อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
23 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
ไตเติล ตอนที่3 Finishing สำหรับเฟอร์นิเจอร์ทั้งหลาย

Finishing สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์


จริงๆแล้ว ผมไม่อยากใช้คำภาษาปะกิตซักเท่าไร

ไม่ชำนาญ และก็ไม่ใช่ภาษาบ้านเกิดซะด้วย

(ปกติ เว้าอีสานเนืองๆ ซะมากกว่า) แต่ยังนึกหาคำภาษาไทย ที่ครอบคลุม ไม่ได้เท่า

ก็เลยต้องขอกระแดะซะนิดส์ส์ส์ส์ส์นึง



Finishing ในที่นี้ของผม ใช้แทนความหมายของผิวสุดท้ายของงานเฟอร์นิเจอร์

นั่นก็คือ พื้นผิวโชว์ของสินค้านั่นเอง

ในไตเติ้ลนี้ จะกล่าวแยกประเภทหลักๆ ของผิว ให้ได้รู้กันก่อนนะครับ




1.ผิวปิดด้วยเปเปอร์ฟอยล์ หรือ PVC ฟอยล์











ลักษณะงานเช่นนี้ เราจะพบบ่อยในร้านเฟอร์ข้างทางทั่วไป

ที่วางขายอยู่ตามดิสเคานต์สโตร์ หรือแบรนด์ที่เราคุ้น Win, Kon

จะเป็นการนำแผ่นกระดาษ หรือ PVC ที่เป็นแบบสีพื้น หรือพิมพ์ลาย

มาปิดผิว บนแผ่นวัตถุดิบ เพื่อให้เกิดสี และลวดลาย ตามต้องการ





2.ผิวเคลือบเมลามีน








ลักษณะงานจะคล้ายคลึงการปิดฟอยล์ เพียงแต่ จะมีการเคลือบทับผิวหน้า ด้วยเมลามีนใส

เพื่อต้องการให้ ผิวหน้าป้องกันรอยขีดข่วน ได้ดีกว่าเดิม โดยการเคลือบเมลามีนนี้

ส่วนใหญ่จะใช้เรียกในกรณี การเคลือบบนแผ่นวัตถุดิบ พวกแผ่นผลิตภัณฑ์ PB, MDF และไม้อัด





3.ผิวปิดลามิเนท








ลามิเนท หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า ฟอร์เมก้า

จริงๆ แล้ว คำว่า ฟอร์ไมก้า เป็นชื่อแบรนด์สินค้าลามิเนทยี่ห้อนึง

ซึ่งคงคล้ายกับ "ไปซื้อแฟ้ปให้กล่องนึง เอาบรีสนะ"

ลักษณะ เรียกได้ว่าอย่างเดียวกันกับ การเคลือบเมลามีน

แต่.... แทนที่จะเคลือบลงบนแผ่นผลิตภัณฑ์ ที่จะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์โดยตรง

กลับจะนำไปเคลือบบนแผ่นแบ็คกิ้ง ความหนาประมาณ 1 มม.แทน

ซึ่งแผ่นแบ็คกิ้งนั้น อาจจะเป็นพวกแผ่นพลาสติกแข็ง ก็ได้

โดยเมื่อจะใช้งาน ค่อยนำไปปิดทับบนแผ่นผลิตภัณฑ์อีกครั้ง ตามต้องการ





3.ผิวทำสี


สี คือ สารเคมีผสม (Mixture) สำหรับนำมาใช้เคลือบ (ด้วยกรรมวิธีหนึ่งวิธีใด)

เพื่อประโยชน์ในการตกแต่ง หรือคุ้มครองป้องกัน

หรือเพื่อทั้งตกแต่งและป้องกันวัตถุ หรือพื้นผิวที่ถูกเคลือบ

โดยปกติแล้ว จะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และจะเกิดฟิล์มที่ผิวหน้า เมื่อแห้งโดยสัมผัสกับอากาศ หรือโดยการอบ


วัตถุประสงค์ของการเคลือบสีผิว คือ การเพิ่มความสวยงามตามธรรมชาติของไม้ให้ดูดีขึ้น

กระบวนการนี้ ทำให้ได้ไม้ที่มีสีตามต้องการ และช่วยป้องกันเนื้อไม้จากการใช้งานประจำวัน

ตลอดจนสารละลายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้กันทั่วไป

กระบวนการเคลือบสีผิวนี้ จะเน้นที่ลักษณะของแบบ

เทคนิคการเคลือบสีผิวสมัยใหม่ ที่ช่วยทำให้ความงามที่แท้จริงของเนื้อไม้ปรากฏชัด

อีกทั้ง ยังช่วยให้งานแบบเดียวกัน แต่มีสีต่าง ๆ กันอีกด้วย


นอกจากนี้ การเคลือบสีผิว ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ไม้ที่มีราคาถูก โดยเคลือบสีผิว ให้ดูคล้ายไม้ที่มีราคาแพง

สารที่ใช้ในการเคลือบสีผิว จะต้องทนทานต่อรอยขีดข่วน การขัดถู

และสารปกป้องเนื้อไม้จากการเปลี่ยนแปลงความชื้นอย่างรวดเร็ว


โดยเนื้อสี ที่มีการใช้งาน จะแยกเป็นลักษณะ


- โปร่งใส เป็นการลงสีเพื่อป้องกันเนื้อไม้ และขับให้สีและลวดลายเด่นชัด

มักนิยมใช้กับไม้ธรรมชาติ ที่มีลายไม้ และสีสันสวยงาม


- กึ่งโปร่งใส จะมีการผสมแม่สี (พิคท์เมนท์) ลงไปในเนื้อสี

ใช้กับไม้ธรรมชาติเช่นเดียวกัน


จุดประสงค์หลัก คือ ต้องการปรับโทนพื้นสีของเนื้อไม้ ที่มีตามธรรมชาติ

ให้เป็นอีกโทนสี ตามที่ต้องการ แต่ยังคงเห็นลายไม้อยู่

อาจจะเป็นการปรับเพื่อความสวยงาม หรือปกปิดเนื้อไม้ ที่มีตำหนิ


- สีทึบแสง ในเนื้อสี จะมีการผสมเนื้อสี ลักษณะแป้งขาวขุ่น ( แหะ...แหะ.. น่าจะใช่นะ ผมตกเคมีน่ะครับ)

โดยส่วนมาก มักใช้กับวัตถุดิบ ที่ไม่เหมาะกับงานโชว์ เช่น พวกแผ่นผลิตภัณฑ์ PB, MDF, ไม้อัด หรือไม้ที่ลายไม่สวย

ไม่เช่นนั้น ก็เป็นเพื่อโทนสีในการตกแต่ง โดยจะมีการผสมแม่สี ให้ได้โทนสีตามต้องการลงไปด้วย

เมื่อพ่นลงบนชิ้นงานแล้ว จะมองไม่เห็นเนื้อแท้ของชิ้นงาน






เรื่องของ Finishing โดยหลักๆ ที่มีการใช้งาน สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ ที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์ประเภทไม้

ก็น่าจะมีประมาณนี้นะครับ ที่เป็นที่นิยมกัน

อาจจะมีอย่างอื่นบ้าง ซึ่งผมคงจะนำมาเพิ่มเติมปรับปรุงภายหลังอีกครั้งแล้วกันครับ




เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ



Create Date : 23 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 0:54:31 น. 0 comments
Counter : 3231 Pageviews.

ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.