ชุมชนร่างกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมาย

 
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ตุลาคม 2551
 

ตอบคำถาม "แบบการร่างกฎหมาย"

คู่มือแบบการร่างกฎหมาย


ข้อ ๑
ถาม การร่างกฎหมายลำดับรอง หากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติมีการกำหนดนิยามไว้แล้ว
ในกฎหมายลำดับรอง ควรเขียนบทนิยามของคำดังกล่าวไว้อีก โดยมีความหมายเหมือนกับที่กำหนดใน พรบ. ได้หรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็นต้องเขียน เนื่องจากแม่บทกำหนดไว้แล้วสามารถอ้างได้เลย

ข้อ ๒
ถาม หลักการใช้มาตราที่เป็นการกำหนดบทยกเลิกบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งในลักษณะบทกวาด (Sweeping Clause) จะใช้ในกรณีใด
ตอบ เป็นการกำหนดมาตรฐานกลางในกฎหมาย ในการร่างกฎหมายระยะหลังๆ มักจะไม่ใช้แล้ว เนื่องจากอาจเกิดปัญหาความชัดเจนจึงพิจารณาจากเนื้อหาของกฎหมายว่ามีความจำเป็นต้องยกเลิกกฎหมายฉบับใดบ้าง


ข้อ ๓
ถาม กฎหมายแม่บทให้อำนาจไปกำหนดเรื่องใดไว้เป็นกฎหมายแล้ว กฎกระทรวงจะเขียนกำหนดเรื่องนั้นไว้เป็นประกาศต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ หลักกฎกระทรวงเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหาร เพราะฉะนั้นในการใช้บังคับจะต้องไม่เกินแม่บทซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติว่าการออกกฎกระทรวงจึงเป็นการกำหนดรายละเอียดเพื่อให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติ เนื่องจากมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก ดังนั้นในการออกกฎกระทรวงจึงต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ในกรณีที่ต้องการกำหนดรายละเอียดที่มิใช่เป็นการกระทบสิทธิบุคคลภายนอกหรือเป็นการกำหนดโทษก็อาจกำหนดให้กฎกระทรวงนั้นสามารถเป็นประกาศกำหนดรายละเอียดได้ เช่น กฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบในกฎหมายขนส่งทางบก เป็นต้น

ข้อ ๔
ถาม มีหลักเกณฑ์ตายตัวหรือไม่ว่ากฎหมายฉบับใดใช้คำว่า “ทั้งจำทั้งปรับ” หรือ “ทั้งปรับทั้งจำ”
ตอบ โทษอาญา มาตรา ๑๘ กำหนดประเภทโทษ
๑. ประหารชีวิต
๒. จำคุก
๓. กักขัง
๔. ปรับ
๕. ริบทรัพย์
หลัก เรียงตามความร้ายแรง เพราะฉะนั้นโทษจำคุกจะมาก่อน เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าทั้งจำทั้งปรับ แต่ในกรณีที่กฎหมายนั้นกำหนดโทษปรับมาก่อนจำคุกจะใช้ว่า “ทั้งปรับทั้งจำ” เช่น ผู้รับจำนำผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ (พรบ.โรงรับจำนำ ๐๕)

ข้อ ๕
ถาม การเขียนเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติ ในปัจจุบันได้เขียนสั้นลงไม่มีรายละเอียดชัดเจน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
ตอบ การเขียนเหตุผลมิใช่การเขียนสั้นหรือยาว ต้องเขียนให้เห็นถึงเหตุผลในการตราพระราชบัญญัตินั้น มันเกิดเหตุอะไรขึ้น จึงต้องมาแก้ไขพระราชบัญญัติหรือออกพระราชบัญญัติ สำหรับรายละเอียดเหตุผลนั้นโดยทั่วไปต้องกำหนดเหตุผลหลักของพระราชบัญญัตินั้น
(มติ staff)
อนึ่ง มีผู้ถามว่าถ้าจะเปลี่ยนแบบการเขียนเหตุผลมากำหนดในมาตราต้นจะเหมาะสมหรือไม่ โดยหลักต้องการเขียนเหตุผลเป็นการเขียนเพื่อให้รู้ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น แต่มาตกในกฎหมายเป็นการกำหนดกลไกการบังคับใช้กฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับเหตุในการออกกฎหมาย

ข้อ ๖
ถาม ในการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องมีบทบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๔๑ หรือไม่
ตอบ ต้องเขียน เพื่อให้เกิดความชัดเจน

ข้อ ๗
ถาม การยกร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติออกตามความในรัฐธรรมนูญเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ เหมือนกัน

ข้อ ๘
ถาม การตราพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงต้องมีการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายหรือไม่ มีกำหนดไว้ในเอกสารใด
ตอบ - ต้องมีการตรวจสอบ
- มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เห็นชอบคู่มือการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่ สคก. เสนอ และให้ สลค. แจ้งเวียนหน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือแบบการร่างกฎหมาย

