ชอบกิน ชอบเที่ยว แต่มะมีตังค์ รูปภาพ
เพลงฮิต เกมส์ เกมส์ปลูกผัก เกมส์ทําอาหาร
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
2 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
ชาติมหาอำนาจฝรั่งเศส

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นเวลาปลายรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสที่เคยยิ่งใหญ่ค่อยๆ เสื่อมลงเนื่องจากการขัดแย้งระหว่างคนในประเทศที่นับถือศาสนาต่างกัน และการเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เช่น พระราชวังแวร์ซายที่งดงามหรูหราและการบำรุงกองทัพเพื่อเสริมสร้างอำนาจของพระองค์ ความเสื่อมที่สำคัญเกิดจากการที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศผิดพลาด การขยายอำนาจในยุโรป ซึ่งทำให้อังกฤษคิดว่าฝรั่งเศสได้ทำลายดุลย์อำนาจในยุโรป ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่ออังกฤษ จึงทำให้ทั้งสองประเทศเกิดความขัดแย้ง จนกลายเป็นสงครามที่เรียกว่าสงครามชิงราชสมบัติสเปน (1702-1713) เมื่อสงครามสงบลง ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ถูกจำกัดการยึดครองดินแดนบนภาคพื้นยุโรปทั้งยังต้องยกอาณานิคมในอเมริกาเหนือให้แก่อังกฤษ ได้แก่ นิวฟาวด์แลนด์และดินแดนบริเวณปากน้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ทั้งยังต้องรับรองว่าดินแดนบริเวณปากแม่น้ำฮัตสันเป็นของอังกฤษ ดังนั้นฝรั่งเศสจึงเหลืออาณานิคมในอเมริกาเหนือเพียงแค่ควิเบกในแคนาดาและหลุยส์เซียนา จึงเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสในรัชกาลต่อมาพยายามกอบกู้เกียรติภูมิของชาติกลับคืน ดังนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติของพระองค์ให้เป็นกษัตริย์โปแลนด์แทนกษัตริย์องค์เดิมที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซีย เมื่อค.ศ. 1733 ทำให้รัสเซียและออสเตรียที่มีอิทธิพลในโปแลนด์มาก่อนไม่พอใจ จึงแต่งตั้งกษัตริย์โปแลนด์ขึ้นอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นฝรั่งเศสจึงร่วมกับสเปนทำสงครามกับออสเตรีย ทำให้ฝรั่งเศสและสเปนได้รับดินแดนเพิ่มขึ้นเหตุการณ์นี้ทำให้เกียรติภูมิของฝรั่งเศสสูงขึ้น ฝรั่งเศสยังคงหาทางเพิ่มพูนอำนาจและสกัดกั้นไม่ให้ชาติอื่นมีอำนาจเพิ่มขึ้น โดยฝรั่งเศสสนับสนุนให้เจ้าผู้ครองนครที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสอ้างสิทธิในราชสมบัติออสเตรีย ในขณะที่ออสเตรียกำลังเผชิญกับอิทธิพลของฝรั่งเศสอยู่นั้น พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนีได้ยกทัพยึดดินแดนบางส่วนของออสเตรีย เมื่อ ค.ศ. 1740 กองทัพออสเตรียสู้ไม่ได้ ฝรั่งเศสจึงยกทัพโจมตีออสเตรียและเนเธอร์แลนด์ ทำให้ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับออสเตรีย เช่น อังกฤษเข้าช่วยเหลือออสเตรียและเนเธอร์แลนด์ ส่วนสเปนช่วยเหลือฝรั่งเศส

