Kross (เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง~
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
พิชัยยุทธ์ซุนวู บรรพที่ 1-3 (ฉบับ อจ.จอม รุ่งสว่าง)

ตำราพิชัยสงคราม
SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย


น.อ. จอม
รุ่งสว่าง


คำนำของผู้แปล


SUNTZU
เป็นชื่อตำราพิชัยสงคราม ๑๓ บทไม้ตายที่เก่าแก่ที่สุด ๑
ในหนังสือว่าด้วยการทหารของจีนโบราณ ๗ เล่ม เสียงที่ชาวไทยอ่านว่า “ ซุนซู๊ “
เป็นเสียงอ่านตามที่ชาวตะวันตกอ่าน มิใช่เสียงที่ชาวจีนอ่านออกเสียง คาดว่าไม่
ซุนวู ( ๕๑๔–๔๙๗ ปีก่อน ค.ศ.) หรือไม่ก็ ซุนปิง ( ๓๔๐ ปีก่อน ค.ศ.)
เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น โดยใช้สำนวนจีนที่คมคาย เข้าใจง่าย
ประกอบกับใช้แนวคิดของชาวตะวันออกล้วนๆ และเป็นแม่บททางความคิดของทั้งลัทธิเต๋า
และลัทธิขงจื๊อ อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากถอดความตรงตัวแล้ว อาจแปลได้ว่า “
ปราชญ์แซ่ซุน”


มีการอ้างถึง SUNTZU
บ่อยครั้งในระหว่างการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสงครามของสถาบันการศึกษาวิชาชีพทางทหาร
แต่ความจริงแล้ว ทหารไทยน้อยคนนักที่เคยได้อ่านฉบับจริงจนจบเล่ม
หรือไม่ก็เพียงเคยได้อ่านจากเอกสารเรื่องอื่นๆที่ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจาก
SUNTZU ที่ถอดความวางขายในตลาดหนังสือทั่วไป
มีการสอดแทรกความเห็นส่วนตัวที่ไม่ถูกต้องไว้มาก
กับบางส่วนถูกถอดความจากเอกสารภาษาอังกฤษซึ่งผู้แปลไว้ก่อนเป็นชาวตะวันตก
จึงไม่สามารถทำความเข้าใจกับทัศนะของชาวตะวันออกได้ ทำให้เกิดอุปสรรคในการค้นคว้า
และอ่านไม่รู้เรื่อง


เอกสารฉบับนี้
ถอดความอย่างตรงไปตรงมา มิได้สอดแทรกความเห็นส่วนตัวใดใด จาก อักษรจีนโบราณ ,
อักษรญี่ปุ่นโบราณ และการถอดความเป็นภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันของหนังสือชื่อ SUNTZU
ของนาย KANETANI ซึ่งจัดพิมพ์ และแก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อปี ๑๙๘๐
โดยใช้เป็นตำราเรียนของนักเรียนนายร้อยรวมประเทศญี่ปุ่น ชั้นปีที่ ๒ ที่ซึ่งผู้แปล
น.อ. จอม รุ่งสว่าง ได้มีโอกาสศึกษาอย่างจริงจังเมื่อ ๒๐
ปีที่แล้วเหตุผลประการหนึ่งที่สถาบันทหารของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก
เนื่องเพราะ พวกเขาถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานทางทหารที่ต้องศึกษาตั้งแต่วัยเยาว์
ดังนั้นทหารญี่ปุ่นจะมีตำรานี้ครอบครองเป็นส่วนตัวทุกคน ในขณะที่ทหารไทยมองว่า
SUNTZU
เป็นเรื่องในระดับยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต้องรู้เพียงเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันในเรื่องแนวคิดด้านการศึกษาระหว่างประเทศญี่ปุ่น
กับประเทศไทยได้อย่างชัดเจน


