✎ หวานได้..ไม่ทำร้ายสุขภาพ


จากการวิจัยและศึกษาเรื่องพฤติกรรม การรับประทานอาหารและน้ำของคนไทยล่าสุด จากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) พบว่าคนไทยติดรับประทานหวานมากขึ้น เฉลี่ยรับประทานน้ำตาลกว่า 29 กิโลกรัม/ ปี หรือ 18 ช้อนชา/วัน ทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง มากขึ้นกว่า 30%! ทำให้น่าสังเกตว่า วันหนึ่งเราเติมน้ำตาลลงเครื่องดื่มหรืออาหารกี่ช้อนชา? ปกติคนทั่วไปควรได้รับน้ำตาลไม่เกินวันละ 4-8 ช้อนชา ยิ่งถ้าเป็นเด็กวัยเรียน ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุไม่ควรเกินวันละ 3 ช้อนชา แต่จะให้งดก็คงทำยากอยู่... เมื่อเป็นแบบนี้สารพัดน้ำตาลที่รับประทานทุกวัน มีชนิดใดบ้างที่เลือกทานแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายชนิดที่เรียกว่า “เติมหวานได้แต่ไม่ทำร้ายสุขภาพ” เราลองมาทำความรู้จักคุณค่าน้ำตาลและความหวานกัน



น้ำตาลทราย


แม้น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายแดงให้รสชาติหวานเหมือนกัน คือ 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี หรือเทียบง่ายๆ 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 19 กิโลแคลอรี แต่ให้คุณค่าทางอาหารต่างกัน

     • น้ำตาลทรายขาว ได้มาจากอ้อยแล้วผ่านกรรมวิธีการผลิต ตกผลึกให้เป็นเกล็ดและผ่านการฟอกสี ดังนั้นวิตามินแทบจะไม่หลงเหลืออยู่เลย

     • น้ำตาลทรายแดง ยังรักษาคุณค่าทางวิตามินได้ดีกว่าน้ำตาลทรายขาว เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

แต่ดัชนีน้ำตาลของน้ำตาลทรายและน้ำตาลทรายแดงอยู่ที่ 73-75 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ไม่เหมาะสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนักหรือเป็นโรคเบาหวาน

ถ้าเทียบพลังงานระหว่างน้ำตาลทรายและน้ำอ้อยในปริมาณที่เท่ากัน น้ำอ้อยมีฟอสฟอรัสและให้พลังงานน้อยกว่าน้ำตาลทรายถึง 5 เท่า เพราะน้ำอ้อยมีส่วนผสมของน้ำอยู่มาก แต่มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าน้ำตาลทราย



น้ำตาลปี๊ปหรือน้ำตาลปึก


น้ำตาลปี๊บได้มาจากการเคี่ยวน้ำของยอดทลายอ่อนของมะพร้าวจนกระทั่งเหนียว ข้นและหวาน เป็นเครื่องปรุงติดบ้านคู่ใจแม่บ้านชาวไทยทุกครัวเรือน เพราะนอกจากความหวานแล้ว ยังได้ความหอมอร่อยอีกด้วย น้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี ยังมีคุณค่าและวิตามินบ้าง เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก



นมข้นหวาน


เป็นสารให้ความหวานที่ผลิตมาจากหางนม นำมาเติมน้ำตาลในปริมาณเข้มข้น และดึงไอระเหยจนข้นเหนียว นมข้นหวาน 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี ถ้าเทียบในคุณค่าทางโภชนาการ นมข้นหวานให้พลังงานสูงมาก แต่ยังพอมีโปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี และวิตามินเอ มากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น แต่ก็ไม่เป็นอาหารหลักอยู่ดี ไม่มีคุณค่าทางอาหารเหมือน “นม” ปกติทั่วไป ไม่ควรให้เด็กรับประทานมากๆ เพราะจะทำให้อ้วนและมีผลต่อสุขภาพฟัน