สงครามที่เกิดขึ้นที่ยุโรปได้ส่งผลให้เกิดสงครามที่อาณานิคมด้วย ดังเช่นอังกฤษส่งกองทัพปิดล้อมแหล่งผลิตน้ำตาลของฝรั่งเศสและสเปนในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกในอเมริกาใต้ และมีการสู้รบที่อาณานิคมในอเมริกาเหนืออังกฤษยึดป้อมบริเวณปากแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ของฝรั่งเศส ส่วนฝรั่งเศสยึดป้อมอังกฤษที่เมืองมัทราทที่อินเดีย เป็นต้น ในที่สุดสงครามชิงราชสมบัติออสเตรียสิ้นสุดลงแต่ฝรั่งเศสไม่พอใจที่ได้ประโยชน์จากการทำสงครามครั้งนี้น้อย ในขณะที่อังกฤษได้สิทธิในการส่งทาสจากแอฟริกาไปขายในอาณานิคมสเปน ฝ่ายอังกฤษมีความคิดว่าจะต้องหาทางลดอำนาจกองทัพเรือของฝรั่งเศสให้ได้ ความไม่พอใจระหว่างสองชาติเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดสงครามเจ็ดปี ระหว่าง ค.ศ. 1756-1763 ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซียและออสเตรีย สงครามครั้งนี้สืบเนื่องจากการสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษในอาณานิคมอเมริกา ที่เรียกว่าสงครามพระเจ้าจอร์จ ค.ศ. 1754-1758 เนื่องจากพระเจ้าจอร์จแห่งฝรั่งเศสทรงโปรดให้ยึดที่ราบโอไฮโอ ชาวอาณานิคมอังกฤษจึงต่อสู้เพื่อแย่งชิงที่ราบแห่งนี้ ทำให้สงครามลุกลามมาถึงยุโรปสำหรับที่อินเดีย ฝรั่งเศสและอังกฤษต่างสนับสนุนเจ้าผู้ครองนครแต่ละฝ่ายให้ทำการสู้รบติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยผลัดกันแพ้ชนะ จนกระทั่งสงครามเจ็ดปีได้สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้อังกฤษในทุกสมรภูมิจึงต้องยอมทำสนธิสัญญาปารีส เมื่อ ค.ศ. 1763 ผลของสนธิสัญญานี้ ฝรั่งเศสต้องยกดินแดนในอเมริกาเหนือบริเวณปากแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ในแคนาดาให้อังกฤษ และดินแดนลุ่มน้ำมิสซิสซิปปี้ให้สเปน เพื่อทดแทนดินแดนฟลอริดาที่สเปนต้องยกให้อังกฤษ ผลก็คืออิทธิพลของฝรั่งเศสในอเมริกาเหนือลดลง สำหรับดินแดนในเอเชีย ฝรั่งเศสต้องยกอาณานิคมฝรั่งเศสในอินเดียให้อังกฤษโดยอังกฤษยอมให้ฝรั่งเศสมีสถานีการค้าเฉพาะที่เมืองปอนดิเชอรีและจันทรนครตั้งอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออก ส่วนในแอฟริกาฝรั่งเศสต้องยกดินแดนเซเนกัลให้อังกฤษ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้ระบบเก่า (Oid Regime) ของฝรั่งเศสไม่อาจรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ เพราะแต่เดิมระบบเก่าที่ให้อำนาจและอภิสิทธิ์แก่ชนชั้นเจ้าขุนนางและพระชั้นผู้ใหญ่ เช่น การยกเว้นภาษีเพื่อตอบแทนที่ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง แต่บัดนี้บุคคลเหล่านั้นยังคงมีอภิสิทธิ์แต่ไม่อาจทำหน้าที่ในการสร้างเกียรติภูมิให้ฝรั่งเศสเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ได้ดังแต่ก่อนอีกทั้งเวลานั้นฝรั่งเศสยังมีความขัดแย้งทางด้านศาสนาอย่างรุนแรง ทำให้พวกโปรเตสแตนต์ ซึ่งมีความสามารถในการทำงานอุตสาหกรรมอพยพออกนอกประเทศจึงมีผลให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสจึงเริ่มอ่อนแอ ประกอบกับการที่กษัตริย์ใช้จ่ายเงินอย่างฟุ้มเฟือย โดยที่ฝรั่งเศสขาดรายได้เนื่องจากสูญเสียอาณานิคมไปเกือบหมด ทำให้รายได้ที่เคยได้รับจากอาณานิคมลดลง จึงเกิดวิกฤตทางการคลังขึ้นในฝรั่งเศส ดังนั้นปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในปี 1789 ซึ่งตรงกันกับรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ผลจากการปฏิวัติที่สำคัญ คือ ทำให้ระบบเก่าสิ้นสุดลงพร้อมกับฝรั่งเศสมีการปกครองแบบใหม่ที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

