เวลาเดินเท่ากันทุกคนแต่หัวใจเราเต้นไม่เท่ากัน ...

<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
5 กันยายน 2553
 

ค่าเงินบาทกับมาตรการของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในอดีต

ผมได้อ่านข่าวค่าเงินบาท ที่ผมคิดว่า นักลงทุน ควรจะต้องเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น กว่าทุกๆช่วงในปีสองปีที่ผ่านมา ผมขอคัดลอกข่าวบางส่วนเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทในวันศุกร์ที่ผ่านมา

“ค่าเงินบาทวันที่ 3 กันยายน 2553 เปิดตลาดที่ระดับ 31.14-31.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างวันค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง จากการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูมาตรการของรัฐในการดูแลค่าเงินบาทแต่เมื่อยังไม่มีมาตรการใดๆออกมาจึงมีการเทขายเงินดอลลาร์ต่อเนื่อง เป็นผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุด ที่ระดับ 31.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 31.14-31.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติแข็งค่ามากกว่า 29 เดือน”

ลองดูกราฟค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่มีการลอยตัวค่าเงินบาท
(วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่รัฐบาลขณะนั้นประกาศใช้นโยบายลอยตัวค่าเงินบาท เพราะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในกระเป๋าของแบงก์ชาติหดหายไปจากการปกป้องค่าเงินบาท จนเหลือจริงๆ ไม่กี่พันล้านเหรียญสหรัฐ)




ขยายภาพช่วง 29 เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า : ค่าเงินบาทเรามาสัมผัสจุดแข็งค่าที่สุดในรอบ 29 เดือน





ผมเริ่มค้นหาประเด็นที่เป็นเหตุของการทำให้ค่าเงินแข็งในช่วงที่ผ่านมาก่อน จากการอ่านข่าวต่างๆก็พอจะสรุปปัจจัยหลักๆ จาก 3 ปัจจัย ได้แก่
- ความอ่อนแอของเงินดอลลาร์ฯ
- แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกอันเนื่องมาจากดุลการค้าที่บันทึกยอดเกินดุลสูง
- และกระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเชีย


อาจจะมีปัจจัยอื่นๆอีกแต่เอาหลักๆไว้ก่อน ถ้าลงรายละเอียดจะยาวมาก เลยขอข้ามไปก่อนแต่ให้เห็นภาพคร่าวๆ
เมือค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ย่อมส่งผลกระทบหลายๆด้าน ที่พอจะนึกได้ ก็มีเช่น

-จะช่วยลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยให้รักษาเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือ การป้องกันมิให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จนทำให้เกิดการเก็งกำไรทั้งในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและในตลาดทุน
เพราะท้ายสุดแล้ว การเก็งกำไรจะนำไปสู่ การเกิดภาวะ ฟองสบู่ในตลาดทุน (เคยเขียนไว้แล้วในblog ที่ว่า ถ้า GDP เราไม่เติบโตเพียงพอ การมี Market Capitalization ที่มากหรือสูง ก็จะแปรสภาพคล้ายๆ ภาวะฟองสบู่)

-ในแง่ของการส่งออกของประเทศ สิ่งที่ต้องระวังคือ การมีค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วกว่าเงินสกุลอื่นๆและ เมื่อไร การส่งออกมีปัญหาก็จะมีผลโยงไปถึงการผลิตภายในประเทศ โยงถึงแรงงาน และโยงไปถึงการเติบโตของGDP ในท้ายสุด (และเมื่อมีผลกระทบต่อ GDP ก็มีผลต่อความสัมพันธ์กับตลาดทุนด้วย)

......
จุดที่น่าสนใจ คือนับตั้งแต่ตอนนี้ ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีมาตรการอะไรออกมาในการดูแลเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งมากขึ้นไปเรื่อยๆ (หรือนี่คือ ความจงใจ : P )
เพราะเท่าที่ผ่านมา เราจะเห็นมาตรการต่างๆก็มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไม่มากก็น้อย !


อาวุธของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการดูแลค่าเงินบาท ที่ผ่านมา ที่เคยนำมาใช้ ก็มี

1 อัตราดอกเบี้ย
ในช่วงครี่งปีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เริ่มใช้มาตรการนี้ เพื่อทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอตัวลงบ้าง จากตัวอย่างกราฟในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นว่า เมื่อ ธปท.ในช่วงการปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น จะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก



2.การแทรกแซงค่าเงินโดยเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์
ซึ่งในส่วนนี้ก็จะอาจจะทำให้มีปัญหาเงินเฟ้อตามมาได้ทำให้ ธปท.ต้องออกพันธบัตรมาดูดซับและมีภาระดอกเบี้ย ซึ่งในกรณีนี้หาก ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วยก็จะทำให้ภาระดอกเบี้ยของ ธปท.ลดน้อยลง
สิ่งที่น่าสังเกตคือ การคาดหวังให้ธปท.แทรกแซงหรือกดดันเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่านั้น เมื่อเรามองย้อนไปในปี 2550 แม้ว่า ธปท.จะเข้าซื้อเงินตราต่างประเทศจนเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ค่าเงินบาทก็ยังแข็งค่าขึ้นราว 9% (ข้อมูลมาจาก //www.108acc.com/index.php?mo=3&art=391338 ) ดังนั้นสิ่งที่ ธปท.ทำได้ในเรื่องของการแทรกแซงก็คือ น่าจะเป็นการทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในระดับใกล้เคียงกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค และก็จะได้ส่งผลกระทบต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ของประเทศไทยไม่มากนัก

3. ธปท.สามารถนำมาใช้ในการดูแลค่าเงินบาทคือการมีมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าซึ่งจริงๆ แล้วการใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้านั้นสามารถใช้ได้ในระดับหนึ่งแต่ต้องค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวัง และรอบคอบ ไม่ให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนในตลาดแตกตื่น เคยมีตัวอย่างมาตรการที่ออกมาอย่างเฉียบพลันทำให้ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศคาดไม่ถึงจนเกิดความปั่นป่วนขึ้น เช่น
วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ทางการได้ออกมาตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้า 30 เปอร์เซ็นต์ มีผลให้ SET ตกวันเดียว 108 จุด มูลค่าตลาดหุ้นเสียหาย 8.1 แสนล้านบาท




เราต้องมาติดตามกันดูว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มปล่อยอาวุธอะไรออกมาในช่วงต่อไปนี้ในสามอาวุธนี้หรือ มีอาวุธใหม่ๆออกมา ถ้าค่าเงินบาทเรายังแข็งค่าต่อไปเรื่อยๆ
แน่นอนที่กล่าวมาทั้งหมด ย่อมมีผลกระทบต่อ ตลาดหุ้น ดัชนีหุ้น ได้เช่นกัน

ปล. ผู้เขียนไม่ได้สันทัดด้านการเงินเพียงแต่ขอแชร์ไอเดียและแสดงมุมมองที่น่าสนใจ
ผิดพลาดประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยครับ




 

Create Date : 05 กันยายน 2553
6 comments
Last Update : 5 กันยายน 2553 16:14:02 น.
Counter : 6116 Pageviews.

 
 
 
 
ถ้าไม่ได้สันทัดเรื่องการเงิน ถือว่า เป็นการ summary ที่มีฝีมือมาก...อ่านเข้าใจง่าย...ขอบคุณมาก
 
 

โดย: Mr.X IP: 172.20.2.8, 110.164.239.87 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:21:10:08 น.  

 
 
 
thank you very much much
 
 

โดย: jmb IP: 110.49.193.95 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:22:27:28 น.  

 
 
 
อ่านเข้าใจง่ายดี ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: coffee4you IP: 125.26.16.51 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:9:14:21 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับสำหรับคำติชม

ด้วยความที่ไม่สันทัด จึงตอ้งหาข้อมูลและเขียนให้ตัวเองเข้าใจด้วย เขียนยากๆ ก็เดียวกลับมาอ่านวันหลัง งง ครับ
5555
 
 

โดย: kunjoja IP: 118.173.95.232 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:9:54:40 น.  

 
 
 
เมื่อก่อนเคยภาวนาให้มันลงมา 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อีกครั้ง
แต่ตอนนี้ไม่ล่ะ ช่วยกลับไป 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทีเถอะ สาธุ..
 
 

โดย: แมน IP: 61.90.9.13 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:12:47:15 น.  

 
 
 
ดีจ้า เข้าใจง่ายดี
 
 

โดย: MW IP: 110.164.132.15 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:17:37:06 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kunjoja
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add kunjoja's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com