เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
1 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง (ตอนที่ 1/2)

พูดถึง ไฟฟ้า หลายท่านคงรู้จักเป็นอย่างดีว่าเป็นพลังงานสะอาดที่อยู่ใกล้ตัวเรา เพราะไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, หรือเครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิดก็ล้วนใช้ไฟฟาเป็นพลังในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็มาช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น

แต่ของทุกอย่างเมื่อมีคุณ อีกมุมหนึ่งก็จะเป็นโทษเช่นกัน ถ้าหากถูกใช้อย่างไม่ถูกต้อง และถูกวิธี วันนี้เรามีบทความที่มีประโยชน์จาก การไฟฟ้านครหลวง มาให้ความรู้เกี่ยวกับ “ไฟฟ้าแรงสูง” เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง รวมไปถึงเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วย

บทความนี้ถูกแบบออกเป็นสองตอนนะครับ ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักไฟฟ้าแรงสูงในตอนแรกกันเลยครับ

dr-p38-daily-brief-september-6-760x450

1. ไฟฟ้าแรงสูงคืออะไร

ไฟฟ้าแรงสูงก็คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายไฟสูงเกิน 1,000 โวลต์ขึ้นไป

2. ทำไมเราจึงต้องใช้ระบบไฟฟ้าแรงสูง?

เพื่อการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกล เช่น พื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด เราจึงต้องใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง ที่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า เมื่อเทียบกับกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำกว่า

3. ไฟฟ้าแรงสูงมีอันตรายอย่างไร?

เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง มีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก (เกิน 1,000 โวลต์ขึ้นไป) เมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่เราใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220 โวลต์) ทำให้ไฟฟ้าแรงสูงสามารถกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุ หรือสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือแตะสายไฟ หากวัตถุนั้นอยู่ในระยะอันตราย ซึ่งระยะอันตรายนี้ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้า

แรงดันไฟฟ้ายิ่งสูง ระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได้ก็ยิ่งไกล ไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมาก สถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้นมี ผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและทุพพลภาพปีละประมาณ 30 คน

2

4. เราจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้านั้นเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง?

เนื่องจากการอยู่ใกล้ไฟฟ้าแรงสูงเป็นเรื่องที่อันตรายมาก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้านั้น เป็นสายไฟฟ้าแรงสูงหรือไม่? โดยส่วนใหญ่ ฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะกับการใช้งานร่วมกับกระแสไฟฟ้าแรงสูงจะมีวัสดุเป็น กระเบื้องเคลือบ ที่เห็นเป็นประจำคือ กระเบื้องเคลือบเป็นชั้นๆมีรูปร่างเหมือนชามคว่ำ ที่เรียกว่า “ลูกถ้วย” ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วย ลูกถ้วยเป็นชั้นๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วยจะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงนั้น ๆ

นอกจากนี้ วิธีสังเกตว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูงอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับความสูงของสายไฟ สายไฟฟ้าแรงสูงมักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป โดยสายไฟฟ้าที่อยู่สูงกว่า มักจะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า

5. สายไฟฟ้าแรงสูงจะมีฉนวนหุ้มอยู่หรือไม่?

สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีการหุ้มฉนวนที่ปลอดภัย การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่งทำให้สายมีน้ำหนักมาก จึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้

1

6. ไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐาน “ระยะห่างที่ปลอดภัย” จากสายไฟฟ้าแรงสูงไว้อย่างไร?

6.1 ระยะห่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคาร/ป้ายโฆษณา มาตรฐานระยะห่างในแนวระดับที่ปลอดภัยระหว่างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างหรือป้าย โฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูง มีการกำหนดไว้ดังนี้

Untitled-1

หมายเหตุ: ระยะดังกล่าวระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิด อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคารซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ ปลอดภัยสำหรับการทำงานหรือจะต้องมีการหุ้ม หรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย

6.2 ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคล หรือผู้ปฏิบัติงานถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั้นจั่น รถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้ ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร)

Untitled-2

หมายเหตุ: หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือคลุมสายก่อนลงมือทำงาน

7. ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงจะมีระดับแรงดันไฟฟ้าเท่าใด?

ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง ปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ ถึง 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี หรือ กิโลโวลต์ เช่น 12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ 12 กิโลโวลต์ เป็นต้น

และนี่ก็เป็นความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูงในตอนแรกนะครับ เชื่อว่าน่าจะทำให้เพื่อนๆ ได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูงเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แล้วรอติดตามบทความนี้ในตอนถัดไปเร็วๆ นี้ ที่นี่ทีเดิมครับ

 

 

//talk.mthai.com/topic/413214

 




Create Date : 01 ตุลาคม 2557
Last Update : 1 ตุลาคม 2557 20:07:06 น. 0 comments
Counter : 1113 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.