น้ำตาลเทียม


เป็นสารให้ความหวานที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสารให้ความหวานที่เป็นทางเลือก ของคนที่ควบคุมน้ำหนักหรือเป็นเบาหวาน น้ำตาลเทียมที่ขายทั่วไปคือ แซคคาริน แอสปาเทม ซูคาโลส ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติตั้งแต่ 200-600 เท่า แต่ให้พลังงานต่ำ การใช้น้ำตาลเทียมในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มที่บอกว่า “ให้แคลอรี 0” หรือ “ไม่มี น้ำตาล” แต่ยังคงรสหวานได้เหมือนปกติ แต่ก่อนเลือกให้ดูที่ฉลากสักนิด เพราะอาจให้พลังงานหลากหลายตั้งแต่ 0 แคลอรีจนถึง15 แคลอรี/ซอง และสำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม น้ำตาลเทียมบางชนิดสามารถปรุงอาหารขณะร้อนได้ แต่บางชนิดก็ไม่ได้ ต้องยกลงจากเตาก่อน หรือผสมลงในเครื่องดื่มที่ไม่ร้อนจัด มิฉะนั้นความหวานจะหายไป



น้ำผึ้ง


น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 15 กิโลแคลอรี น้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวานต่างจากชนิดอื่นๆ ตรงที่อุดมไปด้วยโปรตีน พลังงาน วิตามินและเกลือแร่ ดัชนีน้ำตาลของน้ำผึ้งอยู่ที่ 55 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ดีต่อสุขภาพมากกว่า น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดง จึงเป็นทางเลือกที่ดีของการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มของคนที่กำลังลดน้ำหนัก ทั้งนี้ก็ไม่แนะนำให้รับประทานเกินวันละ 6 ช้อนชา มิฉะนั้นอาจเป็นผลร้ายต่อสุขภาพแทน



น้ำเชื่อม


เป็นการใช้น้ำตาลมาเคี่ยวผสมกับน้ำจนกระทั่งใส ส่วนใหญ่คนไทยจะใช้ปรุงอาหารหวานหรือเครื่องดื่มต่างๆ น้ำเชื่อมแต่ละชนิดก็ให้รสหวานเข้มข้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ผสม (หวานมากก็ให้พลังงานมากตาม) ส่วนวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นน้ำเชื่อมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ คุณค่าทางอาหารจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ เช่น องุ่น เมเปิลหรือแอปเปิล มักจะมีการเติมสารอาหารบางชนิดลงไปเพื่อขยายผลทางการค้านั่นเอง

เมื่อทราบดังนี้แล้ว ต้องกะปริมาณน้ำตาลให้ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วนหรือความดันโลหิตสูง ยิ่งต้องระวังและมีเป้าหมายในการรักษาจากการดูแลเรื่องโภชนาการ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติเท่าที่จะทำได้ รักษาระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม รักษาน้ำหนักตัวและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ พร้อมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อชีวิตที่มีความสุข

แหล่งน้ำตาลมีทั้งที่มาจากพืชและสัตว์ แหล่งน้ำตาลของพืชจะเป็นพืชที่มีหัว ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่ได้จะแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นปนอยู่ด้วยเช่น โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ พืชที่ให้น้ำตาล ได้แก่ ข้าวชนิดต่าง ๆ เผือก มัน ข้าวโพด อ้อย ตาล มะพร้าว ส่วนแหล่งน้ำตาลจากสัตว์ จะเป็นน้ำตาลในนมและไกลโคเจนที่เป็นพลังานสำรองในส่วนกล้ามเนื้อและตับ เทียบกันแล้วความหวานและปริมาณน้ำตาลจากสัตว์จะมีน้อยกว่าพืช




«- ที่มา yourhealthyguide










Create Date : 26 มีนาคม 2553
Last Update : 27 มีนาคม 2553 10:14:11 น.
Counter : 445 Pageviews.