อย่างไรก็ตาม SUNTZU
เป็นตำราพิชัยสงครามที่สะท้อนปรัชญาจิตนิยมสุดขั้ว
และอธิบายด้วยสำนวนจีนที่กระทัดรัด คมคาย ใช้ตรรกะบวกลบเชิงเส้นแบบธรรมดาๆ
ทำให้อ่าน และทำความเข้าใจได้ง่าย
ผู้แปลหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักการอ่านทุกท่าน เพราะนอกจาก
มันจะสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิต และการทำงานประจำวันแล้ว เนื้อหาสาระของ SUNTZU
ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าอัดแน่นไปด้วย “ FUNDAMENTAL DOCTRINE ”
ที่จะทำให้ผู้ที่อ่านได้แตกฉาน
สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสงครามได้เป็นอย่างดี ……


น.อ. จอม รุ่งสว่าง


รอง ผอ.กกศ.วทอ.สอส.บศอ./
ผู้แปล


ตำราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย


บทที่ ๑ แผนศึก


บทที่ ๒
เตรียมศึก


บทที่ ๓
นโยบายศึก


บทที่ ๔
ศักย์สงคราม


บทที่ ๕
จลน์สงคราม


บทที่ ๖
หลอกล่อ


บทที่ ๗
การแข่งขัน


บทที่ ๘
เก้าเหตุการณ์


บทที่ ๙
เคลื่อนกำลัง


บทที่ ๑๐
ภูมิประเทศ


บทที่ ๑๑
เก้าสนามรบ


บทที่ ๑๒
ไฟ


บทที่ ๑๓
สายลับ


บทที่ ๑
แผนศึก


๑. SUNTZU
กล่าวไว้


การสงครามเป็นงานยิ่งใหญ่
มีความสำคัญต่อชาติใหญ่หลวง
ชี้ขาดความเป็นตายคนในชาติเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ
จึงต้องคิดอ่านพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างถึงที่สุดฉะนั้นจะต้องคิดคำนึงถึงเรื่องสำคัญ
๕ ประการ และพิจารณาเปรียบเทียบ ๗ ประการ เพื่อเข้าใจสถานการณ์ได้ถ่องแท้ ........
๕ ประการดังกล่าว ได้แก่ :-


- หนทาง
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแต่ละชั้นว่าสามารถอยู่ร่วมกัน
ตายร่วมกันได้เพียงใด ( การเมืองภายใน )


- สภาพแวดล้อม
เงื่อนไขเอื้ออำนวยของจังหวะเวลา และภูมิอากาศ


-
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์


- แม่ทัพนายกอง
ลักษณะคน


- กฎ ระเบียบ วินัย


ปกติการคิดคำนึง
และศึกษาเรื่องราว ๕ ประการ แม่ทัพนายกองทุกคนเข้าใจดีอยู่แล้ว


แต่ผู้เข้าใจลึกซึ้งกว่าเป็นผู้ชนะ
ผู้เข้าใจลึกซึ้งน้อยกว่าเป็นผู้ไม่อาจชนะ


ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งกว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาเปรียบเทียบอีก ๗
ประการ ดังนี้ :-


-
ผู้นำประเทศฝ่ายใดกำจิตใจคนในชาติมากกว่ากัน


-
แม่ทัพนายกองฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน


-
เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ฝ่ายใดได้เปรียบ


- ฝ่ายใดรักษากฎ ระเบียบ วินัย
เคร่งครัด กว่ากัน


-
กองทัพฝ่ายใดเข้มแข็งกว่ากัน


-
ทหารหาญฝ่ายใดได้รับการฝึกมามากกว่ากัน


- การให้รางวัล และการลงโทษ
ฝ่ายใดมีความยุติธรรมกว่ากัน


สำหรับ SUNTZU แล้ว
จากที่กล่าวมา แม้ยังมิได้รบก็รู้แพ้ชนะกระจ่างแจ้งแล้ว


๒.
ในกรณีแม่ทัพนายกองปฏิบัติตามการคิดคำนวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗
ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะได้รับชัยชนะแน่นอน
ต้องเอาคนคนนี้มาใช้งาน


ในกรณีแม่ทัพนายกองมิได้ปฏิบัติตามการคิดคำนวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗
ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะประสบความพ่ายแพ้แน่นอน
ต้องปลดคนคนนี้ทิ้งเสีย


