ลดละ..กิเลส...มานะ...อัตตา
มุ่งสู่..พระนิพพาน

 
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 สิงหาคม 2553
 

พื้นฐานพุทธศาสนา เรื่องอาหาร ๔ ตอนที่ ๑

ผมได้ไปอ่านพระไตรปิฎกไปเจอเรื่องเกี่ยวกับ...อาหาร...ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวถึงอาหารและได้ เปรียบเทียบกับเรื่องราว ซึ่งผมคิดว่าท่านเปรียบเทียบได้อย่าง ชัดเจน แจ่มแจ้ง จนทำให้ผมในทุกวันนี้เวลา ทานอาหารเมื่อไหร่ผมต้องกำหนดรู้ความยินดีในกามคุณ ๕ ตลอดเวลาเลยเชียว มาดูกันว่าท่านว่าอย่างไร


"เล่มที่ ๑๖
๓. ปุตตมังสสูตร
[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ
๑. กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ

[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กวฬีการาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คน ถือเอาสะเบียงเดินทางเล็กน้อย แล้วออกเดินไปสู่ทางกันดาร เขาทั้งสองมีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะทั้งสองคนกำลังเดินไปในทางกันดารอยู่ สะเบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้ามพ้นไปไม่ได้ ครั้งนั้น เขาทั้งสองคนคิดตกลงกันอย่างนี้ว่า สะเบียงเดินทางของเราทั้งสองอันใด แลมีอยู่เล็กน้อย สะเบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารนี้ยังเหลืออยู่ เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อได้บริโภคเนื้อบุตร จะได้พากันเดินข้ามพ้นทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้น เราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่ ครั้งนั้น ภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคนรับประทานเนื้อบุตรพลาง ค่อนอกพลางรำพันว่า ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ดังนี้ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหารเพื่อความคะนอง หรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อความประดับประดาร่างกายใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อข้ามพ้นทางกันดารใช่ไหม ใช่ พระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า บุคคลควรเห็นกวฬีการาหารว่า [เปรียบด้วยเนื้อบุตร] ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้กวฬีการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณได้แล้ว สังโยชน์อันเป็นเครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีกก็ไม่มี ฯ"


จะเห็นได้ว่าการปฎิบัติธรรมเราจะต้อง มีการปฎิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลาไม่เว้นแต่ในขณะที่ทานอาหาร คือการกำหนดรู้ในความยินดีในกามคุณ ๕ ซึ่งก็เป็นการทำ ธรรมวิจัย โยนิโสมนสิการ โดยมีสติปัฎฐาน ๔ เป็นตัวดำเนินการอยู่ตลอดทุกคำที่อาหารเรา เพื่อที่จะแยกแยะว่าสมุทัยที่ทำให้เราไปยินดีในความยินดี ในกามคุณ ๕ คืออะไรจะได้ไปลดละกิเลสได้ถูกตัวจริง



Free TextEditor


Create Date : 20 สิงหาคม 2553
Last Update : 20 สิงหาคม 2553 9:31:38 น. 3 comments
Counter : 2179 Pageviews.  
 
 
 
 
อ่านย้อนไปย้อนมา 3 เที่ยวก็ไม่เข้าใจค่ะ กวฬีการาหาร มันเป็นอย่างไรค่ะ หยาบบ้างละเอียดบ้างแล้วมันเกี่ยว
อะไรกับเนี้อบุตรชายค่ะ
สติปัฏฐาน 4 การใช้สติพิจารณากำหนด รู้ ถึงอาการที่ปรากฏทางกาย เวทนา จิต และธรรม แล้ว
คือ งงค่ะ

ขอความรู้ด้วยนะคะ
 
 

โดย: goyajang วันที่: 20 สิงหาคม 2553 เวลา:11:44:12 น.  

 
 
 
กวฬีการาหาร หมายความว่า..อาหารที่เราทานทุกวันนี้ครับ
ท่านเปรียบเทียบว่าคนเราที่อวิชชาอยู่หาก กินอาหารแล้วยังติดความอร่อยอยู่ก็..เปรียบเหมือนกับ...พ่อแม่ฆ่าลูกตัวเองกินแล้วยังไม่รู้อยู่ว่ากินลูกตัวเองนะครับ
สติปัฎฐาน ๔ เมื่อกินอาหาร
พอเรากินอาหาร...ให้ไปกำหนดรู้ว่าเรามีความยินดีในอาหารที่กำลังกินอยู่นี้อย่างไรบ้างเช่น รสมันอร่อยนะ(ยินดีใน รส) กลิ่นมันน่าทานนะ(ยินดีในกลิ่น)...พอกำหนดรู้เสร็จก็พิจารณาเวทนาในเวทนา..ว่าตอนนี้เรามีสุขหรือทุกข์..หากเรารู้สึกอร่อย..เราก็จะสุข(สุขตรงนี้เป็นเคหสิกตโสมนัสเวทนา(สุขจากการตามใจกิเลส)..เราต้องลดละครับท่านไม่ให้เสพสุขแบบนี้)....พอพิจารณาเวทนาในเวทนาแล้ว...ใช้ธรรมวิจัย(วิจัยธรรมที่เกิดกับจิต)..ว่าแล้วความยินดีใน รสนี้เกิดจากอะไร..เราจะเห็นเลยว่า...เราไปยึดมั่นถือมั่นกับรสแบบนี่...กลิ่นแบบนี้...ใช่เลยนี้แหละอร่อยของเรา(ในแต่ละคนไม่เหมือนกัน)..เราต้องลดละความยึดมั่นถือมั่นตรงนี้ครับ...วิธีการลดความยึดมั่นถือมั่นตรงนี้ก็คือ...อย่าไปตามใจตัวเองครับกินในรสแบบที่ไม่ชอบมั่ง(ซึ่งจะทำให้เราเห็นทุกขอริยสัจหรือทุกข์ที่เราไปยึดมั่นถือมั่นกับรสที่ตนเองว่าใช่เลยอร่อย)...ซึ่งกระบวนการธรรมวิจัยแบบนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการครับ(ธรรมวิจัย...โดยใช้สติปัฎฐานเป็นตัวกำหนด(คือใช้สติไปเห็นสภาวะธรรมที่เกิดกับจิต)...จนเห็นไปถึงตัวสมุทัยนะครับ)
น่าจะพอเข้าใจนะครับ
 
 

โดย: โกวิทย์ วันที่: 20 สิงหาคม 2553 เวลา:11:59:34 น.  

 
 
 
เคยสงสัยเรื่องอาหาร4 ที่พระพุทธองค์ตรัสเหมือนกันว่าจะเอาไปพิจารณาอย่างไรกันหนอ เคยฟังอาจาย์บางท่านบอกว่าการพิจารณาอาหาร4 สามารถบรรลุธรรมถึงนิพพานได้ กำหนดรู้น่าจะหมายความถึง ปริญญา3 เคยอ่านเจอความหมายของอาหาร4 ของท่านประยุตฯ กล่าวไว้ว่า เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากเบญจกามคุณได้ด้วย แต่ยังไม่เคยลองไปทำปริญญาเลย ขอบคุณสำหรับธรรมดีๆครับ
 
 

โดย: bhuddhapong IP: 180.180.182.148 วันที่: 3 กันยายน 2553 เวลา:20:59:00 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

โกวิทย์
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add โกวิทย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com