ความยุ่งยากจากการเมืองภายในของฝรั่งเศส ทำให้อังกฤษถือโอกาสยึดครองดินแดนบางส่วนของฝรั่งเศส ในครั้งนั้นนโปเลียน โปนาปาร์ต นายทหารหนุ่มแห่งกองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดดินแดนคืนจากอังกฤษ ทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียง ต่อมานโปเลียนรบชนะในอิตาลี ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของออสเตรีย และในดินแดนบางแห่งในย่านทะเลในเมดิเตอร์เรเนียนทำให้ฝรั่งเศสมีพรมแดนธรรมชาติที่ช่วยให้ประเทศปลอดภัยและมีฐานทัพในการขยายอำนาจต่อไป ฝรั่งเศสได้ดำเนินการเจรจาสงบศึกกับออสเตรีย ทำให้ฝรั่งเศสมีเพียงอังกฤษเป็นคู่สงครามซึ่งนโปเลียนมีความเห็นว่าการต่อสู้กับอังกฤษแบบเผชิญหน้า ฝรั่งเศสอาจสู้ไม่ได้ แต่มีวิธีที่ดีกว่าคือขัดขวางเส้นทางการค้าของอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนที่นำไปสู่อินเดีย นโปเลียนจึงยึดอียิปต์เพื่อคุมช่องทางสู่ทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย แต่ฝรั่งเศสสามารถยึดอียิปต์ได้เพียงสองปีก็ถูกโจมตีโดยอังกฤษ นโปเลียนในครั้งนั้นยังต้องเผชิญกับกองทัพตุรกีและซีเรียด้วย ขณะที่กองทัพนโปเลียนรบอยู่ทางด้านตะวันออกฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจจนยึดดินแดนทางตอนเหนือและบริเวณทะเลบอลติก ตลอดจนคาบสมุทรอิตาลีได้ทั้งหมด ทำให้ชาติต่างๆ ได้แก่ อังกฤษ รัสเซีย ออสเตรียและตุรกี ไม่พอใจจึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่าง ค.ศ. 1799-1801 กล่าวคือในปี 1799 นโปเลียนเดินทางกลับจากอียิปต์ เขาได้แสวงหาความก้าวหน้าทางการเมืองโดยรับตำแหน่งเป็นกงสุลและทำสงคราม โดยเฉพาะทำสงครามกับอังกฤษ ในที่สุดฝรั่งเศสจึงได้ทำสนธิสัญญาอาเมียงกับอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1802 โดยอังกฤษคืนดินแดนบางแห่งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาที่ยึดได้ให้ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสและอังกฤษยังคงขัดแย้งกันเรื่อยมา อย่างไรก็ตามความสำเร็จทั้งทางทหารและการได้ดินแดนคืนทำให้ชาวฝรั่งเศสชื่นชมนโปเลียนเพิ่มขึ้น จึงทำให้นโปเลียนได้รับตำแหน่งกงสุลปกครองฝรั่งเศสตลอดชีวิต และได้ก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิ เมื่อ ค.ศ. 1804

ฝรั่งเศสตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้ปรับปรุงประเทศทางด้านกฎหมาย การศึกษา ด้านการทหาร การช่างและพาณิชย์ ตลอดจนการขยายอาณาเขต ทำให้ฝรั่งเศสในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลับคืนเป็นชาติที่มีอิทธิพลชาติหนึ่ง ภายใต้การนำโดยจักรพรรดินโปเลียน





Create Date : 02 ธันวาคม 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2552 6:13:57 น. 3 comments
Counter : 3903 Pageviews.

 
font อ่านยากไปครับ ปรับสีเว้นวรรคหน่อยจะดีมาก



โดย: VET53 วันที่: 3 ธันวาคม 2552 เวลา:16:10:50 น.  

 
ถามหน่อยนะครับ
เคยได้อ่านในหนังสือบางเล่มเขียนเกี่ยวกับฝรั่งเศสในสาธารณรัฐที่หนึ่ง สอง สาม สี่
ผมสงสัยว่าเขาเรียกตามเกณฑ์อะไรเหรอคับ
อยากให้ช่วยอธิบายให้หายสงสัยหน่อยครับ


โดย: wit IP: 125.27.65.84 วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:17:14:28 น.  

 
น่าสนใจดีครับ


โดย: Huntingdon วันที่: 14 มกราคม 2553 เวลา:21:43:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

krumuti
Location :
หนองคาย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เช่ออ้อมแอ้มนะ
โค้ดเมาส์แต่งhi5 มากมาย กดที่นี่เลย Photo Flipbook Slideshow Maker
Glitterfy.com - Photo Flipbooks
Friends' blogs
[Add krumuti's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.