1 comments
  
เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยง น้ำตาลทราย

คำกล่าวที่ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา ยังคงเป็นความจริง เพราะแม้น้ำตาล จะให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ก็มีผลเสียต่อสุขภาพ เป็นของแถมตามมาอีกหลายโรค ลองดูเหตุผลต่อไปนี้ ก่อนกินน้ำตาลคราวต่อไป

      1. เมื่อเรากินน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลเชิงเดี่ยว (น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง น้ำตาลในผลไม้ น้ำตาลในนม) น้ำตาลจะเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป ร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุล จึงมีการดึงแร่ธาตุจากส่วนต่างๆ ภายในร่างกายมาแก้ไขความไม่สมดุล
      2. ทำให้เกิดไขมันสะสม น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน แต่ถ้ามีมากจนเกินไป ตับก็จะส่งไปยังกระแสเลือด และเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โดยจะสะสมไว้ในส่วนของร่างกาย ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น ขาอ่อน หน้าท้อง
      3. หากยังคงรับประทานน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะสะสมไว้ที่อวัยวะภายในอื่นๆ เช่น หัวใจ ตับ และไต ดังนั้น อวัยวะเหล่านี้จะค่อยๆ ถูกห่อหุ้มด้วยไขมันและน้ำเมือก ร่างกายจะเริ่มผิดปกติ ความดันเลือดจะสูงขึ้น
      4. การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป มีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงหงาวหาวนอน
      5. อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นตะคริวเวลามีรอบเดือน เป็นสิว ผื่น แผลพุพอง ตกกระ แผลริดสีดวงทวาร ไมเกรน เบาหวาน วัณโรค โรคหัวใจ มะเร็งตับ เหล่านี้ล้วนสัมพันธ์ กับการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป
      6. น้ำตาลทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยุ่ ทวีความรุนแรงขึ้น เพราะเชื้อโรคทุกชนิดใช้น้ำตาลเป็นอาหาร
      7. น้ำตาลนอกจากจะมีผลต่อผู้ใหญ่แล้ว ยังมีผลต่อเด็กอีกด้วย เพราะถ้าหากเด็กกินน้ำตาล ในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้เด็กเป็นโรคกระดูกเปราะ และฟันผุได้ และอาจเป็นคนโกรธง่าย ไม่มีสมาธิในสิ่งที่ทำอยู่


«- ที่มา yourhealthyguide
โดย: ไลเดเลีย วันที่: 27 มีนาคม 2553 เวลา:10:13:39 น.

ไลเดเลีย
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



ร้อยรส...กลอนกานท์




O ฤดูลม...O

O ฉับพลันฝนก็เร้นเก็บเส้นสาย
ดวงวันฉายแสงช่วงโลมห้วงหน
ขับความชื้นลบเลือนรอยเปื้อนปน
ลบหมองหม่นแผ่นฟ้าจนพร่าเลือน

O คล้ายเมฆสีเทาทึมเมื่อครึ้มฝน
ถูกแสงสรวงเบื้องบนเข้าปนเปื้อน
ย้อมสีเทาเป็นขาว..เมื่อหนาวเยือน
มาตามเตือนเลื่อนยามให้งามตา

O ลมต้นหนาวเกรียวกรูเสียงวู่ไหว
โลมกิ่งใบไม้ตื่นทั้งผืนป่า
เขยื้อนขยับยวบไหวอยู่ไปมา
เหมือนบอกลาล่วงพ้น..คาบฝนปลาย

O ความเปลี่ยนแปลงผ่านสู่..ให้รู้เห็น
จากเมื่อสีเลื่อนเส้น..แล่นเป็นสาย
เสียงครืนครั่นก้องอยู่ไม่รู้วาย
แปลบปลาบว่ายเวียนย้ำโลมค่ำคืน

O จนฟ้าเปลี่ยนไม้ใบสั่นไหวระริก
น้ำก็พลิกแผ่นผิว..เป็นริ้วตื่น
จึงบัดนั้น..ภูมิทัศน์ก็หยัดยืน
ด้วยสายลมเย็นชื่น..เพื่อฟื้นตัว

