กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มาตรการหันเหคดีเด็กตามกฎหมายจะไปทางใด เมื่อองค์กรหลักตีความต่างกัน
มาตรการหันเหคดีเด็กก้าวพลาดในคดีเล็กน้อยด้วยมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาจะไปทางไหน? เมื่อกฎหมายบัญญัติว่าการจัดทำแผนต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย...??!!!
..ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ข้อหาที่ส่งเข้าแผนแก้ไขฟื้นฟู(ความผิดต่อ พรบ.จราจรทางบก) ไม่มีผู้เสียหายที่จะให้ความยินยอม แต่รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงให้่ยกคำร้อง"
..ผอ.สถานพินิจและอัยการอุทธรณ์ คำสั่ง
..ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนฯ มีคำพิพากษาว่า "ม.86 แห่ง พรบ.ศาลเยาวชนฯ เป็นบทบัญญัติที่นำมาตการทางเลือกอื่นอันได้แก่กระบวนการยุติธรรมเชิืงสมานฉันท์ หรือเยียวยาแก้ไขมาใช้่ในสถานพินิจแทนการดำเนินคดีตามปกติ โดยให้ ผอ.สถานพินิจจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ และกำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้แก้ไขแผนฯ ก่อนให้ความเห็นชอบได้ ทั้งกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งไม่เห็นชอบด้วยกับแผนฯ ได้เฉพาะกรณีที่ปรากฎว่ากระบวนการจัดทำแผนไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า การจัดทำแผนฯ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วย หมายถึง เฉพาะคดีอาญาที่มีผู้เสียหาย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการะบวนการยุติธรรมเชิงสามานฉันท์หรือเยียวยาแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต้องได้รับความยินยอมจากทั้งฝ่ายผู้กระทำและฝ่ายผู้เสียหายที่ถูกกระทำ สำหรับคดีอาญาที่ไม่มีผู้เสียหายดังเช่นคดีนี้ ต้องถือว่าไม่มีเงื่อนไขที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผูเ้่สียหาย เด็กหรือเยาวชนย่อมเข้าสู่แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามบทบัญญัตินี้ได้."
..สารอธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ฉบับที่ 10 ข้อ 2 "ตาม พรบ.ศาลเยาวชนฯ ม.86 วรรคท้่ายบัญญัติว่า แผนบำบัดฟื้นฟูตามมาตรานี้ต้องได้รัีบความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วย ฉะนั้น ต้องเป็นคดีมีผู้เสียหายเท่านั้น หากคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายหรือไม่มีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นผู้เสียหายไม่สามารถทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตาม ม.86 ได้"
..สำนักงานอัยการสูงสุด เห็นว่า "การจัดทำแผนฯ ตาม พรบ.ศาลเยาวชนฯ ม.86 เป็นมาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่ต้องตกเป็นจำเลยถูกดำเนินคดีอาญาในศาล การที่การจัดทำแผนบำบัดฟื้นฟูต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายก็เพื่อจะมิได้เป็นการดำเนินการโดยฝืนใจผู้เสียหาย แต่มิใช่เป็นเงื่อนไขว่า ถ้าไม่มีความยินยอมของผู้เสียหายแล้ว จะทำแผนฯ ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อคดีอาญาที่เกิดขึ้นไม่มีผู้เสียหาย ย่อมสามารถดำเนินการตามมาตรา 86 แห่ง พรบ.ศาลเยาวชนฯ ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย"
..ทั้งหมดนี้ จุดตายอยู่ที่"ข้อกำหนดท่านประธานศาลฎีกา" เนื่องจากหลังจากศาลรับรายงานแล้วให้ ศาลจะพิจารณาว่า กระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรภายใน 30 วันนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดท่านประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการของศาลในเรื่องดังกล่าว
..นิติปรัชญาของกฎหมายที่เกี่ยวเด็กหรือเยาวชนก้าวพลาดกระทำผิด มิได้มุ่งเอาโทษเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรม สั่งสอน และสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการที่จะลงโทษ มีผู้พิพากษาสมทบ และเมื่อจะพิพากษาเมื่อเสียงเสมอกัน ให้ฝ่ายที่เป็นคุณแก่เด็กเป็นฝ่ายชนะ
..แล้วท่านคิดอย่างไรครับ!!!



