มีนาคม 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
4 มีนาคม 2555

บทความเกี่ยวกับ 3 จว.ชายแดนใต้ จาก นสพ.Java Pos ของอินโดนีเซีย

Bangkok Beri Semua, Kecuali Harga Diri dan Kemerdekaan


 กรุงเทพให้ทุกอย่าง ยกเว้นคุณค่าในความเป็นมนุษย์และเอกราช


เมื่อมองดูรอบๆเมืองปัตตานีแล้ว ต้องยอมรับว่าโครงสร้างของเมืองอยู่ในขั้นดีมาก ถนนเรียบและกว้างขวาง มีโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ประกอบศาสนกิจและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ชุมชนถูกสร้างอย่างน่าภาคภูมิใจ ในเมืองที่มีประชากรไม่ถึงหนึ่งล้านคนนี้ พรั่งพร้อมไปด้วยศูนย์การค้า บิ๊กซี,บริษัทขายรถยนต์นับสิบแห่งไปจนถึงร้านขายโทรศัพท์มือถือ แต่อาจจะถูกหลอกจากสิ่งที่เห็นด้วยสายตาเหล่านี้ก็ได้ นักธุรกิจ นักเรียนและผู้นำชุมชนบางส่วนของปัตตานีได้ยอมรับกับจาวาโพสว่ามีความเดือนร้อนจากความขัดแย้งที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้


ณัฐพงษ์ สุวรรณมงคล อายุ 56 ปี ผู้ประกอบการซื้อขายรถมือสองยอมรับว่าความขัดแย้งในพื้นที่ปัตตานีเสมือนกับการขับไล่ชาวไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามให้พ้นจากปัตตานีรวมทั้งยะลาและนราธิวาสโดยทางอ้อม พวกเขาหวาดกลัวต่อความรุนแรงรวมทั้งการปฏิบัติต่อชาวบ้านที่ไม่ใช่มุสลิมที่รุนแรงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกไม่ไว้วางใจแผดเผาประชาชนในพื้นที่ เพราะรัฐบาลไม่เคยชี้แจงว่าใครกันแน่ที่เป็นผู้ก่อการร้าย พวกเราเหมือนกับถูกไล่ตามโดยเงามืดที่สามารถทำลายธุรกิจและคร่าชีวิตครอบครัวเราได้ตลอดเวลา ชาวไทยพุทธบ่นให้เราฟังในช่วงที่พบกันในร้านของเขาเมื่อวันอาทิตย์ (23 มี.ค.)


ณัฐพงษ์ซึ่งเคยประสบกับทีมงานสมานฉันท์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ประเมินว่าการที่ใช้ทหารมาจับกุมผู้กระทำผิดเป็นเพียงเพื่อเอาใจประชาชนและเพื่อที่จะบอกว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหาได้ แต่หลังจากมีการจับกุมแล้ว ความรุนแรงกลับถี่ขึ้น จนเดี๋ยวนี้ไม่มีใครเค้าเชื่อกันแล้ว ยิ่งหลังจากระเบิดที่โรงแรม ซีเอส ปัตตานี ธุรกิจก็แย่ลงอย่างต่อเนื่อง ณัฐพงษ์ซึ่งมีกิจการอยู่ใกล้กับโรงแรมซีเอส ปัตตานีกล่าว ทุกวันนี้เขาขายรถยนต์ได้เพียง 3-5 คันต่อสัปดาห์เท่านั้น อันที่จริงนับแต่โศกนาฏกรรมตากใบและกฎอัยการศึกในปี2547 ธุรกิจก็เสียหายยับเยินภายในวันเดียว เพื่อนผมบางคนปิดกิจการย้ายขึ้นไปอยู่ที่อื่นหมดแล้ว หากว่าแนวโน้มมันไม่ดีขึ้น ผมก็คงต้องย้ายไปเหมือนกัน ณัฐพงษ์กล่าว


