<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2555
 

ประสบการณ์ชีวิตของ inflight catering คนนึง ตอนที่ 5

ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผมได้พาท่านผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับแผนกครัว อันเป็นหัวใจหลักของสายงานCateringไปแล้ว วันนี้ผมจะพาท่านตะลุยต่อไป ไปดูกันว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่ใช้งานกันนั้นมีอะไรบ้าง จัดอย่างไร ที่ีไหน ....วันนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านไปแอบดูแผนก Equipmentครับ

Episode V :นู่น นี่ นั่น....

เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับอาหารการกินบนเครื่องบินนั้น ไม่ใช่น้อยๆเลยครับ ไล่ไปตั้งแต่สำหรับใส่อาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับอุ่นอาหาร เก็บอาหารมื้อที่สอง ฯลฯ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินของสายการบินครับ หาใช่ของฝ่ายCateringไม่ทีนี้เดี๋ยวเรามาดูกันครับ ว่าอุปกรณ์เกี่ยวกับอาหารการกินบนเครื่องบินนั้น มีอะไรบ้าง

- Cart หรือตู้คาร์ทอาหาร เอาไว้ใช้สำหรับบรรจุถาดอาหาร เครื่องดื่ม ช้อน ส้อม หรือบางครั้งก็สินค้าปลอดภาษี(นานๆครั้งก็จะมีลูกเรือแอบเอากระเป๋ามาใส่) แล้วแต่สายการบินว่าต้องการจะนำตู้ไปใช้ทำอะไร โดยแต่ละตู้จะมีป้ายหน้าตู้ระบุหมายเลข ตำแหน่งที่จะโหลดตู้ รวมถึงรายละเอียดของต่างๆที่อยู่ภายในให้ผู้ใช้งานได้ทราบด้วย



- OvenInsert หรือเตาอาหารร้อน(ขอเรียกย่อๆว่าovenครับ) มีหลายขนาดครับ แล้วแต่ว่าสายการบินจะเลือกใช้ยี่ห้อไหน ลักษณะก็จะเป็นโครงโลหะมีถาดวางอาหารร้อนใส่ไว้ 7 ชั้นบ้าง 8 ชั้นบ้าง ใช้เพื่อบรรจุอาหารร้อนที่พร้อมจะอุ่นร้อนให้บริการทันทีที่เครื่องบินออกเดินทาง โดยเครื่องบิน 1 ลำอาจใช้ oven ตั้งแต่ 2-15 ตัว แล้วแต่ขนาดและจำนวนที่นั่งของเครื่องบินแต่ละลำครับ


เช่น Boeing 737-400 จุผู้โดยสารได้ 150 ที่นั่ง สายการบินอาจสั่งติดตั้ง oven แบบจุ 32 ที่ จำนวน 5 ตัว รวมบรรจุอาหารได้ 160ที่ โดยแบ่งติดตั้งในครัวหน้า 2 ตัว และครัวหลังตรงท้ายลำอีก 3 ตัว เป็นต้น

- TraySetup หรือชุดถาดอาหาร จะประกอบไปด้วยหลักๆเลยคือ ถาดอาหาร(Tray),ชุดช้อนส้อม(CutlerySet), ถ้วยสลัด(Salad Bowl), ถ้วยผลไม้(FruitBowl), ถ้วยกาแฟ(Coffee cup) เป็นต้น ทั้งนี้แตกต่างกันไปตามมาตรฐานของแต่ละสายการบิน ตัวถาดอาหารจะออกแบบมาให้มีขนาดความกว้างพอดีกับตู้คาร์ท ทำให้สามารถใส่ได้พอดีครับ ชุดช้อนส้อมและถ้วยต่างๆมีทั้งแบบใช้แล้วทิ้ง และแบบสเตนเลสหรือพลาสติกอย่างดี สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แล้วแต่สายการบินอีกเช่นกัน




- Glass แก้วชนิดต่างๆ ทั้งสำหรับใส่น้ำเปล่า น้ำผลไม้ ไวน์ วิสกี้ บรั่นดี เพียบครับ แก้วพวกนี้ส่วนมากสำหรับชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่ง เพราะดูหรูหราสวยงาม อีกทั้งเพราะแก้วมันแตกง่าย ถ้านำไปใช้กับชั้นประหยัด เดี๋ยวจะมีแก้วเสียหายจำนวนมาก ดังนั้นส่วนมากชั้นประหยัดจะบริการด้วยถ้วยกระดาษหรือไม่ก็พลาสติกครับ