ถ้าปฏิบัติตาม
และเข้าใจความคิดอ่านนี้ การเตรียมการก่อนออกศึกจะเกิด “ พลังอำนาจ ”
ซึ่งจะช่วยกองทัพในการศึก
พลังอำนาจที่กล่าวช่วยให้ฝ่ายเราสามารถใช้ความอ่อนตัวบังคับสถานการณ์ได้เปรียบให้ตกอยู่กับฝ่ายเรานั่นเอง
( พลังอำนาจ ...... ศักย์สงคราม )


๓.
การศึกนั้นเป็นการเคลื่อนไหวด้วยเล่ห์เหลี่ยม
หมายถึงการกระทำที่กลับกันกับการกระทำปกติ ฉะนั้น
เมื่อเข้มแข็งต้องให้เห็นว่าอ่อนแอ เมื่อกล้าต้องให้เห็นว่ากลัว เมื่อใกล้ให้ดูไกล
เมื่อไกลให้ดูใกล้ เมื่อข้าศึกต้องการประโยชน์เอาประโยชน์เข้าล่อ
เมื่อข้าศึกวุ่นวายสับสนให้ฉวยโอกาสข้าศึกเหนียวแน่นให้ป้องกัน
ข้าศึกเข้มแข็งให้ถอยออกมา เมื่อข้าศึกโกรธให้ยั่วยุ
ข้าศึกสบายทำให้พวกเขาเหนื่อยล้า เมื่อข้าศึกกลมเกลียวทำให้แตกแยก
โจมตีข้าศึกในที่ซึ่งไม่มีการป้องกัน รุกเข้าไปในที่ซึ่งข้าศึกไม่คาดคิด
เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก
ก่อนรบไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์เช่นไร ......


๔.
ปกติการคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วชนะ หมายถึงผลจากการคิดคำนวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ๗
ประการ แล้วมีทางชนะมากกว่าทางแพ้นั่นเอง
แต่หากคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วไม่อาจชนะก็หมายถึงผลจากการคิดคำนวณ ๕
ประการเปรียบเทียบ ๗ ประการแล้วมีทางชนะน้อยนั่นเอง ดังนั้น
จากการคิดคำนวณก่อนออกศึก ถ้ามีทางชนะมากจะชนะ ถ้ามีทางชนะน้อยกว่าก็จะมิอาจชนะ
สำหรับข้าพเจ้า เพียงสังเกตดังกล่าว ก็รู้แพ้ชนะชัดเจนแล้ว


.......................................................................


บทที่ ๒
เตรียมศึก


๑. SUNTZU
กล่าวไว้


กฎของสงครามนั้น
การทหารเป็นความสิ้นเปลืองอย่างใหญ่หลวง
กว่าจะสามารถใช้กำลังเคลื่อนกำลังทหารได้นั้น
แม้เพียงวันเดียวก็ยังต้องใช้ทรัพย์สินมหาศาลการทำสงครามยืดเยื้อทหารจะอ่อนล้า
ความห้าวหาญจะลดลง การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นข้าศึกเป็นเวลานานกำลังรบจะหมดไป
เพราะฉะนั้น การใช้กำลังทหารเป็นเวลานานเศรษฐกิจของชาติจะย่อยยับ


ถ้าทหารหาญของชาติเหนื่อยอ่อน
ขาดความห้าวหาญ และถ้าเศรษฐกิจของชาติย่อยยับแล้วต่างชาติจะยกทัพมารบกับเราแน่นอน
ซึ่งแม้จะมีผู้มีความสามารถสูงเพียงไรก็ยากที่จะต่อต้านกับทัพต่างชาติที่ยกเข้ามาได้ดังนั้น
“ การสงครามจะต้องรวดเร็ว และเฉียบพลัน ”
ตัวอย่างดีของสงครามยืดเยื้อในประวัติศาสตร์ไม่มีประเทศใดเคยได้ประโยชน์จากสงครามยืดเยื้อไม่เคยปรากฏ
...................... ดั่งที่เคยกล่าวแล้ว


ผู้ที่ไม่เข้าใจความสูญเสียของสงครามอย่างเพียงพอ


ย่อมไม่สามารถเข้าใจผลประโยชน์ที่ได้รับจากสงครามอย่างเพียงพอเช่นกัน


๒.
นักรบที่ชำนาญศึกจะไม่เกณฑ์ประชาชนมารบหลายครั้ง
จะไม่ขนเสบียงอาหารจากชาติตนหลายครั้ง แม้ใช้อาวุธจากชาติตน
แต่เสบียงอาหารเอาจากดินแดนข้าศึก