สิ่งที่ณัฐพงษ์รู้สึกสอดคล้องกับข้อมูลของรัฐบาลไทยที่ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคใต้ในปีที่แล้ว มีเพียง1.8%ตัวเลขนี้ต่ำกว่าการเติบโตเฉลี่ยของประเทศ 4.2% นับตั้งแต่ปี 2547มีโรงงานปิดกิจการไปแล้วถึง 108โรง และประชากรภาคใต้ 10.8% อยู่ใต้เส้นมาตรฐานความยากจน ไม่เพียงแต่ด้านธุรกิจเท่านั้น ในด้านการศึกษาก็ลดลงตามไปด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ 90%ของนักศึกษานับถือศาสนาอิสลาม ทั้งที่จริงแล้วก่อนจะเกิดความขัดแย้งขึ้น นักศึกษาจากที่ต่างถิ่นและต่างศาสนาก็เข้ามาเรียนที่นี่ ในปัจจุบันไม่แปลกใจเลยที่สภาพแวดล้อมของวิทยาเขตนี้คล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยในอินโดนีเซีย นักศึกษาส่วนใหญ่สวมฮิญาบ(ผ้าคลุมศีรษะ-ผู้แปล) มีมัสยิด มีสถานที่ละหมาดหลายแห่งและอาหารทั้งหมดเป็นอาหารฮาลาญ แตกต่างจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯอย่างสิ้นเชิง นักศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิมทนอยู่เพื่อเรียนให้จบๆไปเท่านั้น ขณะเดียวกันแทบจะไม่มีนักศึกษาใหม่ที่ไม่ใช่มุสลิมสมัครเข้ามานูร อิมานี อายุ 21ปี นักศึกษาสาขาฟิสิกส์กล่าวขณะเล่นอินเตอร์เน็ตในสวนของมหาวิทยาลัย


อิสมาอิล อาลี อายุ 37 ปี อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อธิบายกับสื่อถึงความรู้สึกกลัวที่ตามหลอกหลอนนักศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิมว่า ก่อนปี 2547 นักศึกษาทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพิ่งจะมาในช่วงหลัง (เหตุการณ์กรณีตากใบที่มีนักศึกษามุสลิมเสียชีวิตจำนวนมาก) ที่ความไม่ไว้วางใจกันระหว่างทั้งสองกลุ่มเริ่มเกิดขึ้น นอกจากนี้เมื่อก่อนพวกเขาก็ไม่ค่อยสนิทสนมกันอยู่แล้ว


รูสดี ตาเยอฮ์ อายุ 51 ปี ผอ.อิสลามศึกษาและรองประธานสภามุสลิมในจังหวัดปัตตานี ซึ่งถูกรับเชิญจากรัฐบาลไทยให้ไปกล่าวปาฐกถาเป็นประจำกล่าวถึงสถานการณ์ในปัจจุบันว่า ที่จริงแล้วไม่ใช่เพียงก่อให้เกิดความไม่สบายใจแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ มุสลิมที่นี่เองก็อยากจะหนีไปเหมือนกัน แต่ว่าจะไปอยู่ไหนดี ไปกรุงเทพก็ไม่ดีเพราะจะรู้สึกเหมือนไม่ใช่ประเทศตัวเอง ไปอยู่มาเลเซียถึงแม้ว่าจะศาสนาและวัฒนธรรมเดียวกันก็มีปัญหาเพราะคนละประเทศกัน อีกทั้งเขายังเฉียบขาดกับคนต่างด้าวผิดกฎหมายด้วย เขากล่าวขณะพบกันที่ห้องทำงานด้านหลังของมัสยิดใหญ่ปัตตานี


รุสดี เคยเป็นเจ้าหน้าที่มัสยิดของบ้านพักตำรวจในเมืองจ๊อกจาการ์ตา(ในช่วงใช้ทุนการศึกษา) กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลไทยพยายามที่จะทำให้ชาวมลายูในภาคใต้จำนวน 4.5ล้านคนมีวิถีการดำเนินชีวิตเหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่อีก 63 ล้านคน แต่ด้วยแนวนโยบายนี้ประชาชนเชื้อสายมลายูที่มีความแตกต่างทั้งวัฒนธรรมและศาสนามองว่าเป็นการกดขี่ต่ออาณานิคม พวกเราเป็นคนเชื้อสายมลายูซึ่งมีความแตกต่างจากชาวสยาม อันนี้คือปัจจัยด้านสังคม-ประวัติศาสตร์ที่มีมาช้านานก่อนที่จะมีประเทศไทย รุสดีกล่าวถึงดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการมอบอาณาจักรปัตตานีแก่ราชอาณาจักรไทยโดยอังกฤษในปี ค.ศ.1902 (การจัดตั้งมณฑลปัตตานีในสมัย ร.5 ซึ่งผู้พูดหรือสื่อเองอาจจะได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด –ผู้แปล)


