**~~If better is possible, Good is not enough~~**

<<
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 มีนาคม 2550
 

แจ้งเตือนระวังการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลด้านการเงินผ่านการหลอกลวงแบบ Phishing

เรียบเรียงโดย : ชวลิต ทินกรสูติบุตร และกิติศักดิ์ จิรวรรณกูล

กล่าวโดยทั่วไป

จากการที่เราได้รับการแจ้งเหตุการณ์การหลอกลวงแบบ Phishing [1] เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลด้าน
การเงินของสถาบันการเงินในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยผู้ไม่ประสงค์ดี หรือแฮกเกอร์จะสร้างเว็บเพจ
ที่มีรูปแบบคล้ายกับเว็บเพจของสถาบันการเงินนั้นๆ แล้วส่งอีเมล์เพื่อหลอกให้ผู้เสียหายเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนบุคคล
ในหน้าเว็บเพจที่แฮกเกอร์ได้สร้างขึ้น ซึ่งข้อมูลที่หลอกให้กรอกได้แก่ ข้อมูลรหัสบัตรเครติด username/password
หมายเลขบัญชี หรือข้อมูลรหัส ATM เป็นต้น

I. คำอธิบาย

รูปแบบการหลอกลวง

ผู้ไม่ประสงค์ดี หรือแฮกเกอร์จะส่งอีเมล์ที่มีหัวข้ออีเมล์ และเนื้อหาของอีเมล์ที่ทำให้ผู้รับเชื่อว่าเป็นอีเมล์ที่ส่งจากสถาบันการเงินจริงๆ
โดยที่ในเนื้อหาอีเมล์อาจจะระบุถึงคำเชื้อเชิญ หรือคำชักจูงให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินนั้นๆ
คลิกลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บของผู้ไม่ประสงค์ดีที่ปลอมแปลงเป็นหน้าเว็บสำหรับรับข้อมูลสำคัญด้านการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต
ของลูกค้า หากผู้เสียหายหลงเชื่อกรอกข้อมูลต่างๆ เข้าไปผู้ไม่ประสงค์ดี หรือแฮกเกอร์ก็จะได้รับข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นทันที

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ผู้เสียหายที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินอาจจะสูญเสียเงินในบัญชี หรือวงเงินในบัตรเครดิตที่ผู้ไม่ประสงค์ดี หรือแฮกเกอร์นำไป ใช้จ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอาจถูกเปิดเผยในอินเทอร์เน็ต หรือถูกนำไปใช้ในทางเสียหายได้

II. วิธีแก้ไขและวิธีการป้องกัน
ลูกค้าของสถาบันการเงินควรมีความตระหนักต่อความเสี่ยงของการหลอกลวงนี้ และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของอีเมล์ที่
ได้รับจากสถาบันการเงินว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยปกติสถาบันการเงินส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่มีนโยบายในการ
ส่งข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลทางการเงิน รวมถึงการแจ้งเปลี่ยนรหัสผ่านหรือขอรับบัญชีใหม่หรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตทางอีเมล์ ถ้ามีอีเมล์จากธนาคารให้เชื่อไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นการหลอกลวง ลูกค้าต้อง
ตรวจสอบลิงก์ที่ปรากฏในอีเมล์ว่าทำการเชื่อมต่อไปยังเว็บของสถาบันการเงินแห่งนั้นจริงหรือไม่ หากจำเป็นต้องเข้าไป
ยังเว็บไซต์ดังกล่าว การเข้าใช้งานเว็บทางด้านธุรกรรมการเงินของสถาบันการเงินต้องอยู่ในรูปแบบของการเข้ารหัสแบบ
HTTPS เท่านั้น ตัวอย่างชื่อเว็บไซต์ควรเป็น https://www.examplebank.com เป็นต้น สถาบันการเงินต้องแจ้ง
ให้ลูกค้ารับทราบถึงความเสี่ยง และการหลอกลวงชนิดนี้ให้กับลูกค้ารับทราบ หากไม่มั่นใจในอีเมล์หรือเว็บเพจที่เข้า
ใช้งานลูกค้าควรโทรศัพท์ติดต่อไปยังสถาบันการเงิน เพื่อยืนยันความมั่นใจก่อนเข้าใช้งานระบบธุรกรรมด้านการเงินผ่าน
อินเทอร์เน็ต ศีกษาข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมแนวทางป้องกันจาก [1]

เอกสารอ้างอิง
[1] เทคนิคการโจมตีแบบ "Phishing" //www.thaicert.nectec.or.th/paper/basic/phishing.php


Create Date : 27 มีนาคม 2550
Last Update : 27 มีนาคม 2550 11:48:43 น. 2 comments
Counter : 298 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ สำหรับข้อมูลดี ๆ
 
 

โดย: Nilz วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:13:40:43 น.  

 
 
 
thank you ......
 
 

โดย: pukilf วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:8:22:50 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Krapook-_-'
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Krapook-_-''s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com