การที่ประเทศชาติต้องยากจนลงเพราะกองทัพก็เนื่องจากการขนส่งเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล
เพราะถ้ากองทัพต้องขนเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล ประชาชนจะยากจนลง
ราคาสินค้าบริเวณสนามรบจะสูงขึ้น เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น
ทรัพย์สินของประชาชาก็ยิ่งหมดลง เมื่อทรัพย์สินของประชาชนหมดลง
การจะระดมเสบียงอาหารมาให้ทหาร ก็จะทำได้ยากลำบาก
กำลังรบของกองทัพก็จะค่อยๆ


หมดลง ทรัพย์สินของประชาชนจาก
๑๐ จะเหลือ ๗ ข้าวของของรัฐที่เสียหายไปกับสงครามจาก ๑๐จะเหลือ ๖ เพราะฉะนั้น
แม่ทัพที่มีความสามารถจะแย่งเสบียงอาหาร
และข้าวของของข้าศึกมาใช้การใช้ข้าวของของข้าศึก ๑ ส่วน
ได้ประโยชน์เหมือนใช้ของของเรา ๒๐ ส่วน



๓.
การที่ทหารฝ่ายเราสังหารทหารฝ่ายข้าศึกได้ก็เนื่องจากกำลังใจของทหาร
การยึดเอาสิ่งของของข้าศึกมา ก็เนื่องจากผลประโยชน์นั่นเองฉะนั้น
การให้รางวัลแก่ทหารที่ยึดเอาสิ่งของจากข้าศึกได้
และลงโทษทหารที่ถูกข้าศึกยึดสิ่งของไป
เป็นการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในกองทัพ


๔.
ดังกล่าวข้างต้น


การสงครามนั้นชัยชนะเป็นอันดับหนึ่ง จะยืดเยื้อไม่ได้
แม่ทัพที่ระมัดระวังผลได้เสียของสงครามรอบคอบ คือผู้กำชะตากรรมของประชาชนไว้
เป็นอุปราชชี้ขาดความอยู่รอดของประเทศชาติ ........................


...................................................................


บทที่ ๓
นโยบายศึก


๑. SUNTZU
กล่าวไว้


กฎของสงครามโดยทั่วไป


สยบประเทศข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก


ใช้กำลังทางทหารเข้าตีประเทศข้าศึกแตกจึงสยบประเทศข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง


สยบกองทัพข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก


ใช้กำลังทางทหารเข้าตีกองทัพข้าศึกแตกจึงสยบกองทัพข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง


สยบหน่วยทหารข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก


ใช้กำลังทางทหารเข้าตีหน่วยทหารข้าศึกแตกจึงสยบหน่วยทหารข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง



รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งยังมิใช่ยอด


สยบข้าศึกได้ไม่ต้องรบ เป็นยอดนักรบ ”


๒. เพราะฉะนั้น


สุดยอดของการสงครามก็คือ
เข้าโจมตีแผนลับข้าศึกให้แตก จากนั้นตีความสามัคคีข้าศึก
ตีสัมพันธไมตรีของกลุ่มพันธมิตรข้าศึกให้แตก
สุดท้ายหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจึงใช้กำลังทางทหารเข้าตีกำลังทหารข้าศึก
สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก
การเข้าตีดังกล่าวจะเป็นเฉพาะเมื่อไม่มีหนทางอื่นแล้ว
และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น


การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน
และต้องพร้อมจริงๆ จึงทำได้
ซึ่งในระหว่างเตรียมการหากแม่ทัพนายกองไม่สามารถระงับความเกรียวกราดได้ยกกำลังเข้าทำการรบแตกหักก่อนที่การเตรียมการจะพร้อม
ทหาร ๑ ใน ๓ จะต้องตาย แม้กระนั้นป้อมปราการที่มั่นของข้าศึกก็จะยังไม่แตก
นี้คือผลเสียของการโจมตีป้อมปราการที่มั่นของข้าศึก