Create Date : 03 กันยายน 2555
Last Update : 3 กันยายน 2555 11:53:38 น.
Counter : 3233 Pageviews.

2 comments
  
สวัสดีค่ะ มีเรื่องรบกวนปรึกษาท่านค่ะ คือดิฉันมีหลานอยู่ในสถานพินิจจ.ราชบุรี ต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดขณะอยู่ในสถานพินิจและจะถูกส่งตัวไปเรือนจำค่ะ ไม่ทราบว่ากรณีเช่นนี้หลานของดิฉันจะต้องไปอยู่ที่เรือนจำตลอดระยะเวลาที่ได้รับโทษ หรือแค่ชั่วคราวค่ะ
ขอบคุณค่ะ
โดย: แม่จูนจู้จี้ IP: 125.27.177.226 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2555 เวลา:8:21:18 น.
  
สวัสดีค่ะ มีเรื่องรบกวนปรึกษาท่านค่ะ คือดิฉันมีหลานอยู่ในสถานพินิจจ.ราชบุรี ต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดขณะอยู่ในสถานพินิจและจะถูกส่งตัวไปเรือนจำค่ะ ไม่ทราบว่ากรณีเช่นนี้หลานของดิฉันจะต้องไปอยู่ที่เรือนจำตลอดระยะเวลาที่ได้รับโทษ หรือแค่ชั่วคราวค่ะ
ขอบคุณค่ะ
โดย: แม่จูนจู้จี้ IP: 125.27.177.226 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2555 เวลา:8:21:18 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนทำงานด้านเด็ก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เกิด 17 ก.พ.2502 จังหวัดชัยนาท เป็นบุตร นายสุเทพ-นางชิ้น ไทยเขียว
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โรเรียนวัดโพธิ์ทอง ต.บางขุด อ.สรรคบุรี แล้วมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
"ตอนเรียนมัธยม เป็นช่วงปี 2515-2517 ผมต้องขี่จักรยานไปกลับวันละ 18 ก.ม. ลำบากมากโดยเฉพาะในหน้าฝน ผมเป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียน แต่ไม่เกเร พอผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยากทำนาเหมือนคุณพ่อคุณแม่ แต่ธรรมชาติช่วย จังหวะที่ผมเรียนจบ เกิดน้ำท่วมใหญ่ รวมถึงที่นา ผมต้องลงไปช่วยคุณพ่อ คุณแม่ยกฟ้อนข้าวขึ้นที่สูง เหนื่อยมาก รู้สึกลำบาก ไม่อยากทำนาอีกแล้ว เริ่มอยากเรียนหนังสือต่อ"
ผมจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่กับญาติที่กองรักษาการณ์ทำเนียบรัฐบาล ตัวเลือดตามล่องกระดานกัดติดหลังเป็นแถวเลยอยู่ไม่ได้ น้าชายไปฝากอยู่กับแฟนของเพื่อนตำรวจเป็นหมอนวดแถวถนนเพชรบุรีอยู่อีก 1 สัปดาห์ ต่อมาจึงได้หาที่พักถาวรได้ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ขณะนั้นมีน้าชายชื่อ นายวิชิต เรียนทัพ อดีตนายก อบต.บางขุด พักอาศัยอยู่ก่อน
"ผมสอบเข้าศึกษาต่ออะไรก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจ่าอากาศ ช่างฝีมือทหาร เตรียมทหาร หรือแม้แต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคค่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ตั้งใจเรียน มาเรียนต่อได้เพราะวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กิ่งเพชร ราชเทวี เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำ ในขณะที่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้เปิดเรียนไปแล้วเกือบหนึ่งเทอมแล้ว จึงมีที่เรียน"
"ช่วงที่อยู่วัดเห็นพระเณรนั่งดูหนังสือ ไม่นอน ผมจึงไม่นอน ผลการเรียนจึงเริ่มดีขึ้น โดยกลางวันทำงาน กลางคืนเรียน ไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เพราะรู้ว่าท่านลำบาก กระทั่งเรียนจบอนุปริญญา หรือปกศ.สูง เอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาไม่มีที่เรียนกลางคืน ต้องเรียนกลางวัน จึงไม่ได้ทำงานจนจบการศึกษาบัณฑิตหรือ กศ.บ. เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา"
"ช่วงนั้น ผมขอหลวงพ่อคุมศาลาเผาศพ และรับอาราธนาศีล บริการน้ำ-อาหาร รับจ้างจุดธูปเพื่อหาเงินเรียนจนจบปริญญาตรี สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของปริญญาตรี จบปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สค.ม.) อาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4 ทำงานภาคเอกชนอยู่ 4 ปี จึงเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2529 โดยเป็นพนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชลบุรี"
