อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
28 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

เห็นถามกันบ่อยจัง... ว่าทำอย่างไร ภาคปฐมบท

เนื่องด้วย ผมโดนกดดันอย่างรุนแรง จากเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่ง

ทำให้ต้องลัดคิว เขียนรายละเอียดเรื่องนี้ ขึ้นมาโดยด่วน

(ฮือออ.... ฮืออ..... น่าสงสารมั้ยเนี่ย)


เพราะฉนั้น อย่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย ต้องรีบเขียนขึ้นมาซักตอนก่อน

เลือกแบบที่เพื่อนๆ มาตั้งกระทู้ถามกันบ่อยๆ แล้วกันนะครับ นั่นก็คือ





รู้กันยังเอ่ยยยยย.... ว่าผมกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ไอ้นี่งัย





เฉลยเลยแล้วกันครับ (ไม่งั้น สงสัยมีโอกาสเจ็บตัวแหงม)

ผมกำลังจะพูดถึงการทำชั้นลอยติดผนัง แบบมองไม่เห็นอุปกรณ์ครับ

ต้องขออภัยด้วยนะครับ ที่ไม่สามารถถ่ายรายละเอียดของชิ้นงานมาให้ดูได้

เพราะบางส่วน ผมถือเป็นลิขสิทธิ์แบบของลูกค้าครับ




ตอนนี้ ผมจะพูดถึงวิธีการทำ โดยขออ้างอิงกับอุปกรณ์ ของ Hafele นะครับ

โดยรุ่นที่ผมเลือกมา จะเลือกมาเฉพาะรุ่นที่มีจำหน่ายในเมืองไทยเท่านั้น

ซึ่งผมจะจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทใช้งาน (อันนี้ ตามความคิดเห็นส่วนตัวผมนะครับ)

แต่มี 3 รุ่น นะครับ ที่มีขายอยู่ ผมจะเริ่มจาก



1.แป้นรับชั้น พร้อมเกลียวไม้ และพุกระเบิด (Shelf support with wooden thread and frame plug)





รุ่นนี้ ผมมองว่าเป็นรุ่นที่นำมาใช้ง่ายสุด มีชิ้นส่วนหลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ

ตัวแขนรับ, พุก (ในคอนกรีต) และแหวนรอง

โดยรุ่นนี้ จะมีแกนอยู่ 2 ขนาด (วัดขนาดจากตัวเพลาลูกเบี้ยว ที่เป็นสีดำๆ นะครับ) ได้แก่

-รุ่นขนาด Dia. แกน 12.2 มม. ซึ่งไว้ใช้กับชั้น ที่มีความหนา 19 มม. ขึ้นไป

-รุ่นขนาด Dia. แกน 14.2 มม. ซึ่งไว้ใช้กับชั้น ที่มีความหนา 22 มม. ขึ้นไป






โดยรุ่นนี้ ความเหมาะสมในประเภทการใช้งาน

ผมว่ามันเหมาะชิ้นงาน ที่เป็นแผ่นไม้สำเร็จ เช่น ไม้อัดประสานเป็นแผ่น,

พวกแผ่น MDF, PB และก็แผ่นไม้อัด

โดยใช้กับชิ้นงาน ที่ความลึกไม่เกิน 300 มม.

ตัวอุปกรณ์รับน้ำหนักได้ประมาณ 40 - 100 กก./ตรม.

(ตัวเลขทางทฤษฎีนะครับ ปฏิบัติจริงขึ้นอยู่กับขนาดรูหลวมไปรึปล่าว,

ผนังก่อไว้ดีมั้ย, ใช้อุปกรณ์น้อยไปมั้ย ฯลฯ)

การใช้งาน เพียงแค่เจาะเข้าไปภายในชั้นเท่านั้น

โดยให้ความลึกของการเจาะเข้าไปอยู่ที่ 122 มม.

ขนาดรูเจาะ อยู่ที่ว่า เลือกใช้แกนรุ่น Dia ขนาดไหนน่ะครับ




แกนรับชั้นรุ่นนี้ สามารถปรับระดับสูง-ต่ำ เอียงมาก-เอียงน้อย

ได้ด้วยเพลาลูกเบี้ยว (ตัวสีดำ ในรูปน่ะครับ) ค่าบวก-ลบ 2 มม. ครับ

(ถ้ารุ่นแกน 12 มม. จะปรับบวก-ลบ ได้แค่มิลเดียวนะครับ)


แต่........ แน่นอน ของที่ทำง่ายๆ ก็จะมีข้อเสียของมันอยู่

ครับ..... รุ่นนี้ จะรับแรงดึงไม่ได้ เพราะไม่มีแป้นยึดติดกับชั้น ที่ตัวอุปกรณ์

ต้องหาทางประยุกต์ อุปกรณ์ตัวอื่น เช่น ฉากยึด เข้าไปช่วยรับแรงดึงแทนด้วยครับ





เอาล่ะครับ..... ขอทีละรุ่นก่อนนะครับ เดี๋ยวว่าง จะเขียน 2 รุ่น ที่เหลือเพิ่มเติมให้

(ลดแรงกดดันไปก่อนระดับนึงละกันนะ อีก 2 รุ่น สัญญาครับ ว่าจะเร็วที่สุด ไม่เกินปีนี้แน่ๆ)


ฟิ้วววววววววส์.............................




เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2552
0 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 1:01:52 น.
Counter : 3717 Pageviews.


ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.