✎ เคล็ดลับการถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์


สำหรับคนที่วันๆ ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ คงต้องเกิดอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า หรืออาการทางสายตาอื่นๆ กันบ้าง ปัจจุบันอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า 50% มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศีรษะ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดเมื่อยคอและหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และยังมีตัวแปรอีกหลายประการที่ทำร้ายสายตาของเรา เช่น ชนิดของจอคอมพิวเตอร์ แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ความสว่างของห้อง ท่านั่ง ฯลฯ



เคล็ดลับเพื่อถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์




    1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกระพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น







    2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
    3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า







    4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เราอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาได้ดีกว่าจอแบบเก่า (CRT)







    5. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป







    6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน




การบริหารกล้ามเนื้อตาแบบง่าย

การบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อตา เพื่อช่วยลดความตึงเครียดของดวงตา อาการเพลียตา หรือปวดตา เนื่องจากการใช้สายตามาก โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้



กลอกตาขึ้น - ลงช้าๆ 6 ครั้ง



โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหารอย่างเกร็งลูกตา




กลอกตาไปข้างขวาและซ้ายสลับกัน



โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุดทำซ้ำ 2 - 3 ครั้ง




ชูนิ้วชี้ขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตา



ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจองมองไปที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตามองระยะใกล้ที่นิ้งมือ ใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2 - 3 วินาที ทำสลับไปมาเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ





กลอกตาเป็นวงกลมช้าๆ



โดยเริ่มกลอกตาตามเข้มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ




» ที่มา : OPPY Culb









Create Date : 29 กรกฎาคม 2551
Last Update : 17 เมษายน 2553 15:23:41 น.
Counter : 523 Pageviews.

2 comments
  

ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากๆ
จะลองนำไปปฏิบัติดูนะคะ
โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight ) วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:09:55 น.
  

ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากๆ
จะลองนำไปปฏิบัติดูนะคะ
โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight ) วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:09:56 น.

ไลเดเลีย
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



ร้อยรส...กลอนกานท์




O ฤดูลม...O

O ฉับพลันฝนก็เร้นเก็บเส้นสาย
ดวงวันฉายแสงช่วงโลมห้วงหน
ขับความชื้นลบเลือนรอยเปื้อนปน
ลบหมองหม่นแผ่นฟ้าจนพร่าเลือน

O คล้ายเมฆสีเทาทึมเมื่อครึ้มฝน
ถูกแสงสรวงเบื้องบนเข้าปนเปื้อน
ย้อมสีเทาเป็นขาว..เมื่อหนาวเยือน
มาตามเตือนเลื่อนยามให้งามตา

O ลมต้นหนาวเกรียวกรูเสียงวู่ไหว
โลมกิ่งใบไม้ตื่นทั้งผืนป่า
เขยื้อนขยับยวบไหวอยู่ไปมา
เหมือนบอกลาล่วงพ้น..คาบฝนปลาย

O ความเปลี่ยนแปลงผ่านสู่..ให้รู้เห็น
จากเมื่อสีเลื่อนเส้น..แล่นเป็นสาย
เสียงครืนครั่นก้องอยู่ไม่รู้วาย
แปลบปลาบว่ายเวียนย้ำโลมค่ำคืน

O จนฟ้าเปลี่ยนไม้ใบสั่นไหวระริก
น้ำก็พลิกแผ่นผิว..เป็นริ้วตื่น
จึงบัดนั้น..ภูมิทัศน์ก็หยัดยืน
ด้วยสายลมเย็นชื่น..เพื่อฟื้นตัว

O ถึงคราลมเย็นรื่น..วกคืนย้อน-
พรมสายอ่อนโอนระลอกเข้าหยอกยั่ว
ยอดหญ้าเรียวโค้งนั้น..ย่อมสั่นรัว
รอเกลือกกลั้วรับรู้..ฤดูลม

O จากยึดโยงรากแทงลงแหล่งดิน
ตราบฝนรินหยาดหลั่งลงสั่งสม
คลายความชุ่มความชื้นเหนือพื้น, พรม-
ภาวะอันอุดม..ห้อมห่มไพร

O เหยียดยอดเสียดขึ้นแทงรับแรงฝน
ที่คอยหล่นร่วงหยาด..ก่อนลาดไหล
ยืนต้นตั้งเป็นแถว..เป็นแนวไป
รอลมไหววาดวี..จักมีมา

O ไม่นานเลย..จากฝนฟ้าหม่นหลัว
จนยอดไม้ส่ายรัวอยู่ทั่วหน้า
โลกต่ำ-ใบขาบเขียวทุกเรียวคา-
จะออดอ้อนลมถา..อยู่คาพื้น

O ระบำแถวยอดหญ้าตรงหน้านั้น
จะค่อยสั่นใบพลิ้วเป็นริ้วตื่น
เขียวจากฝนฝากตอนจะย้อนคืน-
เป็นแพรผืนโยนระลอกยั่วหยอกลม

O ร้อนจะรุมสุมมาจากฟ้าไหน
เรียวจะไหววาดรับช่วยขับข่ม
รอค่ำคืนน้ำค้างมาพร่างพรม
เพื่อรับฉมชื่นมาลย์..กลิ่นซ่านซ้อน

O กาลย่อมผ่านโดยช่วงของดวงวัน
จากเม็ดพันธุ์แตกหน่อเป็นช่ออ่อน
จนกลีบใบเรียวแรกเริ่มแตก..ชอน-
ไชขึ้นอ้อนออดรู้ฤดูกาล

O ฝน..หนาว..ร้อนรุ่มถึงขุมขน
แล้วเวียนรอบให้ฝน..อีกฝนผ่าน
เพื่อหยัดกลีบเรียวช่อ..ขึ้นรอบาน
พร้อมเรณูหอมซ่านขึ้นหว่านรส

