เวลาเดินเท่ากันทุกคนแต่หัวใจเราเต้นไม่เท่ากัน ...

<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
5 มิถุนายน 2554
 

เรียนรู้ตัวเองจากการลงทุนในหุ้น

ระยะหลังผมเริ่มรู้สึกได้ว่า port การลงทุนนั้น เป็นอะไรที่บ่งบอกถึงตัวของเราเองได้อย่างดี
หลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน ส่วนหนึ่งคือ ได้ค้นพบว่าตัวเองนั้นควรจะมีแนวทางการลงทุนในลักษณะไหน…..
จากประสบการณ์ หลายๆอย่าง ทำให้ผมคิดมุมมองบางอย่าง ว่า เราเคยทดสอบและสนใจกับสิ่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน และมันมีผลหรืออิทธิพลต่อการลงทุนเรามากน้อยแค่ไหน

1.คุณอยากเป็นนักเก็งกำไร หรือ ตอ้งการที่จะออมเงิน
เกรแฮม เคยกล่าวไว้ว่า “ หุ้นมีคุณสมบัติของการลงทุนและการเก็งกำไร ”
ผมนึกถึง สุภาษิตไทยประโยคหนึ่ง ที่บอกว่า ดาบสองคม อยู่ที่เราเลือก
และก็ไม่แปลกใจเท่าไรนักที่มีคนนอกตลาดหุ้นบอกว่า คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น ที่เค้ามองว่า ตลาดหุ้นก็คือแหล่งการพนันที่ถูกกฎหมายของคนรวย
การเล่นการพนัน ตัวแปรสำคัญคือ ความกล้า และความโลภ เมื่อไรเรานำมาใช้ในตลาดหุ้นอย่างไม่ถูกต้อง เราก็เปรียบเสมือน เรานำหุ้นมาใช้เป็นเครื่องมือการพนัน อย่างหนึ่ง
จุดที่บอกว่าเป็นการพนันหรือ การลงทุน มีหลายๆคนมองแค่พลิกฝ่ามือ ไปมา ก็เปลี่ยนมุมมองได้
เช่นกัน การที่เราซื้อหุ้นด้วยใจการลงทุน ออมเงิน แต่มันสามารถพลิกเป็นการพนันได้ เพียงแค่เปลี่ยนมุมมอง และแค่คลิกด้วยความคิดบางอย่าง เช่น ความไม่แน่นอนของตลาดหุ้น ที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพตามที่เราคาดหวัง การวางเป้าหมายที่ขาดความอดทนต่อการรอคอย การเปรียบเทียบผลตอบแทนของเรากับผู้อื่น การที่หวั่นไหวต่อสิ่งที่กระทบต่อบริษัที่เราลงทุนด้วยเหตุผลต่างๆในระยะสั้น
ท้ายสุด เมื่อเรา เปลี่ยนความคิดเพียงชั่วระยะเวลาสั้นต่อหุ้นที่เราลงทุน เราก็อาจจะเปลี่ยน จากการลงทุนมาเป็นการเก็งกำไร และท้ายสุด ก็ไม่ต่างจากคนที่เล่นพนัน
ผมเคยสังเกตเห็นคนที่เล่นพนัน หลายๆคน ก็พยายามหาเหตุผลต่างๆ เพื่อนำไปสู่การได้สิง่ที่ตัวเองต้องการ เช่น การนำสถิติต่างๆมาวัดเพื่อหาโอกาสความน่าจะเป็นที่เลขจะออก หรือ การศึกษาดูม้าแข่งที่จะวิ่งว่า ปัจจัยไรท่ำให้ม้าตัวนี้ พลาดหรือ ชนะ การฟังเสียงคลิกที่ลงน้ำหนักแตกต่างกันของลูกเต๋าในถ้วยภาชนะปิด เพื่อสันนิษฐานว่า จะออกเลขอะไร
แม้กระทั่งการเล่นไพ่ที่อาศัยการสังเกตผู้เล่น ปฎิกิริยา หรือแม้แต่การจดจำไพ่เท่าที่จะทำได้
ทั้งหมด ก็คือทักษะ เพื่อนำไปสู่การชนะ ของเกมส์ๆนั้น
อ่านแล้ว รู้สึกอะไรไหม ทั้งหมดนี้คือศาสตร์ ที่มาใช้ในเกมส์ต่างๆ และเช่นกัน ตลาดหุ้น จึงเป็นแหล่งรวมของศาสตร์ ทักษะ และแนวทาง วิธีการของการเล่นเกมส์ต่างๆ อย่างครบครัน
ไม่ว่าจะเป็น การใช้ข้อมูลอดีต มาแปรเป็นตัวเลขต่างๆ การดูvolumeของหุ้น การรับฟังข่าวสารต่างๆ การดูปฎิกิริยาของตลาดของหุ้น เพื่อให้เห็นอารมณ์ของนักลงทุน ณ ขณะนั้น

