Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
Perpetuating Ethnic Discrimination: A Case of Harry Potter

Perpetuating racial discrimination: a case of Harry Potter

ต้องยอมรับว่า วรรณกรรมเด็กเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ นั้นมาแรงจริงๆครับ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของหนังสือ หรือ ภาพยนต์ (แต่ผมกลับคิดว่าการ”มาแรง” ของวรรณกรรมสำหรับเด็กเรื่องนี้นั้น มาจากการ โปรโมตที่เกินพอดีของสื่อมากกว่าเสียอีก เช่น “จองด่วน ภายในวันเสาร์นี้ ถ้าคุณอยากมีหนังสือเล่มสุดท้ายไว้ในครอบครองและส่งถึงบ้านคุณ ณ วันที่ยี่สิบเอ็ด กรกฏา ด้วยราคาลดสี่สิบเปอร์เซ็นต์” หรือ “แฮร์รี่พอตเตอร์ ทอปบอกซ์ออฟฟิสเป็นสัปดาห์ที่สาม” หรือ กระทั่ง “แฟนเข้าแถวซื้อแฮรรี่ พอตเตอร์ก่อนห้างเปิดหกชั่วโมง” หรือ กระทั่ง “มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับแฮรรี่ฯ ให้เข้าร่วมก่อนหนังสือเปิดจำหน่ายเวลาเที่ยงคืน ณ ร้านต่อไปนี้......” ) สรุปว่าผมว่ามัน overworked ไป

แต่เอาละมาเข้าเรื่องดีกว่า ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่ว่าอีกส่วนหนึ่งของการที่แฮรรี่ฯ นั้นมาแรง ครองใจผู้อ่านได้นั้น เพราะว่า ผู้แต่ง หรือ เจ เค โรลลิงนั้น สร้างตัวละครเอก (แฮรรี รอน และ เฮอร์มายเออนี่) ให้เป็นตัวละครที่ธรรมดา และเป็นตัวละครที่ผู้อ่านส่วนใหญ่สามารถ identify ได้กับตัวเอง นั่นคือ ผู้อ่านส่วนใหญ่น่าจะมาจากชนชั้นกลางบนหรือกลางล่าง (upper and lower middle class) ซึ่งก็เป็นชั้นที่ผู้แต่ง(เคย)เป็นสมาชิกเหมือนกัน (ก่อนจะสร้างรายได้เข้ากระเป๋าอย่างทุกวันนี้) เพราะฉะนั้น ก็ไม่น่าแปลกใจที่วรรณกรรมเรื่องนี้ จะครองใจคนชั้นกลาง เมื่อตัวละครเอกเป็นชนชั้นธรรมดาที่เหมือนๆกับผุ้อ่านส่วนใหญ่ และจากโครงเรื่องที่เหมือน fairy tale ว่า คนที่ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ กล้าหาญ ถึงแม้จะค่อนข้างยากจน และไม่ได้มียศถาบรรดาศักดิ์ สามารถที่จะประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลแห่งความดีในบั้นปลาย

โครงสร้างเรื่องแนวนี้ (จากดินสู่ดาว) ยังแสดงให้เห็นในวรรณกรรมเรื่องนี้ทางด้าน เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์อีกด้วย ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่อง ethnicity และ race นั้นเป็น issue ที่มีอยู่ในทุกสังคม และก็แน่นอนย่อมสะท้อนในงานวรรณกรรมด้วย ในกรณีนี้ จะเห็นได้จากตัวละครเอก เอง แอรรี่ นั้น เป็นพวก ลูกผสม (mud blood) ที่เกิดจาก สายพันธ์พ่อมด และคนธรรมดา (muggle) ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องโดนกีดกัน (discriminate) เมื่อมาอยู่ในกลุ่มของ สายพันธุ์แท้ (pure blood) เป็นไปได้ว่า โรลลิง ต้องการสะท้อนภาพสังคม ที่มีการกีดกันทางเชื้อชาติ และชาติพันธุ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น คนดำ คนขาว หรือฉันเป็นไทย แกเป็นลาว หรือ ฉันเป็นชายแท้ พวกแกเป็นกระเทย เป็นต้น และดูผิวเผิน โรลลิงสามารถสื่อให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจได้ว่า การแบ่งแยกทางด้านเชื้อชาตินั้น เป็นเพียงอคติของมนุษย์ เพราะแฮรรี่นั้น ถึงแม้จะเป็นลูกผสม แต่ก็มีความกล้าหาญ ชาญชลาด และเป็นคนเดียวที่จะเอาชนะ ลอร์ดวิลเดอร์โมทได้