ข้อ ๙
ถาม - อนุบัญญัติที่เห็นทั่ว ๆ ไป ไม่มีข้อความว่า มีบทบัญญัติในการจำกัดสิทธิ จะมีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของอนุบัญญัตินั้น ๆ หรือไม่
- กรณีพระราชบัญญัติมีการแก้ไข เช่น พระราชบัญญัติ..... พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเป็น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ หากจะมีการอ้างกฎหมายบางมาตรา เช่น มาตรา ๓๕
ซึ่งพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่มีการแก้ไขมาตรา ๓๕ เลข การอ้างมาตรา ๓๕ ระบุพระราชบัญญัติ..... พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือต้องระบุมาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๐
ตอบ การระบุการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าบทบัญญัติดังกล่าวล่าสุดคืออะไร ดังนั้น หากมาตรานั้นไม่มีการแก้ไขก็ไม่ต้องระบุการแก้ไขเพิ่มเติม

ข้อ ๑๐
ถาม การตีความตามกฎหมาย กรณีที่บทนิยามเขียนความหมายไม่ครอบคลุมไปถึงส่วนที่เป็นปัญหา จะตีความอย่างไร ใครมีอำนาจหน้าที่ตีความ (ฝ่ายบริหาร – ศาล) เช่น คำว่า โครงการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดไว้ไม่ชัด
ตอบ กรณีที่บทนิยามเขียนไว้ชัดเจน แต่.....

ข้อ ๑๑
ถาม กรณีที่กฎหมายแม่บทกำหนดวันใช้บังคับของกฎกระทรวงแล้ว ในกฎกระทรวงต้องมีมาตราวันใช้บังคับอีกหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง

ข้อ ๑๒
ถาม ในการอ้างบทบัญญัติมาตรากฎหมายแม่บทในกฎหมายลำดับรองต้องอ้างชื่อกฎหมายแม่บทด้วยหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง เพราะในคำปรารภ บทอาศัยอำนาจระบุแล้วว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมายใด

ข้อ ๑๓
ถาม ในส่วนของเหตุผลจำเป็นต้องอ้างบทบัญญัติมาตรากฎหมายที่ให้อำนาจหรือไม่ อย่างไร
ตอบ ขึ้นกับวิธีการเขียน หากกำหนดเหตุที่เป็นข้อเท็จจริงได้ก็อาจไม่จำเป็นต้องเขียนมาตรา เพราะเป็นส่วนในบทอาศัยอำนาจ

ข้อ ๑๔
ถาม การอ้างบทจำกัดสิทธิในกฎหมายลำดับรองในชั้นประกาศกระทรวง , ระเบียบของคณะกรรมการ เช่น ประกาศกระทรวง , ระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติ หรือประกาศ , ระเบียบ ที่ออกตามกฎกระทรวง ต้องอ้างอิงบทจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร
ตอบ ต้องอ้างเพราะเป็นการอ้างกฎหมายที่อาศัยอำนาจ มิใช่ดูประกาศกระทรวงที่ออก

ข้อ ๑๕
ถาม หากประกาศ , ระเบียบ นั้น ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของประชาชนเลย ต้องอ้าง
บทจำกัดสิทธิด้วยหรือไม่
ตอบ ต้องอ้าง เพราะเป็นการอ้างถึงพระราชบัญญัตินั้นว่าจำกัดสิทธิในเรื่องใด มิใช่ประกาศระเบียบจำกัดสิทธิ เช่น การกำหนดแบบบัตรประจำตัว

ข้อ ๑๖
ถาม กรณีกฎหมายมีผู้รักษาการตามกฎหมายหลายคน ความรับผิดชอบของการแบ่งรักษาการ แบ่งอย่างไร
ตอบ แบ่งตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบ

ข้อ ๑๗
ถาม พระราชบัญญัติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมสามารถแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอื่น หลายฉบับไว้ในฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับเดียวได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ ต้องแก้ไขเพิ่มเติม โดย พรบ. ของฉบับนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ

ข้อ ๑๘
ถาม การที่มาตรารักษาการเขียนให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พรบ. ได้นั้น จะหมายว่ารัฐมนตรีสามารถออกกฎกระทรวงได้ทุกเรื่องหรือไม่
ตอบ ต้องพิจารณาว่าอำนาจในการออกกฎกระทรวงนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร เช่น กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม เป็นต้น






 

Create Date : 02 ตุลาคม 2551
2 comments
Last Update : 2 ตุลาคม 2551 18:00:00 น.
Counter : 3116 Pageviews.

 
 
 
 
ดีมาก
 
 

โดย: เด็ก IP: 203.172.37.173 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:53:38 น.  

 
 
 
ขอทราบความรู้เกี่ยวกับการร่างคำสั่งและระเบียบของทางราชการ ที่เคยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและ คณะทำงาน ในองค์ประกอบของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการก็มีประธาน รองประธาน กรรมการหรืออนุกรรมการ และเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ แต่พอเป็นคณะทำงาน องค์ประกอบจะเป็น คณะทำงานหรือผู้ทำงาน เราจะเลือกใช้อย่างไรจึงจะถูกต้อง และทาง สคก.เคยมีตัวอย่างคำสั่งในลักษณะการแต่งตั้งแบบนี้ไหมครับ ขอบคุณมาก
 
 

โดย: ธีรภัทร สมช. IP: 202.47.225.3 วันที่: 25 ตุลาคม 2555 เวลา:17:46:51 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

KMyoungelite
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]








[Add KMyoungelite's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com