O ถึงคราลมเย็นรื่น..วกคืนย้อน-
พรมสายอ่อนโอนระลอกเข้าหยอกยั่ว
ยอดหญ้าเรียวโค้งนั้น..ย่อมสั่นรัว
รอเกลือกกลั้วรับรู้..ฤดูลม

O จากยึดโยงรากแทงลงแหล่งดิน
ตราบฝนรินหยาดหลั่งลงสั่งสม
คลายความชุ่มความชื้นเหนือพื้น, พรม-
ภาวะอันอุดม..ห้อมห่มไพร

O เหยียดยอดเสียดขึ้นแทงรับแรงฝน
ที่คอยหล่นร่วงหยาด..ก่อนลาดไหล
ยืนต้นตั้งเป็นแถว..เป็นแนวไป
รอลมไหววาดวี..จักมีมา

O ไม่นานเลย..จากฝนฟ้าหม่นหลัว
จนยอดไม้ส่ายรัวอยู่ทั่วหน้า
โลกต่ำ-ใบขาบเขียวทุกเรียวคา-
จะออดอ้อนลมถา..อยู่คาพื้น

O ระบำแถวยอดหญ้าตรงหน้านั้น
จะค่อยสั่นใบพลิ้วเป็นริ้วตื่น
เขียวจากฝนฝากตอนจะย้อนคืน-
เป็นแพรผืนโยนระลอกยั่วหยอกลม

O ร้อนจะรุมสุมมาจากฟ้าไหน
เรียวจะไหววาดรับช่วยขับข่ม
รอค่ำคืนน้ำค้างมาพร่างพรม
เพื่อรับฉมชื่นมาลย์..กลิ่นซ่านซ้อน

O กาลย่อมผ่านโดยช่วงของดวงวัน
จากเม็ดพันธุ์แตกหน่อเป็นช่ออ่อน
จนกลีบใบเรียวแรกเริ่มแตก..ชอน-
ไชขึ้นอ้อนออดรู้ฤดูกาล

O ฝน..หนาว..ร้อนรุ่มถึงขุมขน
แล้วเวียนรอบให้ฝน..อีกฝนผ่าน
เพื่อหยัดกลีบเรียวช่อ..ขึ้นรอบาน
พร้อมเรณูหอมซ่านขึ้นหว่านรส

O ช้าเร็ว..มวลผึ้งภู่ย่อมรู้กลิ่น
เมื่อลมรินรวยเท..หันเหบท
คอยดูเถิดอีกประเดี๋ยว..การเลี้ยวลด-
เข้าจ่อจดหวานหอม..จะพร้อมแล้ว

O ฤดูลมพรมพรำ..อยู่ค่ำเช้า
อาจรุมเร้า, อ่อนโรย..จนโชยแผ่ว
รอกวัดใบหญ้าเต้นจนเป็นแนว
ซ้ำบทแล้วบทเล่า..แต่เช้าวัน

O เมื่อสายลมผ่านสู่..ฤดูล่อง
และฟ้าผ่องแผ้วงามสีครามนั่น
ก็เมื่อผิวต้องหนาวจนหนาวครัน
จึงบัดนั้นโลกกว้างย่อมวางรอ

O ให้ฟังเสียงลมเท..มาเห่กล่อม
สูดกลิ่นหอมเรณูที่ชูช่อ
ทั้งเสียงไม้เสียดยอด..แสงทอดทอ-
ลอดพุ่มกอก้านใบ..ที่ไหวรับ

O พอลมล่องลาดเทมาเห่กล่อม
โลกที่ล้อมรอบล้วนคล้ายครวญขับ-
ผ่านบทเพลงร่ายรำ..เพื่อสำทับ-
การเขยื้อนการขยับลำดับนั้น

O ก็ใช่- เป็นเพียงฤดูลม
หมุนรอบมาห้อมห่มให้ซมสั่น
เปลี่ยนผ่านสภาพธรรมเข้าค้ำยัน
ให้จิตใจทั้งนั้นรู้ผันแปร

