ชายขอบความคิด: กฎหมาย เศรษฐกิจ การลงทุน จะเป็นอย่างไร ถ้าเรามองปัญหาอย่างเข้าใจมากขึ้น และแก้ปัญหาอย่างตรงจุด?

<<
พฤศจิกายน 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
7 พฤศจิกายน 2554
 

พระเจ้าไม่ได้เล่นลุกเต๋า – หลักศีลธรรมของอริสโตเติล

"พระเจ้า"ไม่ได้เล่นลุกเต๋า – หลักศีลธรรมของอริสโตเติล

พระเจ้าไม่ได้เล่นลุกเต๋า หรือ God does not play dice เป็นคำคมที่รู้จักกันดีในฐานะคำพูดของไอน์สไตน์ที่สื่อความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเกิดจากกฎทางฟิสิกส์และความน่าจะเป็น ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับปรัชญาของอริสโตเติล ผู้เชื่อใน “ความยุติธรรมของพระเจ้า” เลยแม้แต่น้อย

แต่จริงๆแล้วอัจฉริยะทั้งสองกับมีอะไรที่คล้ายคลึงกันกว่าที่คิด นั้นก็คือลักษณะของความ “เรียบง่าย”

ในส่วนงานของไอน์สไตน์นั้นมักจะชอบพูดถึง “จินตนาการ” ทฤษฎีสัมพันธภาพของเขาก็มาจาก “จินตนาการ” เหมือนกัน ในส่วนชีวิตความเป็นอยู่ แม้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หวังตำแหน่งหรือเกรียติยศใหญ่โต กลับเสียใจเสียด้วยซ้ำที่สร้างของที่เปลี่ยนโลกอย่างระเบิดปรมาณูขึ้นมา

ในส่วนของอริสโตเติลนั้นเรียบง่ายกว่ามาก โดยอริสโตเติลมองมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ที่ควรจะเป็น รวมถึงเป้าหมายและการกระทำที่ควรจะเป็น

ปรัชญาของอริสโตเติลนั้นเรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง อริสโตเติลพูดถึง “ชีวิตที่ดี” ที่ “สอดคล้อง” กับ “เป้าประสงค์” ของ “มนุษย์ที่ดี”

อริสโตเติลเชื่อว่า “การกระทำ” แต่ละ “การกระทำ” มีเป้าประสงค์ของมันอยู่ ว่า “การกระทำนี้” คู่ควรกับอะไร ควรยกย่องและให้รางวัลกับความดีเรื่องอะไร

นั้นหมายความถึงการมอบสิ่งที่คู่ควรให้กับคนที่คู่ควรกับมันอย่างชอบธรรม แต่อะไรคือตัวตัดสินว่ามันชอบธรรมละ ในประเด็นเล็กๆ เราอาจตัดสินได้ง่ายๆว่า การให้รางวัลกับความพากเพียร นั้นชอบธรรม ส่วนการให้รางวัลแก่ความเกียจคร้านนั้นไม่ชอบธรรม

แต่ในประเล็กที่ซับซ้อนกว่านั้น อย่างเช่น เราเป็นทหาร และเราจับคนบริสุทธิ์ได้ 1 คน หากปล่อยไป คนๆนั้นจะไปตามชางบ้านมาไล่ฆ่าเรา และคนที่เราปกป้องอยู่ คำถามคือ ระหว่างการปลอ่ยคนบริสุทธิไป กับ การฆ่าเขาเพื่อปกป้องพวกพ้อง อะไรคือ “ความชอบธรรม”

ในคำถามซึ่งซับซ้อนอย่างนี้ เราอาจเอาปรัชญา “ศีลธรรม” อย่างอื่นมาใช้คงจะดีกว่าใช้ “ศีลธรรม” แบบอริสโตเติล

อริสโตเติลจะตอบคำถามที่ง่ายกว่าว่า เราควร “ให้รางวัล” กับอะไร และ “ลงโทษ” กับอะไร และ ควรจะจัดสรร “รางวัล” และ “โทษ” อย่างไรถึงจะ “ยุติธรรม”

ตัวอย่างเช่นว่า ทำไม “การฆ่าคน” ไม่ดี นั้นก็เพราะ มนุษย์ที่ดี ย่อมเห็น “คุณค่า” ของมนุษย์ การพรากไปจากคนอื่นนั้นไม่ดี ดังนั้นเราควรจะ “ลงโทษ” คนที่ฆ่าคน แต่ “ลงโทษ” อย่างไรถึงจะยุติธรรม?

หากมีฆาตกร 2 คน เราจะ “จัดสรร” โทษอย่างไรถึงจะยุติธรรม

ในส่วนการให้รางวัล การช่วยเหลือคนอื่นนั้นดี เพราะ นั้นเป็นการสะท้อนถึงชีวิตที่ดี และเราควรให้รางวัลกับความดีนี้อย่างไร?

และถ้ามีคนดี 2 คน เราจะจัดสรรอย่างไร?

คำตอบคือ ความยุติธรรมควรเลือกปฏิบัติตามความคู่ควร ตามความเป็นเลิศที่เกี่ยวข้อง นั้นก็คือ ให้รางวัลกับคนที่ “ดีที่สุด” และลงโทษคนที่ “แย่ที่สุด”

หากเราเลือกปฏิบัติโดยใช้เกณฑ์อื่นเช่น ความมั่นคง รูปกาย ชาติตระกูล หรือการจับฉลาก เหล่านี้ล้วนไม่เป็นธรรม

จะเห็นว่า “ความยุติธรรม” ของอริสโตเติล แม้จะเรียกว่า “ความยุติธรรม” ของพระเจ้า แต่ก็ไม่ใช่การเดาสุ่ม ล้วนเป็นความยุติธรรมที่มีหลักเกณฑ์อย่างเข้าใจง่ายและเรียบง่าย ดังนั้นแล้วจะเห็นว่า “ความยุติธรรม” ของอริสโตเติลนั้น ไม่ใช่ความยุติธรรมแบบ “เล่นลูกเต๋า” อย่างที่เข้าใจกัน




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2554
0 comments
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2554 15:01:17 น.
Counter : 2531 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

โควเมย์
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add โควเมย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com