- Containerหรือ Box เป็นกล่องโลหะสำหรับใส่ของจิปาถะเอาไว้ใช้บนเครื่องบินครับ ทั้งซองซอสเกลือ ขวดกาแฟ กล่องชา กระดาษทิชชู่ ช้อนส้อม แผ่นรองนั่งส้วม น้ำยาทำความสะอาด อาหารร้อนมื้อต่อไป หรือบางครั้งก็มีกระเป๋าสตางค์ของลูกเรือหลงมาเหมือนกัน box นี้จะสามารถใส่เข้าไปในช่องเก็บมีล๊อคกันตกที่ออกแบบมาเรียบร้อย ซึ่งจะอยู่ในครัวซะส่วนใหญ่ครับ




- Drawer เป็นเหมือนตัวลิ้นชักใส่ของที่สามารถจะใส่เข้าไปในคาร์ทอาหารหรือ box ได้พอดีครับ มีเอาไว้เพิ่มฟังชั่นการใช้งานของทั้งคาร์ทและboxขึ้นไปอีก ถ้าในตู้คาร์ท ก็อาจใส่ drawer เข้าไปเพื่อให้สามารถวางขวดเครื่องดื่มที่จะเสิร์ฟออกไปพร้อมๆกับบริการอาหารได้เลยพร้อมกัน หรือถ้าเอาใส่boxก็ทำให้สามารถเก็บของในboxได้ 2 ชั้นเป็นต้น

ทั้งหมดที่ผมยกตัวอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ equipment ที่ต้องใช้ในการบริการบนเครื่องบินครับ หากจะไล่กันทั้งหมดนี่ตอนเดียวคงไม่จบ ผมจึงยกตัวอย่างของหลักๆที่เราคลุกคลีกันประจำมาให้ท่านผู้อ่านได้พอจะรู้จักกันบ้าง equipmentทั้งหมดนั่นจะมีการหมุนเวียนใช้งานไปเรื่อยๆ ของใหม่ที่จัดเสร็จเรานำไปโหลดขึ้นเครื่อง ขณะเดียวกันเราก็นำequipment ที่ใช้สกปรกแล้วบนเครื่องนำกลับมาล้างทำความสะอาด เตรียมเอาไว้ใช้สำหรับไฟลท์ต่อไป เป็นเช่นนี้เสมอครับ ของสิ่งไหนเกิดชำรุด เสียหาย ตกแตก ทางสายการบินจะจัดส่งของใหม่มาทดแทนของที่เสียไปแทบจะทันทีที่เรามีการร้องขอไป

Equipmentที่มากมายก่ายกองของแต่ละสายการบินที่มาใช้บริการกับเราทำให้เราต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บอย่างกว้างขวาง แบ่งแยกตามสายการบินของใครของมันและห้ามนำมาใช้ปนกันโดยเด็ดขาดครับ เพราะหากนำมาใช้ปนกัน สายการบิน A อาจเกิดปัญหามีของไม่พอใช้แต่สายการบิน B จะมีของเกินกว่าปรกติอีกทั้งโลโก้สายการบินที่ติดอยู่กับของชิ้นๆต่างก็จะไม่ใช่ของตัวเองฉะนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่าย Equipment ที่จะต้องจัดระเบียบการจัดเก็บของทุกชนิดรวมถึงทำบัญชีรายชื่อและจำนวนของอุปกรณ์ต่างๆของแต่ละสายการบินให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบกับระบบงานโดยรวมครับ


หน้าที่ต่อมาคือการนำสิ่งของต่างๆแจกจ่ายไปยังแต่ละแผนกเพื่อจัดเตรียมของ เช่น oven ส่งไปแผนกครัวร้อน, ตู้คาร์ทถาดอาหาร ถ้วยต่างๆ ส่งไปแผนกครัวเย็น, box ส่งไปแผนก store เป็นต้นส่วนตัวแผนก equipment เองก็ต้องจัดเตรียมแก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าต่างๆ บรรจุใส่คาร์ทหรือboxตามเอกสารคู่มือที่ได้รับจากทางสายการบินเสร็จแล้วก็นำไปส่งฝ่าย Transport เพื่อจัดส่งต่อไป

เป็นอย่างไรบ้างครับตอนนี้ผมหวังว่าท่านผู้อ่านคงพอนึกภาพออกบ้างนะครับ ว่าการทำงานของแผนกequipment นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับตอนต่อไป จะเป็นคิวของฝ่ายคลังสินค้าหรือStore จากนั้นก็ฝ่ายสุดท้าย ก็คือ Transport ครับ

สำหรับท่านที่นึกภาพไม่ออกและต้องการถาม หรือต้องการแสดงความคิดเห็น สามารถติดต่อผมได้ที่ tnt_boom01@hotmail.comครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

Kwae...




Create Date : 25 เมษายน 2555
Last Update : 25 เมษายน 2555 0:48:27 น. 0 comments
Counter : 7927 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Kwae
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add Kwae's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com