O เมื่อเม็ดน้ำขาดช่วงจากห้วงหน
เมฆขาวบนฟ้าพลอย..เลื่อนลอยแผ่
เมื่อขาวครามกลมเกลียวให้เหลียวแล
ก็เห็นแต่ภาพงามของยามนี้

O โอบโลกให้งดงามอยู่ท่ามกลาง-
ดวงวันพร่างแสงพร้อยเรียงสร้อยสี
ลมหนาวร่ำสายผ่านลงคว้านตี
เมื่อปีกผีเสื้อลายบินบ่ายย้อน

O ช่องโสตก็จะแว่วเสียงแจ้วเจื้อย-
ของนก, ลมโชยเฉื่อยคล้ายเหนื่อยอ่อน
ผืนแผ่นน้ำครวญครางในต่างตอน
จักซ้ำซ้อนภาพลวงอีกดวงวัน

O ให้มองเห็นลอยดวงบนสรวงฟ้า
ทั้งแจ่มจ้ายิ่งล้ำกลางน้ำนั่น
เท็จ-จริง..ที่มองผ่านก็ปานกัน
ย่อมแปรผันโดยจิต..การคิดตรอง

O ก็ใช่ – ที่เป็นเพียงธรรมชาติ
ทั้งดวงวันโอภาสคอยสาดส่อง
หรือคลื่นน้ำไหลลาดลงฟาดฟอง
และปีกผีเสื้อล่องบนท้องฟ้า

O เห็นไหมเล่ากลีบผการะย้าย้อย
ทุกช่อที่เคยช้อยอยู่คอยท่า
รอฝน..ต้องฝน..หมดฝนพา-
กันอ่อนโรยอ่อนล้า..ซบคาพื้น

O ฤๅ - อาจรู้ลูบโลมด้วยลมหนาว
หรือแสงงามวับวาวจากดาวดื่น
ครั้นสิ้นรอบลมร่ำกลางค่ำคืน
ฤๅ – อาจรู้ฉ่ำชื้นของพื้นดิน

O เพียงกาลผ่านเวียนแล้วเปลี่ยนช่วง
งามทั้งปวงถ้วนบทก็หมดสิ้น
ปีกลวดลายลมโชยเคยโบยบิน
อาจลาถิ่นไพรเถื่อนลับเลือนแล้ว

O ที่ไหนเล่าโลกกว้างและทางแคบ
เพียงหนีบแนบกลีบใบที่ไหวแผ่ว
ที่ไหนเล่าดีร้ายที่ปลายแนว-
ของเทือกแถวดอกมาลย์หอมหวานนั้น

O ก็นั่นแหละรูปธรรมในธรรมชาติ
ลมไหววาดแสงฉายน้ำพรายสั่น
ปีกลวดลายบินหยุด..ดอมบุษบัน
เกสรกลั่นหวานรส..อาจหมดฤๅ

O หากอีกสภาพธรรมในธรรมชาติ
เมื่อลมลาดล่องอยู่อาจรู้หรือ-
ว่าร้อน..ฝน..จนหนาว..อีกหนาวคือ-
การยึดถือตีความเอาตามใจ

O ฤดูลม-ยอดไม้ส่ายไหวอยู่
ปีกลวดลายหรุบชูก่อนลู่ไหล-
ลอดกลีบดอกนุ่มบางแทรกร่างไป
หวานเยี่ยงไรเล่าหนอ..จึ่งพอเพียง ?

O ฤดูลม..หวนระลอก, ดวงดอกไม้-
ก็หอมให้แถวถิ่นรู้กลิ่น, เสียง-
นกไพรเถื่อนก้องกรู..คล้ายอยู่เคียง-
ศัพท์สำเนียงก้องรัว..บางหัวใจ !



จากบล็อกพี่ สดายุ ค่ะ

Group Blog
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •   
  •  
  •  
  •  
  •  
มีนาคม 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
31
 
 
All Blog