ลดละ..กิเลส...มานะ...อัตตา
มุ่งสู่..พระนิพพาน

<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 เมษายน 2554
 

ความเพียรที่ต้องปฎิบัติ การทดลองสิ่งที่ผมหลงลืมปฎิบัติ

หลังจากทำภาระกิจที่ต้องให้เสร็จทันเวลาที่กำหนดหรืองานทางโลกที่ต้องรับผิดชอบอยู่พักใหญ่(ปฎิบัติธรรมก็ไม่เอาอ่าว แพ้กิเลสบ่อยมาก อาจเป็นเพราะจิตจดจ่อกับการงานมากไปเลยหลงลืม จดจ่อ มรรค ๘ กิเลสเลยโจมดีขนาบซ้ายที ขวาที) ก็ได้มีเวลามาเขียนบล็อกอีกครั้ง(ปฎิบัติเข้มข้นขึ้น) พอดีได้ฟังพระไตรปิฎก ฉบับที่ ๒๑ พอถึงข้อ ๑๔ เหมือนมีอะไรสะกิดใจให้ตั้งใจฟังอย่างจดจ่อมีสมาธิ ก็ได้รู้ว่าในข้อนี้พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จักกับความเพียร ๔ ประการที่ผู้ที่ปฎิบัติธรรมควรปฎิบัติตลอดเวลาซึ่งพอฟังจบเหมือนได้เพิ่มพูนปัญญา(ถึงแม้ว่าจะเป็นปัญญาจากการได้ฟัง ผมคิดว่าก็มีประโยชน์สำหรับผมอย่างมากมายครับ) ซึ่งได้เข้าใจองค์ธรรมต่างๆที่ได้ปฎิบัติมาแล้วมี สติ ไปรู้ ไปเห็น สภาวะธรรมนั้นๆมาลองดูกันว่าท่านสอนว่าอย่างไรบ้าง


"  สังวรสูตร
         [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียร ๔ ประการนี้ ๔ ประการนี้เป็นไฉน คือ สังวร
ปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน
เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู...
ดูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ
โดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุ
ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวม
ในมนินทรีย์ นี้เราเรียกว่าสังวรปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ย่อมครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มี  ซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งพยาบาทวิตกเกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งอกุศลธรรมอัน
ลามกที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่าปหานปธานดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
ความสละย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพช
ฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัม
โพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ นี้เราเรียกว่าภาวนาปธาน
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอัน
เจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิปุพพกสัญญาวิจฉิทกสัญญา
อุทธุมาตกสัญญา นี้เราเรียกว่าอนุรักขนาปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลายความเพียร ๔ ประการนี้แล ฯ
      ปธาน ๔ ประการนี้ คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑
      ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็น
      เผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องให้ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียรพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ ฯ."......


ซึ่งสิ่งที่ผมขาดการปฎิบัติไปนั้น คือ สังวรปธาน ซึ่งปฎิบัติน้อยมากเมื่อย้อนระลึกรู้อดีตนับตั้งแต่ปฎิบัติธรรมมา ซึ่งภายในใจคิดว่า "เราขาดตรงนี้นี่เองที่ทำให้ในบางครั้งเราแพ้ กิเลส แพ้ อัตตา อย่างราบคาบ แต่ไม่เป็นไรหนทางยังอีกไกลนัก กิเลสยังมีให้ลดอีกเยอะ อัตตายังมีให้ละอีกแยะ เริ่มเสียตอนนี้ก็ไม่สาย..." ผมเลยตั้งจิต(กำหนดให้จิตพยายามระลึกถึง สัมมัปธาน ๔) แล้วเริ่มทดลองปฎิบัติ แล้วเริ่มตั้ง KPI วัดผลโดยเอาตัว กิเลสที่เคยพ่ายแพ้ อัตตาที่เคยพ่ายแพ้ เป็น goal จะต้องลดละมันให้มันอ่อนกำลังลงให้ได้ โดยมีระยะทดลองเบื้องต้นต้องปฎิบัติอย่างเข้มข้น ๒ อาทิตย์และมา สรุปผลดูอีกที ผลการปฎิบัติเป็นอย่างไร หลังสงกรานต์ จะมาเล่าให้ฟัง และจะอธิบาย case ที่ผมได้ทดลองปฎิบัติอีกที








Free TextEditor




 

Create Date : 08 เมษายน 2554
3 comments
Last Update : 9 เมษายน 2554 6:35:05 น.
Counter : 2922 Pageviews.

 
 
 
 
ขออนุโมทนาสาธุครับ
 
 

โดย: shadee829 วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:1:00:16 น.  

 
 
 
ขอให้มีความสุขในวันสงกรานต์นะครับ
 
 

โดย: shadee829 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:19:17:20 น.  

 
 
 
เข้ามาศึกษา เรื่องธรรมะ

ทำให้ใจเป็นสุข สงบ จริิงหรือ ?

ขออนุญาติแอดนะคะ
 
 

โดย: เซโรงังโซเซจัง วันที่: 31 ตุลาคม 2555 เวลา:11:06:40 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

โกวิทย์
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add โกวิทย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com