ต.ค. 2541 เติบโตมาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 จ่าศาลจังหวัดปากพนัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล, 16 ก.พ. 2542 เป็นจ่าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ, 18 มี.ค. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม, 4 มิย. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น อกพ. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 8 มิย.2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 15 ต.ค. 2544 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพสถานพินิจ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 7 พ.ย. 2544 คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549, 12 มีค.2545 กรรมการและเลขานุการการเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี, 3 ต.ค.2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ 9 ในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ 25 เมย.2546
ย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 1 ปี 8 เดือน ก่อนจะได้รับคำสั่งให้กลับมาทำงานในตำแหน่งรองอธิบดีพินิจและคุ้ม ครองเด็กและเยาวชนอีกครั้งและได้ขึ้นเป็นอธิบดีในที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับ คือ จัดทำมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานธุรการศาล และนำวิธีการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management/ TQM) จนศาลจังหวัดนครราชสีมาได้รับ การประกาศรับรองด้านบริการ ISO 9000
การปฏิรูปกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเป็นคณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จนสามารถรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2550 และได้รับเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.2544 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 สค.2550
"ทุกอย่างที่ทําให้เรามาถึงวันนี้ ได้กรรมเป็นตัวกํากับทั้งหมด และอะไรที่เราเคยเสีย ใจแบบสุดๆ หรือว่าเศร้าใจอย่างสุดๆ ความรู้สึกนั้นมันไม่เคยเสถียรเลย มันลดลงมาหมด
วันนี้ดีใจที่ได้เป็นอธิบดี อาจจะดีใจจน ตัวลอย แต่ว่าไม่เท่าไหร่ก็ลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจเท่าทันโลก เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติด ที่สําคัญที่สุด คือเรามีหน้าที่ หน้าที่นั้นต้องทําให้ดีที่สุดในการที่จะมองไปที่ประชาชนและเด็กๆ
ผมเชื่อว่าผมอาจจะมีกรรมดีที่ได้มีหน้าที่การงานที่ดี แต่ส่วนหนึ่งผมว่า ผมก็อาจจะเคยทํากรรมอะไรไว้บางอย่างกับเด็กๆ ผมถึงต้องชดใช้อะไรมากมายถึงขนาดนี้ รู้สึกว่าต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน เห็นอะไรไม่สบายใจต้องเข้าไปจัดการ ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็อยากเห็นสังคมมีคุณธรรม มีจริยธรรม เพราะทุกวันนี้เรื่องเหล่านี้มันตกต่ำไปมาก"
สมรสกับเบญจพร ไทยเขียว ซึ่งรับราชการครู มีบุตรชาย 2 คน นายชัชชล ไทยเขียว อายุ 25 ปี จบศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม และศึกษาดนตรีและทำเครื่องดนิตรีกู่ฉินไปด้วยที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบอาชีพส่วนตัวสอนคนตรีกู่ฉิน และจำหน่ายเครื่องคนตรีจีนคุณภาพจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์พิเศษ
และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว อายุ 23 ปี จบศึกษาคณะวิศวศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังศึกษา MBA มหาวิทยาลัยหอการค้า