Love is All Around.
Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
23 มกราคม 2558
 
All Blogs
 
การจัดแสงไฟในห้อง (Lighting Design) (ตอนที่ 3)

มารู้จักประเภทของหลอดไฟที่ใช้ตามบ้านเรือน อาคาร หรือ คอนโด กัน เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้หลอดแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมกับห้อง  ซึ่งในปัจจุบันมีหลอดไฟให้เราเลือกใช้อยู่มากมายหลายประเภท มีทั้งหลอดไฟที่ให้ความสว่างแตกต่างกัน หรือว่าเป็นหลอดที่มีความสว่างเท่ากันแต่เป็นคนละประเภท ซึ่งประสิทธิผลย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการเลือกติดตั้งหลอดไฟ ภายในบ้าน  ควรศึกษาและทำความเข้าใจหลอดไฟประเภทต่างๆ ในท้องตลาดว่ามีลักษณะและประเภท การใช้งานอย่างไร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
1. หลอดไฟชนิดไส้

//3.bp.blogspot.com/-CBBk1hEZdsk/VMGwqtvpFjI/AAAAAAAAAzo/AZMo1AWNRSo/s1600/lamp1.jpg

ที่รู้จักกันในชื่อ หลอดธรรมดา หรือ หลอดหลอดความร้อน ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศ  หลอดประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ควบคุมภายนอกและมีราคาไม่แฟง  ด้วยเหตุนี้ หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาจึงใช้กันอย่างกว้างขวางในครัวเรือนและไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนไฟฟ้าแบบพกพา อย่างเช่น ไฟตั้งโต๊ะ ไฟโรงรถ และไฟฟ้าสำหรับตกแต่งและโฆษณา  แต่ข้อเสียก็คือ หลอดไฟชนิดไส้นี้เมื่อใช้ไปสักพักจะร้อน และกินไฟเยอะเกินไป ประกอบกับมีอายุการใช้งานที่สั้น
2. หลอดตะเกียบ

//1.bp.blogspot.com/-grOmpMGlumw/VMGwqf9xCqI/AAAAAAAAAzk/SUwgcxsEFvY/s1600/lamp3.jpg

หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า หลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาขึ้น มาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานและเพื่อใช้แทนหลอดไส้ที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนส์จะมีขนาดกระทัดรัดและมีกำลังส่องสว่างสูง เหมาะสมในการให้แสงสว่างทั่วไป ที่ต้องการความสวยงาม มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 8 เท่า หรือ 8,000 ชั่วโมง และการใช้พลังงานของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์จะน้อยกว่าหลอดไส้ ประมาณ 4 เท่า 



3. หลอดฟลูอเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน

//4.bp.blogspot.com/-_DRnNrhBMl4/VMGwsKcDnVI/AAAAAAAAAzw/2UPTV9IESlw/s1600/lamp4.jpg

หลอดไฟฟ้าชนิดนี้ ตัวหลอดทำด้วยแก้ว บางใสกลมยาวรูปทรงกระบอกหรือรูปวงกลม ภายในหลอดแก้วจะสูบอากาศออกเกือบหมด และ บรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของหลอดฉาบไว้ด้วยสารเคมีบางชนิดที่เปล่งแสงได้ เมื่อได้รับความร้อนจากไส้หลอด ก็จะให้แสงสว่าง การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือน กับหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นอีก ได้แก่ สตาร์ตเตอร์ และบัลลัสต์  

4. หลอดไอปรอท หรือ หลอดแสงจันทร์

//4.bp.blogspot.com/-DCafite1hmI/VMGwqUTQQ2I/AAAAAAAAA0Q/XzLpBZ3ArL8/s1600/lamp2.jpg

การทำงานของหลอดประเภทนี้ จะทำงานด้วยหลักการปล่อยประจุความเข้มสูง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับงานสนามและภายนอกอาคาร เมื่อเปิดหลอดประเภทนี้ จะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งก่อน จะทำงานได้เต็มที่ และเมื่อปิดแล้วก็ต้องรออีกราวสิบนาทีก่อนจะเปิดใช้งานได้อีก ปัจจุบันหลอดไอปรอท ไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากดูแลรักษายาก และปรอท ก็ยังเป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม

5. หลอดเมทัลฮาไลด์

//4.bp.blogspot.com/-rd0PgCYMYDo/VMGwtNAVMoI/AAAAAAAAAz0/9NuNJ8qTSYA/s1600/lamp5.jpg
ลักษณะการกำเนิดแสงสว่าง คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ แต่ภายในบรรจุอิเล็กตรอนที่ทำด้วยทังสเตนล้วนๆ ทำให้ได้ ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์ เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงแสงแดด อายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี สนามกีฬาเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า 


6. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์

//2.bp.blogspot.com/-exdLeuIP9r0/VMGwvLsstkI/AAAAAAAAA0I/ySXPFrwlWhM/s1600/lamp7.jpg

 มีหลักการทำงานเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแบบที่มีบัลลาสต์ในตัว มีขั้วเป็นแบบเกลียว สวมใส่เข้ากับเต้าเกลียวของหลอดไส้ได้เลย และแบบที่มีขั้วเป็นขาเสียบ ใช้ร่วมกับโคม และมีบัลลาสต์ภายนอก โดยผลิตออกมาหลายค่าพลังงาน สีของแสง มี warm white, cool white และ day light เช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ รูปร่างก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดคู่ หลอดสี่แถว หลอดยาว หลอดเกลียว หลอดมีโคมครอบ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ 



7. หลอด LED

//4.bp.blogspot.com/-KzxGFSaMJGo/VMGwuTbTrWI/AAAAAAAAA0E/SbwYuy_qWU8/s1600/lamp6.jpg

หลอด LED ถือว่าเป็นทางเลือกของอนาคตได้เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ไม่มีการเผาไส้หลอด จึงไม่เกิดความร้อน แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอภายในสารกึ่ง พลังงานเปลี่ยนเป็นแสงสว่างได้เต็มที่ มีแสงหลายสีให้เลือกใช้งาน ขนาดที่เล็กทำให้ยืดหยุ่นในการออกแบบ การจัดเรียง นำไปใช้ด้านตกแต่งได้ดี มีความทนทาน ไม่ต้องห่วงเรื่องไส้หลอดขาด หรือหลอดแตก ด้านอายุการใช้งานก็อยู่ได้ถึง 50,000-60,000 ชั่วโมง ทั้งยังปรับหรี่แสงได้ง่ายกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และที่สำคัญ ปราศจากปรอท และสารกลุ่มฮาโลเจนที่เป็นพิษ แต่มีข้อเสีย คือในปัจจุบันหลอด LED มีราคาสูงกว่าหลอดธรรมดาทั่วไปและมีความสว่างไม่มากนัก



บทความอื่นๆน่าสนใจ
- การจัดแสงไฟในห้อง  (Lighting Design)  (ตอนที่ 3)
- การจัดแสงไฟในห้อง (Lighting Design) (ตอนที่ 2)
- การจัดแสงไฟในห้อง (Lighting Design) (ตอนที่ 1)
- วิธีเลือกซื้อพรมปูพื้น
- ฝ้าหลุมกับฮวงจุ้ย
- มารู้จักเฟอร์นิเจอร์ไม้ MDF และไม้ Particle board (ตอนที่ 2)
- มารู้จักเฟอร์นิเจอร์ไม้ MDF และไม้ Particle board (ตอนที่ 1)
- เคล็ดลับวิธีกำจัดกลิ่นอับภายในคอนโด
- ผนังภายในคอนโดแตกร้าว สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
- 8 เหตุผลทำไมต้องเลือกใช้ไม้ลามิเนตปูพื้นคอนโด
- เคล็ดลับการจัดคอนโด ให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย
- วิธีซ่อมยาแนวห้องน้ำในคอนโด
- เคล็ดลับดูแลห้องน้ำ ให้ใหม่เสมอ
- ฮวงจุ้ยต้นไม้รอบบ้าน
- 7ข้อควรรู้ ก่อนจัดสวน ริมระเบียงคอนโด
- ไอเดียแต่งคอนโดเก๋ๆ แบบราคาสบายกระเป๋า
- เคล็ดลับเลือกซื้อบ้านและอาคารชุดคอนโด
- ฮวงจุ้ย 10 ประการ บั่นทอนโชคลาภ
- ค่าใช้จ่าย กรณีเปลี่ยนสัญญาคอนโด
- ไอเดียที่ตากผ้า สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่คอนโด



Create Date : 23 มกราคม 2558
Last Update : 23 มกราคม 2558 9:42:14 น. 0 comments
Counter : 1687 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

poprockcool
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




พื้นที่โฆษณาพิเศษ
Friends' blogs
[Add poprockcool's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.