นักรบผู้ชำนาญมิได้ใช้การต่อสู้เพื่อสยบข้าศึก
ป้อมปราการที่มั่นข้าศึกแตกก็มิใช่ด้วยการโจมตีตรงหน้า
ประเทศข้าศึกต้องพินาศลงก็มิใช่ด้วยศึกสงครามยืดเยื้อ ใช้วิธีชนะโลก
ชนะโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ด้วยเหตุนี้ ทหารหาญก็ไม่เหนื่อยอ่อน
ผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมเป็นผลประโยชน์สูงสุด



นี่คือกฎของนโยบายในการทำศึกสงคราม


๓.
กฎของสงครามโดยทั่วไป


เมื่อมีกำลัง ๑๐
เท่าเข้าโอบล้อม เมื่อมีกำลัง ๕ เท่าเปิดเกมรุก เมื่อเท่ากันให้สู้
ถ้าน้อยกว่าให้ถอย ถ้ากำลังปะทะกันไม่ได้ให้หลบซ่อน
โดยปกติกำลังน้อยกว่าปะทะตรงหน้ากับกำลังที่มากกว่าย่อมทำไม่ได้เป็นทางปกติ
กำลังที่น้อยนิดคิดแต่จะใช้ความห้าวหาญ
รังแต่จะถูกจับเป็นเชลยของกำลังที่มากกว่าเท่านั้น


๔. โดยทั่วไป
แม่ทัพมีหน้าที่ช่วยเหลือชาติ ถ้าหน้าที่นั้นสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำประเทศ
ชาตินั้นต้องเข้มแข็งแน่นอน ถ้าหน้าที่นั้นขัดแย้งกับผู้นำประเทศ
ชาตินั้นต้องอ่อนแอแน่นอน


ฉะนั้น
สิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการศึกสำหรับผู้นำประเทศมี ๓ ประการ ได้แก่
:-


- ไม่รู้ว่าไม่ควรใช้กำลังทหาร
สั่งให้ใช้กำลังทหาร


ไม่รู้ว่าไม่ควรถอย
สั่งให้ถอย


- ไม่รู้เรื่องภายในกองทัพ
แต่เข้ามาปกครองกองทัพร่วมกับแม่ทัพ


- ไม่เข้าใจวิธีใช้กำลังทหาร
แต่เข้ามาบังคับบัญชาทหาร


เมื่อใดที่ทหารอยู่ในความหลง
ความงงงวยแปลกใจสงสัย ต่างชาติจะยกทัพเข้ามาและชัยชนะของกองทัพที่สับสนก็จะจากหายไป


๕. ฉะนั้น มี ๕ สิ่งที่ต้องรู้
และเข้าใจเกี่ยวกับชัยชนะ ได้แก่ :-


- เมื่อไรควรรบเมื่อไรไม่ควรรบ
ระมัดระวังผลได้ผลเสียรอบคอบ .... ชนะ


- เข้าใจการใช้กำลังใหญ่
กำลังเล็ก นอกแบบในแบบ .... ชนะ


- ประสานจิตใจคนทุกชั้นได้
.... ชนะ


- เตรียมการดีปะทะที่ประมาท
.... ชนะ


- แม่ทัพนายกองมีความสามารถ
ผู้นำประเทศไม่แทรกแซงกิจการภายในกองทัพ .... ชนะ



ประการนี้เป็นวิธีเข้าใจชัยชนะ ดังนั้น


“ เมื่อ
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งปราศจากอันตรายรู้สถานการณ์ฝ่ายเขา ไม่รู้ฝ่ายเรา
แพ้บ้างชนะบ้าง


ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา
กล่าวได้ว่ารบทุกครั้งรังแต่จะมีอันตราย ”


.............................................................




Create Date : 17 สิงหาคม 2552
Last Update : 17 สิงหาคม 2552 22:22:01 น. 0 comments
Counter : 2854 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kross_ISC
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 79 คน [?]




Blog จับฉ่ายของ Kross ครับ เทคโนโลยี, การทหาร,Military Expert, การ์ตูน, Anime, Manga, Review, Preview, Game, Bishojo Game, Infinite Stratos (IS), Hidan no Aria, Light Novel (LN)

ติดตามเพิ่มเติมได้ทาง Twitter ที่ @PrameKross
New Comments
Friends' blogs
[Add Kross_ISC's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.