แต่นั่นก็เป็นเพียงภาพเชิงตื้นของวรรณกรรมเรื่องนี้ ผมกลับมีความเห็นตรงข้ามว่า “instead of discouraging discrimination based on race and ethnicity as is seen superficially, ผุ้แต่งได้ตอกย้ำ ทำซ้ำ และเผยแพร่ discrimination ดังกล่าวให้ลุกลามไปยิ่งขึ้น เสียอีก”

การเหยียดชาติพันธ์ในแฮรรี่นั้น เห็นได้จากตัวละครหลายๆ ตัว เช่น ถ้าเป็นตัวร้ายหน่อยก็ ต้องยกให้ ดราโก มัลฟอย (Draco Malfoy ) (Mal – แปลว่า เลว ส่วน foy แปลว่า faith ก็แปลได้ว่า bad faith) ซึ่งมักจะผรุสสวาทเพื่อนๆ ด้วยคำต้องห้าม เกี่ยวกับเชื้อชาติเป็นประจำ เช่น “filthy little mudblood” ซึ่งใช้ด่า เฮอร์ไมเออนี่ในเล่มแรก และรอนต้องอธิบายให้แฮรรี่ฟังว่า “mudblood” เป็น “foul word” สำหรับ muggle-born wizard เลยทีเดียว หรือ แม้กระทั่งตอนที่ มัลฟอย ถามแฮรรี่ว่า เป็นพ่อแม่แฮรรี่นั้น เป็น “พวกเดียวกัน”กับเขาหรือเปล่า (our kind) และบอกว่า พวกที่เป็น ลูกผสมนั้น ไม่ควรจะได้เข้าโรงเรียนเวทมนตร์ เพราะว่า ฮอร์ควอร์ท นั้น เป็น ที่สำหรับ ‘old wizarding families’ หรือแม้กระทั่งตอนที่ พ่อของมัลฟอย ซึ่งมีทั้งยศถา และบรรดาศักดิ์ ่ด่ามัลฟอยว่า สู้ เออร์มายเออนี่ไม่ได้ ทั้งๆที่ฝ่ายหลังเป็น พันธ์ทาง (ใน chamber of secret)

หรือถ้าเราย้อนมาดุ ฝ่ายตัวละครดีกันบ้าง เรื่องของ racial discrimination ก็มีให้เห็น เช่น แฮร์กริด ในตอน globet of fire นั้น บอกแฮรรี่ให้ ชนะการแข่งขัน triwizard tournament เพื่อพิสูจน์ว่า “you don’t have to be pure blood to do it”
ซึ่งดูเผินๆ อย่างที่เรียนข้างต้น ดูเหมือนว่า โรลลิง ต้องการสื่อให้ผู้อ่าน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทราบว่า It doesn’t matter where you are from, of what race you are. Everyone is equally welcome in the society. What matters is your moral behaviors and merits, and how you choose to treat other people and yourself. เพราะสุดท้ายแล้ว พันธ์ทาง อย่างแฮรรี่ นั้น ก็ประสพความสำเร็จ และเป็น “ผู้ที่ได้รับเลือก” (the elect) ที่จะกำจัด ลอร์ด วิลเดอร์มอท

แต่ถ้ามองให้ลึกไปกว่านั้น เราน่าจะพูดได้ว่า โรลลิงนั้น ไม่ได้ขจัด racial discrimination ให้หมดไปอย่างเดียว แต่ในเวลาเดียวกัน กลับถลำลึกลงไปด้วยซ้ำ เพราะว่า ถ้ามองจากอีกมุมหนึ่ง เราสามารถพูดได้ว่า การที่แฮรี่ ได้เป็น แฮรี่ และได้เป็น ผู้ที่ถูกคัดสรร และ ถูกกำหนดมาก่อน (the elect) ให้มากำจัดลอร์ด วิลเดอร์มอร์ท (เห็นได้จากแผลเป็นบนหน้าผาก ) เป็นเพราะ เขาเป็น พันธ์ทาง ใช่หรือไม่?? แฮรี่ได้ถูกกำหนดมา “ตั้งแต่เกิด” (หรือก่อนเกิด) ว่าจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำลายล้างอำนาจมืด หาได้เป็นเพราะว่า แอร์รี่ได้รับเลือกเพราะ เป็นคนดี และกล้าหาญไม่ ถ้ามองจากมุมนี้ เราสามารถพูดได้ว่า โรลลิงนั้นมี “อคติ” ในการเลือกคัดสรรตัวละครเอก เพื่อส่งเสริมโครงเรื่องที่วางไว้ และผลของมันคือ การตอกย้ำความแตกต่าง และ ส่งเสริมความแตกต่างทางเชื้อชาติ (พันธ์ทาง) ต่อไปอีก โครงเรื่องของวรรณกรรมเรื่องนี้ จะ “ด้อยค่า” หรือ ไม่ดึงดูดใจ ไปทันที ถ้าตัวเอกคือ รอน ซึ่งเป็น pure blood (มี status) แต่จน (ไม่มี wealth) ใช่ไหมครับ มันต้องเป็น แฮร์รี่ ผู้ซึ่ง ไม่มีทั้ง สถานะ และ อำนาจเงิน ถึงจะสร้างความขัดแย้ง เพื่อส่งเสริมให้ ตัวละครตัวนี้ดูเด่นกว่าตัวอื่นๆ (นั่นคือ ความขัดแย้ง นำไปสู่ การถูกเพ่งเล็ง และนำไปสู่การกระทำอันโดดเด่น)