O ช้าเร็ว..มวลผึ้งภู่ย่อมรู้กลิ่น
เมื่อลมรินรวยเท..หันเหบท
คอยดูเถิดอีกประเดี๋ยว..การเลี้ยวลด-
เข้าจ่อจดหวานหอม..จะพร้อมแล้ว

O ฤดูลมพรมพรำ..อยู่ค่ำเช้า
อาจรุมเร้า, อ่อนโรย..จนโชยแผ่ว
รอกวัดใบหญ้าเต้นจนเป็นแนว
ซ้ำบทแล้วบทเล่า..แต่เช้าวัน

O เมื่อสายลมผ่านสู่..ฤดูล่อง
และฟ้าผ่องแผ้วงามสีครามนั่น
ก็เมื่อผิวต้องหนาวจนหนาวครัน
จึงบัดนั้นโลกกว้างย่อมวางรอ

O ให้ฟังเสียงลมเท..มาเห่กล่อม
สูดกลิ่นหอมเรณูที่ชูช่อ
ทั้งเสียงไม้เสียดยอด..แสงทอดทอ-
ลอดพุ่มกอก้านใบ..ที่ไหวรับ

O พอลมล่องลาดเทมาเห่กล่อม
โลกที่ล้อมรอบล้วนคล้ายครวญขับ-
ผ่านบทเพลงร่ายรำ..เพื่อสำทับ-
การเขยื้อนการขยับลำดับนั้น

O ก็ใช่- เป็นเพียงฤดูลม
หมุนรอบมาห้อมห่มให้ซมสั่น
เปลี่ยนผ่านสภาพธรรมเข้าค้ำยัน
ให้จิตใจทั้งนั้นรู้ผันแปร

O เมื่อเม็ดน้ำขาดช่วงจากห้วงหน
เมฆขาวบนฟ้าพลอย..เลื่อนลอยแผ่
เมื่อขาวครามกลมเกลียวให้เหลียวแล
ก็เห็นแต่ภาพงามของยามนี้

O โอบโลกให้งดงามอยู่ท่ามกลาง-
ดวงวันพร่างแสงพร้อยเรียงสร้อยสี
ลมหนาวร่ำสายผ่านลงคว้านตี
เมื่อปีกผีเสื้อลายบินบ่ายย้อน

O ช่องโสตก็จะแว่วเสียงแจ้วเจื้อย-
ของนก, ลมโชยเฉื่อยคล้ายเหนื่อยอ่อน
ผืนแผ่นน้ำครวญครางในต่างตอน
จักซ้ำซ้อนภาพลวงอีกดวงวัน

O ให้มองเห็นลอยดวงบนสรวงฟ้า
ทั้งแจ่มจ้ายิ่งล้ำกลางน้ำนั่น
เท็จ-จริง..ที่มองผ่านก็ปานกัน
ย่อมแปรผันโดยจิต..การคิดตรอง

O ก็ใช่ – ที่เป็นเพียงธรรมชาติ
ทั้งดวงวันโอภาสคอยสาดส่อง
หรือคลื่นน้ำไหลลาดลงฟาดฟอง
และปีกผีเสื้อล่องบนท้องฟ้า

O เห็นไหมเล่ากลีบผการะย้าย้อย
ทุกช่อที่เคยช้อยอยู่คอยท่า
รอฝน..ต้องฝน..หมดฝนพา-
กันอ่อนโรยอ่อนล้า..ซบคาพื้น

O ฤๅ - อาจรู้ลูบโลมด้วยลมหนาว
หรือแสงงามวับวาวจากดาวดื่น
ครั้นสิ้นรอบลมร่ำกลางค่ำคืน
ฤๅ – อาจรู้ฉ่ำชื้นของพื้นดิน

O เพียงกาลผ่านเวียนแล้วเปลี่ยนช่วง
งามทั้งปวงถ้วนบทก็หมดสิ้น
ปีกลวดลายลมโชยเคยโบยบิน
อาจลาถิ่นไพรเถื่อนลับเลือนแล้ว

O ที่ไหนเล่าโลกกว้างและทางแคบ
เพียงหนีบแนบกลีบใบที่ไหวแผ่ว
ที่ไหนเล่าดีร้ายที่ปลายแนว-
ของเทือกแถวดอกมาลย์หอมหวานนั้น

O ก็นั่นแหละรูปธรรมในธรรมชาติ
ลมไหววาดแสงฉายน้ำพรายสั่น
ปีกลวดลายบินหยุด..ดอมบุษบัน
เกสรกลั่นหวานรส..อาจหมดฤๅ

O หากอีกสภาพธรรมในธรรมชาติ
เมื่อลมลาดล่องอยู่อาจรู้หรือ-
ว่าร้อน..ฝน..จนหนาว..อีกหนาวคือ-
การยึดถือตีความเอาตามใจ

O ฤดูลม-ยอดไม้ส่ายไหวอยู่
ปีกลวดลายหรุบชูก่อนลู่ไหล-
ลอดกลีบดอกนุ่มบางแทรกร่างไป
หวานเยี่ยงไรเล่าหนอ..จึ่งพอเพียง ?

O ฤดูลม..หวนระลอก, ดวงดอกไม้-
ก็หอมให้แถวถิ่นรู้กลิ่น, เสียง-
นกไพรเถื่อนก้องกรู..คล้ายอยู่เคียง-
ศัพท์สำเนียงก้องรัว..บางหัวใจ !



จากบล็อกพี่ สดายุ ค่ะ

Group Blog
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •   
  •  
  •  
  •  
  •  
กรกฏาคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
30
31
 
 
All Blog