เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
23 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
นกหงส์หยก


นกหงส์หยก
(Zebra Parakeet)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Melopsittacus Undulatus ชื่ออื่นที่ใช้เรียกคือ Shell Parrot, Zebra Parakeet, Warbling Grass Parakeet, Undulated Parrot

ประวัติและความเป็นมา

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ Budgerigar นั้นอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลียปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียกว่า Betcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย บุคคลแรกที่ได้ศึกษาและนำเรื่องราวในฐานะเป็นนกใหม่ เป็นนักสัตวศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ กูลด์ (Gould) ซึ่งได้เข้าไปศึกษาชีวิตการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในออสเตรเลีย เมื่อ 110 ปีที่แล้ว

ชนิดและสี

สีขั้นพื้นฐานในปัจจุบันของนกหงส์หยกชนิดธรรมดาได้แก่ สีเขียว(Green) สีฟ้า(Blue) สีเหลือง(Yellow) และขาว สีที่กล่าวมาแต่ละสีมีชื่อเรียกแยกออกไปตามความอ่อนแก่ของ สี โดยแยกเป็นน้ำหนักสีคือ อ่อน , กลาง และ แก่

นอกจากสีธรรมดาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีอีก 3 ชนิดที่ควรทราบคือ


โอแพล์ลิน (Opaline) ชนิดสีนี้มิได้กล่าวเจาะจงว่าเป็นสีใดโดยเฉพาะ แต่จะมีลักษณะเป็น ที่สังเกตุดังนี้ บนคอ ใต้คอ และตรงขอบปีกติดกับไหล่จะไม่มีลายหรือจุด และจะต้องมีสีเหมือนกับ สีของลำตัว สีพื้นของปีก(มีลาย) ก็มีสีประมาณเป็นสีเดียวกับลำตัวเช่นเดียวกัน (นกชนิดธรรมดา ตัวเขียวจะมีหัวเหลือง ใต้คอเหลือง มัจุด 6 จุด และพื้นปีกก็เป็นสีเหลือง)
เผือก อัลบิโนส์ (Albinos) ลักษณะที่สังเกตคือ สีตลอดตัวจะประมาณได้เป็นสีเดียว เริ่ม ตั้งแต่ขาวปลอดทั้งตัวหรือมีสีค่อนไปทางสีฟ้า
ลูติโนส์ (Lutinos)เป็นนกที่มีสีเหลืองปลอด หรือมีสีค่อนไปทางเขียวทั้ง 2 ชนิด คือขาว และเหลืองนี้ ลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดคือต้องมี นัยน์ตาสีแดง

ลักษณะ

นกหงษ์หยก เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีลวดลาย และสีสันที่สวยงาม และสามารถแยกออกเป็นหลายพันธุ์ในตระกูลเดียวกัน นกหงษ์หยกเป็นนกที่ชอบแต่งตัวและรักสะอาด ชอบแต่งขนหน้ากระจก เราควรมีกระจกให้แก่นกด้วย โดยให้กระจกเหมาะสมกับจำนวนของนก บางครั้งเราควรที่ใช้ฟร็อคกี้ หรือ ที่ฉีด ฉีดน้ำให้เป็นฟอยๆกระจาย นกจะมาเล่นน้ำเพื่อทำความสะอาดขน และก็จะแต่งขน ซึ่งจะทำให้นกมีขนที่สวยงาม

การดูเพศนก



การดูเพศของนกนั้นไม่ยากเลย สามารถที่จะสังเกตได้ ไม่ยาก โดยดูที่จมูกของนก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกนกจะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะ เข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่ออยู่ในระยะผสมพันธุ์

นกหงษ์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จาก นกอยู่กันเป็นคู่ ไซร้ขนให้กัน จะคอยป้อนอาหารให้กัน

นกหงษ์หยกสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย ส่วนมากนิยมเลี้ยงกันในกรงขนาดใหญ่พอที่ นกสามารถบินได้ และต้องมีขนาดให้พอเหมาะกับจำนวนของนกด้วย ตำแหน่งการตั้งกรงนั้นไม่ควร ตั้งไว้ในที่ๆมีอากาศร้อน หรือที่มีลมโกรกมาก ควรไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารและน้ำของต้องมีให้นกกินทุกวัน และควรเปลี่ยนอาหารและน้ำทุกวัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาจเป็นแหล่งเพราะโรค ของนกได้

โดยธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฉะนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ เครื่องเล่นต่างๆอาจ ไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว เครื่องเล่นต่างๆก็ไม่อาจมองข้าม นอกจากอุปกรณ์เช่น ถ้วย หรือจานสำหรับใส่อาหาร น้ำ ผัก ทราย ที่ทุกกรงจะขาดไม่ได้และควรมี และ Clofood (อาหารที่มี ส่วนผสมของขนมปัง ไข่ และธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ)


อาหารของนกหงส์หยก

ข้าวฟ้าง คืออาหารหลักของนกหงษ์หยก ซื้อได้ตามร้านค้าทั้วไปปัจจุบันอยู่ที่ ราคาประมาณ ถุงละ 20 บาท เป็นเมล็ดพืชเมล็ดเล็ก ๆ ควรซื้อแบบที่แบ่งขายใส่ถุง มากกว่า เพราะจะทำให้อาหารดูสด และป้องกันฝุ่นได้
เมล็ดกวด แคลเซียม(กระดองปลาหมึก) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนกเลยทีเดียว จากประสบการณ์ของผู้เขียน คิดว่าสำคัญมากเพราะเมล็ดกวดหรือแคลเซียม(กระดองปลาหมึก)จะช่วยย่อยอาหาร ในลูกนกถ้าขาดของพวกนี้อาจจะมีอาการผิดปกติ ไม่แข็งแรง หรือตายได้ เมล็ดกรวด อาจจะนำมาจากทรายก็ได้แต่ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเสียก่อน แคลเซียม(กระดองปลาหมึก) อาจจะหาซื้อได้ในร้านที่ขายนกร้านใหญ่ หรืออาจจะหาซื้อได้ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ราคาไม่หน้าแพงมาก ขายอยู่ที่ราคาประมาณ อันละ 5 บาทซึ่งมีขนาดใหญ่
ผักใบเขียว เป็นตัวบำรุง นกที่สำคัญ เช่น กระหล่ำดอก คะน้า ผักกาดเขียว ผักบุ้ง เป็นต้น และต้องล้างให้สะอาดด้วยเพื่อป้องกันยาฆ่าแมลง
น้ำ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่นกจะขาดไม่ได้เลย ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน เพราะถ้านกที่เป็นโรคขี้ลงไปอาจทำให้เป็นที่เพาะเชื้อโรค ถ้านกตัวอื่นกินเข้าไปอาจพากันติดกันหมดทั้งกรงได้

การผสมพันธุ์

ในการผสมพันธุ์ของนกนั้น เราจำเป็นต้องหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง และที่สำคัญ ไม่ควรนำนกจากครอกเดียวกันมาผสมกัน เพราะจะทำให้สายเลือดชิดกัน ทำให้ลูกนกที่ได้จะไม่แข็งแรง เป็นโรคง่าย และอาจตายตั้งแต่อยู่ในรัง

นกหงส์หยกจะวางไข่ได้ทุกฤดูกาล การสังเกตว่านกพร้อมและอยู่ในระยะของการผสมหรือไม่นั้นคือ นกตัวเมียและตัวผู้จะบินคู่ตามกับไป ถ้าอยู่ในกรงที่เลี้ยงรวมกันมาก นกทั้งคู่จะปลีกตัวออกจาก นกตัวอื่นๆ และบินไปเกาะเคล้าเคลียส่งเสียงร้องอยู่มุมใดมุมหนึ่งของกรง นกตัวผู้จะเริ่มหัดขยอกอาหารออก จากปากเลี้ยงดูนกตัวเมีย และเมื่อนกตัวผู้บินออกห่าง นกตัวเมียจะส่งเสียงร้องเรียก นกหงส์หยกจะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 1 ปี หรือ เมื่อนกตัวเมียอายุได้ 11 เดือน ตัวผู้อายุ 10 เดือน ทั้งนี้แล้วแต่สุขภาพของนก