การส่งเสริม และตอกย้ำความแตกต่างในทางชาติพันธ์วรรณา ยังเห็นได้ในกรณีของ การแบ่ง “พวกเรา” (us) และ “พวกเขา” (them) ระหว่าง โลกแห่งเวทมนตร์ และโลกมนุษย์ เราพูดได้ว่า ทุกเล่มในชุดวรรณกรรมเรื่องนี้ ตัวละครของโลกแห่งเวทมนตร์ (the wizard world) นั้น มี “อคติ” ต่อ มนุษย์ และยกตัวเองว่า “เหนือกว่า” มนุษย์ สังเกตุได้จาก ทั้งการวางโครงเรื่องและตัวละคร เช่น โรลลิงวางตัวละครที่เป็นมนุษย์ให้มีด้านเดียว และเป็นด้านร้าย เช่น ครอบครัวที่แฮร์รี่ พำนักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งต้องโผล่มาตอนต้นเรื่องของหนังสือ ทุกเล่ม มีพ่อ แม่ และลูก ซึ่งทำทารุณกรรมกับเเอร์รี่ให้ได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจเสมอ ไม่มีมนุษย์คนไหนในเรื่องนี้ที่มีด้านดีอยู่เลย และในขณะเดียวกัน เราพูดได้เต็มปากว่า สมาชิกของโลกเเห่งมนตรานั้น ดูถูกมนุษย์ อาจเพราะมนุษย์ไม่มีเวทมนตร์ เหมือนพวกเขาและควรจะกีดกันไม่ให้มนุษย์ได้เห็นการใช้เวทมนตร์ ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นเนื้อหาหลักที่นำไปสู่ความขัดแย้งในเล่ม order of phoenix ที่แฮรรี่ได้สำแดงพลังเวทย์ ต่อหน้า muggle ซึ่งเป็นลูกชายของครอบครัวที่แฮร์รี่พักอยู่ด้วย ทำให้ถึงกับมีเรื่องต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเวทมนตร์กันทีเดียว โรลลิงไม่ได้คิดที่จะแก้ความแตกต่างของ attitude ที่คนในโลกแห่งเวทมนตร์มีต่อมนุษย์โลกเลย

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว แทนที่วรรณกรรมเด็กเรื่องนี้จะได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับการยอมรับ “คนอื่น” (the other) เป็นสมาชิกของสังคม มันกลับที่จะเป็นทางตรงกันข้ามใช่หรือไม่ นั่นคือ มันกลับกลายเป็นว่า เป็นการ เพิ่มช่องว่างในสังคม และ promote racial and ethnic discrimination ใช่หรือไม่ และน่าจะสรุปได้ว่า In the midst of being didactic, Harry Potter may teach children to discriminate, therefore perpetuating the ideologies of racial and ethnic differences and stereotypes about “the other.”



Create Date : 27 กรกฎาคม 2550
Last Update : 27 กรกฎาคม 2550 22:45:07 น. 1 comments
Counter : 1104 Pageviews.

 
สวัสดีครับ
ก่อนอื่น ก็ขอขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ ที่หาอ่านยากเหลือเกินในประเทศนี้
ส่วนเรื่องHarry Potterผมไม่ได้ตั้งใจอ่าน หรือดูอะไรมากมาย เคยอ่านแค่ครึ่งเล่ม เคยดูหนังแล้วหลับ เลยไม่ค่อยมีความเห็นสักเท่าไหร่

ยังไงก็ขอบคุณมากน่ะครับ
ไว้คุยกันครับ

ป.ล. ผมมีแผนที่จะเรียนต่อด้านภาษาศาสตร์ อาจจะเป็นที่นิด้า หรือที่ไหนสักที่ ช่วยแนะนำด้วยครับ



โดย: bear_moung วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:13:52:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

krisdauw
Location :
Washington, Seattle United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add krisdauw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.