อาหมัด คฮามิล อายุ45ปี ครูใหญ่โรงเรียนอิสลาม มาฮัด อัตตาร์บิยะห์ ปอเนาะ บันดาร์ ปัตตานี ให้ความเห็นว่า เพราะอาณาจักรปัตตานี ถูกมอบให้แก่ราชอาณาจักรสยามด้วยความไม่ยินยอม และด้วยรูปแบบความสัมพันธ์ของราชอาณาจักรไทยกับประชาชนของอาณาจักรปัตตานีเดิม(ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ไม่แตกต่างกับการใช้อำนาจของผู้ล่าอาณานิคมกับเมืองขึ้น สิทธิต่างๆของประชาชนที่เป็นเมืองขึ้นถูกมองข้าม งานในภาครัฐเปิดโอกาสให้เราเฉพาะตำแหน่งต่ำๆ ขณะเดียวกันสิ่งก่อสร้างก็เป็นเพียงลิปสติกที่ฉาบบนพื้นที่นี้เท่านั้น


คฮามิล ผู้เคยเป็นทีมงานของ Prof Dr. Amien Rais (อดีตประธานกรรมการสภาที่ปรึกษาประชาชน ของอินโดนีเซียในช่วง1999-2004-ผู้แปล) ในช่วงทำงานวิจัยระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย จ๊อกจาการ์ตากล่าว คฮามิลมักจะถูกขัดขวางเสมอในเรื่องที่จะรักษาศาสนาและวัฒนธรรมชาวมลายูอย่างต่อเนื่อง ในการทำงานในโรงพยาบาลมุสลิมอย่างพวกเราถูกห้ามสวมฮิญาบอย่างเด็ดขาด ยิ่งกว่านั้นในการประชุมระดับชาติที่กรุงเทพฯยังถูกขอไม่ให้สวมผาพันคอ หมวกและชุดมุสลิมอีกด้วย ผู้บริหารโรงเรียนที่มีนักเรียนถึง 2500 คนกล่าว ตามความเห็นของคฮามิลแล้วชาวสยามมักจะมองว่าชาวมุสลิมมลายูเป็นคนโง่ล้าหลัง เพียงเพราะว่าพวกเรานุ่งโสร่ง สวมหมวกมุสลิมหรือผ้าโพกหัวทั้งๆที่สิ่งนี้คือสิ่งแสดงตัวตนของพวกเรา นอกจากนี้พวกเรายังมีการศึกษาอีกด้วย ว่าที่ผู้จบดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย ผู้จบจากมหาวิทยาลัยระหว่างชนขาติอิสลาม ประเทศมาเลเซียและมหาวิทยาลัย ในเมืองมาดินา ประเทศซาอุดิอาราเบียด้วยคะแนนดีเยี่ยมกล่าว สิ่งเหล่านี้แหละคือต้นเหตุของปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในตอนนี้ ซึ่งจะไม่ใช่ขอบเขตของความขัดแย้งแค่กลุ่มคนยากจนในพื้นที่อิจฉากลุ่มคนร่ำรวยและมีอำนาจที่อยู่ตอนเหนืออีกต่อไป แต่มันได้ผนวกเอาการต่อต้านการถูกลบล้างอารยะธรรมที่เชื่อถือกันมานับร้อยปี แล้วอะไรคือวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของความขัดแย้งใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญญาชนมุสลิมปัตตานีทั้งสามมีความเห็นค่อนข้างเหมือนกัน


อิสมาอิล อาลีกล่าวว่า รัฐบาลไทยต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นว่า ตั้งแต่ มกราคม 2544 ซึ่งรัฐบาลยังมั่นใจว่าไม่มีขบวนการแบ่งแยกดินแดนทางใต้ แต่ทุกสิ่งเริ่มหวาดผวาหลังจากที่มีการโจมตีและปล้นอาวุธจำนวนมากที่กองบัญชาการทหารแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 ต่อเนื่องด้วยการโจมตีขนาดใหญ่เมื่อวันที่ 28 เมษายน รัฐบาลไม่สามารถปฏิเสธได้อีกแล้วว่าการโจมตีแต่ละครั้งนั้นสำเร็จเรียบร้อยด้วยผู้ก่อการกบฏและมีแรงจูงใจทางการเมืองที่จะประกาศเอกราช คฮามิลและรูสดีกล่าวเสริมว่า สายเกินไปที่จะเปลี่ยนความเข้าใจของประชาชนชาวมุสลิม เนื่องจากความโหดร้ายที่เกิดขึ้นมานับร้อยปี จากการกระทำของระบบอบการปกครองจากกรุงเทพ ผมเห็นด้วยตาตัวเองว่า ผู้ชุมนุมประท้วงที่ตากใบนับพันคนถูกขนย้ายไปยังค่ายทหารที่สงขลา โดยการมัดมือไพล่หลังและกองซ้อนทับกันถึง5ชั้นในรถบรรทุกคันเดียว (ข้อมูลที่ถูกต้องคือจาก อ.ตากใบจ.นราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี-ผู้แปล)


