกับตัวอักษรไทย - สระ อิ
[Y wie Ypsilon - อิ๊พซีลอน วี อิ๊พซีลอน]

Z อ่านว่า แซ่ต
เทียบกับตัวอักษรไทย - ซ โซ่
[Z wie Zeppelin - แซ่ต วี เซ็พเพ-ลิน ]


Ch เทียบกับตัวอักษรไทย - ค ควาย / ช ช้าง

Sch เทียบกับตัวอักษรไทย - ช ช้าง

Ng เทียบกับตัวอักษรไทย - ง งู

Pf เทียบกับตัวอักษรไทย - ฟ ฟัน



สระในภาษาเยอรมันมี 5 ตัว คือ

A อ่านว่า อา - สระ อา
E อ่านว่า เอ - สระ เอ
I อ่านว่า อี - สระ อิ
O อ่านว่า โอ - สระ โอ
U อ่านว่า อู - สระ อุ / สระ อู

มีสระที่เรียกว่า Umlaut (อุม-เลาท์) อีก 3 ตัว คือ

Ä อ่านว่า แอ เทียบได้กับ - สระ แอ
Ö อ่านว่า เออ เทียบได้กับ - สระ เออ
Ü อ่านว่า อือ เทียบได้กับ - สระ อือ

นอกจากนี้การนำเอาสระสองตัวมาเขียนติดกัน
ก็จะสะกดออกเสียงเป็นสระด้วย(แต่ไม่นับเป็นสระ) เช่น

au เทียบได้กับเสียง - เอา
เช่น Auto (เอาโท่) แปลว่า รถยนต์

ei เทียบได้กับเสียง - ไอ
เช่น Weiss (ไว้ส์) แปลว่า สีขาว

ie เทียบได้กับเสียง - อี
เช่น Wiese (วีเซ่ะ) แปลว่า สนามหญ้า

eu เทียบได้กับเสียง - ออย
เช่น Neu (นอย) แปลว่า ใหม่

äu เทียบได้กับเสียง - ออย
เช่น Käufer (ค้อยแฟ่ะ) แปลว่า ผู้ซื้อ



เมื่อรู้แล้วว่าตัวอักษรตัวไหนของเยอรมันตรงกับตัวอักษรตัวไหนของไทย
สระตัวไหนของเยอรมันตรงกับสระตัวไหนของไทย

มันก็จะช่วยให้อ่านและเขียนภาษาเยอรมันได้ง่ายและถูกต้องขึ้น
ไม่เชื่อก็ลองฝึกกันดูได้เลย..


ส่งท้ายกันด้วยเรื่องของตัวควบกล้ำ
คนไทยส่วนใหญ่มักจะออกเสียงตัวควบกล้ำ ร เรือ เป็น ล ลิง
แถมบางคนไม่ออกเสียงตัวควบกล้ำทั้ง ร เรือ และ ล ลิง เลยก็มี
แบบนี้เอามาใช้กับภาษาเยอรมันไม่ได้เด็ดขาดนะจ๊ะ..


การออกเสียงตัวควบกล้ำเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับภาษาเยอรมัน
ร เรือ จะต้องออกเสียงเป็น ร เรือ ให้ชัด
ล ลิง ก็จะต้องออกเสียงเป็น ล ลิง ให้ชัด
โดยเฉพาะตัว ล ลิง นั้นถึงแม้ว่าจะวางอยู่เป็นหลักที่สามของคำก็ต้องดัดลิ้นออกเสียงด้วย

เช่น

คำว่า Volk อ่านว่า.. โฟล์ค (แปลว่า ประชาชน, พลเมือง)
คนไทยบางคนออกเสียงเป็น โฟ้ค เฉยๆก็มี


หรือคำที่มีตัว ร เรือ เป็นตัวควบกล้ำ
ถ้าไปออกเสียงเพี้ยนจาก ร เรือ เป็น ล ลิง
หรือไม่ออกเสียงตัวควบกล้ำเลยละก็
จากคำๆหนึ่งจะกลายเป็นอีกคำหนึ่งไปทันที

เช่น

คำว่า Gras อ่านว่า.. กร้าส (แปลว่า หญ้า)

ถ้าไปออกเสียงตัวกล้ำจาก ร เรือ เป็น ล ลิง ก็จะกลายเป็นคำว่า

Glas อ่านว่า..กล้าส ที่แปลว่า แก้ว ไปเลย

และถ้าไม่ออกเสียงตัวควบกล้ำเลยก็จะกลายเป็นคำว่า

Gas อ่านว่า..ก๊าส ที่แปลว่า เชื้อเพลิง ไปเลย



...ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ภาษาเยอรมันแบบไทยๆกันทุกคนจ้า...




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2555
3 comments
Last Update : 21 พฤษภาคม 2561 0:09:28 น.
Counter : 8377 Pageviews.

 

แวะมาเรียนด้วยคนค่ะ

 

โดย: weissbier 11 กุมภาพันธ์ 2555 1:29:28 น.  

 

แวะมานั่งทบทวนจร้า ฮ่าๆ กำลังเรียนภาษาเยอรมันที่เกอเธ่คะ

 

โดย: radiergummi 11 กุมภาพันธ์ 2555 10:48:44 น.  

 

ยากที่สุดเลยค่ะ

 

โดย: asita 12 กุมภาพันธ์ 2555 17:16:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


คนร่วมชายคา
Location :

Thailand

Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




**..นิสัยส่วนตั๊ว..ส่วนตัว..**

ตามใจตัวเองที่ซู๊ดดดด...
รักแมวเป็นชีวิตจิตใจ
อารมณ์ดีเหลือหลาย
(แต่ถ้าร้ายขึ้นมาละก็ให้อยู่ห่างๆนะจ๊ะ)
ความเครียดไม่เคยย่างกรายมาในชีวิต
.. ติดจะบ้าๆ ...
(อย่างหลังต้องทำใจกันหน่อยนะ อิอิ)



**..คติ "ทำ" ประจำใจ..**

Before you speak, listen
Before you write, think
Before you spend, earn
Before you invest, investigate
Before you quite, try
Before you retire, save
Before you die, give
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
10 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add คนร่วมชายคา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.