<<
เมษายน 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
14 เมษายน 2560

เซอร์ไพร์ส...นาซาพบแหล่งน้ำใกล้โลกอยู่ในระบบสุริยะนี่เอง







ภาพกราฟิกแสดงมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ ว่าน้ำทำปฏิกิริยากับหิน
ที่ก้นมหาสมุทรของดวงจันทร์เอนเซลาดัสอย่างไรจนผลิตก๊าซไฮโดรเจนออกมา
3 ภาพเล๋กด้านล่างจากซ้ายไปขวา (ซ้าย) ปฏิกิริยาระกว่างน้ำและหิน
(กลาง) ปล่องน้ำร้อน (ขวา) ไอที่พ่นจากพื้นผิวภายนอก
(Cr.- NASA/JPL-Caltech)



นาซาแถลงข่าวใหญ่พบ “โลกมหาสมุทร” หลายแห่งอยู่ในระบบสุริยะของเรานี่เอง โดยเฉพาะ “เอนเซราดัส” ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ ที่มีเปลือกน้ำแข็งหุ้ม เป็นโลกมหาสมุทรย่อมๆ ที่มีสภาพเอื้อต่อการดำรงชีวิต ผลงานใหญ่ก่อนทิ้งทวนของยานอวกาศไร้คนขับ “แคสสินี”

องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) แถลงข่าวใหญ่เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.ของวันที่ 14 เม.ย.2017 ตามเวลาประเทศไทย เกี่ยวกับการค้นพบ “โลกมหาสมุทร” ภายในระบบสุริยะของเรา

จากภารกิจของยานอวกาศไร้คนขับ “แคสสินี” (Cassini) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) โดยนักวิจัยซึ่งอาศัยข้อมูลจากภารกิจทั้งสองได้เผยแพร่ผลงานการค้นพบดังกล่าวลงวารสารวิชาการในวันเดียวกันนี้

รายงานจากเอเอฟพีระบุถึงหนึ่งในการค้นพบโลกมหาสมุทรที่สำคัญจากการแถลงข่าวครั้งนี้ว่า “เอนเซลาดัส” (Enceladus) ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ที่มีเปลือกปกคลุมด้วยน้ำแข็งนั้น มีสภาพที่เอื้อต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต

โดยยานแคสสินีได้ตรวจพบโมเลกุงไฮโดรเจนในไอที่พุ่งออกจากรอยแยกของพื้นผิวดวงจันทร์ดวงนี้ ซึ่งนาซาระบุว่าเป็นโลกมหาสมุทรขนาดย่อมที่ปกคลุมด้วยชั้นน้ำแข็งหนาๆ

ไอที่พุ่งออกมาจากดวงจันทร์เอนเซลาดัสนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า น่าจะมีปฏิกิริยาเคมีไฮโดรเทอร์มัลระหว่างแกนหินของดวงจันทร์และมหาสมุทรซึ่งอยู่ใต้เปลือกน้ำแข็งของดวงจันทร์

ซึ่งปฏิกิริยาเดียวกันนี้ที่เกิดขึ้นบนโลกทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ในปล่องน้ำร้อนใต้มหาสมุทรที่แสงแดดส่องไม่ถึง ดังนั้นดวงจันทร์ของเสาร์ก็น่าจะเป็นแหล่งอนุบาลของสิ่งมีชีวิตได้เช่นกัน

ฮันเตอร์ ไวต์ (Hunter Waite) หนึ่งในหัวหน้าทีมวิจัยของการศึกษาเผยว่า ตอนนี้เอนเซลาดัสอยู่ในลำดับต้นๆ ของรายการโลกมหาสมุทรภายในระบบสุริยะที่มีสภาพเอื้อต่อการดำรงชีวิต

สำหรับยานแคสสินีนั้นอยู่ในช่วงปลายภารกิจแล้วเนื่องจากพลังงานเหลือน้อย และบินอยู่ระหว่างดาวเสาร์กับวงแหวนที่ระยะห่าง 2,400 กิโลเมตร ซึ่งนักวิจัยเรียกการค้นพบครั้งล่าสุดนี้ว่า การค้นพบครั้งสำคัญของภารกิจ

ด้าน เจมส์ กรีน (James Green) ผู้อำนวยการแผนกวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของนาซาบอกว่า เราได้ขยับพรมแดนออกไป และเรากำลังค้นพบสิ่งแวดล้อมใหม่ และกำลังคิดในวิถีที่ไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้มาก่อนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในระบบสุริยะของเรา ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตอยู่ในตอนนี้ก็ได้




ภาพแสดงขณะยานแคสสินีบินผ่านไอที่พุ่งจากพื้นผิวดวงจันทร์เอนเซลาดัส
( Cr.NASA/JPL-Caltech)





ภาพไอที่พุ่งจากพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปา (Europa) ห่างกัน 2 ปี คือ ปี 2014
และ 2016 ที่ตำแหน่งเดิม โดยบันทึกด้วยย่านรังสีอัลตราไวโอเลต
โดยกล้องฮับเบิล (NASA/ESA/STScl/USGS




ภาพซ้ายในวงสีเขียวเป็นภาพไอจากพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปาที่กล้องฮับเบิลบันทึกได้ และสอดคล้องข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวบริเวณที่ค่อนข้างร้อนของดวงจันทร์ยูโรปา ซึ่งยานอวกาศกาลิเลโอได้ทำแผนที่อุณหภูมิของดวงจันทร์ไว้
(Cr.NASA/ESA/STScl/USGS)



ขอบคุณ MGR Online



Create Date : 14 เมษายน 2560
Last Update : 14 เมษายน 2560 9:46:16 น. 0 comments
Counter : 1074 Pageviews.  

Letalia
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Letalia's blog to your web]