เราควรหารัง เพื่อให้นกเข้าไปวางไข่ รังนก มี 2 แบบ คือ แบบกล่องไม้ ซึ้งมีเนื้อนิ่มประกอบเข้าเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 5 1/2"ยาวประมาณ 7 1/2" และสูงประมาณ 6-7 นิ้ว ด้านหน้าจะมีรูกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 1/2"-2" เพื่อเป็นทางเข้าออกของแม่นก ต่ำกว่ารูลงประมาณ 2" จะมีคอน เล็กๆขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2" เสียบติดยื่นออกมาประมาณ 4" พื้นตอนในของรังฟักควรขุดเป็นแอ่ง กลมมีความเรียบลึกขนาดพอสมควรแอ่งนี้จะช่วยให้ไข่อยู่รวมกัน ไม่กะจัดกะจาย และรังอีกแบบหนึ่งคือ แบบลูกมะพร้าว ขอแนะนำให้ใช้ลูกมะพร้าว เพราะจะทำให้นกรูปทรงดีขาไม่ถ่าง เมื่อเทียบกับการใช้กล่องไม้ แต่ข้อเสียของลูกมะพร้าวคือ การทำความสะอาดจะลำบากเมื่อมีน้ำเข้า จะไปผสมกับ ขี้นก เมื่อแห้งมันจะแข็งถ้ามีลูกนกอยู่ด้วยจะทำให้ลูกนกติดอยู่กับในนั้นด้วย ก็เปรียบเหมือนปูนซีเมนต์ ดี ดี นี่เอง ภายในแอ่งนอกจากความ เรียบร้อยแล้ว หญ้าหรือฟางรองรัง ไม่เป็นสิ่งที่นกหงส์หยกพึงปรารถนาเลย

เมื่อนกผสมพันธุ์กัน แล้วประมาณ 8 วันนกจะวางไข่ใบแรก และจะวางไข่ใบต่อไป แบบวันเว้นวัน ในแต่ล่ะครอกนกจะวางไข่เฉลี่ยประมาณ 4-8 ฟอง หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่ความสมบูรณ์ของนก จากนั้นประมาณ 18-20 วันลูกนกก็จะเริ่มใช้ปากจิกเปลือกไข่ออกมา

ลูกนกจะเริ่มโผล่ออกมาจากรังเมื่อมีอายุประมาณ 4-5 สัปดาห์ ช่วงนี้ขนนกจะขึ้นเต็มที่ ช่วงนี้อย่าพึ่งแยกลูกนกออกจากกรง ปล่อยให้พ่อและแม่นกป้อนอาหารให้ อีกประมาณ 7 วันจึงแยกมันออก ก่อนลูกนกตัวสุดท้ายจะออกจากรัง แม่นกจะเริ่มวางไข่ ชุด ต่อไป ถ้ารังนั้น ยังมีสภาพดีอยู่


ยารักษาโรค

ท้องเสีย -- ใช้ยา parastop ซองสีฟ้า ควรให้สัก 7 วันให้ครบโดส ระวังปริมาณอย่าใส่มากเกินควรดูตามซองระบุมา หรือ ยาซุปเปอร์เบิร์ด เป็นหลอด หยอดใส่ปากหยดสองหยดเดี๋ยวก็หาย ถ้าเป็นมาอาเจียนด้วย ก็ผสมผงเกลือแร่ใส่น้ำใส่แต่น้อยนะครับให้กิน บางตัวเป็นจนเท้าซีดผอมเกือบหมดแรงแล้ว ถ้าไม่ยอมรับอาหารและยาก็คงต้องจับหยอดกันทีละนิดละหน่อยตรงมุมปากถ้าขาดน้ำมากๆจะแย่

หนังสืออ้างอิง เรื่องนกหงส์หยก
ช้างน้อย. นกหงส์หยก / ช้างน้อย. กรุงเทพฯ : ชมรมผู้นิยมนกกรุงเทพฯ'33, [253-?]
ช้างน้อย. นกหงส์หยก / โดย ช้างน้อย. นนทบุรี : ฐานเกษตรกรรม, 2542
สกุณา. ตำราเลี้ยง-ผสมพันธุ์ และฝึกนกหงส์หยก / สกุณา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงธรรม ประทีป, 2522








Create Date : 23 มิถุนายน 2550
Last Update : 26 มิถุนายน 2550 0:08:22 น. 2 comments
Counter : 3617 Pageviews.

 
อยากทราบว่าข้าวโอ็ดที่คนกินสามารถให้นกได้หรือเป่ลาและผลไม้ประเภทใหนบ้างที่นกกินได้รบกวนส่งคำตอบมาที่ E mail
ผมได้หรือเปล่าครับ ขอร้อง muhammad_004@hotmail.com


โดย: 777 IP: 222.123.40.110 วันที่: 9 ธันวาคม 2551 เวลา:19:36:55 น.  

 
ดีมากๆๆๆ

เลยคับ


โดย: โม IP: 192.168.182.68, 118.175.23.18 วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:20:02:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.