ที่เขียนมา เพื่อบอกอะไร !
ก็แค่เพียงบอกว่า เรามีสิ่งเร้าต่างๆมากมายให้เราเรียนรู้ ในตลาดหุ้นตลอดเวลา เพื่อให้เราได้หยิบฉวยอย่างง่ายดายกับสิ่งที่เรียกว่า เครื่องมือในการเล่นเกมส์ โดยมีผลลัพธฺของเกมส์นั้นก็คือ ราคาหุ้น และตรรกะ อย่างหนึ่งที่แฝงในใจลึกๆของคนทุกๆคนก็คือ ความกลัว และ ความโลภ โดยเราเอาราคาหุ้นที่เราซื้อหุ้นไว้ เป็นตัวชี้วัดให้กับตัวเรา ในการสร้าง ความโลภ และความกลัว ถ้าราคาหุ้นขึ้นไปมากๆ เราก็เต็มไปด้วยความโลภ และราคาหุ้นลงไปมากๆ ก็ชี้ไปยังความกลัวในใจของเรา

เราเกิดความกลัวหรือความโลภ มาจาก การยึดมั่น ตัวกู เป็นของกู ตลอดเวลา

เงินของเรา หดหายไป งอกเงยเพิ่มขึ้น

ทั้งหมด คือสิ่งที่แฝงในธรรมะ ว่า ทุกสิ่งย่อมมีเกิดและหายไป


2.คุณอยากเป็นนักลงทุนที่มีหลักการ หรือ ได้เหตุผลจากสิ่งเร้าภายนอก

ไม่ว่าคุณจะใช้หลักการจาก การเป็นวีไอ เทคนิคคอล หรือ VS ก็ตาม จุดหลักๆก็คือ คุณได้ใช้หลักการนี้อย่าง ถูกต้อง และ มั่นคงเพียงใด
เหตุผลหนึ่ง ที่เป็นความเสี่ยงของทุกๆหลักการก็คือ ความผิดพลาด ที่เบี่ยงเบนไปจากหลักการ
ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะลงทุนแนวไหน ความเสี่ยง ที่สำคัญที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ คุณได้ผิดพลาดจากตัวคุณเอง
บัฟเฟตต์เคยกล่าวไว้ว่า “ ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นนั้นไม่ได้อยู่ที่ ราคาหุ้นที่ผันผวนไปมา แต่อยู่ที่ตัวเราเองต่างหากที่ดันไปคำนวณมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทผิดจากความเป็นจริงด้วยอคติและความละโมภของเราจากสิ่งยั่วยวนหรือสิ่งเร้าต่างๆที่เข้ามากระทบกับโสตประสาทเรา ’’


3.คุณมีความมุ่งมั่น หรือ แค่ฉาบฉวย
ถ้าคุณซื้อหุ้นที่บอกต่อกันมาหรือที่เค้าเรียกกันว่า ลอกการบ้าน แล้ว คุณไม่ได้ขวนขวายที่จะศึกษาในหลักการที่ตนเองถนัด เพื่อที่จะให้การบ้านนั้นเป็นบทเรียนใหม่ของตัวเอง ก็ย่อมเป็นแค่ การลอกการบ้าน มันก็ยิ่งตอกย้ำให้กับตัวคุณเองว่า นิสัยที่ทำนั้นก็เป็นเพียงต้องการอะไรได้มาง่ายๆ และสบายๆ เมื่อ ได้อะไรมาง่ายๆ โดยไม่ได้ศึกษาด้วยตนเอง สุดท้ายแล้ว เราก็เต็มไปด้วยความโลภและความกลัว จากการที่ไม่รู้อะไร
การลงทุนแบบโฟกัส (ลงทุนน้อยตัว) น่าจะตอบโจทย์เรื่องของความมุ่งมั่นได้ดี มากกว่าการที่คุณลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงที่มากเกินกว่าจะศึกษาหาความรู้ได้
แต่ก็เช่นกัน แม้คุณลงทุนน้อยตัว แต่ขาดการศึกษาหาความรู้ในธุรกิจนั้นๆ ก็ไม่ต่างจากคนที่ลงทุนกระจายความเสี่ยงไปเยอะๆ (ถ้าเป้นเช่นนั้นจริง การกระจายไปหลายๆตัว ย่อมน่าจะดีกว่า )


4.คุณพร้อมที่ยอมรับข้อผิดพลาดตัวเองหรือว่า ดื้อด้าน คิดว่าตัวเองสุดยอดที่สุดแล้ว

เมื่อไรที่ เราคิดต่างจากคนอื่น ไม่ว่ากรณีใดๆ บางที ณ ขณะจิตนั้น เราก็เห็นตัวเราเป็นใหญ่ ถูกต้องเสมอ
แต่สุดท้าย คนที่ชนะตัวเองได้ ก็คือคนที่ กลับมาคิดว่า สิ่งที่ตัวเองคิดหรือสิ่งที่ตัวเราเชื่อนั้น ถูกจริงหรือไม่

คำตอบ ของโจทย์นี้ ไม่ได้ค้นหา ความผิด แต่เป็นการค้นหาว่า เราพร้อมที่จะยอมรับความเชื่อ ความรู้ใหม่ๆที่เข้า




 

Create Date : 05 มิถุนายน 2554
1 comments
Last Update : 5 มิถุนายน 2554 9:29:39 น.
Counter : 3157 Pageviews.

 
 
 
 
ว่าแต่เขียน svi part สามเสร็จนานแล้วแต่รู้สึกว่ายังขาดๆเกินๆ ยังมีอะไรบางอย่างที่อยากเติมลงไป เลย ขอ hold ไว้ก่อน ถ้าใครเป็นแฟนพันธ์แท้ของ svi ยังไงๆ ก็คงถือกันอีกนาน ^ ^
 
 

โดย: kunjoja วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:9:24:58 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kunjoja
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add kunjoja's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com