รูสดีกล่าว พวกเขากระทำกับประชาชนชาวมุสลิมยิ่งกว่าสัตว์ สิ่งนี้ไม่มีทางที่พวกเขาจะกระทำกับชาวสยาม พวกเราหวังจะให้ทุกสิ่งนี้จบสิ้นลง มีทางเดียวเท่านั้นก็คือมอบเอกราชให้แก่เรา คฮามิลยอมรับว่าโศกนาฏกรรมที่ตากใบที่ผ่านมากระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนเชื้อสายมลายูภาคใต้ ต่อการกดขี่ที่พวกเขาได้รับตลอดมานี้ พวกเขาสามารถสร้างถนนหนทางที่กว้างขวางกับตึกใหญ่โตให้กับเราได้แต่พวกเรากลับไม่ได้รับเอกราชและคุณค่าความเป็นมนุษย์ เขากล่าวถึงโศกนาฏกรรมที่ตากใบที่มีชาวมุสลิมเสียชีวิตกว่า 80คน ทำให้คนใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกร้องหาอิสรภาพ ซึ่งพวกเขาคิดบัญชีด้วยการวางระเบิด การโจมตีเป็นระยะๆ และการสังหารเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศไทยรายงานว่า มีการโจมตี 2,633 ครั้งต่อกำลังพลทางทหารในพื้นที่ภาคใต้ตลอดปีแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากยอดเมื่อปีก่อนที่มีเพียง 1324 ครั้ง เพื่อที่จะลดการโจมตี หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยได้จับกุมผู้ต้องสงสัยไปแล้ว 3000คน (จาวาโพสต์)


ที่มา ://amperapatani.blogspot.com/2011/08/bangkok-beri-semua-kecuali-harga-diri.htm


Langit Biru:แปล


Create Date : 04 มีนาคม 2555
Last Update : 5 มีนาคม 2555 19:51:12 น. 3 comments
Counter : 1527 Pageviews.  

 
บทความนี้ผมนำมาเผยแพร่เพื่อให้เห็นมุมมองหรือการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหา๓จว.ภาคใต้
มิได้มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม แต่เพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของคนในพื้นที่บางส่วนเท่านั้น
ชื่อของบุคคลที่กล่าวถึงอาจผิดเพี้ยนไปบ้างเนื่องจากแปลจากต้นฉบับภาษาอินโดนีเซีย


โดย: Maniac2844 วันที่: 4 มีนาคม 2555 เวลา:21:07:14 น.  

 
เมื่อไหร่ที่ 3 จว.ชายแดนใต่จะสงบอะ


โดย: เด็กแถวนั้น IP: 119.42.84.20 วันที่: 20 มกราคม 2556 เวลา:13:39:37 น.  

 
โกหกทั้งนั้นคนให้สัมภาษณ์ที่อายุมากๆ
ในโรงพยาบาลก็เห็นคนใส่ ฮิยาป เกลื่อนไปไม่ได้ห้ามตรงไหน
ผู้ชามมุสลืมจะใส่หมวกนุ่งโสร่งก็ไม่เห็นมีใครว่า ไปไหนมาไหนได้สดวก
สถานที่ต่างๆ ก็มีห้องละหมาดไว้ให้
ไม่เห็นจะมีการกีดกันและกดขี่ตรงไหน
สส. ภาคใต้ 3 ก็คนมุสลิม(เกือบ)ทั้งนั้น
ครูใหญ่โรงเรียนท้องถิ่นก็คนมุสลิมตั้งเยอะ


โดย: ซิงกูล่า IP: 202.12.74.129 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:10:30:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Maniac2844
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




** บทความในBlog นี้เขียนขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียน **
New Comments
[Add Maniac2844's blog to your web]